ทำเนียบรัฐบาล--5 ต.ค.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานและมติของที่ประชุมผู้เกี่ยวข้องในเรื่องนโยบายอ้อยและน้ำตาลทราย ทั้งในภาคการผลิตและภาคการเงิน ตามที่ รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) เสนอ เพื่อกำหนดและหาแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ดังนี้
1. ให้เร่งรัดคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายเพื่อกำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้ายปี 40/41 ภายในวันที่ 30 กันยายน 2541 และประมาณการกำหนดราคาอ้อยเบื้องต้นปี 41/42 ให้เสร็จภายในเดือนพฤศจิกายนศกนี้ แล้วเสนอให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ได้รับทราบ เพื่อจะได้นำเรียนคณะรัฐมนตรีต่อไป
2. ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหข้อขัดข้องต่าง ๆ ทางด้านการเงินที่เกิดขึ้น และให้ ธกส.ปล่อยวงเงินรับซื้อเช็คเกี้ยวอ้อยออกมาภายในเดือนตุลาคมศกนี้
3. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการให้มีข้อตกลงร่วมกับชาวไร่อ้อย และ ธกส. ในการจัดระเบียบการสั่งอ้อยเข้าโรงงานให้เป็นระบบ โดยให้มีการจัดแบ่งชั้นเกษตรกรและมีฐานข้อมูลเดียวกัน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาที่ถาวรและถูกต้องตรงกันเป็นการล่วงหน้า
ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ได้จัดประชุมร่วมกับผู้เกี่ยวข้องในเรื่องนโยบายอ้อยและน้ำตาลทราย รวม 2 ครั้ง คือ ในวันที่ 27 สิงหาคม 2541 และ 23 กันยายน 2541 ตามลำดับ มีผลการประชุมสรุปได้ดังนี้
1. ภาคการผลิต
ราคาอ้อยขั้นต้นสำหรับปี 40/41 กำหนดไว้ราคาตันละ 600 บาท แต่การกำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้ายยังตกลงกันไม่ได้ เนื่องจากมีตัวแปร 3 ประการ คือ ค่าขนส่ง ราคากากน้ำตาล และภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนื้ ได้ประมาณการราคาอ้อยขั้นสุดท้ายเฉลี่ยทั่วประเทศอยู่ที่ตันละ 700 บาท เนื่องจากตามข้อตกลงแบ่งเขตอ้อยทั่วประเทศเป็น 12 เขต ซึ่งแต่ละเขตราคาจะแตกต่างกันอยู่ระหว่างราคาตันละ 570 - 720 บาท ขณะที่ชาวไร่อ้อยเรียกร้องราคาตันละ 785 บาท สำหรับในปี 41/42 ประมาณการราคาอ้อยเบื้องต้นอยู่ที่ตันละ 600 - 650 บาท ทั้งนี้ ต้องนำเสนอคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย พิจารณาก่อนการประกาศใช้
2. ภาคการเงิน
การแก้ไขปัญหาเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตและสต๊อคน้ำตาล ธนาคารเพื่อการส่งออกมีวงเงินเพียงพอที่จะจ่ายให้ชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลทราย กรณีที่มีหนี้ค้างชำระ จะสามารถปล่อยวงเงินให้ได้เมือมีการเจรจาประนอมหนี้ค้างชำระเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้ส่วนใหญ่ได้ดำเนินการประนอมหนี้ค้างชำระเรียบร้อยแล้ว มั่นใจว่าภายในเดือนตุลาคม 2541 จะสามารถปล่อยวงเงินได้ตามวงเงินที่ได้กำหนดไว้แต่เริ่มแรก สำหรับวงเงินรับซื้อเช็คเกี้ยวอ้อย ธกส.นั้น มีปัญหาเรื่องหลักเกณฑ์การเรียกหลักประกัน และ ธกส. กำลังศึกษาข้อมูลเพื่อผ่อนคลายหลักเกณฑ์ดังกล่าวโดยตรงแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 ตุลาคม 2541--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานและมติของที่ประชุมผู้เกี่ยวข้องในเรื่องนโยบายอ้อยและน้ำตาลทราย ทั้งในภาคการผลิตและภาคการเงิน ตามที่ รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) เสนอ เพื่อกำหนดและหาแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ดังนี้
1. ให้เร่งรัดคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายเพื่อกำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้ายปี 40/41 ภายในวันที่ 30 กันยายน 2541 และประมาณการกำหนดราคาอ้อยเบื้องต้นปี 41/42 ให้เสร็จภายในเดือนพฤศจิกายนศกนี้ แล้วเสนอให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ได้รับทราบ เพื่อจะได้นำเรียนคณะรัฐมนตรีต่อไป
2. ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหข้อขัดข้องต่าง ๆ ทางด้านการเงินที่เกิดขึ้น และให้ ธกส.ปล่อยวงเงินรับซื้อเช็คเกี้ยวอ้อยออกมาภายในเดือนตุลาคมศกนี้
3. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการให้มีข้อตกลงร่วมกับชาวไร่อ้อย และ ธกส. ในการจัดระเบียบการสั่งอ้อยเข้าโรงงานให้เป็นระบบ โดยให้มีการจัดแบ่งชั้นเกษตรกรและมีฐานข้อมูลเดียวกัน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาที่ถาวรและถูกต้องตรงกันเป็นการล่วงหน้า
ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ได้จัดประชุมร่วมกับผู้เกี่ยวข้องในเรื่องนโยบายอ้อยและน้ำตาลทราย รวม 2 ครั้ง คือ ในวันที่ 27 สิงหาคม 2541 และ 23 กันยายน 2541 ตามลำดับ มีผลการประชุมสรุปได้ดังนี้
1. ภาคการผลิต
ราคาอ้อยขั้นต้นสำหรับปี 40/41 กำหนดไว้ราคาตันละ 600 บาท แต่การกำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้ายยังตกลงกันไม่ได้ เนื่องจากมีตัวแปร 3 ประการ คือ ค่าขนส่ง ราคากากน้ำตาล และภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนื้ ได้ประมาณการราคาอ้อยขั้นสุดท้ายเฉลี่ยทั่วประเทศอยู่ที่ตันละ 700 บาท เนื่องจากตามข้อตกลงแบ่งเขตอ้อยทั่วประเทศเป็น 12 เขต ซึ่งแต่ละเขตราคาจะแตกต่างกันอยู่ระหว่างราคาตันละ 570 - 720 บาท ขณะที่ชาวไร่อ้อยเรียกร้องราคาตันละ 785 บาท สำหรับในปี 41/42 ประมาณการราคาอ้อยเบื้องต้นอยู่ที่ตันละ 600 - 650 บาท ทั้งนี้ ต้องนำเสนอคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย พิจารณาก่อนการประกาศใช้
2. ภาคการเงิน
การแก้ไขปัญหาเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตและสต๊อคน้ำตาล ธนาคารเพื่อการส่งออกมีวงเงินเพียงพอที่จะจ่ายให้ชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลทราย กรณีที่มีหนี้ค้างชำระ จะสามารถปล่อยวงเงินให้ได้เมือมีการเจรจาประนอมหนี้ค้างชำระเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้ส่วนใหญ่ได้ดำเนินการประนอมหนี้ค้างชำระเรียบร้อยแล้ว มั่นใจว่าภายในเดือนตุลาคม 2541 จะสามารถปล่อยวงเงินได้ตามวงเงินที่ได้กำหนดไว้แต่เริ่มแรก สำหรับวงเงินรับซื้อเช็คเกี้ยวอ้อย ธกส.นั้น มีปัญหาเรื่องหลักเกณฑ์การเรียกหลักประกัน และ ธกส. กำลังศึกษาข้อมูลเพื่อผ่อนคลายหลักเกณฑ์ดังกล่าวโดยตรงแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 ตุลาคม 2541--