คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาและให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยแล้ง ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ และมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
เพื่อเตรียมการรองรับสถานการณ์ภัยแล้งในระยะต่อไป ขอให้ทุกหน่วยงานร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยแล้ง ดังนี้
มาตรการ ผู้รับผิดชอบ (1) การแก้ปัญหาและให้ความช่วยเหลือในระยะเร่งด่วน (1.1) การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการปล่อยน้ำจากเขื่อน กระทรวงมหาดไทย โดยให้มีการชี้แจงให้ประชาชนทราบว่า รัฐบาลพยายามบริหารจัดการด้านชลประทานให้ (มท.) และ เกิดผลกระทบน้อยที่สุดกับภาคการเกษตรโดยเฉพาะการทำนาที่ใกล้ออกรวงและพืชสวนหรือ กระทรวงเกษตร ผลไม้ โดยจะต้องพิจารณาจากปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่ในขณะนี้ของแต่ละพื้นที่ด้วย และสหกรณ์ (กษ.) (1.2) การรณรงค์เพื่อช่วยกันประหยัดน้ำ - ให้ใช้น้ำอย่างประหยัดและรณรงค์ให้ประชาชนใช้น้ำอย่างประหยัดและ ทุกส่วนราชการ คุ้มค่า เช่น การซักล้าง การรดน้ำต้นไม้ และพิจารณาวิธีนำน้ำที่ใช้แล้วมาใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้อีก - ให้ขอความร่วมมือจากสื่อต่างๆ ร่วมประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้ กรมประชาสัมพันธ์ ประชาชนใช้น้ำอย่างประหยัดผ่านสื่อทุกช่องทาง ทั้งโทรทัศน์และสื่อออนไลน์อย่างต่อเนื่องทุกช่วงเวลาด้วย (1.3) การบริจาคและจัดหาน้ำดื่ม - กรณีมีข่าวว่าจะมีการขาดแคลนน้ำดื่ม ให้เตรียมการในเรื่องดังกล่าว ทุกส่วนราชการ นอกจากนี้ รัฐบาลจะประกาศเชิญชวนให้บริจาคน้ำดื่มให้แก่ผู้ที่ประสบความเดือร้อน เช่นเดียวกับที่ได้ระดมความช่วยเหลือกรณีภัยพิบัติไปต่างประเทศ - ในพื้นที่ต่างจังหวัดให้ขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการบริจาคน้ำขวดสำหรับดื่มเพื่อเพิ่มเติม ผู้ว่าราชการจังหวัด ไปยังจุดจ่ายน้ำพระราชทานทุกจุด (2) การดำเนินโครงการตามแผนบริหารจัดการน้ำ (2.1) การกำหนดให้ภัยแล้งเป็นวาระแห่งชาติ ให้กำหนดการแก้ไขปัญหาภัยแล้งเป็นวาระแห่งชาติ มท. เป็นเจ้าภาพ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยให้มีการบูรณาการการทำงานของทุกกระทรวง (2.2) การจัดทำแผนงานโครงการระยะที่ 1-3 ให้รายงานความคืบหน้าการดำเนินงาน ทุกส่วนราชการที่มี ตามแผนบริหารจัดการน้ำปี 2557-2569 ให้ชัดเจน ดังนี้ โครงการตามแผน - ส่วนที่ดำนินการเสร็จเรียบร้อยแล้วในปัจจุบัน บริการจัดการน้ำปี - ส่วนที่ต้องดำเนินการในระยะต่อไปในปี 2559-2560 ,2561-2564 และ 2565-2569 2557-2569 พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบโดยทั่วกันด้วย (2.3) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเพาะปลูก - ให้นำความรู้จากศูนย์เกษตรกรจังหวัด ปราชญ์ชาวบ้านและประสบการณ์ กษ.และมท. จากพื้นที่ซึ่งประสบความสำเร็จในการดูแลและพึ่งตนเองได้เผยแพร่ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ประสานองค์กร เพื่อให้ปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกมาเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อยที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ตามแนวทาง ปกครองส่วนท้องถิ่น ของการจัดพื้นที่ทางการเกษตร (zoning) ในระยะยาว กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน - ให้จัดจำหน่ายผลผลิตที่ได้จากการปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยดังกล่าวข้างต้น กระทรวงพาณิชย์ เช่น จัดตลาดจำหน่ายในพื้นที่ รวบรวมและขนส่งผลผลิตไปยังตลาดนอกพื้นที่ ทั้งนี้ และ กษ. ให้คำนึงถึงความต้องการใช้และความสามารถในการผลิตให้สมดุลกันด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 กรกฏาคม 2558--