แท็ก
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กระทรวงการคลัง
คณะรัฐมนตรี
กฎกระทรวง
ทำเนียบรัฐบาล--9 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509 (กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการออกสลากออมทรัพย์) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อพิจารณาของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังเสนอว่า มาตรา 33 (5) ของพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 กำหนดให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สามารถออกสลากออมทรัพย์ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ดังนั้น เพื่อให้ ธ.ก.ส. สามารถจัดหาเงินทุนในการดำเนินงานของ ธ.ก.ส. ได้ต่อไป และเป็นทางเลือกในการออมเงินของประชาชนอีกทางหนึ่ง จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าว ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดนิยามคำว่า "ธนาคาร" "คณะกรรมการ" "ผู้จัดการ" "สลากออมทรัพย์" และ "หน่วยออมทรัพย์"
2. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการออกสลากออมทรัพย์ โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้ดำเนินการ
3. กำหนดให้ผู้จัดการ ธ.ก.ส. มีอำนาจกำหนดรายละเอียดในการออกสลากออมทรัพย์
4. ให้ ธ.ก.ส. ทำการออกสลากรางวัลโดยเปิดเผยและแจ้งผลให้ประชาชนทราบโดยเร็ว
5. กำหนดให้สลากออมทรัพย์หมายความรวมถึงบัตรออมทรัพย์ทวีสินและเงินฝากออมทรัพย์ทวีโชค
6. กำหนดมิให้ร่างกฎกระทรวงใช้บังคับแก่ภาระผูกพันใด ๆ ในการดำเนินการเกี่ยวกับบัตรออมทรัพย์ทวีสินและเงินฝากออมทรัพย์ทวีโชค ซึ่ง ธ.ก.ส. ได้ดำเนินการมาก่อนออกกฎกระทรวงนี้ และยังมีภาระผูกพันที่ต้องดำเนินการต่อไปจนเสร็จสิ้น
7. กำหนดวันใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ……… เป็นต้นไป โดยมิได้ระบุวันที่ เดือน พ.ศ.
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 9 พฤศจิกายน 2542--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509 (กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการออกสลากออมทรัพย์) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อพิจารณาของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังเสนอว่า มาตรา 33 (5) ของพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 กำหนดให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สามารถออกสลากออมทรัพย์ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ดังนั้น เพื่อให้ ธ.ก.ส. สามารถจัดหาเงินทุนในการดำเนินงานของ ธ.ก.ส. ได้ต่อไป และเป็นทางเลือกในการออมเงินของประชาชนอีกทางหนึ่ง จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าว ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดนิยามคำว่า "ธนาคาร" "คณะกรรมการ" "ผู้จัดการ" "สลากออมทรัพย์" และ "หน่วยออมทรัพย์"
2. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการออกสลากออมทรัพย์ โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้ดำเนินการ
3. กำหนดให้ผู้จัดการ ธ.ก.ส. มีอำนาจกำหนดรายละเอียดในการออกสลากออมทรัพย์
4. ให้ ธ.ก.ส. ทำการออกสลากรางวัลโดยเปิดเผยและแจ้งผลให้ประชาชนทราบโดยเร็ว
5. กำหนดให้สลากออมทรัพย์หมายความรวมถึงบัตรออมทรัพย์ทวีสินและเงินฝากออมทรัพย์ทวีโชค
6. กำหนดมิให้ร่างกฎกระทรวงใช้บังคับแก่ภาระผูกพันใด ๆ ในการดำเนินการเกี่ยวกับบัตรออมทรัพย์ทวีสินและเงินฝากออมทรัพย์ทวีโชค ซึ่ง ธ.ก.ส. ได้ดำเนินการมาก่อนออกกฎกระทรวงนี้ และยังมีภาระผูกพันที่ต้องดำเนินการต่อไปจนเสร็จสิ้น
7. กำหนดวันใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ……… เป็นต้นไป โดยมิได้ระบุวันที่ เดือน พ.ศ.
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 9 พฤศจิกายน 2542--