ทำเนียบรัฐบาล--1 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า นายกรัฐมนตรีได้ลงนามในคำสั่ง สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 160/2538 ลงวันที่ 6 กันยายน 2538 แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร และคณะทำงานร่วมแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร
ทั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์ของบ้านเมืองในปัจจุบัน ราษฎรได้รวมตัวประท้วงเพื่อขอให้รัฐ บาลแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนต่าง ๆ เช่น ปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน ปัญหาเกี่ยวกับผลกระทบจากโครง การต่าง ๆ ของรัฐราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ความไม่เป็นธรรมอันเกิดจากการกระทำของเจ้า หน้าที่ของรัฐ ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจะต้องกระทำโดยเตรียมการล่วงหน้าก่อนที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้น จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร โดยมีปลัดกระทรวง มหาดไทย เป็นประธานกรรมการ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงมหาดไทย (ฝ่ายอำนวยการ) เป็นกรรมการและ เลขานุการ และผู้อำนวยการกองการข่าว สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการและผู้ช่วย เลขานุการ และกรรมการอื่นอีก 20 คน โดยให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. ติดตามสถานการณ์ที่เกี่ยวกับความเดือดร้อนของราษฎร ที่มีลักษณะกระทบต่อราษฎร จำนวนมาก และเป็นปัญหาความเดือดร้อนที่ต้องแก้ไขเร่งด่วนและเป็นระบบ หากไม่คลี่คลายปัญหาให้ทัน ต่อความต้องการของราษฎร จะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงและความสงบเรียบ ร้อย
2. กำหนดมาตรการ แนวทาง และแผนปฏิบัติการเฉพาะกิจ เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน และ/หรือข้อพิพาทของราษฎรอย่างทันท่วงที
3. จัดเจ้าหน้าที่ไปร่วมอำนวยการประสานงานระดับพื้นที่เพื่อสนับสนุนหน่วยปฏิบัติ
4. เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน และ/หรือข้อพิพาทของราษฎรทั้ง ระยะสั้นและระยะยาวต่อกระทรวงมหาดไทย
5. สั่งให้ กรม รัฐวิสาหกิจ ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัด ให้การสนับสนุน และเข้า ร่วมปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อ 2
6. ให้ประธานคณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการ คณะทำงานเพื่อช่วยเหลือ การปฏิบัติงานของคณะกรรมการ
นอกจากนี้ ยังมีการตั้งคณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรระ ดับจังหวัด โดยให้คณะกรรมการประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ และกรรม การอื่นอีก 8 คน โดยให้มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. ติดตามสถานการณ์ที่เกี่ยวกับความเดือดร้อนของราษฎร ที่มีลักษณะกระทบต่อราษฎรจำ นวนมาก และเป็นปัญหาความเดือดร้อนที่ต้องแก้ไขโดยเร่งด่วนและเป็นระบบ หากไม่คลี่คลายปัญหาให้ทัน กับความต้องการของราษฎร จะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ ความมั่นคง และความสงบ เรียบร้อย
2. กำหนดมาตรการ แนวทาง และแผนปฏิบัติการเฉพาะกิจ เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน และ/หรือข้อพิพาทของราษฎรอย่างทันท่วงที
3. จัดเจ้าหน้าที่ไปร่วมอำนวยการ ประสานงานระดับพื้นที่เพื่อสนับสนุนหน่วยปฏิบัติ
4. เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน และ/หรือข้อพิพาทของราษฎรทั้ง ระยะสั้นและระยะยาว ต่อกระทรวงมหาดไทย
5. สั่งให้หน่วยงานของรัฐ ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นภายในจังหวัด ให้การสนับสนุน และ เข้าร่วมปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อ 2.
6. จัดวางระบบ ติดตามสถานการณ์ด้านการข่าวที่เกี่ยวกับปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร ชี้แจงทำความเข้าใจกับราษฎรที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน แล้วดำเนินการแก้ไขปัญหาการชุมนุมร้อง เรียนให้ยุติในพื้นที่
7. ให้ประธานคณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการ คณะทำงานเพื่อช่วยเหลือ การปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ
การตั้งคณะทำงานร่วมแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร ประกอบด้วย หัวหน้าผู้ตรวจ ราชการ กระทรวงมหาดไทย หรือผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยประจำเขต เป็นหัวหน้าคณะทำ งาน ผู้อำนวยการกองตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นคณะ ทำงานและเลขานุการ โดยให้คณะทำงานมีภารกิจและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. ให้หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย หรือผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาด ไทยประจำเขตร่วมกับผู้ตรวจราชการ หรือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะทำงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับปัญหา ความเดือดร้อน หรือเกี่ยวข้องกับข้อพิพาทจัดเป็นทีมงาน เข้าร่วมสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ของราษฎรในจังหวัดตามที่ประธานหรือคณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร มอบหมาย
2. ให้คณะทำงานเข้าไปรับรู้ รับทราบ ศึกษาปัญหาอุปสรรค รวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง รวมทั้งสถิติการชุมนุมร้องเรียนในเรื่องต่า งๆ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับที่ดินทำกิน ปัญหาเกี่ยวกับผลกระทบ จากโครงการของรัฐปัญหาเกี่ยวกับราคาผลผลิต และรายละเอียดเกี่ยวกับความเดือดร้อนทั้งหลายเพื่อดำ เนินการประเมินสถานการณ์ว่ามีแผนงาน/โครงการปัญหาใดที่ได้ดำเนินการไปแล้ว หรือกำลังดำเนิน การ หรือจะดำเนินการ ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิต ความเป็นอยู่ และสร้างความเดือดร้อนหรือความเสีย หายให้แก่ราษฎร
3. ให้ความช่วยเหลือสนับสนุน เสนอแนะ ประสานการปฏิบัติกับจังหวัด เจรจาไกล่เกลี่ยชี้ แจงข้อเท็จจริง หรือทำความเข้าใจกับราษฎรในฐานะที่เป็นตัวแทนของส่วนกลาง เสนอแนะแนวทางแก้ ไขปัญหาต่อกระทรวงมหาดไทย และคณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร
4. มีอำนาจในการเรียกหรือขอข้อมูลจากส่วนราชการ หรือเชิญผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยว ข้องมาให้ข้อมูลได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2538 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 31 ตุลาคม 2538--
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า นายกรัฐมนตรีได้ลงนามในคำสั่ง สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 160/2538 ลงวันที่ 6 กันยายน 2538 แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร และคณะทำงานร่วมแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร
ทั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์ของบ้านเมืองในปัจจุบัน ราษฎรได้รวมตัวประท้วงเพื่อขอให้รัฐ บาลแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนต่าง ๆ เช่น ปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน ปัญหาเกี่ยวกับผลกระทบจากโครง การต่าง ๆ ของรัฐราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ความไม่เป็นธรรมอันเกิดจากการกระทำของเจ้า หน้าที่ของรัฐ ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจะต้องกระทำโดยเตรียมการล่วงหน้าก่อนที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้น จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร โดยมีปลัดกระทรวง มหาดไทย เป็นประธานกรรมการ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงมหาดไทย (ฝ่ายอำนวยการ) เป็นกรรมการและ เลขานุการ และผู้อำนวยการกองการข่าว สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการและผู้ช่วย เลขานุการ และกรรมการอื่นอีก 20 คน โดยให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. ติดตามสถานการณ์ที่เกี่ยวกับความเดือดร้อนของราษฎร ที่มีลักษณะกระทบต่อราษฎร จำนวนมาก และเป็นปัญหาความเดือดร้อนที่ต้องแก้ไขเร่งด่วนและเป็นระบบ หากไม่คลี่คลายปัญหาให้ทัน ต่อความต้องการของราษฎร จะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงและความสงบเรียบ ร้อย
2. กำหนดมาตรการ แนวทาง และแผนปฏิบัติการเฉพาะกิจ เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน และ/หรือข้อพิพาทของราษฎรอย่างทันท่วงที
3. จัดเจ้าหน้าที่ไปร่วมอำนวยการประสานงานระดับพื้นที่เพื่อสนับสนุนหน่วยปฏิบัติ
4. เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน และ/หรือข้อพิพาทของราษฎรทั้ง ระยะสั้นและระยะยาวต่อกระทรวงมหาดไทย
5. สั่งให้ กรม รัฐวิสาหกิจ ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัด ให้การสนับสนุน และเข้า ร่วมปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อ 2
6. ให้ประธานคณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการ คณะทำงานเพื่อช่วยเหลือ การปฏิบัติงานของคณะกรรมการ
นอกจากนี้ ยังมีการตั้งคณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรระ ดับจังหวัด โดยให้คณะกรรมการประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ และกรรม การอื่นอีก 8 คน โดยให้มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. ติดตามสถานการณ์ที่เกี่ยวกับความเดือดร้อนของราษฎร ที่มีลักษณะกระทบต่อราษฎรจำ นวนมาก และเป็นปัญหาความเดือดร้อนที่ต้องแก้ไขโดยเร่งด่วนและเป็นระบบ หากไม่คลี่คลายปัญหาให้ทัน กับความต้องการของราษฎร จะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ ความมั่นคง และความสงบ เรียบร้อย
2. กำหนดมาตรการ แนวทาง และแผนปฏิบัติการเฉพาะกิจ เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน และ/หรือข้อพิพาทของราษฎรอย่างทันท่วงที
3. จัดเจ้าหน้าที่ไปร่วมอำนวยการ ประสานงานระดับพื้นที่เพื่อสนับสนุนหน่วยปฏิบัติ
4. เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน และ/หรือข้อพิพาทของราษฎรทั้ง ระยะสั้นและระยะยาว ต่อกระทรวงมหาดไทย
5. สั่งให้หน่วยงานของรัฐ ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นภายในจังหวัด ให้การสนับสนุน และ เข้าร่วมปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อ 2.
6. จัดวางระบบ ติดตามสถานการณ์ด้านการข่าวที่เกี่ยวกับปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร ชี้แจงทำความเข้าใจกับราษฎรที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน แล้วดำเนินการแก้ไขปัญหาการชุมนุมร้อง เรียนให้ยุติในพื้นที่
7. ให้ประธานคณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการ คณะทำงานเพื่อช่วยเหลือ การปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ
การตั้งคณะทำงานร่วมแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร ประกอบด้วย หัวหน้าผู้ตรวจ ราชการ กระทรวงมหาดไทย หรือผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยประจำเขต เป็นหัวหน้าคณะทำ งาน ผู้อำนวยการกองตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นคณะ ทำงานและเลขานุการ โดยให้คณะทำงานมีภารกิจและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. ให้หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย หรือผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาด ไทยประจำเขตร่วมกับผู้ตรวจราชการ หรือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะทำงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับปัญหา ความเดือดร้อน หรือเกี่ยวข้องกับข้อพิพาทจัดเป็นทีมงาน เข้าร่วมสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ของราษฎรในจังหวัดตามที่ประธานหรือคณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร มอบหมาย
2. ให้คณะทำงานเข้าไปรับรู้ รับทราบ ศึกษาปัญหาอุปสรรค รวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง รวมทั้งสถิติการชุมนุมร้องเรียนในเรื่องต่า งๆ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับที่ดินทำกิน ปัญหาเกี่ยวกับผลกระทบ จากโครงการของรัฐปัญหาเกี่ยวกับราคาผลผลิต และรายละเอียดเกี่ยวกับความเดือดร้อนทั้งหลายเพื่อดำ เนินการประเมินสถานการณ์ว่ามีแผนงาน/โครงการปัญหาใดที่ได้ดำเนินการไปแล้ว หรือกำลังดำเนิน การ หรือจะดำเนินการ ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิต ความเป็นอยู่ และสร้างความเดือดร้อนหรือความเสีย หายให้แก่ราษฎร
3. ให้ความช่วยเหลือสนับสนุน เสนอแนะ ประสานการปฏิบัติกับจังหวัด เจรจาไกล่เกลี่ยชี้ แจงข้อเท็จจริง หรือทำความเข้าใจกับราษฎรในฐานะที่เป็นตัวแทนของส่วนกลาง เสนอแนะแนวทางแก้ ไขปัญหาต่อกระทรวงมหาดไทย และคณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร
4. มีอำนาจในการเรียกหรือขอข้อมูลจากส่วนราชการ หรือเชิญผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยว ข้องมาให้ข้อมูลได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2538 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 31 ตุลาคม 2538--