ทำเนียบรัฐบาล--17 ก.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ
1. ให้กรมประมงเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการเพาะเลี้ยงกุ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของผลกระทบต่อป่าชายเลน
2.ให้กรมประมงเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการโดยประสานข้อคิดเห็นเพิ่มเติม จากกระทรวงพาณิชย์กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และรายงานความคืบหน้าของการดำเนินการให้รัฐมนตรีทราบด้วย ทั้งนี้ สืบเนื่องจากคณะผู้แทนไทยได้ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Commission on Sustainable Development - CSD) ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 18 เมษายน - 3 พฤษภาคม 2539 ณ สำนักงาน ใหญ่ องค์การสหประชาชาติ กรุงนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโน โลยีและสิ่งแวดล้อมเห็นว่าโดยที่ NGOs ในต่างประเทศได้มีการเรียกร้องให้ประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ ต่าง ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น พิจารณายกเลิกการนำเข้ากุ้งจากประเทศที่มีปัญหาการทำลายป่า ชายเลนและสภาพแวดล้อม ตลอดจนการจับกุ้งทะเลโดยใช้อวนลากที่ทำให้ติดเต่าทะเล โดยใช้คำขวัญว่า "รับประทานกุ้งฆ่าเต่าทะเล"” โดยมีการระบุชื่อประเทศไทยรวมอยู่ด้วย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่รัฐ บาลไทยจะต้องเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อการพาณิชย์ และปัญหาในเรื่อง ภาพพจน์ของประเทศด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าชายเลนเพื่อให้ได้ ผลอย่างจริงจัง เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และแสดงความจริงใจของรัฐบาล ไทยในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 16 กรกฏาคม 2539
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ
1. ให้กรมประมงเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการเพาะเลี้ยงกุ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของผลกระทบต่อป่าชายเลน
2.ให้กรมประมงเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการโดยประสานข้อคิดเห็นเพิ่มเติม จากกระทรวงพาณิชย์กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และรายงานความคืบหน้าของการดำเนินการให้รัฐมนตรีทราบด้วย ทั้งนี้ สืบเนื่องจากคณะผู้แทนไทยได้ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Commission on Sustainable Development - CSD) ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 18 เมษายน - 3 พฤษภาคม 2539 ณ สำนักงาน ใหญ่ องค์การสหประชาชาติ กรุงนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโน โลยีและสิ่งแวดล้อมเห็นว่าโดยที่ NGOs ในต่างประเทศได้มีการเรียกร้องให้ประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ ต่าง ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น พิจารณายกเลิกการนำเข้ากุ้งจากประเทศที่มีปัญหาการทำลายป่า ชายเลนและสภาพแวดล้อม ตลอดจนการจับกุ้งทะเลโดยใช้อวนลากที่ทำให้ติดเต่าทะเล โดยใช้คำขวัญว่า "รับประทานกุ้งฆ่าเต่าทะเล"” โดยมีการระบุชื่อประเทศไทยรวมอยู่ด้วย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่รัฐ บาลไทยจะต้องเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อการพาณิชย์ และปัญหาในเรื่อง ภาพพจน์ของประเทศด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าชายเลนเพื่อให้ได้ ผลอย่างจริงจัง เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และแสดงความจริงใจของรัฐบาล ไทยในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 16 กรกฏาคม 2539