แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
องค์การบริหารส่วนจังหวัด
กระทรวงมหาดไทย
สำนักงาน ก.พ.
คณะรัฐมนตรี
ข้าราชการ
ทำเนียบรัฐบาล--12 ก.พ.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีการะเบียบข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้แก้ไขเพิ่มเติมตามความเห็นของสำนักงาน ก.พ. แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ เนื่องจากพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 86 ได้กำหนดให้มีการตราพระราชกฤษฎีกาฯ ดังกล่าว ภายในกำหนด 120 วัน นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2540 ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 บังคับใช้ จึงอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ซึ่งกำหนดระเบียบหลักเกณฑ์ วิธีการในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับโดยอนุโลม
2. การแบ่งหน่วยการบริหาร การกำหนดตำแหน่งเป็นไปตามที่ ก.จ. กำหนด
3. ให้มีคณะกรรมการข้าราชการส่วนจังหวัด (ก.จ.) มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย เป็นประธาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมการปกครอง รองอธิบดีกรมการปกครองที่อธิบดีกรมการปกครองมอบหมาย ผู้ทรงคุณวุฒิที่รัฐมนตรีมหาดไทยแต่งตั้ง4 คน ผู้แทนนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลือกกันเอง 2 คน และผู้แทนปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลือกกันเอง 2 คนเป็นกรรมการ
4. อำนาจหน้าที่ของ ก.จ.
5. ให้มีสำนักงาน ก.จ. เป็นหน่วยงานของกรมการปกครองทำหน้าที่บริหารงานบุคคลมีอำนาจหน้าที่รวม9 ประการ
6. ให้มีคณะอนุกรรมการข้าราชการส่วนจังหวัดประจำจังหวัด (อ.ก.จ.) มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับมอบหมาย ปลัดจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือผู้ได้รับมอบหมาย คลังจังหวัดโยธาธิการ อัยการจังหวัด ปลัดองค์การส่วนจังหวัด ผู้ตรวจการส่วนท้องถิ่นเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม
7. ให้มีคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดประจำองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อ.ก.จ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด) มีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นประธาน รองนายกฯ ปลัดองค์การฯ รองปลัดองค์การฯ หัวหน้าส่วนราชการฯ เป็นอนุกรรมการ
8. กำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด
9. กำหนดผู้มีอำนาจบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด
10. การโอนข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด
11. การขอกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ทั้งนี้ ให้กระทรวงมหาดไทยแก้ไขเพิ่มเติมตามความเห็นของสำนักงาน ก.พ. ดังนี้
1. ร่างพระราชกฤษฎีการะเบียบข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. .... ได้บัญญัติให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนออกใช้บังคับโดยอนุโลมเป็นหลักการที่ดี จะทำให้การบริหารงานบุคคลเป็นมาตรฐานเดียวกันกับข้าราชการพลเรือนและข้าราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ แต่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการข้าราชการที่ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 288 เรื่องความเป็นกลางและความเป็นอิสระ ขาดการเชื่อมโยงกับสภาวะการเงินและการคลัง และมาตรฐานการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือน
2. องค์ประกอบของ อ.ก.จ. จังหวัด และ อ.ก.จ. องค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่มีองค์ประกอบของผู้ทรงคุณวุฒิไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย องค์การกลางบริหารงานบุคคลทั่วไป
3. ร่างมาตรา 5 ควรแก้ไขให้ ก.จ. เป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาและผู้แทนองค์กรปกครองท้องถิ่น
4. ร่างมาตรา 11 ควรให้อำนาจนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการที่มิใช่ตำแหน่งบริหารโดยอนุมัติ ก.จ. หรือกำหนดกลไกและวิธีการแต่งตั้งอื่นเพื่อให้มีหลักประกันความเป็นธรรม
5. ร่างมาตรา 7 ไม่ควรกำหนดให้สำนักงาน ก.จ. มีอำนาจหน้าที่รับรองคุณวุฒิและกำหนดเงินเดือนและระดับตำแหน่งเพื่อประโยชน์ในการบรรจุแต่งตั้ง เพราะสำนักงาน ก.พ. เป็นศูนย์กลางการพิจารณาในเรื่องนี้ ทำให้มีมาตรฐานระหว่างข้าราชการประเภทต่าง ๆ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)-- วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2541--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีการะเบียบข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้แก้ไขเพิ่มเติมตามความเห็นของสำนักงาน ก.พ. แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ เนื่องจากพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 86 ได้กำหนดให้มีการตราพระราชกฤษฎีกาฯ ดังกล่าว ภายในกำหนด 120 วัน นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2540 ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 บังคับใช้ จึงอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ซึ่งกำหนดระเบียบหลักเกณฑ์ วิธีการในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับโดยอนุโลม
2. การแบ่งหน่วยการบริหาร การกำหนดตำแหน่งเป็นไปตามที่ ก.จ. กำหนด
3. ให้มีคณะกรรมการข้าราชการส่วนจังหวัด (ก.จ.) มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย เป็นประธาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมการปกครอง รองอธิบดีกรมการปกครองที่อธิบดีกรมการปกครองมอบหมาย ผู้ทรงคุณวุฒิที่รัฐมนตรีมหาดไทยแต่งตั้ง4 คน ผู้แทนนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลือกกันเอง 2 คน และผู้แทนปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลือกกันเอง 2 คนเป็นกรรมการ
4. อำนาจหน้าที่ของ ก.จ.
5. ให้มีสำนักงาน ก.จ. เป็นหน่วยงานของกรมการปกครองทำหน้าที่บริหารงานบุคคลมีอำนาจหน้าที่รวม9 ประการ
6. ให้มีคณะอนุกรรมการข้าราชการส่วนจังหวัดประจำจังหวัด (อ.ก.จ.) มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับมอบหมาย ปลัดจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือผู้ได้รับมอบหมาย คลังจังหวัดโยธาธิการ อัยการจังหวัด ปลัดองค์การส่วนจังหวัด ผู้ตรวจการส่วนท้องถิ่นเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม
7. ให้มีคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดประจำองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อ.ก.จ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด) มีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นประธาน รองนายกฯ ปลัดองค์การฯ รองปลัดองค์การฯ หัวหน้าส่วนราชการฯ เป็นอนุกรรมการ
8. กำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด
9. กำหนดผู้มีอำนาจบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด
10. การโอนข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด
11. การขอกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ทั้งนี้ ให้กระทรวงมหาดไทยแก้ไขเพิ่มเติมตามความเห็นของสำนักงาน ก.พ. ดังนี้
1. ร่างพระราชกฤษฎีการะเบียบข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. .... ได้บัญญัติให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนออกใช้บังคับโดยอนุโลมเป็นหลักการที่ดี จะทำให้การบริหารงานบุคคลเป็นมาตรฐานเดียวกันกับข้าราชการพลเรือนและข้าราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ แต่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการข้าราชการที่ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 288 เรื่องความเป็นกลางและความเป็นอิสระ ขาดการเชื่อมโยงกับสภาวะการเงินและการคลัง และมาตรฐานการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือน
2. องค์ประกอบของ อ.ก.จ. จังหวัด และ อ.ก.จ. องค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่มีองค์ประกอบของผู้ทรงคุณวุฒิไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย องค์การกลางบริหารงานบุคคลทั่วไป
3. ร่างมาตรา 5 ควรแก้ไขให้ ก.จ. เป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาและผู้แทนองค์กรปกครองท้องถิ่น
4. ร่างมาตรา 11 ควรให้อำนาจนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการที่มิใช่ตำแหน่งบริหารโดยอนุมัติ ก.จ. หรือกำหนดกลไกและวิธีการแต่งตั้งอื่นเพื่อให้มีหลักประกันความเป็นธรรม
5. ร่างมาตรา 7 ไม่ควรกำหนดให้สำนักงาน ก.จ. มีอำนาจหน้าที่รับรองคุณวุฒิและกำหนดเงินเดือนและระดับตำแหน่งเพื่อประโยชน์ในการบรรจุแต่งตั้ง เพราะสำนักงาน ก.พ. เป็นศูนย์กลางการพิจารณาในเรื่องนี้ ทำให้มีมาตรฐานระหว่างข้าราชการประเภทต่าง ๆ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)-- วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2541--