ทำเนียบรัฐบาล--27 ต.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ การกำหนดมาตรการเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจ
ภาคเอกชนในเรื่องการซื้อการจ้างของทางราชการในการจัดซื้อจัดจ้างในปีงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2541 และปีงบประมาณ
รายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2542 และให้ส่วนราชการต่าง ๆ ถือปฏิบัติ ตามข้อพิจารณาของคณะกรรมการควบคุมราคากลาง และคณะกรรม
การว่าด้วยการพัสดุ รวม 9 ประการ และให้ความเห็นชอบตามความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์ในการช่วยเหลือผู้ประกอบ
อาชีพงานก่อสร้างและผู้ประกอบอาชีพงานอื่นกับทางราชการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา (กกอ.)
มาตรการนี้ใช้เป็นมาตรการชั่วคราวเฉพาะปีงบประมาณ 2541 และ 2542 เท่านั้น ดังนี้
1. มาตรการในด้านการจ้างก่อสร้าง
1.1 เรื่องหลักประกันซอง ในการดำเนินการประกวดราคาจ้างก่อสร้างครั้งหนึ่งในวงเงินไม่เกิน 5,000,000 บาท
ยกเว้นให้ส่วนราชการผู้ประกวดราคาไม่ต้องกำหนดเงื่อนไขให้ผู้เสนอราคาวางหลักประกันซอง แต่ถ้าหากผู้ที่ประกวดราคาได้ไม่มาเซ็น
สัญญาจะต้องถูกขึ้นบัญชีเป็นผู้ละทิ้งงาน
1.2 เรื่องหลักประกันสัญญา ในการทำสัญญาจ้างก่อสร้าง ให้ส่วนราชการกำหนดมูลค่าของหลักประกันสัญญาเป็นจำนวน
เต็มในอัตราร้อยละห้า (5%) ของวงเงินค่าจ้าง ทั้งนี้ รวมทั้งกรณีที่มีการดำเนินการจ้าง เช่น การสอบราคา หรือประกวดราคา และมี
เงื่อนไขการเรียกหลักประกันสัญญาที่มีอัตราสูงกว่าร้อยละห้าไปก่อนแล้วด้วย
1.3 เรื่องกำหนดระยะเวลาการรับประกันความชำรุดบกพร่องของงานจ้างก่อสร้าง สมควรกำหนดมาตรการช่วยเหลือ
ประกอบอาชีพรับจ้างงานก่อสร้างของทางราชการ โดยให้มีวิธีปฏิบัติในเรื่องการรับประกันความชำรุดบกพร่องเพื่อป้องกันมิให้ทางราชการ
ผู้ว่าจ้างเสียประโยชน์ด้วย ดังนี้
1) การกำหนดระยะเวลาการประกันความชำรุดบกพร่องของงานจ้างก่อสร้าง 2 ปี นับถัดจากวันรับมอบงาน เว้น
แต่โดยสภาพของงานที่ผู้รับจ้างไม่ต้องรับผิดชอบ 2 ปี ได้แก่
- ถนนลูกรัง ถนนดิน
- งานขุดหรือขุดลอกคู คลอง สระ หรือหนอง ซึ่งเป็นงานดินที่ไม่มีการดาดคอนกรีตให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2536
2) เมื่อระยะเวลาการประกันความชำรุดบกพร่องของงานจ้างก่อสร้างครบ 1 ปี นับถัดจากวันรับมอบงานให้ส่วนราช
การผู้ว่าจ้างคืนหลักประกันสัญญาให้แก่ผู้รับจ้าง ส่วนระยะเวลาการประกันความชำรุดบกพร่องที่เหลืออีก 1 ปี ให้ผู้รับจ้างค้ำประกันตนเอง
ทั้งนี้ ก่อนที่จะครบระยะเวลาการประกันความชำรุดบกพร่อง่ 1 ปี และ 2 ปี ทั้งสองกรณีดังกล่าว ส่วนราชการผู้ว่าจ้างจะต้อง
ดำเนินการตรวจสอบความเรียบร้อยของงานจ้าง เพื่อให้สามารถเรียกผู้รับจ้างมาซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่อง (ถ้ามี)ได้ตามสิทธิของ
สัญญาด้วย
3) ในกรณีที่ผู้รับจ้างไม่มาดำเนินการซ่อมแซมความชำรุดบกพร่องของงานจ้างก่อสร้าง ให้ส่วนราชการผู้ว่าจ้างพิจารณา
กำหนดมาตรการบังคับเพิ่มเติม เช่น พิจารณาตัดสิทธิการเข้าเสนอราคาในงานจ้างครั้งต่อไป เป็นต้น และหากเป็นกรณีที่ผู้รับจ้างจงใจไม่รับผิด
ชอบซึ่งถือว่าเป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญา โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้พิจารณาดำเนินการลงโทษผู้รับจ้างดังกล่าวให้เป็นผู้ทิ้งงาน ตามขั้นตอน
ของระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
4) มาตรการดังกล่าวตามข้อ 2) ให้มีผลใช้บังคับกับสัญญาจ้างก่อสร้างที่ยังมีผลผูกพันอยู่ในวันที่มาตรการนี้เริ่มใช้บังคับ
โดยมีผู้ประกอบการคนไทยหรือกิจการร่วมค้านิติบุคคลสัญชาติไทยเป็นผู้รับจ้าง และใช้กับสัญญาที่จะลงนามในปีงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2541
และ พ.ศ. 2542 ทั้งหมด
สำหรับกรณีที่สัญญาจ้างก่อสร้าง มีระยะเวลาการประกันความชำรุดบกพร่องมาแล้วมากกว่า 1 ปี แต่ยังไม่เกิน2 ปี ให้ส่วนราช
การรีบดำเนินการตรวจสอบความเรียบร้อยของงานจ้างก่อนคืนหลักประกันสัญญาให้แก่ผู้รับจ้างให้แล้วเสร็จไปโดยเร็วที่สุด
1.4 เรื่องระยะเวลาในการตรวจรับงานก่อสร้าง เพื่อเป็นการเร่งรัดการดำเนินงานของทางราชการ และสร้างให้เกิด
ความเป็นธรรมแก่ภาคเอกชนผู้ประกอบการ โดยเฉพาะเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2541 เพื่อเสริม
สภาพคล่องให้แก่สภาพเศรษฐกิจโดยรวม จึงสมควรกำหนดให้มีระยะเวลาในการดำเนินการตรวจการจ้างก่อสร้าง โดยแยกเป็น 2 ลักษณะ
ดังนี้
1) ระยะเวลาการตรวจการจ้างก่อสร้างแบบราคาเหมารวม (LUMP SUM)
ราคาค่างาน ผู้ควบคุมงาน คณะกรรมการตรวจการจ้าง
งวดงาน งวดสุดท้าย งวดงาน ตรวจรับงาน
ทุกราคาค่างาน 3 วัน 3 วัน 3 วัน 5 วัน
2) ระยะเวลาการตรวจกาารจ้างก่อสร้างแบบราคาต่อหน่วย (UNTT COST)
ราคาค่างาน ผู้ควบคุมงาน คณะกรรมการตรวจการจ้าง
งวดงาน ครั้งสุดท้าย งวดงาน ตรวจรับงาน
ไม่เกิน 30 ล้านบาท 4 วัน 8 วัน 3 วัน 5 วัน
ไม่เกิน 60 ล้านบาท 8 วัน 12 วัน 3 วัน 5 วัน
ไม่เกิน 100 ล้านบาท 12 วัน 16 วัน 3 วัน 5 วัน
เกิน 100 ล้านบาท ขึ้นไป 16 วัน 20 วัน 3 วัน 5 วัน
โดยมีหลักเกณฑ์ประกอบด้วยว่า
1) ให้ถือเป็นหลักปฏิบัติว่า ผู้ควบคุมงาน และคณะกรรมการตรวจการจ้างจะต้องเร่งรัดการดำเนินการตรวจการ
จ้างให้แล้วเสร็จไปโดยเร็วที่สุด และจะต้องไม่เกินระยะเวลาการตรวจการจ้างก่อสร้าง ตามตารางดังกล่าวข้างต้น สำหรับการนับวัน
ตามระยะเวลาการตรวจรับการจ้างก่อสร้างให้นับเป็น "วันทำการ"
2) ผู้รับจ้างจะต้องมีหนังสือแจ้งส่งงานมอบให้แก่ส่วนราชการ (ส่งงานสารบรรณ เจ้าหน้าที่พัสดุ หรือผู้ควบคุมงาน)
3) ผู้รับหนังสือส่งมอบงานจะต้องนำหนังสือไปให้งานสารบรรณลงรับในวันนั้นทันที เว้นแต่จะไม่สามารถดำเนินการ
ได้ทัน ก็ให้ลงรับในวันทำการถัดไป และให้ส่งมอบให้แก่ผู้ควบคุมงานต่อไป
4) การนับวันดำเนินการของผู้ควบคุมงาน จะเริ่มนับจากวันถัดจากวันที่ผู้ควบคุมงานได้รับมอบหนังสือส่งงานตามข้อ
3 แล้วในกรณีที่มีผู้คุมงานไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาได้ ให้รายงานประธานคณะกรรมการตรวจการจ้าง พร้อม
ด้วยเหตุผลความจำเป็น
5) การนับวันดำเนินการของคณะกรรมการตรวจการจ้าง จะเริ่มนับถัดจากวันที่ผู้ควบคุมงานได้ดำเนินการเสร็จและ
รายงานให้ประธานกรรมการตรวจการจ้างทราบ
ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจการจ้างไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาได้ (หากมีการขยายเวลาให้ผู้ควบ
คุมงานไปก่อนแล้ว จะต้องนำมาคำนวณหักออกจากวันดำเนินการของคณะกรรมการตรวจการจ้างที่กำหนดไว้ด้วย) ให้รายงานหัวหน้าส่วนราช
การพร้อมด้วยเหตุผลความจำเป็น พร้อมกับสำเนาแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบด้วย
1.5 เรื่องการหักเงินประกันผลงาน สมควรแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพรับจ้างงานก่อสร้าง
ของทางราชการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2541 จากเดิมเป็น ดังนี้
1) งานก่อสร้างที่ลงนามในสัญญาจ้างไว้กับทางราชการแล้วภายในวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติในเรื่องนี้ และสัญญาจ้างดังกล่าว
มีเงื่อนไขการหักเงินประกันผลงานจากเงินค่าจ้างที่จะจ่ายให้แก่ผู้รับจ้างแต่ละงวด พร้อมทั้งกำหนดให้ผู้รับจ้างมีสิทธิที่จะขอรับเงินประกันผล
งานที่ถูกหักไว้นั้นคืนได้ในกรณีที่เงินประกันผลงานถูกหักไว้ทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 6 เดือน หรือตามจำนวนเงินที่กำหนด โดยผู้รับจ้างจะต้องนำหนังสือ
ค้ำประกันของธนาคาร ซึ่งออกโดยธนาคารภายในประเทศมาวางเป็นหลักประกันแทนไว้ด้วย กรณีนี้อนุมัติยกเว้นให้ส่วนราชการผู้ว่าจ้างพิจารณา
แก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาจ้างโดยตัดเงื่อนไขการหักเงินประกันผลงานดังกล่าวออกจากสัญญาจ้าง
2) งานก่อสร้างที่เสนอราคาไว้กับทางราชการภายในวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติในเรื่องนี้ แต่ยังไม่ได้ลงนามในสัญญาจ้าง และ
ตามเอกสารประกวดราคาจ้างกำหนดให้จัดทำสัญญาจ้างซึ่งมีเงื่อนไขการหักเงินประกันผลงานไว้ด้วย กรณีนี้อนุมัติยกเว้นให้ส่วนราชการผู้ว่าจ้าง
จัดทำสัญญาจ้างโดยไม่ต้องมีเงื่อนไขการหักเงินประกันผลงานตามเอกสารประกวดราคาจ้างนั้น
3) ในการดำเนินการจัดจ้างสำหรับงานก่อสร้างใหม่ที่ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2541 และงานก่อสร้างที่ใช้งบ
ประมาณรายจ่ายประจำปี 2542 ให้ส่วนราชการระงับการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการหักเงินประกันผลงานไว้ในเอกสารประกวดราคาจ้าง
และสัญญาจ้าง ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป
4) ให้รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มี
ฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นใดของรัฐถือปฏิบัติตามมาตรการข้างต้นโดยอนุโลมด้วย
5) มาตรการข้างต้นนี้ ไม่รวมถึงการดำเนินการภายใต้โครงการเงินกู้ที่มีการกำหนดเงื่อนไขเรื่องของการหักเงินประกัน
ผลงานตามเงื่อนไขของแหล่งเงินกู้ที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ และไม่รวมถึงการจ้างก่อสร้างโดยวิธีประกวดราคานานาชาติที่ต้องกำหนดเงื่อน
ไขเรื่องของการหักเงินประกันผลงานตามหลักสากลไว้ในประกาศประกวดราคา
2. มาตรการในด้านการซื้อและการจ้างทำของนอกเหนือจากการก่อสร้าง
2.1 เรื่องหลักประกันซอง ในการดำเนินการประกวดราคาซื้อ หรือจ้างครั้งหนึ่งในวงเงินไม่เกิน 5,000,000 บาท ยก
เว้นให้ส่วนราชการผู้ประกวดราคาไม่ต้องกำหนดเงื่อนไขให้ผู้เสนอราคาวางหลักประกันซอง
2.2 เรื่องหลักประกันสัญญา ในการทำสัญญาจัดหาพัสดุ ให้ส่วนราชการกำหนดมูลค่าของหลักประกันสัญญาเป็นจำนวนเต็ม
ในอัตราตายตัวร้อยละห้า (5 %) ของราคาพัสดุที่จัดหาครั้งนั้น ทั้งนี้ รวมทั้งกรณีที่มีการดำเนินการจัดหา เช่น การสอบราคา หรือประกวด
ราคา และมีเงื่อนไขการเรียกหลักประกันสัญญาที่มีอัตราสูงกว่าร้อยละห้าไปก่อนแล้วด้วย
2.3 เรื่องระยะเวลาในการตรวจรับพัสดุ ให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุดำเนินการตรวจรับในวันที่คู่สัญญานำพัสดุมาส่งมอบ
และให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด แต่อย่างช้าไม่เกิน 5 วันทำการ นับแต่วันที่คู่สัญญานำพัสดุมาส่งมอบ ทั้งนี้ ระยะเวลาดังกล่าวไม่
รวมถึงระยะเวลาในการตรวจทดลอง หรือการตรวจสอบทางเทคนิคหรือทางวิทยาศาสตร์
กรณีที่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุไม่สามารดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวข้างต้นได้ ให้รายงานหัวหน้าส่วน
ราชการพร้อมด้วยเหตุผลความจำเป็น พร้อมกับสำเนาแจ้งให้คู่สัญญาทราบด้วย
2.4 เรื่องกำหนดระยะเวลาการรับประกันความชำรุดบกพร่องพัสดุที่ซื้อ เว้นแต่การจ้างก่อสร้างให้ส่วนราชการกำหนดระยะ
เวลาการรับประกันความชำรุดบกพร่องของพัสดุที่จัดหาไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับมอบ เว้นแต่ในการจัดหาพัสดุที่หัวหน้าส่วนราชการเห็นว่ามี
ความสำคัญเป็นพิเศษ จะกำหนดระยะเวลาการรับประกันความชำรุดบกพร่องของพัสดุนั้นไว้เกินกว่า 1 ปี ก็ได้ และในกรณีนี้เมื่อระยะเวลาการ
รับประกันครบ 1 ปี นับถัดจากวันรับมอบ ให้ส่วนราชการผู้ซื้อคืนหลักประกันสัญญาให้แก่คู่สัญญาโดยเร็ว ส่วนระยะเวลาการรับประกันความชำรุด
บกพร่องที่เหลือ ให้คู่สัญญาค้ำประกันตนเอง
สำหรับความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์ในการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้างและผู้ประกอบอาชีพงานอื่นกับทาง
ราชการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา (กกอ.) มีดังนี้
1. หลักการตามข้อเสนอของสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้ง 9 ประการ สอดคล้องกับมติที่ประชุมคณะกรรมการซึ่งได้ประสานงานกับผู้แทน
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีไว้แล้ว มาตรการดังกล่าวจะช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่องให้เกิดผลในทางปฏิบัติโดยเร่งด่วน เนื่องจากสถานการณ์
ปัจจุบัน ผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้างและผู้ประกอบอาชีพงานอื่นกับทางราชการ ประสบปัญหาการขาดเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานอันเป็นผล
มาจากการที่สถาบันการเงินถูกปิดกิจการ หรือการงดปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน หากกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนประกอบมาตรการด้วย
เช่น การกำหนดให้มาตรการ เรื่องการประกันซอง การประกันสัญญา การประกันความชำรุดบกพร่อง ต้องมีในประกาศประกวดราคา เป็นต้น
ก็จะช่วยผู้ประกอบการให้มีเงินทุนหมุนเวียนดีขึ้น
2. ขอให้เพิ่มระยะเวลาการทำเรื่องเบิกเงินค่าก่อสร้าง ภายใน 5 วันทำการ นับถัดจากวันที่ตรวจการจ้างแล้วเสร็จ เพื่อไม่ให้
เกิดช่องว่างของช่วงเวลาระหว่างการตรวจรับงานกับการอนุมัติเงินประจำงวด การวางฎีกา และการตรวจสอบฎีกา ซึ่งในแต่ละช่วงเวลาของ
การดำเนินการอนุมัติเงินประจำงวด การวางฎีกา และการตรวจสอบฎีกาได้มีการกำหนดเวลาดำเนินการให้แล้วเสร็จไว้แน่นอนแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 27 ตุลาคม 2541--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ การกำหนดมาตรการเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจ
ภาคเอกชนในเรื่องการซื้อการจ้างของทางราชการในการจัดซื้อจัดจ้างในปีงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2541 และปีงบประมาณ
รายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2542 และให้ส่วนราชการต่าง ๆ ถือปฏิบัติ ตามข้อพิจารณาของคณะกรรมการควบคุมราคากลาง และคณะกรรม
การว่าด้วยการพัสดุ รวม 9 ประการ และให้ความเห็นชอบตามความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์ในการช่วยเหลือผู้ประกอบ
อาชีพงานก่อสร้างและผู้ประกอบอาชีพงานอื่นกับทางราชการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา (กกอ.)
มาตรการนี้ใช้เป็นมาตรการชั่วคราวเฉพาะปีงบประมาณ 2541 และ 2542 เท่านั้น ดังนี้
1. มาตรการในด้านการจ้างก่อสร้าง
1.1 เรื่องหลักประกันซอง ในการดำเนินการประกวดราคาจ้างก่อสร้างครั้งหนึ่งในวงเงินไม่เกิน 5,000,000 บาท
ยกเว้นให้ส่วนราชการผู้ประกวดราคาไม่ต้องกำหนดเงื่อนไขให้ผู้เสนอราคาวางหลักประกันซอง แต่ถ้าหากผู้ที่ประกวดราคาได้ไม่มาเซ็น
สัญญาจะต้องถูกขึ้นบัญชีเป็นผู้ละทิ้งงาน
1.2 เรื่องหลักประกันสัญญา ในการทำสัญญาจ้างก่อสร้าง ให้ส่วนราชการกำหนดมูลค่าของหลักประกันสัญญาเป็นจำนวน
เต็มในอัตราร้อยละห้า (5%) ของวงเงินค่าจ้าง ทั้งนี้ รวมทั้งกรณีที่มีการดำเนินการจ้าง เช่น การสอบราคา หรือประกวดราคา และมี
เงื่อนไขการเรียกหลักประกันสัญญาที่มีอัตราสูงกว่าร้อยละห้าไปก่อนแล้วด้วย
1.3 เรื่องกำหนดระยะเวลาการรับประกันความชำรุดบกพร่องของงานจ้างก่อสร้าง สมควรกำหนดมาตรการช่วยเหลือ
ประกอบอาชีพรับจ้างงานก่อสร้างของทางราชการ โดยให้มีวิธีปฏิบัติในเรื่องการรับประกันความชำรุดบกพร่องเพื่อป้องกันมิให้ทางราชการ
ผู้ว่าจ้างเสียประโยชน์ด้วย ดังนี้
1) การกำหนดระยะเวลาการประกันความชำรุดบกพร่องของงานจ้างก่อสร้าง 2 ปี นับถัดจากวันรับมอบงาน เว้น
แต่โดยสภาพของงานที่ผู้รับจ้างไม่ต้องรับผิดชอบ 2 ปี ได้แก่
- ถนนลูกรัง ถนนดิน
- งานขุดหรือขุดลอกคู คลอง สระ หรือหนอง ซึ่งเป็นงานดินที่ไม่มีการดาดคอนกรีตให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2536
2) เมื่อระยะเวลาการประกันความชำรุดบกพร่องของงานจ้างก่อสร้างครบ 1 ปี นับถัดจากวันรับมอบงานให้ส่วนราช
การผู้ว่าจ้างคืนหลักประกันสัญญาให้แก่ผู้รับจ้าง ส่วนระยะเวลาการประกันความชำรุดบกพร่องที่เหลืออีก 1 ปี ให้ผู้รับจ้างค้ำประกันตนเอง
ทั้งนี้ ก่อนที่จะครบระยะเวลาการประกันความชำรุดบกพร่อง่ 1 ปี และ 2 ปี ทั้งสองกรณีดังกล่าว ส่วนราชการผู้ว่าจ้างจะต้อง
ดำเนินการตรวจสอบความเรียบร้อยของงานจ้าง เพื่อให้สามารถเรียกผู้รับจ้างมาซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่อง (ถ้ามี)ได้ตามสิทธิของ
สัญญาด้วย
3) ในกรณีที่ผู้รับจ้างไม่มาดำเนินการซ่อมแซมความชำรุดบกพร่องของงานจ้างก่อสร้าง ให้ส่วนราชการผู้ว่าจ้างพิจารณา
กำหนดมาตรการบังคับเพิ่มเติม เช่น พิจารณาตัดสิทธิการเข้าเสนอราคาในงานจ้างครั้งต่อไป เป็นต้น และหากเป็นกรณีที่ผู้รับจ้างจงใจไม่รับผิด
ชอบซึ่งถือว่าเป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญา โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้พิจารณาดำเนินการลงโทษผู้รับจ้างดังกล่าวให้เป็นผู้ทิ้งงาน ตามขั้นตอน
ของระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
4) มาตรการดังกล่าวตามข้อ 2) ให้มีผลใช้บังคับกับสัญญาจ้างก่อสร้างที่ยังมีผลผูกพันอยู่ในวันที่มาตรการนี้เริ่มใช้บังคับ
โดยมีผู้ประกอบการคนไทยหรือกิจการร่วมค้านิติบุคคลสัญชาติไทยเป็นผู้รับจ้าง และใช้กับสัญญาที่จะลงนามในปีงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2541
และ พ.ศ. 2542 ทั้งหมด
สำหรับกรณีที่สัญญาจ้างก่อสร้าง มีระยะเวลาการประกันความชำรุดบกพร่องมาแล้วมากกว่า 1 ปี แต่ยังไม่เกิน2 ปี ให้ส่วนราช
การรีบดำเนินการตรวจสอบความเรียบร้อยของงานจ้างก่อนคืนหลักประกันสัญญาให้แก่ผู้รับจ้างให้แล้วเสร็จไปโดยเร็วที่สุด
1.4 เรื่องระยะเวลาในการตรวจรับงานก่อสร้าง เพื่อเป็นการเร่งรัดการดำเนินงานของทางราชการ และสร้างให้เกิด
ความเป็นธรรมแก่ภาคเอกชนผู้ประกอบการ โดยเฉพาะเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2541 เพื่อเสริม
สภาพคล่องให้แก่สภาพเศรษฐกิจโดยรวม จึงสมควรกำหนดให้มีระยะเวลาในการดำเนินการตรวจการจ้างก่อสร้าง โดยแยกเป็น 2 ลักษณะ
ดังนี้
1) ระยะเวลาการตรวจการจ้างก่อสร้างแบบราคาเหมารวม (LUMP SUM)
ราคาค่างาน ผู้ควบคุมงาน คณะกรรมการตรวจการจ้าง
งวดงาน งวดสุดท้าย งวดงาน ตรวจรับงาน
ทุกราคาค่างาน 3 วัน 3 วัน 3 วัน 5 วัน
2) ระยะเวลาการตรวจกาารจ้างก่อสร้างแบบราคาต่อหน่วย (UNTT COST)
ราคาค่างาน ผู้ควบคุมงาน คณะกรรมการตรวจการจ้าง
งวดงาน ครั้งสุดท้าย งวดงาน ตรวจรับงาน
ไม่เกิน 30 ล้านบาท 4 วัน 8 วัน 3 วัน 5 วัน
ไม่เกิน 60 ล้านบาท 8 วัน 12 วัน 3 วัน 5 วัน
ไม่เกิน 100 ล้านบาท 12 วัน 16 วัน 3 วัน 5 วัน
เกิน 100 ล้านบาท ขึ้นไป 16 วัน 20 วัน 3 วัน 5 วัน
โดยมีหลักเกณฑ์ประกอบด้วยว่า
1) ให้ถือเป็นหลักปฏิบัติว่า ผู้ควบคุมงาน และคณะกรรมการตรวจการจ้างจะต้องเร่งรัดการดำเนินการตรวจการ
จ้างให้แล้วเสร็จไปโดยเร็วที่สุด และจะต้องไม่เกินระยะเวลาการตรวจการจ้างก่อสร้าง ตามตารางดังกล่าวข้างต้น สำหรับการนับวัน
ตามระยะเวลาการตรวจรับการจ้างก่อสร้างให้นับเป็น "วันทำการ"
2) ผู้รับจ้างจะต้องมีหนังสือแจ้งส่งงานมอบให้แก่ส่วนราชการ (ส่งงานสารบรรณ เจ้าหน้าที่พัสดุ หรือผู้ควบคุมงาน)
3) ผู้รับหนังสือส่งมอบงานจะต้องนำหนังสือไปให้งานสารบรรณลงรับในวันนั้นทันที เว้นแต่จะไม่สามารถดำเนินการ
ได้ทัน ก็ให้ลงรับในวันทำการถัดไป และให้ส่งมอบให้แก่ผู้ควบคุมงานต่อไป
4) การนับวันดำเนินการของผู้ควบคุมงาน จะเริ่มนับจากวันถัดจากวันที่ผู้ควบคุมงานได้รับมอบหนังสือส่งงานตามข้อ
3 แล้วในกรณีที่มีผู้คุมงานไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาได้ ให้รายงานประธานคณะกรรมการตรวจการจ้าง พร้อม
ด้วยเหตุผลความจำเป็น
5) การนับวันดำเนินการของคณะกรรมการตรวจการจ้าง จะเริ่มนับถัดจากวันที่ผู้ควบคุมงานได้ดำเนินการเสร็จและ
รายงานให้ประธานกรรมการตรวจการจ้างทราบ
ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจการจ้างไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาได้ (หากมีการขยายเวลาให้ผู้ควบ
คุมงานไปก่อนแล้ว จะต้องนำมาคำนวณหักออกจากวันดำเนินการของคณะกรรมการตรวจการจ้างที่กำหนดไว้ด้วย) ให้รายงานหัวหน้าส่วนราช
การพร้อมด้วยเหตุผลความจำเป็น พร้อมกับสำเนาแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบด้วย
1.5 เรื่องการหักเงินประกันผลงาน สมควรแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพรับจ้างงานก่อสร้าง
ของทางราชการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2541 จากเดิมเป็น ดังนี้
1) งานก่อสร้างที่ลงนามในสัญญาจ้างไว้กับทางราชการแล้วภายในวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติในเรื่องนี้ และสัญญาจ้างดังกล่าว
มีเงื่อนไขการหักเงินประกันผลงานจากเงินค่าจ้างที่จะจ่ายให้แก่ผู้รับจ้างแต่ละงวด พร้อมทั้งกำหนดให้ผู้รับจ้างมีสิทธิที่จะขอรับเงินประกันผล
งานที่ถูกหักไว้นั้นคืนได้ในกรณีที่เงินประกันผลงานถูกหักไว้ทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 6 เดือน หรือตามจำนวนเงินที่กำหนด โดยผู้รับจ้างจะต้องนำหนังสือ
ค้ำประกันของธนาคาร ซึ่งออกโดยธนาคารภายในประเทศมาวางเป็นหลักประกันแทนไว้ด้วย กรณีนี้อนุมัติยกเว้นให้ส่วนราชการผู้ว่าจ้างพิจารณา
แก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาจ้างโดยตัดเงื่อนไขการหักเงินประกันผลงานดังกล่าวออกจากสัญญาจ้าง
2) งานก่อสร้างที่เสนอราคาไว้กับทางราชการภายในวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติในเรื่องนี้ แต่ยังไม่ได้ลงนามในสัญญาจ้าง และ
ตามเอกสารประกวดราคาจ้างกำหนดให้จัดทำสัญญาจ้างซึ่งมีเงื่อนไขการหักเงินประกันผลงานไว้ด้วย กรณีนี้อนุมัติยกเว้นให้ส่วนราชการผู้ว่าจ้าง
จัดทำสัญญาจ้างโดยไม่ต้องมีเงื่อนไขการหักเงินประกันผลงานตามเอกสารประกวดราคาจ้างนั้น
3) ในการดำเนินการจัดจ้างสำหรับงานก่อสร้างใหม่ที่ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2541 และงานก่อสร้างที่ใช้งบ
ประมาณรายจ่ายประจำปี 2542 ให้ส่วนราชการระงับการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการหักเงินประกันผลงานไว้ในเอกสารประกวดราคาจ้าง
และสัญญาจ้าง ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป
4) ให้รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มี
ฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นใดของรัฐถือปฏิบัติตามมาตรการข้างต้นโดยอนุโลมด้วย
5) มาตรการข้างต้นนี้ ไม่รวมถึงการดำเนินการภายใต้โครงการเงินกู้ที่มีการกำหนดเงื่อนไขเรื่องของการหักเงินประกัน
ผลงานตามเงื่อนไขของแหล่งเงินกู้ที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ และไม่รวมถึงการจ้างก่อสร้างโดยวิธีประกวดราคานานาชาติที่ต้องกำหนดเงื่อน
ไขเรื่องของการหักเงินประกันผลงานตามหลักสากลไว้ในประกาศประกวดราคา
2. มาตรการในด้านการซื้อและการจ้างทำของนอกเหนือจากการก่อสร้าง
2.1 เรื่องหลักประกันซอง ในการดำเนินการประกวดราคาซื้อ หรือจ้างครั้งหนึ่งในวงเงินไม่เกิน 5,000,000 บาท ยก
เว้นให้ส่วนราชการผู้ประกวดราคาไม่ต้องกำหนดเงื่อนไขให้ผู้เสนอราคาวางหลักประกันซอง
2.2 เรื่องหลักประกันสัญญา ในการทำสัญญาจัดหาพัสดุ ให้ส่วนราชการกำหนดมูลค่าของหลักประกันสัญญาเป็นจำนวนเต็ม
ในอัตราตายตัวร้อยละห้า (5 %) ของราคาพัสดุที่จัดหาครั้งนั้น ทั้งนี้ รวมทั้งกรณีที่มีการดำเนินการจัดหา เช่น การสอบราคา หรือประกวด
ราคา และมีเงื่อนไขการเรียกหลักประกันสัญญาที่มีอัตราสูงกว่าร้อยละห้าไปก่อนแล้วด้วย
2.3 เรื่องระยะเวลาในการตรวจรับพัสดุ ให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุดำเนินการตรวจรับในวันที่คู่สัญญานำพัสดุมาส่งมอบ
และให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด แต่อย่างช้าไม่เกิน 5 วันทำการ นับแต่วันที่คู่สัญญานำพัสดุมาส่งมอบ ทั้งนี้ ระยะเวลาดังกล่าวไม่
รวมถึงระยะเวลาในการตรวจทดลอง หรือการตรวจสอบทางเทคนิคหรือทางวิทยาศาสตร์
กรณีที่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุไม่สามารดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวข้างต้นได้ ให้รายงานหัวหน้าส่วน
ราชการพร้อมด้วยเหตุผลความจำเป็น พร้อมกับสำเนาแจ้งให้คู่สัญญาทราบด้วย
2.4 เรื่องกำหนดระยะเวลาการรับประกันความชำรุดบกพร่องพัสดุที่ซื้อ เว้นแต่การจ้างก่อสร้างให้ส่วนราชการกำหนดระยะ
เวลาการรับประกันความชำรุดบกพร่องของพัสดุที่จัดหาไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับมอบ เว้นแต่ในการจัดหาพัสดุที่หัวหน้าส่วนราชการเห็นว่ามี
ความสำคัญเป็นพิเศษ จะกำหนดระยะเวลาการรับประกันความชำรุดบกพร่องของพัสดุนั้นไว้เกินกว่า 1 ปี ก็ได้ และในกรณีนี้เมื่อระยะเวลาการ
รับประกันครบ 1 ปี นับถัดจากวันรับมอบ ให้ส่วนราชการผู้ซื้อคืนหลักประกันสัญญาให้แก่คู่สัญญาโดยเร็ว ส่วนระยะเวลาการรับประกันความชำรุด
บกพร่องที่เหลือ ให้คู่สัญญาค้ำประกันตนเอง
สำหรับความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์ในการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้างและผู้ประกอบอาชีพงานอื่นกับทาง
ราชการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา (กกอ.) มีดังนี้
1. หลักการตามข้อเสนอของสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้ง 9 ประการ สอดคล้องกับมติที่ประชุมคณะกรรมการซึ่งได้ประสานงานกับผู้แทน
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีไว้แล้ว มาตรการดังกล่าวจะช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่องให้เกิดผลในทางปฏิบัติโดยเร่งด่วน เนื่องจากสถานการณ์
ปัจจุบัน ผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้างและผู้ประกอบอาชีพงานอื่นกับทางราชการ ประสบปัญหาการขาดเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานอันเป็นผล
มาจากการที่สถาบันการเงินถูกปิดกิจการ หรือการงดปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน หากกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนประกอบมาตรการด้วย
เช่น การกำหนดให้มาตรการ เรื่องการประกันซอง การประกันสัญญา การประกันความชำรุดบกพร่อง ต้องมีในประกาศประกวดราคา เป็นต้น
ก็จะช่วยผู้ประกอบการให้มีเงินทุนหมุนเวียนดีขึ้น
2. ขอให้เพิ่มระยะเวลาการทำเรื่องเบิกเงินค่าก่อสร้าง ภายใน 5 วันทำการ นับถัดจากวันที่ตรวจการจ้างแล้วเสร็จ เพื่อไม่ให้
เกิดช่องว่างของช่วงเวลาระหว่างการตรวจรับงานกับการอนุมัติเงินประจำงวด การวางฎีกา และการตรวจสอบฎีกา ซึ่งในแต่ละช่วงเวลาของ
การดำเนินการอนุมัติเงินประจำงวด การวางฎีกา และการตรวจสอบฎีกาได้มีการกำหนดเวลาดำเนินการให้แล้วเสร็จไว้แน่นอนแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 27 ตุลาคม 2541--