คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (นายสุวิทย์
คุณกิตติ) รายงานผลการเดินทางไปยังที่ทำการอำเภอตะกั่วป่า เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2548 เพื่อติดตามความ
คืบหน้าในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบพิบัติภัยร่วมกับหน่วยงานจากส่วนกลางและจังหวัดพังงา พร้อมทั้งประชาชน
ในพื้นที่อำเภอตะกั่วป่า สรุปได้ดังนี้
1. การจัดทำฐานข้อมูลของจังหวัดพังงา
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพังงา ได้มีการดำเนินการปรับปรุงฐานข้อมูล
ผู้ประสบภัยให้เป็นปัจจุบัน โดยผ่านทาง Website ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งสามารถตรวจสอบ
และให้ความช่วยเหลืออย่างถูกต้อง อย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนของภาพรวมทุกหน่วยงานมอบหมายให้สำนักงาน
ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การปรับปรุงระบบ
เบิกจ่าย เพื่อให้สามารถรองรับและเชื่อมโยงทุกหน่วยงานได้
2. การตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลด้วยวิธีการพันธุกรรม
ศูนย์ปฏิบัติการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลและการส่งกลับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ส่วนแยกจังหวัด
พังงาได้จัดทำข้อมูลและผลการดำเนินงานช่วยเหลือประสบภัยภายหลังเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย สรุปดังนี้ ปรากฏว่า
ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2548 ผู้เสียชีวิตที่ส่งพิสูจน์ จำนวน 3,777 คน ผลการดำเนินการช่วยเหลือประกอบด้วย
ส่งคืนให้ญาติจำนวน 1,825 คน และคงเหลืออีก 1,952 คน ทั้งนี้จะได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือต่อไป
3. ระบบการเตือนภัยล่วงหน้า
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คาดว่าจะติดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้า
(หอกระจายข่าว) ภายในเดือนตุลาคม 2548 โดยบริษัท American Sinal Corporation จำกัด จะ
ดำเนินการติดตั้งให้จำนวน 2 แห่ง ในเบื้องต้นโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย คือ บริเวณวัดพนักนิคม (วัดบางเนียง)
หมู่ 5 ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา และบริเวณโรงเรียนบ้านน้ำเค็ม หมู่ 2 ตำบลบางม่วง
อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ส่วนที่เหลืออีกจำนวน 16 แห่ง ปัจจุบันกำลังอยู่ในขั้นตอนขออนุมัติงบกลางปี 2548
4. การก่อสร้างที่พักอาศัยบ้านพักถาวรของจังหวัดพังงา
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดพังงา รายงานว่า จากความเสียหาย
อันเนื่องมาจากพิบัติภัย (สึนามิ) ในพื้นที่จังหวัดพังงา ปรากฏว่าบ้านเรือนเสียหายทั้งสิ้น จำนวน 2,092 หลัง
ได้ดำเนินการก่อสร้างบ้านพักถาวรทดแทน จำนวน 2,399 หลัง ประกอบด้วยในเขตอำเภอตะกั่วป่า 1,988 หลัง
อำเภอคุระบุรี 246 หลัง และอำเภอท้ายเหมือง 165 หลัง ซึ่งปัจจุบันได้ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว 1,023 หลัง
ในเขต 3 อำเภอดังกล่าว และอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 1,376 หลัง
5. การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้พิการและผู้สูงอายุ
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดพังงา รายงานว่า ได้ให้ความช่วยเหลือ
แก่ผู้พิการและผู้สูงอายุ สรุปได้ดังนี้ จำนวนผู้สูงอายุ 343 ราย ได้รับเบี้ยยังชีพ 11 ราย และยังไม่ได้รับเบี้ยยังชีพ
332 ราย สำหรับการให้ความช่วยเหลือคนพิการมีดังนี้ ได้จดทะเบียนไว้ 7 ราย และยังไม่จดทะเบียนอีก
33 ราย ส่วนข้อมูลเด็กกำพร้าแยกตามที่พักพิงชั่วคราวที่หน่วยงานภาครัฐเข้าไปให้ความช่วยเหลือแยกเป็นประเภท
ดังนี้ เด็กกำพร้าที่สูญหายทั้งบิดาและมารดา จำนวน 46 คน สูญเสียบิดา 53 คน สูญเสียมารดา 124 คน
รวมทั้งสิ้น 224 คน
6. การฟื้นฟูอาชีพแก่ผู้ประสบภัย/แรงงาน
ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย กระทรวงแรงงานจังหวัดพังงา ได้ให้ความช่วยเหลือต่อประชากรที่
รับความเดือดร้อนจากพิบัติภัย (สึนามิ) ในเบื้องต้น โดยจัดส่งกลับภูมิลำเนาและบริการซ่อมเครื่องมือประกอบอาชีพ
(จักรยานยนต์ เครื่องยนต์ เรือ) อุปกรณ์ดำรงชีพ (เครื่องใช้ไฟฟ้า) สำหรับขั้นตอนให้ความช่วยเหลือในระยะ
ต่อมา หน่วยงานรับผิดชอบจะได้ดำเนินการต่อไป เช่น
(1) โครงการจ้างงานเร่งด่วนผู้ประสบภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนระหว่างรองานใหม่
หรือกลับไปประกอบอาชีพเดิม
(2) โครงการบริการจัดหางานเคลื่อนที่ เพื่อให้ผู้ว่างงานได้มีงานทำในสถานประกอบการ
(3) โครงการบริการเคลื่อนย้ายแรงงาน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่แรงงานที่ต้องการไป
ทำงานจังหวัดอื่น หรือกลับภูมิลำเนา
(4) โครงการสร้างอาชีพใหม่ เพื่อให้ผู้ตกงาน ว่างงาน มีความรู้ ทักษะในการประกอบ
อาชีพอิสระ (อาชีพใหม่)
(5) โครงการฝึกอาชีพผู้ประสบภัย เพื่อสร้างทางเลือกในการประกอบอาชีพ/ปรับปรุง
ซ่อมแซมบ้านเรือน อุปกรณ์ไฟฟ้า สาธารณสมบัติของชุมชนที่ชำรุดเสียหาย
(6) โครงการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของลูกจ้างกรณีนายจ้าง
ค้างจ่าย ค่าจ้าง เป็นต้น
7. การฟื้นฟูสถานที่ท่องเที่ยว
สำนักงานคลังจังหวัดพังงา และสำนักงานท้องถิ่น จังหวัดพังงา ได้ให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการ
ท่องเที่ยวที่ประสบภัยสึนามิ จำนวนทั้งสิ้น 96 ราย ปรากฏว่าได้มีการจ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว 63 ราย เป็นเงิน
3,598.70 ล้านบาท คงเหลืออีก 33 ราย เป็นเงิน 2,651 ล้านบาท สาเหตุของความล่าช้าในการให้ความ
ช่วยเหลือครั้งนี้ เนื่องจากการกู้เงินของผู้ประกอบการโดยธนาคารพาณิชย์ มีขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติเงินกู้ค่อนข้าง
ละเอียดในเรื่องเอกสารหลักฐานและหลักทรัพย์ค้ำประกัน
8. การช่วยเหลือเรือและอุปกรณ์
สำนักงานประมงจังหวัดพังงา ได้ให้ความช่วยเหลือในกิจการประมง สรุปได้ดังนี้ (ณ วันที่ 7
กรกฎาคม 2548)
ประเภทความเสียหาย จำนวน ผลการช่วยเหลือ คงเหลือ
จำนวน วงเงิน จำนวน วงเงิน
1. เรือประมง 2,576 (ลำ) 2,489 (ลำ) 121,136,489.- 90 (ลำ) 3,921,750.-
2. เรือท่องเที่ยว 74 (ลำ) 74 (ลำ) 4,127,800.- - -
3. อุปกรณ์การประมง 1,116 (ราย) 1,040 (ราย) 7,468,485.- 76 (ราย) 538,500.-
4. เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 2,759 (ราย) 2,759 (ราย) 42,229,490.- - -
5. แพปลา 24 (แพ) 24 (แพ) 4,670,000.- -
9. การพัฒนาฟื้นฟูและปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐาน
กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ได้มีการจัดทำโครงการพัฒนาปรับปรุงระบบ
โครงสร้างพื้นฐาน (ถนน) เพื่อเชื่อมโยงระหว่างบริเวณชายหาดกับถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4)
เพื่อการคมนาคมขนส่งและการหนีภัย สำหรับสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว พร้อมทั้ง
ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการและทางเดินเท้า โดยนำระบบวิธีการจัดรูปที่ดิน (Land Readjustment)
เพื่อพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่บริเวณประสบพิบัติภัยในเขตอำเภอตะกั่วป่า ทั้งนี้ ได้จัดให้มีการประชุมหารือร่วมกับประชาชน
ในพื้นที่ โดยมีข้อยุติเห็นชอบให้ดำเนินโครงการดังกล่าว และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะ
ได้นำเสนอรายละเอียดการดำเนินโครงการต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 กรกฎาคม 2548--จบ--
คุณกิตติ) รายงานผลการเดินทางไปยังที่ทำการอำเภอตะกั่วป่า เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2548 เพื่อติดตามความ
คืบหน้าในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบพิบัติภัยร่วมกับหน่วยงานจากส่วนกลางและจังหวัดพังงา พร้อมทั้งประชาชน
ในพื้นที่อำเภอตะกั่วป่า สรุปได้ดังนี้
1. การจัดทำฐานข้อมูลของจังหวัดพังงา
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพังงา ได้มีการดำเนินการปรับปรุงฐานข้อมูล
ผู้ประสบภัยให้เป็นปัจจุบัน โดยผ่านทาง Website ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งสามารถตรวจสอบ
และให้ความช่วยเหลืออย่างถูกต้อง อย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนของภาพรวมทุกหน่วยงานมอบหมายให้สำนักงาน
ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การปรับปรุงระบบ
เบิกจ่าย เพื่อให้สามารถรองรับและเชื่อมโยงทุกหน่วยงานได้
2. การตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลด้วยวิธีการพันธุกรรม
ศูนย์ปฏิบัติการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลและการส่งกลับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ส่วนแยกจังหวัด
พังงาได้จัดทำข้อมูลและผลการดำเนินงานช่วยเหลือประสบภัยภายหลังเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย สรุปดังนี้ ปรากฏว่า
ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2548 ผู้เสียชีวิตที่ส่งพิสูจน์ จำนวน 3,777 คน ผลการดำเนินการช่วยเหลือประกอบด้วย
ส่งคืนให้ญาติจำนวน 1,825 คน และคงเหลืออีก 1,952 คน ทั้งนี้จะได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือต่อไป
3. ระบบการเตือนภัยล่วงหน้า
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คาดว่าจะติดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้า
(หอกระจายข่าว) ภายในเดือนตุลาคม 2548 โดยบริษัท American Sinal Corporation จำกัด จะ
ดำเนินการติดตั้งให้จำนวน 2 แห่ง ในเบื้องต้นโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย คือ บริเวณวัดพนักนิคม (วัดบางเนียง)
หมู่ 5 ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา และบริเวณโรงเรียนบ้านน้ำเค็ม หมู่ 2 ตำบลบางม่วง
อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ส่วนที่เหลืออีกจำนวน 16 แห่ง ปัจจุบันกำลังอยู่ในขั้นตอนขออนุมัติงบกลางปี 2548
4. การก่อสร้างที่พักอาศัยบ้านพักถาวรของจังหวัดพังงา
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดพังงา รายงานว่า จากความเสียหาย
อันเนื่องมาจากพิบัติภัย (สึนามิ) ในพื้นที่จังหวัดพังงา ปรากฏว่าบ้านเรือนเสียหายทั้งสิ้น จำนวน 2,092 หลัง
ได้ดำเนินการก่อสร้างบ้านพักถาวรทดแทน จำนวน 2,399 หลัง ประกอบด้วยในเขตอำเภอตะกั่วป่า 1,988 หลัง
อำเภอคุระบุรี 246 หลัง และอำเภอท้ายเหมือง 165 หลัง ซึ่งปัจจุบันได้ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว 1,023 หลัง
ในเขต 3 อำเภอดังกล่าว และอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 1,376 หลัง
5. การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้พิการและผู้สูงอายุ
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดพังงา รายงานว่า ได้ให้ความช่วยเหลือ
แก่ผู้พิการและผู้สูงอายุ สรุปได้ดังนี้ จำนวนผู้สูงอายุ 343 ราย ได้รับเบี้ยยังชีพ 11 ราย และยังไม่ได้รับเบี้ยยังชีพ
332 ราย สำหรับการให้ความช่วยเหลือคนพิการมีดังนี้ ได้จดทะเบียนไว้ 7 ราย และยังไม่จดทะเบียนอีก
33 ราย ส่วนข้อมูลเด็กกำพร้าแยกตามที่พักพิงชั่วคราวที่หน่วยงานภาครัฐเข้าไปให้ความช่วยเหลือแยกเป็นประเภท
ดังนี้ เด็กกำพร้าที่สูญหายทั้งบิดาและมารดา จำนวน 46 คน สูญเสียบิดา 53 คน สูญเสียมารดา 124 คน
รวมทั้งสิ้น 224 คน
6. การฟื้นฟูอาชีพแก่ผู้ประสบภัย/แรงงาน
ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย กระทรวงแรงงานจังหวัดพังงา ได้ให้ความช่วยเหลือต่อประชากรที่
รับความเดือดร้อนจากพิบัติภัย (สึนามิ) ในเบื้องต้น โดยจัดส่งกลับภูมิลำเนาและบริการซ่อมเครื่องมือประกอบอาชีพ
(จักรยานยนต์ เครื่องยนต์ เรือ) อุปกรณ์ดำรงชีพ (เครื่องใช้ไฟฟ้า) สำหรับขั้นตอนให้ความช่วยเหลือในระยะ
ต่อมา หน่วยงานรับผิดชอบจะได้ดำเนินการต่อไป เช่น
(1) โครงการจ้างงานเร่งด่วนผู้ประสบภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนระหว่างรองานใหม่
หรือกลับไปประกอบอาชีพเดิม
(2) โครงการบริการจัดหางานเคลื่อนที่ เพื่อให้ผู้ว่างงานได้มีงานทำในสถานประกอบการ
(3) โครงการบริการเคลื่อนย้ายแรงงาน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่แรงงานที่ต้องการไป
ทำงานจังหวัดอื่น หรือกลับภูมิลำเนา
(4) โครงการสร้างอาชีพใหม่ เพื่อให้ผู้ตกงาน ว่างงาน มีความรู้ ทักษะในการประกอบ
อาชีพอิสระ (อาชีพใหม่)
(5) โครงการฝึกอาชีพผู้ประสบภัย เพื่อสร้างทางเลือกในการประกอบอาชีพ/ปรับปรุง
ซ่อมแซมบ้านเรือน อุปกรณ์ไฟฟ้า สาธารณสมบัติของชุมชนที่ชำรุดเสียหาย
(6) โครงการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของลูกจ้างกรณีนายจ้าง
ค้างจ่าย ค่าจ้าง เป็นต้น
7. การฟื้นฟูสถานที่ท่องเที่ยว
สำนักงานคลังจังหวัดพังงา และสำนักงานท้องถิ่น จังหวัดพังงา ได้ให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการ
ท่องเที่ยวที่ประสบภัยสึนามิ จำนวนทั้งสิ้น 96 ราย ปรากฏว่าได้มีการจ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว 63 ราย เป็นเงิน
3,598.70 ล้านบาท คงเหลืออีก 33 ราย เป็นเงิน 2,651 ล้านบาท สาเหตุของความล่าช้าในการให้ความ
ช่วยเหลือครั้งนี้ เนื่องจากการกู้เงินของผู้ประกอบการโดยธนาคารพาณิชย์ มีขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติเงินกู้ค่อนข้าง
ละเอียดในเรื่องเอกสารหลักฐานและหลักทรัพย์ค้ำประกัน
8. การช่วยเหลือเรือและอุปกรณ์
สำนักงานประมงจังหวัดพังงา ได้ให้ความช่วยเหลือในกิจการประมง สรุปได้ดังนี้ (ณ วันที่ 7
กรกฎาคม 2548)
ประเภทความเสียหาย จำนวน ผลการช่วยเหลือ คงเหลือ
จำนวน วงเงิน จำนวน วงเงิน
1. เรือประมง 2,576 (ลำ) 2,489 (ลำ) 121,136,489.- 90 (ลำ) 3,921,750.-
2. เรือท่องเที่ยว 74 (ลำ) 74 (ลำ) 4,127,800.- - -
3. อุปกรณ์การประมง 1,116 (ราย) 1,040 (ราย) 7,468,485.- 76 (ราย) 538,500.-
4. เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 2,759 (ราย) 2,759 (ราย) 42,229,490.- - -
5. แพปลา 24 (แพ) 24 (แพ) 4,670,000.- -
9. การพัฒนาฟื้นฟูและปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐาน
กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ได้มีการจัดทำโครงการพัฒนาปรับปรุงระบบ
โครงสร้างพื้นฐาน (ถนน) เพื่อเชื่อมโยงระหว่างบริเวณชายหาดกับถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4)
เพื่อการคมนาคมขนส่งและการหนีภัย สำหรับสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว พร้อมทั้ง
ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการและทางเดินเท้า โดยนำระบบวิธีการจัดรูปที่ดิน (Land Readjustment)
เพื่อพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่บริเวณประสบพิบัติภัยในเขตอำเภอตะกั่วป่า ทั้งนี้ ได้จัดให้มีการประชุมหารือร่วมกับประชาชน
ในพื้นที่ โดยมีข้อยุติเห็นชอบให้ดำเนินโครงการดังกล่าว และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะ
ได้นำเสนอรายละเอียดการดำเนินโครงการต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 กรกฎาคม 2548--จบ--