คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางการเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานส่วนตำบลเป็นกรณีพิเศษ ตามที่สำนักงานข้าราชการพลเรือนเสนอ ซึ่งได้ประชุมร่วมกับกระทรวงมหาดไทยและสำนักงาน ก.พ.ร. แล้ว ดังนี้
1. การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของ อบต. ขนาดใหญ่ (ที่มีจำนวนพนักงานตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป) เห็นควรให้คงใช้แนวทางตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2544 เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการเลื่อนขั้นเงินเดือนระหว่างข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น
2. เพื่อให้พนักงานส่วนตำบลใน อบต. ขนาดเล็กมีโอกาสเลื่อนขั้นเงินเดือนตามประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน จึงเห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาหลักเกณฑ์เลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานส่วนตำบล ดังนี้
(1) ให้คณะกรรมการกลาง อบต. กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินผลงานของ อบต. โดยกำหนดให้มีตัวชี้วัดประสิทธิภาพ (Key Performance Indicator) ในด้านต่างๆ ตามที่กระทรวงมหาดไทยได้นำเสนอคณะรัฐมนตรี
(2) กำหนดให้ อบต. ที่มีจำนวนพนักงานตั้งแต่ 6 คนลงมา ซึ่งมีผลงานดีเด่นตามหลักเกณฑ์การประเมินผลงานที่คณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบลกำหนด มีโควตาการเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษทั้งปี 2 ขั้นได้ 1 คน ดังนี้
- อบต. ที่มีพนักงานจำนวน 1-5 คน ให้เลื่อนได้ปีเว้นปี
- อบต. ที่มีพนักงานจำนวน 6 คน ให้เลื่อนได้ทุกปี
ทั้งนี้ การเลื่อนขั้นเงินเดือนดังกล่าวให้เป็นการเลื่อนภายในวงเงินเลื่อนขั้นปกติ (ร้อยละ 6 ของอัตราเงินเดือนข้าราชการ ณ วันที่ 1 กันยายน) โดยใช้งบประมาณของ อบต. นั้น เว้นแต่การเลื่อนขั้นเงินเดือนดังกล่าวทำให้ใช้วงเงินเลื่อนขั้นรวมเกินกว่าวงเงินเลื่อนขั้นปกติ ให้ใช้เงินเลื่อนขั้นเกินกว่าวงเงินเลื่อนขั้นปกติได้ โดยมีเงื่อนไขให้เลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานส่วนตำบลรายอื่นใน อบต. นั้นได้ไม่เกินรายละ 1 ขั้น
(3) ให้ใช้งบประมาณของ อบต. ที่ได้รับโควตาเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษ ในการเลื่อนขั้นเงินเดือนดังกล่าว โดยเมื่อรวมงบประมาณการเลื่อนขั้นเงินเดือนกับรายจ่ายด้านเงินเดือน ค่าจ้าง และผลประโยชน์ตอบแทนอื่นแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ 40 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
สำหรับหลักเกณฑ์การประเมินผลงานของ อบต. ที่กระทรวงมหาดไทยได้เสนอตามที่คณะกรรมการกลาง อบต. กำหนด (Key Performance Indieator) ในด้านต่างๆ โดยมีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ดังนี้
(1) การจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และการวางแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล (25 คะแนน)
ก. การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล และการจัดทำข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล (10 คะแนน)
ข. องค์การบริหารส่วนตำบลได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลให้ประชาชนได้รับทราบ (10 คะแนน)
ค. การจัดสรรงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลครอบคลุมทุกพื้นที่ด้วยความเป็นธรรม (5 คะแนน)
(2) การบริหารงบประมาณและโครงการ (25 คะแนน)
ก. ประสิทธิภาพในการบริหารงบประมาณและโครงการ (10 คะแนน)
ข. ประชาชนสามารถเข้าถึงและรับรู้ข้อมูลที่สำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบล ได้แก่ สัญญาจ้าง ฎีกาการเบิกจ่าย เอกสารการเบิกจ่ายเงิน การบัญชี เป็นต้น (10 คะแนน)
ค. การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ (5 คะแนน)
(3) การปรับปรุงขั้นตอนการให้บริการประชาชน (25 คะแนน)
ก. มีการลดขั้นตอนการให้บริการประชาชน (10 คะแนน)
ข. ความพึงพอใจของประชาชนในการให้บริการ (10 คะแนน)
ค. การแก้ไขข้อผิดพลาดในการให้บริการ (5 คะแนน)
(4) การได้รับการยอมรับจากฝ่ายการเมืองและประชาชน (25 คะแนน)
ก. ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงาน เช่น จัดซื้อ จัดจ้าง (10 คะแนน)
ข. องค์การบริหารส่วนตำบลจัดเวทีประชาคมเพื่อแถลงผลงานและเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นและซักถาม (10 คะแนน)
ค. องค์การบริหารส่วนตำบลเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมสังเกตการณ์ในการประชุมสภา อบต. (5 คะแนน)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 มีนาคม 2548--จบ--
1. การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของ อบต. ขนาดใหญ่ (ที่มีจำนวนพนักงานตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป) เห็นควรให้คงใช้แนวทางตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2544 เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการเลื่อนขั้นเงินเดือนระหว่างข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น
2. เพื่อให้พนักงานส่วนตำบลใน อบต. ขนาดเล็กมีโอกาสเลื่อนขั้นเงินเดือนตามประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน จึงเห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาหลักเกณฑ์เลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานส่วนตำบล ดังนี้
(1) ให้คณะกรรมการกลาง อบต. กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินผลงานของ อบต. โดยกำหนดให้มีตัวชี้วัดประสิทธิภาพ (Key Performance Indicator) ในด้านต่างๆ ตามที่กระทรวงมหาดไทยได้นำเสนอคณะรัฐมนตรี
(2) กำหนดให้ อบต. ที่มีจำนวนพนักงานตั้งแต่ 6 คนลงมา ซึ่งมีผลงานดีเด่นตามหลักเกณฑ์การประเมินผลงานที่คณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบลกำหนด มีโควตาการเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษทั้งปี 2 ขั้นได้ 1 คน ดังนี้
- อบต. ที่มีพนักงานจำนวน 1-5 คน ให้เลื่อนได้ปีเว้นปี
- อบต. ที่มีพนักงานจำนวน 6 คน ให้เลื่อนได้ทุกปี
ทั้งนี้ การเลื่อนขั้นเงินเดือนดังกล่าวให้เป็นการเลื่อนภายในวงเงินเลื่อนขั้นปกติ (ร้อยละ 6 ของอัตราเงินเดือนข้าราชการ ณ วันที่ 1 กันยายน) โดยใช้งบประมาณของ อบต. นั้น เว้นแต่การเลื่อนขั้นเงินเดือนดังกล่าวทำให้ใช้วงเงินเลื่อนขั้นรวมเกินกว่าวงเงินเลื่อนขั้นปกติ ให้ใช้เงินเลื่อนขั้นเกินกว่าวงเงินเลื่อนขั้นปกติได้ โดยมีเงื่อนไขให้เลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานส่วนตำบลรายอื่นใน อบต. นั้นได้ไม่เกินรายละ 1 ขั้น
(3) ให้ใช้งบประมาณของ อบต. ที่ได้รับโควตาเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษ ในการเลื่อนขั้นเงินเดือนดังกล่าว โดยเมื่อรวมงบประมาณการเลื่อนขั้นเงินเดือนกับรายจ่ายด้านเงินเดือน ค่าจ้าง และผลประโยชน์ตอบแทนอื่นแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ 40 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
สำหรับหลักเกณฑ์การประเมินผลงานของ อบต. ที่กระทรวงมหาดไทยได้เสนอตามที่คณะกรรมการกลาง อบต. กำหนด (Key Performance Indieator) ในด้านต่างๆ โดยมีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ดังนี้
(1) การจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และการวางแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล (25 คะแนน)
ก. การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล และการจัดทำข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล (10 คะแนน)
ข. องค์การบริหารส่วนตำบลได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลให้ประชาชนได้รับทราบ (10 คะแนน)
ค. การจัดสรรงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลครอบคลุมทุกพื้นที่ด้วยความเป็นธรรม (5 คะแนน)
(2) การบริหารงบประมาณและโครงการ (25 คะแนน)
ก. ประสิทธิภาพในการบริหารงบประมาณและโครงการ (10 คะแนน)
ข. ประชาชนสามารถเข้าถึงและรับรู้ข้อมูลที่สำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบล ได้แก่ สัญญาจ้าง ฎีกาการเบิกจ่าย เอกสารการเบิกจ่ายเงิน การบัญชี เป็นต้น (10 คะแนน)
ค. การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ (5 คะแนน)
(3) การปรับปรุงขั้นตอนการให้บริการประชาชน (25 คะแนน)
ก. มีการลดขั้นตอนการให้บริการประชาชน (10 คะแนน)
ข. ความพึงพอใจของประชาชนในการให้บริการ (10 คะแนน)
ค. การแก้ไขข้อผิดพลาดในการให้บริการ (5 คะแนน)
(4) การได้รับการยอมรับจากฝ่ายการเมืองและประชาชน (25 คะแนน)
ก. ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงาน เช่น จัดซื้อ จัดจ้าง (10 คะแนน)
ข. องค์การบริหารส่วนตำบลจัดเวทีประชาคมเพื่อแถลงผลงานและเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นและซักถาม (10 คะแนน)
ค. องค์การบริหารส่วนตำบลเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมสังเกตการณ์ในการประชุมสภา อบต. (5 คะแนน)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 มีนาคม 2548--จบ--