ทำเนียบรัฐบาล--15 ม.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรเงินเยนชนิดจำหน่ายทั่วไปในตลาดทุนญี่ปุ่น รุ่นที่ 16 และ 17 และได้ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานผลการกู้เงินโดยการออกพันธบัตรเงินเยนชนิดจำหน่ายทั่วไปในตลาดทุนญี่ปุ่น รุ่นที่ 16 และ รุ่นที่ 17 ในราชกิจจานุเบกษา ภายในวันที่ 10 มกราคม 2540 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ความตกลงว่าด้วยการออกพันธบัตร ประกอบด้วย ความตกลงว่าด้วยการจัดจำหน่ายพันธบัตร (subscription Agreement) ความตกลงว่าด้วยการเป็นธนาคารตัวแทน (Agreement with Commissioned Companies for Bondholders) ความตกลงว่าด้วยการเป็นตัวแทนจ่ายเงิน (Paying Agents Agreement) ความตกลงว่าด้วยการจดทะเบียนผู้ซื้อพันธบัตร (Recording Agency Agreement) ความตกลงว่าด้วยการจดทะเบียนผู้ซื้อพันธบัตร (Recording Agency Agreement) และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกพันธบัตรดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2539 ในการนี้ กระทรวงการคลังได้รับเงินที่ได้จากการออกพันธบัตรในวันรับจ่ายเงิน คือ วันที่ 17 ธันวาคม 2539 โดยมีสาระสำคัญภายใต้ขอบเขตเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้ทุกประการ
2. ความตกลงว่าด้วยการแปลงหนี้ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม2539 ประกอบด้วย ความตกลงว่าด้วย การแปลงหนี้เงินเยนที่ได้จากการออก (1) พันธบัตรรุ่นที่ 16 กับ LTCB และ (2) พันธบัตรรุ่นที่ 17 กับ sakura เป็นหนี้เงินเหรียญสหรัฐฯ ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.5 และร้อยละ 6.85 ต่อปี ในการนี้ กระทรวงการคลังจะมีหนี้สุทธิเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ จำนวน 132,173,000 เหรียญสหรัฐฯ และจำนวน 132,477,817.21 เหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ ทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไขการชำระเงินสอดคล้องกับกำหนดการชำระคืนหนี้เงินกู้ตามนัยข้อ 1.
3. การกู้เงินโดยวิธีออกพันธบัตรเงินเยนชนิดจำหน่ายทั่วไปในครั้งนี้ ซึ่งกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.85 ต่อปี สำหรับพันธบัตรระยะ 5 ปี และร้อยละ 2.85 ต่อปี สำหรับพันธบัตรระยะ 10 ปี จะเป็นอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่กระทรวงการคลังได้กู้เงินจากตลาดทุนญี่ปุ่น เมื่อปี 2522 เป็นต้นมา และเมื่อเปรียบเทียบกับพันธบัตรจากประเทศเกาหลี คือ Korea Gas ซึ่งได้ทำความตกลงในเงื่อนไขพันธบัตรเงินเยนในตลาดทุนญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2539 ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.0 ต่อปี สำหรับระยะไถ่ถอน 5 ปี ซึ่งเทียบเท่าอัตรา Y/Y Swap บวกด้วย Spread ในอัตราร้อยละ 0.15 ต่อปี สูงกว่าพันธบัตรระยะ 5 ปี ของกระทรวงการคลัง 18 Basis Point ทั้ง ๆ ที่ Korea Gas ได้รับการจัดลำดับเครดิตในระดับ AA+ โดยสถาบันเดียวกัน
4. การจัดจำหน่ายพันธบัตรเงินเยนของกระทรวงการคลังในครั้งนี้ มีคณะผู้จัดจำหน่ายรุ่นละ 22 ราย และแม้ว่าพันธบัตรดังกล่าวจะมีอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ แต่ก็ได้รับการตอบสนองที่ดีมาก เนื่องจากชื่อเสียงของประเทศไทยยังเป็นที่ยอมรับของนักลงทุนในตลาดทุนญี่ปุ่นในการนี้ คณะผู้แทนไทยได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคณะผู้จัดการจัดจำหน่าย รวมทั้งสถาบันการเงินผู้ลงทุน และ JBRI เกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล ตลอดจนแนวทางในการดำเนินนโยบายที่มุ่งเน้นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศที่จะต้องดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง สถานะหนี้ การส่งออกและการนำเข้าของประเทศไทย
5. กระทรวงการคลังได้โอนเงินที่ได้จากการกู้เงินดังกล่าวให้ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2539
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 14 มกราคม 2540--
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรเงินเยนชนิดจำหน่ายทั่วไปในตลาดทุนญี่ปุ่น รุ่นที่ 16 และ 17 และได้ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานผลการกู้เงินโดยการออกพันธบัตรเงินเยนชนิดจำหน่ายทั่วไปในตลาดทุนญี่ปุ่น รุ่นที่ 16 และ รุ่นที่ 17 ในราชกิจจานุเบกษา ภายในวันที่ 10 มกราคม 2540 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ความตกลงว่าด้วยการออกพันธบัตร ประกอบด้วย ความตกลงว่าด้วยการจัดจำหน่ายพันธบัตร (subscription Agreement) ความตกลงว่าด้วยการเป็นธนาคารตัวแทน (Agreement with Commissioned Companies for Bondholders) ความตกลงว่าด้วยการเป็นตัวแทนจ่ายเงิน (Paying Agents Agreement) ความตกลงว่าด้วยการจดทะเบียนผู้ซื้อพันธบัตร (Recording Agency Agreement) ความตกลงว่าด้วยการจดทะเบียนผู้ซื้อพันธบัตร (Recording Agency Agreement) และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกพันธบัตรดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2539 ในการนี้ กระทรวงการคลังได้รับเงินที่ได้จากการออกพันธบัตรในวันรับจ่ายเงิน คือ วันที่ 17 ธันวาคม 2539 โดยมีสาระสำคัญภายใต้ขอบเขตเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้ทุกประการ
2. ความตกลงว่าด้วยการแปลงหนี้ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม2539 ประกอบด้วย ความตกลงว่าด้วย การแปลงหนี้เงินเยนที่ได้จากการออก (1) พันธบัตรรุ่นที่ 16 กับ LTCB และ (2) พันธบัตรรุ่นที่ 17 กับ sakura เป็นหนี้เงินเหรียญสหรัฐฯ ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.5 และร้อยละ 6.85 ต่อปี ในการนี้ กระทรวงการคลังจะมีหนี้สุทธิเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ จำนวน 132,173,000 เหรียญสหรัฐฯ และจำนวน 132,477,817.21 เหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ ทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไขการชำระเงินสอดคล้องกับกำหนดการชำระคืนหนี้เงินกู้ตามนัยข้อ 1.
3. การกู้เงินโดยวิธีออกพันธบัตรเงินเยนชนิดจำหน่ายทั่วไปในครั้งนี้ ซึ่งกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.85 ต่อปี สำหรับพันธบัตรระยะ 5 ปี และร้อยละ 2.85 ต่อปี สำหรับพันธบัตรระยะ 10 ปี จะเป็นอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่กระทรวงการคลังได้กู้เงินจากตลาดทุนญี่ปุ่น เมื่อปี 2522 เป็นต้นมา และเมื่อเปรียบเทียบกับพันธบัตรจากประเทศเกาหลี คือ Korea Gas ซึ่งได้ทำความตกลงในเงื่อนไขพันธบัตรเงินเยนในตลาดทุนญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2539 ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.0 ต่อปี สำหรับระยะไถ่ถอน 5 ปี ซึ่งเทียบเท่าอัตรา Y/Y Swap บวกด้วย Spread ในอัตราร้อยละ 0.15 ต่อปี สูงกว่าพันธบัตรระยะ 5 ปี ของกระทรวงการคลัง 18 Basis Point ทั้ง ๆ ที่ Korea Gas ได้รับการจัดลำดับเครดิตในระดับ AA+ โดยสถาบันเดียวกัน
4. การจัดจำหน่ายพันธบัตรเงินเยนของกระทรวงการคลังในครั้งนี้ มีคณะผู้จัดจำหน่ายรุ่นละ 22 ราย และแม้ว่าพันธบัตรดังกล่าวจะมีอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ แต่ก็ได้รับการตอบสนองที่ดีมาก เนื่องจากชื่อเสียงของประเทศไทยยังเป็นที่ยอมรับของนักลงทุนในตลาดทุนญี่ปุ่นในการนี้ คณะผู้แทนไทยได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคณะผู้จัดการจัดจำหน่าย รวมทั้งสถาบันการเงินผู้ลงทุน และ JBRI เกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล ตลอดจนแนวทางในการดำเนินนโยบายที่มุ่งเน้นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศที่จะต้องดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง สถานะหนี้ การส่งออกและการนำเข้าของประเทศไทย
5. กระทรวงการคลังได้โอนเงินที่ได้จากการกู้เงินดังกล่าวให้ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2539
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 14 มกราคม 2540--