แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงการคลัง
สภาผู้แทนราษฎร
พระราชกำหนด
คณะรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล--3 ส.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 คำว่า "ราคาศุลกากร" หรือ "ราคา" หมายความว่า
1) ในกรณีส่งของออก หมายความว่า ราคาขายส่งเงินสดซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลา และที่ที่ส่งของออก โดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด หรือ
2) ในกรณีนำของเข้า หมายความว่า ราคาของของเพื่อความมุ่งหมายในการจัดเก็บอากรตามราคาอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ไปนี้ (1) ราคาซื้อขายของที่นำเข้า (2) ราคาซื้อขายของที่เหมือนกัน (3) ราคาซื้อขายของที่คล้ายกัน (4) ราคาหักทอน(5) ราคาคำนวณ (6) ราคาย้อนกลับ
1.2 การกำหนดราคาศุลกากรในกรณีนำของเข้าจะต้องรวมค่าประกันภัย ค่าขนส่งของที่นำเข้ามายังท่าเรือที่ที่นำของเข้า ค่าขนของลง ค่าขนของขึ้น และค่าจัดการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่งของที่นำเข้ามายังท่าเรือที่ที่นำของเข้า แต่ในกรณีที่ราคาไม่รวมถึงค่าประกันภัยหรือค่าขนส่ง หรือค่าจัดการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่ง การกำหนดมูลค่าของให้เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด
1.3 ในกรณีที่พิจารณาเห็นว่าราคาของที่นำเข้ามีราคาต่ำอย่างปรากฏชัดหรือไม่น่าจะเป็นมูลค่าอันแท้จริง และหากได้มีการกำหนดราคาศุลกากรตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการใช้ราคาและการกำหนดราคาศุลกากรแล้วยังคงมีราคาต่ำอย่างปรากฏชัดหรือไม่น่าจะเป็นมูลค่าอันแท้จริงของของนั้นอีก ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดราคาศุลกากรของของดังกล่าวได้
1.4 ถ้าไม่ตกลงในเรื่องราคาศุลกากรสำหรับของอย่างใด ๆ ให้อธิบดีมีอำนาจที่จะรับของนั้นไว้เป็นค่าภาษี หรือจะซื้อของนั้นไว้ทั้งหมดหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด ตามราคาที่สำแดงไว้เพิ่มขึ้นอีกร้อยละสองกึ่ง หรือถ้าไม่รับของไว้เป็นค่าภาษีหรือรับซื้อไว้ดังว่านี้อธิบดีและเจ้าของต่างมีอำนาจตั้งอนุญาโตตุลาการมีจำนวนเท่ากัน เพื่อช่วยให้ตกลงกันในข้อโต้เถียง
1.5 ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินอากรของพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
1.6 คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด เว้นแต่ในกรณีที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัย ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการตามคำพิพากษาในส่วนที่เป็นโทษย้อนหลังได้เฉพาะบุคคลซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้น
1.7 ผู้อุทธรณ์มีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โดยฟ้องเป็นคดีต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์
1.8 ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรสงสัยว่าได้มีการฝ่าฝืนบทบัญญัติของพระราชบัญญัตินี้หรือบทกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร ให้อธิบดี ผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีคำสั่งเป็นหนังสือให้เป็นผู้มีหน้าที่ตรวจสอบ มีอำนาจเข้าไปในสถานที่ประกอบการของผู้นั้นหรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง หรือสถานที่อื่นที่เกี่ยวข้อง หรือสอบถามข้อเท็จจริงหรือเรียกบัญชี เอกสาร หลักฐาน หรือข้อมูล ไม่ว่าในสื่อรูปแบบใด ๆ หรือสิ่งของอื่นที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด หรือยึดหรืออายัดบัญชี เอกสาร หลักฐาน หรือข้อมูล ไม่ว่าในสื่อรูปแบบใด ๆ หรือสิ่งของอื่นที่อาจใช้พิสูจน์ความผิด
1.9 ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล ให้กรรมการผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลในเรื่องนั้น ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมหรือตนได้จัดการตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้เกิดความผิดนั้นแล้ว
2. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. มีสาระสำคัญคือ อธิบดีกรมศุลกากรจะประกาศเป็นครั้งคราวก็ได้ว่า ราคาศุลกากรสำหรับของประเภทหนึ่งประเภทใด กำหนดเป็นเงินเท่าใด ให้ถือราคาเช่นว่านี้เป็นเกณฑ์ประเมินเงินอากรในประเภทของที่ประกาศนั้น นับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไปจนกว่าจะมีประกาศยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 สิงหาคม 2542--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 คำว่า "ราคาศุลกากร" หรือ "ราคา" หมายความว่า
1) ในกรณีส่งของออก หมายความว่า ราคาขายส่งเงินสดซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลา และที่ที่ส่งของออก โดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด หรือ
2) ในกรณีนำของเข้า หมายความว่า ราคาของของเพื่อความมุ่งหมายในการจัดเก็บอากรตามราคาอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ไปนี้ (1) ราคาซื้อขายของที่นำเข้า (2) ราคาซื้อขายของที่เหมือนกัน (3) ราคาซื้อขายของที่คล้ายกัน (4) ราคาหักทอน(5) ราคาคำนวณ (6) ราคาย้อนกลับ
1.2 การกำหนดราคาศุลกากรในกรณีนำของเข้าจะต้องรวมค่าประกันภัย ค่าขนส่งของที่นำเข้ามายังท่าเรือที่ที่นำของเข้า ค่าขนของลง ค่าขนของขึ้น และค่าจัดการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่งของที่นำเข้ามายังท่าเรือที่ที่นำของเข้า แต่ในกรณีที่ราคาไม่รวมถึงค่าประกันภัยหรือค่าขนส่ง หรือค่าจัดการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่ง การกำหนดมูลค่าของให้เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด
1.3 ในกรณีที่พิจารณาเห็นว่าราคาของที่นำเข้ามีราคาต่ำอย่างปรากฏชัดหรือไม่น่าจะเป็นมูลค่าอันแท้จริง และหากได้มีการกำหนดราคาศุลกากรตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการใช้ราคาและการกำหนดราคาศุลกากรแล้วยังคงมีราคาต่ำอย่างปรากฏชัดหรือไม่น่าจะเป็นมูลค่าอันแท้จริงของของนั้นอีก ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดราคาศุลกากรของของดังกล่าวได้
1.4 ถ้าไม่ตกลงในเรื่องราคาศุลกากรสำหรับของอย่างใด ๆ ให้อธิบดีมีอำนาจที่จะรับของนั้นไว้เป็นค่าภาษี หรือจะซื้อของนั้นไว้ทั้งหมดหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด ตามราคาที่สำแดงไว้เพิ่มขึ้นอีกร้อยละสองกึ่ง หรือถ้าไม่รับของไว้เป็นค่าภาษีหรือรับซื้อไว้ดังว่านี้อธิบดีและเจ้าของต่างมีอำนาจตั้งอนุญาโตตุลาการมีจำนวนเท่ากัน เพื่อช่วยให้ตกลงกันในข้อโต้เถียง
1.5 ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินอากรของพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
1.6 คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด เว้นแต่ในกรณีที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัย ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการตามคำพิพากษาในส่วนที่เป็นโทษย้อนหลังได้เฉพาะบุคคลซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้น
1.7 ผู้อุทธรณ์มีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โดยฟ้องเป็นคดีต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์
1.8 ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรสงสัยว่าได้มีการฝ่าฝืนบทบัญญัติของพระราชบัญญัตินี้หรือบทกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร ให้อธิบดี ผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีคำสั่งเป็นหนังสือให้เป็นผู้มีหน้าที่ตรวจสอบ มีอำนาจเข้าไปในสถานที่ประกอบการของผู้นั้นหรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง หรือสถานที่อื่นที่เกี่ยวข้อง หรือสอบถามข้อเท็จจริงหรือเรียกบัญชี เอกสาร หลักฐาน หรือข้อมูล ไม่ว่าในสื่อรูปแบบใด ๆ หรือสิ่งของอื่นที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด หรือยึดหรืออายัดบัญชี เอกสาร หลักฐาน หรือข้อมูล ไม่ว่าในสื่อรูปแบบใด ๆ หรือสิ่งของอื่นที่อาจใช้พิสูจน์ความผิด
1.9 ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล ให้กรรมการผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลในเรื่องนั้น ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมหรือตนได้จัดการตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้เกิดความผิดนั้นแล้ว
2. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. มีสาระสำคัญคือ อธิบดีกรมศุลกากรจะประกาศเป็นครั้งคราวก็ได้ว่า ราคาศุลกากรสำหรับของประเภทหนึ่งประเภทใด กำหนดเป็นเงินเท่าใด ให้ถือราคาเช่นว่านี้เป็นเกณฑ์ประเมินเงินอากรในประเภทของที่ประกาศนั้น นับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไปจนกว่าจะมีประกาศยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 สิงหาคม 2542--