ทำเนียบรัฐบาล--8 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสา ธารณสุขเสนอ โดยให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายโภคิน พลกุล) ปรับปรุงถ้อยคำใน 2 สัปดาห์ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิ จารณาต่อไปร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. กำหนดให้พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่สถานพยาบาลของกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานครเมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย และสถานพยาบาลอื่นซึ่งรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2. กำหนดให้มีคณะกรรมการสถานพยาบาล ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็น ประธานกรรมการ อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมอนามัย อธิบดีกรมควบคุมโรคติดต่อ อธิบดีกรมวิทยา ศาสตร์การแพทย์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา อธิบดีกรมสุขภาพจิต ผู้แทนสำนักงานคณะ กรรมการกฤษฎีกา และผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง กับผู้ ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ประกอบวิชาชีพโดยคำแนะนำของสภาวิชาชีพสภาละ 1 คน และผู้ประ กอบโรคศิลปะ จำนวน 3 คน และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกิน 5 คน ซึ่งในจำนวนนี้จะต้องแต่งตั้งจากผู้ดำ เนินการสถานพยาบาลอย่างน้อย 1 คน แต่ไม่เกิน 3 คนเป็นกรรมการมีหน้าที่ให้คำปรึกษา ให้ความเห็น และให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีหรือผู้อนุญาตในเรื่องการออกกฎกระทรวง การอนุญาตการปิด หรือการเพิก ถอนใบอนุญาต ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและการกำหนดมาตรฐาน การบริการ
3. ให้แบ่งประเภทสถานพยาบาลเป็นรายประเภทและชนิดเพื่อสะดวกในการกำหนดมาตร ฐาน
4. กำหนดคุณสมบัติและหน้าที่ของผู้ขออนุญาตตั้งและลักษณะของสถานพยาบาลที่จะตั้ง รวมทั้ง ให้อำนาจรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดจำนวนสถานพยาบาลหรือบริการทางการแพทย์ในบางท้องที่ได้
5. กำหนดเรื่องการต่ออายุใบอนุญาตตั้งให้ใช้ได้ครั้งละ 10 ปี แต่ต้องชำระค่าธรรม เนียมรายปี ใบอนุญาตดำเนินการสถานพยาบาลให้ได้ถึง 2 ปี
6. กำหนดให้ผู้รับอนุญาตต้องแสดงรายละเอียดค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการ รวมทั้งสิทธิ ของผู้ขอรับบริการไว้ในที่เปิดเผย
7. กำหนดเกี่ยวกับการโฆษณาของสถานพยาบาลให้มีความชัดเจนขึ้น และการสั่งระงับการ โฆษณา
8. กำหนดเรื่องการเลิกกิจการสถานพยาบาล ต้องแจ้งเลิกเป็นหนังสือ และจัดทำราย งานที่จะปฏิบัติต่อผู้ป่วย
9. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจตราสถานพยาบาลโดยสม่ำเสมอ
10. กำหนดอัตราโทษสำหรับการไม่ขออนุญาตประกอบกิจการหรือดำเนินการ ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และกำหนดให้กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคล ต้องรับโทษด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 7 พฤศจิกายน 2538--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสา ธารณสุขเสนอ โดยให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายโภคิน พลกุล) ปรับปรุงถ้อยคำใน 2 สัปดาห์ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิ จารณาต่อไปร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. กำหนดให้พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่สถานพยาบาลของกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานครเมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย และสถานพยาบาลอื่นซึ่งรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2. กำหนดให้มีคณะกรรมการสถานพยาบาล ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็น ประธานกรรมการ อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมอนามัย อธิบดีกรมควบคุมโรคติดต่อ อธิบดีกรมวิทยา ศาสตร์การแพทย์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา อธิบดีกรมสุขภาพจิต ผู้แทนสำนักงานคณะ กรรมการกฤษฎีกา และผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง กับผู้ ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ประกอบวิชาชีพโดยคำแนะนำของสภาวิชาชีพสภาละ 1 คน และผู้ประ กอบโรคศิลปะ จำนวน 3 คน และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกิน 5 คน ซึ่งในจำนวนนี้จะต้องแต่งตั้งจากผู้ดำ เนินการสถานพยาบาลอย่างน้อย 1 คน แต่ไม่เกิน 3 คนเป็นกรรมการมีหน้าที่ให้คำปรึกษา ให้ความเห็น และให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีหรือผู้อนุญาตในเรื่องการออกกฎกระทรวง การอนุญาตการปิด หรือการเพิก ถอนใบอนุญาต ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและการกำหนดมาตรฐาน การบริการ
3. ให้แบ่งประเภทสถานพยาบาลเป็นรายประเภทและชนิดเพื่อสะดวกในการกำหนดมาตร ฐาน
4. กำหนดคุณสมบัติและหน้าที่ของผู้ขออนุญาตตั้งและลักษณะของสถานพยาบาลที่จะตั้ง รวมทั้ง ให้อำนาจรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดจำนวนสถานพยาบาลหรือบริการทางการแพทย์ในบางท้องที่ได้
5. กำหนดเรื่องการต่ออายุใบอนุญาตตั้งให้ใช้ได้ครั้งละ 10 ปี แต่ต้องชำระค่าธรรม เนียมรายปี ใบอนุญาตดำเนินการสถานพยาบาลให้ได้ถึง 2 ปี
6. กำหนดให้ผู้รับอนุญาตต้องแสดงรายละเอียดค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการ รวมทั้งสิทธิ ของผู้ขอรับบริการไว้ในที่เปิดเผย
7. กำหนดเกี่ยวกับการโฆษณาของสถานพยาบาลให้มีความชัดเจนขึ้น และการสั่งระงับการ โฆษณา
8. กำหนดเรื่องการเลิกกิจการสถานพยาบาล ต้องแจ้งเลิกเป็นหนังสือ และจัดทำราย งานที่จะปฏิบัติต่อผู้ป่วย
9. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจตราสถานพยาบาลโดยสม่ำเสมอ
10. กำหนดอัตราโทษสำหรับการไม่ขออนุญาตประกอบกิจการหรือดำเนินการ ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และกำหนดให้กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคล ต้องรับโทษด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 7 พฤศจิกายน 2538--