คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) รายงานสถานการณ์ภัยแล้งและการแก้ไขปัญหาจังหวัดนครราชสีมา ดังนี้
1. สถานการณ์น้ำท่า
1.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำลำตะคอง อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง อ่างเก็บน้ำลำน้ำมูลบน และอ่างเก็บน้ำลำแชะ มีปริมาณความจุที่ระดับเก็บกักรวม 982.39 ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำ (ณ 16 ก.พ. 48) รวม 271.87 ล้านลูกบาศก์เมตร
1.2 อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง จำนวน 16 แห่ง มีปริมาณความจุที่ระดับเก็บกัก รวม 162.64 ล้านลูกบาศก์เมตร (ณ 16 ก.พ. 48) มีปริมาณน้ำให้อ่าง รวม 24.29 ล้านลูกบาศก์เมตร
2. สถานการณ์น้ำฝน (ตั้งแต่ ม.ค. 47 - 17 ก.พ. 48) ปริมาณฝนตกวัดได้รวม 735.8 มิลลิเมตร คิดเป็น 71.99% ของเกณฑ์เฉลี่ย (เกณฑ์เฉลี่ยในช่วงเดียวกัน 1,022.1 มิลลิเมตร)
3. สภาพความเสียหาย จังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่การเกษตร จำนวน 7,694,809 ไร่ เสียหายรวมทั้งสิ้น 2,397,411 ไร่ มูลค่าความเสียหาย 6,710,000,000 บาท
4. การให้ความช่วยเหลือ
4.1 แจกจ่ายน้ำอุปโภค-บริโภค เป็นปริมาณน้ำ จำนวน 23,252,896 ลิตร
4.2 ให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร มีพื้นที่การเกษตร จำนวน 2,397,411 ไร่
4.3 ใช้เงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยฯ จำนวน 13,446,314 บาท
4.4 ขอใช้งบกลางจากกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 607,054,064 บาท
5. ความต้องการของจังหวัดนครราชสีมาในด้านแหล่งน้ำ (โครงการระยะปานกลาง) งบประมาณรวม 6,028,586,000 บาท แยกเป็น
5.1 โครงการสูบน้ำเพิ่มเติมให้แก่หนองน้ำธรรมชาติ วงเงินงบประมาณ 471,770,000 บาท
5.2 โครงการสูบน้ำช่วยเหลือราษฎรอำเภอห้วยแถลง วงเงินงบประมาณ 400,000,000 บาท
5.3 โครงการสูบน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค และการเกษตร วงเงินงบประมาณ 411,816,000 บาท
5.4 โครงการผันน้ำจากลำสนธิสู่ลุ่มน้ำลำเชียงไกร วงเงินงบประมาณ 825,000,000 บาท
5.5 โครงการสูบน้ำลำตะคองอ่างเก็บน้ำห้วยบ้านยาง วงเงินงบประมาณ 90,000,000 บาท
5.6 โครงการเสริมระดับเก็กกักน้ำอ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง วงเงินงบประมาณ 30,000,000 บาท
5.7 โครงการผันน้ำจากแม่น้ำป่าสักสู่อ่างเก็บน้ำลำตะคอง วงเงินงบประมาณ 3,800,000,000 บาท
ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่นายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ในคราวเดินทางไปตรวจราชการที่จังหวัดนครราชสีมา (24 เม.ย. 47) และกรมชลประทานเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอขอนุมัติงบประมาณปี 2548
6. ข้อสั่งการของรองนายกรัฐมนตรี
6.1 ให้กรมส่งเสริมการเกษตร และผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งรัดติดตามเงินช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ประสบภัยแล้ง ปี 2547 จำนวน 607,054,064 บาท
6.2 ให้จังหวัดใช้งบประมาณบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (CEO) ในการแก้ไขปัญหาความแห้งแล้งเป็นลำดับแรก และให้จัดงบประมาณกระจายไปในทุกพื้นที่
6.3 ประชาสัมพันธ์การใช้น้ำอย่างประหยัด และเหมาะสมโดยเฉพาะการเพาะปลูกพืชของราษฎร เพื่อให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่สามารถใช้ได้จนกว่าจะผ่านพ้นฤดูแล้งในปี 2548
6.4 หากสถานการณ์ความแห้งแล้งทวีความรุนแรง จังหวัดควรเตรียมการจัดหาแหล่งน้ำใต้ดิน (บาดาล) เพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าวไว้ด้วย
6.5 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดทำโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในระยะยาว (10 ปีขึ้นไป) เพื่อเสนอของบประมาณมาดำเนินการแก้ไขปัญหา
6.6 ให้เทศบาลนครราชสีมาดูแลด้านน้ำอุปโภค-บริโภค ในความรับผิดชอบอย่าให้เกิดความขาดแคลน
6.7 ให้ขอความร่วมมือภาคเอกชนอย่างต่อเนื่องในการระดมความช่วยเหลือเกี่ยวกับรถขนน้ำเพื่อไปแจกจ่ายให้ราษฎรผู้ประสบภัย
6.8 ให้จังหวัดพิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสมในการจัดหน่วยเคลื่อนที่ไปให้ความข่วยเหลือราษฎรในพื้นที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาความแห้งแล้ง
6.9 หากงบประมาณ CEO ไม่เพียงพอขอให้จังหวัดจัดทำคำของบประมาณเสนอให้พิจารณา เพื่อจักได้นำเรียนนายกรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติงบกลางมาดำเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป
6.10 ให้กรมชลประทานศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับข้อเสนอของ พระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ) เพิ่มเติมจากโครงการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์สู่ลำเชียงไกร ซึ่งจังหวัดเคยนำเสนอโครงการต่อนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2547
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--
1. สถานการณ์น้ำท่า
1.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำลำตะคอง อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง อ่างเก็บน้ำลำน้ำมูลบน และอ่างเก็บน้ำลำแชะ มีปริมาณความจุที่ระดับเก็บกักรวม 982.39 ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำ (ณ 16 ก.พ. 48) รวม 271.87 ล้านลูกบาศก์เมตร
1.2 อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง จำนวน 16 แห่ง มีปริมาณความจุที่ระดับเก็บกัก รวม 162.64 ล้านลูกบาศก์เมตร (ณ 16 ก.พ. 48) มีปริมาณน้ำให้อ่าง รวม 24.29 ล้านลูกบาศก์เมตร
2. สถานการณ์น้ำฝน (ตั้งแต่ ม.ค. 47 - 17 ก.พ. 48) ปริมาณฝนตกวัดได้รวม 735.8 มิลลิเมตร คิดเป็น 71.99% ของเกณฑ์เฉลี่ย (เกณฑ์เฉลี่ยในช่วงเดียวกัน 1,022.1 มิลลิเมตร)
3. สภาพความเสียหาย จังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่การเกษตร จำนวน 7,694,809 ไร่ เสียหายรวมทั้งสิ้น 2,397,411 ไร่ มูลค่าความเสียหาย 6,710,000,000 บาท
4. การให้ความช่วยเหลือ
4.1 แจกจ่ายน้ำอุปโภค-บริโภค เป็นปริมาณน้ำ จำนวน 23,252,896 ลิตร
4.2 ให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร มีพื้นที่การเกษตร จำนวน 2,397,411 ไร่
4.3 ใช้เงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยฯ จำนวน 13,446,314 บาท
4.4 ขอใช้งบกลางจากกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 607,054,064 บาท
5. ความต้องการของจังหวัดนครราชสีมาในด้านแหล่งน้ำ (โครงการระยะปานกลาง) งบประมาณรวม 6,028,586,000 บาท แยกเป็น
5.1 โครงการสูบน้ำเพิ่มเติมให้แก่หนองน้ำธรรมชาติ วงเงินงบประมาณ 471,770,000 บาท
5.2 โครงการสูบน้ำช่วยเหลือราษฎรอำเภอห้วยแถลง วงเงินงบประมาณ 400,000,000 บาท
5.3 โครงการสูบน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค และการเกษตร วงเงินงบประมาณ 411,816,000 บาท
5.4 โครงการผันน้ำจากลำสนธิสู่ลุ่มน้ำลำเชียงไกร วงเงินงบประมาณ 825,000,000 บาท
5.5 โครงการสูบน้ำลำตะคองอ่างเก็บน้ำห้วยบ้านยาง วงเงินงบประมาณ 90,000,000 บาท
5.6 โครงการเสริมระดับเก็กกักน้ำอ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง วงเงินงบประมาณ 30,000,000 บาท
5.7 โครงการผันน้ำจากแม่น้ำป่าสักสู่อ่างเก็บน้ำลำตะคอง วงเงินงบประมาณ 3,800,000,000 บาท
ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่นายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ในคราวเดินทางไปตรวจราชการที่จังหวัดนครราชสีมา (24 เม.ย. 47) และกรมชลประทานเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอขอนุมัติงบประมาณปี 2548
6. ข้อสั่งการของรองนายกรัฐมนตรี
6.1 ให้กรมส่งเสริมการเกษตร และผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งรัดติดตามเงินช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ประสบภัยแล้ง ปี 2547 จำนวน 607,054,064 บาท
6.2 ให้จังหวัดใช้งบประมาณบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (CEO) ในการแก้ไขปัญหาความแห้งแล้งเป็นลำดับแรก และให้จัดงบประมาณกระจายไปในทุกพื้นที่
6.3 ประชาสัมพันธ์การใช้น้ำอย่างประหยัด และเหมาะสมโดยเฉพาะการเพาะปลูกพืชของราษฎร เพื่อให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่สามารถใช้ได้จนกว่าจะผ่านพ้นฤดูแล้งในปี 2548
6.4 หากสถานการณ์ความแห้งแล้งทวีความรุนแรง จังหวัดควรเตรียมการจัดหาแหล่งน้ำใต้ดิน (บาดาล) เพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าวไว้ด้วย
6.5 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดทำโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในระยะยาว (10 ปีขึ้นไป) เพื่อเสนอของบประมาณมาดำเนินการแก้ไขปัญหา
6.6 ให้เทศบาลนครราชสีมาดูแลด้านน้ำอุปโภค-บริโภค ในความรับผิดชอบอย่าให้เกิดความขาดแคลน
6.7 ให้ขอความร่วมมือภาคเอกชนอย่างต่อเนื่องในการระดมความช่วยเหลือเกี่ยวกับรถขนน้ำเพื่อไปแจกจ่ายให้ราษฎรผู้ประสบภัย
6.8 ให้จังหวัดพิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสมในการจัดหน่วยเคลื่อนที่ไปให้ความข่วยเหลือราษฎรในพื้นที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาความแห้งแล้ง
6.9 หากงบประมาณ CEO ไม่เพียงพอขอให้จังหวัดจัดทำคำของบประมาณเสนอให้พิจารณา เพื่อจักได้นำเรียนนายกรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติงบกลางมาดำเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป
6.10 ให้กรมชลประทานศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับข้อเสนอของ พระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ) เพิ่มเติมจากโครงการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์สู่ลำเชียงไกร ซึ่งจังหวัดเคยนำเสนอโครงการต่อนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2547
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--