แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ
คณะรัฐมนตรี
ข้อมูล
ทำเนียบรัฐบาล--31 พ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบการปรับปรุงข้อมูลการติดตามประเมินผลการพัฒนาฯในระยะครึ่งแผนฯ 7ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอโดยสำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ประสานงานกับกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณและธนาคาร แห่งประเทศไทย ปรับปรุงข้อมูลตามข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ด้านเศรษฐกิจส่วนรวม
1.1 การปรับข้อมูลรายได้ประชาชาติ ปี 2536 เนื่องจากกรมบัญชีกลางได้ขอแก้ไขข้อมูล รายจ่ายของรัฐบาล ทำให้รายจ่ายจริงของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจาก 517,953 ล้านบาท เป็น 532,782 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 14,829 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.9
1.2 การปรับข้อมูลประมาณการ ปี 2537 ใช้ข้อมูลรายได้ประชาชาติ ปี 2536 ที่ปรับปรุง ใหม่และปรับข้อมูลกการส่งออกปี 2537 ให้เป็นปัจจุบันยิ่งขึ้น จากเดิมที่ขยายตัวร้อยละ 16.1 เพิ่มเป็น ร้อยละ 21.3
1.3 ผลการปรับปรุงข้อมูลดังกล่าว ทำให้ตัวเลขทางด้านเศรษฐกจิหลักๆ เปลี่ยนแปลง ดังนี้
1) การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในปี 2536 เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 8.2 เป็นร้อยละ 8.4 และในปี 2537 เพิ่มจากเดิมร้อยละ 8.4 เป็นร้อยละ 8.7
2) การบริโภคภาครัฐบาล ในปี 2536 อัตราการขยายตัวซึ่งลดลงจากเดิมร้อยละ 7.8 เหลือเพียงร้อยละ 5.4 ส่วนในปี 2537 ขยายตัวในระดับเดิม คือร้อยละ 7.5
3) การลงทุนภาครัฐบาลปี 2536 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ 0.2 เป็นร้อยละ 8.9 ส่วนปี 2537 ขยายตัวร้อยละ 13.8
4) สัดส่วนการออกภาคครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์ประเทศ ปี 2536 เพิ่มจากเดิมร้อยละ 8.5 เป็นร้อยละ 8.7
2. ด้านการกระจายรายได้
2.1 การกระจายรายได้ระหว่างภูมิภาคของประเทศ ใช้ข้อมูลผลิตภัณฑ์รายภาคปี 2537 ที่ ได้ปรับใหม่จากการประมาณการโดยใช้แบบจำลองเศรษฐมิติ เมื่อแสดงการเปรียบเทียบของการขยายตัว ทางเศรษฐกิจและช่วงว่างรายได้ต่อหัวระหว่างภาค
2.2การกระจายรายได้ระหว่างกลุ่มอาชีพ ใช้ผลจากการศึกษาเบื้องต้นจากการสำรวจ รายได้ 2537 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัมนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติร่วมกับสำนักงานสถิติ แห่งชาติ โดยเน้นเฉพาะกลุ่มอาชีพเป้าหมายที่มีรายได้ต่ำ 2 กลุ่มคือ กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มแรงงานรับ จ้างในกระบวนการผลิต และการก่อสร้าง
3. สรุปการประเมินผลการพัฒนาในช่วงปี 2535 - 2537
3.1 ภาพเศรษฐกิจส่วนรวม
จากการปรับปรุงข้อมูลด้านเศรษฐกิจส่วนรวมดังกล่าวแล้ว มีผลทำให้การประเมินผลสำเร็จ ตามเป้าหมายเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยสรุปคือ
1) เศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศในระยะ 3 ปีแรก ของแผน ฯ 7 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 8.3 สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 8.2
2) เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อยู่ในเกณฑ์ดี แต่ยังมีปัญหาช่องว่างการออม - การลงทุน ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และการนำเข้ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
3.2 ด้านการกระจายรายได้
1)การกระจายรายได้ระหว่างภูมิภาคเศรษฐกิจของภูมิภาคต่างๆยกเว้นกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลขยายตัวในอัตราที่ลดลงค่อนข้างมาก การลงทุนเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น การก่อสร้างเริ่มขยายตัวส่วน การค้า และการท่องเที่ยวได้รับผลจากนโยบายความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้การค้าชายแดน ขยายตัวในระดับสูงมากและรายได้ต่อหัวของประชากรโดยรวมดีขึ้นโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 ต่อปี
2)การกระจายได้ระหว่างกลุ่มอาชีพครัวเรือนของเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 โดยรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นทุกภูมิภาค ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนแรงงานรับจ้าง มีรายได้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.6
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 พฤษภาคม 2538--
คณะรัฐมนตรีรับทราบการปรับปรุงข้อมูลการติดตามประเมินผลการพัฒนาฯในระยะครึ่งแผนฯ 7ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอโดยสำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ประสานงานกับกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณและธนาคาร แห่งประเทศไทย ปรับปรุงข้อมูลตามข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ด้านเศรษฐกิจส่วนรวม
1.1 การปรับข้อมูลรายได้ประชาชาติ ปี 2536 เนื่องจากกรมบัญชีกลางได้ขอแก้ไขข้อมูล รายจ่ายของรัฐบาล ทำให้รายจ่ายจริงของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจาก 517,953 ล้านบาท เป็น 532,782 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 14,829 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.9
1.2 การปรับข้อมูลประมาณการ ปี 2537 ใช้ข้อมูลรายได้ประชาชาติ ปี 2536 ที่ปรับปรุง ใหม่และปรับข้อมูลกการส่งออกปี 2537 ให้เป็นปัจจุบันยิ่งขึ้น จากเดิมที่ขยายตัวร้อยละ 16.1 เพิ่มเป็น ร้อยละ 21.3
1.3 ผลการปรับปรุงข้อมูลดังกล่าว ทำให้ตัวเลขทางด้านเศรษฐกจิหลักๆ เปลี่ยนแปลง ดังนี้
1) การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในปี 2536 เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 8.2 เป็นร้อยละ 8.4 และในปี 2537 เพิ่มจากเดิมร้อยละ 8.4 เป็นร้อยละ 8.7
2) การบริโภคภาครัฐบาล ในปี 2536 อัตราการขยายตัวซึ่งลดลงจากเดิมร้อยละ 7.8 เหลือเพียงร้อยละ 5.4 ส่วนในปี 2537 ขยายตัวในระดับเดิม คือร้อยละ 7.5
3) การลงทุนภาครัฐบาลปี 2536 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ 0.2 เป็นร้อยละ 8.9 ส่วนปี 2537 ขยายตัวร้อยละ 13.8
4) สัดส่วนการออกภาคครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์ประเทศ ปี 2536 เพิ่มจากเดิมร้อยละ 8.5 เป็นร้อยละ 8.7
2. ด้านการกระจายรายได้
2.1 การกระจายรายได้ระหว่างภูมิภาคของประเทศ ใช้ข้อมูลผลิตภัณฑ์รายภาคปี 2537 ที่ ได้ปรับใหม่จากการประมาณการโดยใช้แบบจำลองเศรษฐมิติ เมื่อแสดงการเปรียบเทียบของการขยายตัว ทางเศรษฐกิจและช่วงว่างรายได้ต่อหัวระหว่างภาค
2.2การกระจายรายได้ระหว่างกลุ่มอาชีพ ใช้ผลจากการศึกษาเบื้องต้นจากการสำรวจ รายได้ 2537 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัมนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติร่วมกับสำนักงานสถิติ แห่งชาติ โดยเน้นเฉพาะกลุ่มอาชีพเป้าหมายที่มีรายได้ต่ำ 2 กลุ่มคือ กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มแรงงานรับ จ้างในกระบวนการผลิต และการก่อสร้าง
3. สรุปการประเมินผลการพัฒนาในช่วงปี 2535 - 2537
3.1 ภาพเศรษฐกิจส่วนรวม
จากการปรับปรุงข้อมูลด้านเศรษฐกิจส่วนรวมดังกล่าวแล้ว มีผลทำให้การประเมินผลสำเร็จ ตามเป้าหมายเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยสรุปคือ
1) เศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศในระยะ 3 ปีแรก ของแผน ฯ 7 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 8.3 สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 8.2
2) เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อยู่ในเกณฑ์ดี แต่ยังมีปัญหาช่องว่างการออม - การลงทุน ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และการนำเข้ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
3.2 ด้านการกระจายรายได้
1)การกระจายรายได้ระหว่างภูมิภาคเศรษฐกิจของภูมิภาคต่างๆยกเว้นกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลขยายตัวในอัตราที่ลดลงค่อนข้างมาก การลงทุนเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น การก่อสร้างเริ่มขยายตัวส่วน การค้า และการท่องเที่ยวได้รับผลจากนโยบายความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้การค้าชายแดน ขยายตัวในระดับสูงมากและรายได้ต่อหัวของประชากรโดยรวมดีขึ้นโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 ต่อปี
2)การกระจายได้ระหว่างกลุ่มอาชีพครัวเรือนของเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 โดยรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นทุกภูมิภาค ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนแรงงานรับจ้าง มีรายได้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.6
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 พฤษภาคม 2538--