ทำเนียบรัฐบาล--6 พ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้รายงานผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโสเภณีเด็กตามมติคณะรัฐมนตรี ระหว่างเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2539 สรุปได้ดังนี้
1. มาตรการแก้ไข ให้การสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ ฟื้นฟูและพัฒนาสตรี ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 และสตรีที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่สมัครใจ โดยให้การศึกษาสายสามัญ การฝึกอบรมวิชาชีพ การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพจิตใจ ตลอดจนปรับเปลี่ยนทัศนคติ ค่านิยม รวมทั้งแนวความคิดในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องเหมาะสมในสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ จำนวน 481 คน
2. มาตรการป้องกัน
2.1 ดำเนินการฝึกอบรมอาชีพให้แก่เยาวชนสตรีชนบทที่มีฐานะครอบครัวยากจนในศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรี รวม 8 แห่ง จำนวน 1,481 คน
2.2 จัดตั้งสถานฝึกวิชาชีพตัดผม ทั้งชายและหญิง จำนวน 79 คน
2.3 ดำเนินการจัดฝึกอบรมอาชีพแก่สตรีที่เลิกอาชีพหญิงบริการ จำนวน 512 คน
2.4 จัดหางานให้แก่ผู้รับการสงเคราะห์ และผู้สำเร็จการอบรมวิชาชีพจากสถานสงเคราะห์หญิงและศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีของกรมประชาสงเคราะห์ เพื่อให้มีงานทำ มีรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวต่อไป จำนวน 787 ราย
2.5 ให้การสงเคราะห์ด้านเงินทุนประกอบอาชีพ เพื่อเป็นทุนประกอบอาชีพในวงเงิน 10,000 บาท โดยไม่เสียดอกเบี้ย และผ่อนชำระภายในระยะเวลา 5 ปี ซึ่งได้ให้บริการกู้ยืมจำนวน 7 ราย เป็นเงิน 60,500 บาท
2.6 สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนส่งเสริมอาชีพสตรี เพื่อผลิตสินค้า ในการประกอบอาชีพ จำนวน 409 ราย เป็นเงิน 1,624,000 บาท
2.7 ดำเนินงานตามโครงการรณรงค์ต้านการค้าประเวณี เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาโสเภณีและโสเภณีเด็กดังนี้
- จัดสัมมนาเพื่อเผยแพร่พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539
- จัดพิมพ์หนังสือ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 จำนวน 30,000 เล่ม คู่มือการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีฯ จำนวน 5,000 เล่ม
3. มาตรการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพสตรี
3.1 ดำเนินการให้บริการแนะแนว ให้คำปรึกษาปัญหาและให้ความช่วยเหลือสตรีที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ทั้งทางโทรศัพท์ และมาพบด้วยตนเอง จำนวน 181 ราย
3.2 ดำเนินงานศูนย์ประสานการให้ความช่วยเหลือผู้ถูกบังคับค้าบริการทางเพศ (ศชพ.) ทั้งในส่วนกลาง(กรมประชาสงเคราะห์) และส่วนภูมิภาค (ที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัดทุกจังหวัด) เพื่อรับแจ้งข่าวสารการล่อลวงบังคับเด็กและสตรีให้ค้าบริการทางเพศ
3.3 การจัดตั้งศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์แรงงานเด็กและโสเภณีเด็ก โดยขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัด กรส. เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุในเบื้องต้น
3.4 ให้การสงเคราะห์ ช่วยเหลือ และคุ้มครองสวัสดิภาพแก่สตรีและเด็กที่ถูกบังคับค้าบริการทางเพศจำนวน 56 ราย
3.5 ตรวจสอบสถานภาพทางสังคมของสตรีผู้ขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2521 ให้ใช้มาตรการในการป้องกันการแสวงหาประโยชน์จากหญิงไทยที่ไปประกอบอาชีพอันเสื่อมเสียศีลธรรมในต่างประเทศ (ยกเว้นกรณีผู้มีอายุเกิน 36 ปี ผู้ไปศึกษาต่อต่างประเทศ และผู้ไปประกอบพิธีฮัจย์) จำนวน 108 ราย
4. มาตรการด้านกฎหมาย เนื่องจากพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 21 ธันวาคม 2539 กรมประชาสงเคราะห์จึงได้มีการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นรูปธรรมขึ้น ดังนี้
4.1 จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ
4.2 จัดสัมมนาชี้แจงพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 แก่หัวหน้าหน่วยงานของกรมประชาสงเคราะห์ทั้งประเทศ รวม 3 ครั้ง จำนวน 674 คน
4.3 จัดนิทรรศการเกี่ยวกับปัญหาเด็กในธุรกิจบริการทางเพศ และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีฯ รวม 3 ครั้ง
5. ปัญหาอุปสรรค
5.1 เนื่องจากการค้าประเวณีเป็นปัญหาสังคมที่สั่งสมมานาน มีรูปแบบและกระบวนการที่สลับซับซ้อน มีเครือข่ายในการประกอบธุรกิจบริการทางเพศ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้ยากต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาให้หมดสิ้นไปโดยเร็ว จำเป็นต้องอาศัยเวลา และความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน ตลอดจนประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
5.2 การสนับสนุนด้านการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า และสั่งจ้างแรงงานจากกลุ่มสตรีในโครงการสร้างชีวิตใหม่ให้สตรีชนบท ยังไม่เพียงพอและต่อเนื่องเท่าที่ควร5.3 ค่านิยมของประชาชนในสังคม โดยเฉพาะพ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ค้าประเวณี และชายผู้เที่ยว ยังเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาโสเภณีเด็ก
6. แนวทางแก้ไข
6.1 หน่วยงานภาครัฐบาลและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ควรประสานและสนับสนุนการดำเนินงานซึ่งกันและกันในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโสเภณีอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
6.2 ขอความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และภาคธุรกิจ ให้สนับสนุนสั่งซื้อผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า และสั่งจ้างแรงงานจากกลุ่มสตรีที่เดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม และเยาวสตรีกลุ่มเสี่ยง ในโครงการสร้างชีวิตใหม่ให้สตรีชนบทอย่างเพียงพอและต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น ตลอดจนให้มีการประชาสัมพันธ์การฝึกอาชีพดังกล่าวให้ทราบโดยทั่วกัน
6.3 รณรงค์ค่านิยมที่ถูกต้อง และเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 ให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเกี่ยวกับบทลงโทษ เช่น การลงโทษหรือถอนอำนาจปกครอง พ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่มีส่วนรู้เห็นให้ผู้อยู่ในปกครองค้าประเวณี ให้แก่ประชาชนทุกกลุ่ม รวมทั้งบทลงโทษผู้เป็นธุระจัดหา และชายผู้เที่ยวโสเภณีเด็ก โดยการจัดสัมมนาการฝึกอบรมและการประชาสัมพันธ์รูปแบบต่าง ๆ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 6 พฤษภาคม 2540--
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้รายงานผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโสเภณีเด็กตามมติคณะรัฐมนตรี ระหว่างเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2539 สรุปได้ดังนี้
1. มาตรการแก้ไข ให้การสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ ฟื้นฟูและพัฒนาสตรี ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 และสตรีที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่สมัครใจ โดยให้การศึกษาสายสามัญ การฝึกอบรมวิชาชีพ การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพจิตใจ ตลอดจนปรับเปลี่ยนทัศนคติ ค่านิยม รวมทั้งแนวความคิดในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องเหมาะสมในสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ จำนวน 481 คน
2. มาตรการป้องกัน
2.1 ดำเนินการฝึกอบรมอาชีพให้แก่เยาวชนสตรีชนบทที่มีฐานะครอบครัวยากจนในศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรี รวม 8 แห่ง จำนวน 1,481 คน
2.2 จัดตั้งสถานฝึกวิชาชีพตัดผม ทั้งชายและหญิง จำนวน 79 คน
2.3 ดำเนินการจัดฝึกอบรมอาชีพแก่สตรีที่เลิกอาชีพหญิงบริการ จำนวน 512 คน
2.4 จัดหางานให้แก่ผู้รับการสงเคราะห์ และผู้สำเร็จการอบรมวิชาชีพจากสถานสงเคราะห์หญิงและศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีของกรมประชาสงเคราะห์ เพื่อให้มีงานทำ มีรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวต่อไป จำนวน 787 ราย
2.5 ให้การสงเคราะห์ด้านเงินทุนประกอบอาชีพ เพื่อเป็นทุนประกอบอาชีพในวงเงิน 10,000 บาท โดยไม่เสียดอกเบี้ย และผ่อนชำระภายในระยะเวลา 5 ปี ซึ่งได้ให้บริการกู้ยืมจำนวน 7 ราย เป็นเงิน 60,500 บาท
2.6 สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนส่งเสริมอาชีพสตรี เพื่อผลิตสินค้า ในการประกอบอาชีพ จำนวน 409 ราย เป็นเงิน 1,624,000 บาท
2.7 ดำเนินงานตามโครงการรณรงค์ต้านการค้าประเวณี เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาโสเภณีและโสเภณีเด็กดังนี้
- จัดสัมมนาเพื่อเผยแพร่พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539
- จัดพิมพ์หนังสือ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 จำนวน 30,000 เล่ม คู่มือการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีฯ จำนวน 5,000 เล่ม
3. มาตรการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพสตรี
3.1 ดำเนินการให้บริการแนะแนว ให้คำปรึกษาปัญหาและให้ความช่วยเหลือสตรีที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ทั้งทางโทรศัพท์ และมาพบด้วยตนเอง จำนวน 181 ราย
3.2 ดำเนินงานศูนย์ประสานการให้ความช่วยเหลือผู้ถูกบังคับค้าบริการทางเพศ (ศชพ.) ทั้งในส่วนกลาง(กรมประชาสงเคราะห์) และส่วนภูมิภาค (ที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัดทุกจังหวัด) เพื่อรับแจ้งข่าวสารการล่อลวงบังคับเด็กและสตรีให้ค้าบริการทางเพศ
3.3 การจัดตั้งศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์แรงงานเด็กและโสเภณีเด็ก โดยขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัด กรส. เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุในเบื้องต้น
3.4 ให้การสงเคราะห์ ช่วยเหลือ และคุ้มครองสวัสดิภาพแก่สตรีและเด็กที่ถูกบังคับค้าบริการทางเพศจำนวน 56 ราย
3.5 ตรวจสอบสถานภาพทางสังคมของสตรีผู้ขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2521 ให้ใช้มาตรการในการป้องกันการแสวงหาประโยชน์จากหญิงไทยที่ไปประกอบอาชีพอันเสื่อมเสียศีลธรรมในต่างประเทศ (ยกเว้นกรณีผู้มีอายุเกิน 36 ปี ผู้ไปศึกษาต่อต่างประเทศ และผู้ไปประกอบพิธีฮัจย์) จำนวน 108 ราย
4. มาตรการด้านกฎหมาย เนื่องจากพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 21 ธันวาคม 2539 กรมประชาสงเคราะห์จึงได้มีการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นรูปธรรมขึ้น ดังนี้
4.1 จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ
4.2 จัดสัมมนาชี้แจงพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 แก่หัวหน้าหน่วยงานของกรมประชาสงเคราะห์ทั้งประเทศ รวม 3 ครั้ง จำนวน 674 คน
4.3 จัดนิทรรศการเกี่ยวกับปัญหาเด็กในธุรกิจบริการทางเพศ และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีฯ รวม 3 ครั้ง
5. ปัญหาอุปสรรค
5.1 เนื่องจากการค้าประเวณีเป็นปัญหาสังคมที่สั่งสมมานาน มีรูปแบบและกระบวนการที่สลับซับซ้อน มีเครือข่ายในการประกอบธุรกิจบริการทางเพศ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้ยากต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาให้หมดสิ้นไปโดยเร็ว จำเป็นต้องอาศัยเวลา และความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน ตลอดจนประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
5.2 การสนับสนุนด้านการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า และสั่งจ้างแรงงานจากกลุ่มสตรีในโครงการสร้างชีวิตใหม่ให้สตรีชนบท ยังไม่เพียงพอและต่อเนื่องเท่าที่ควร5.3 ค่านิยมของประชาชนในสังคม โดยเฉพาะพ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ค้าประเวณี และชายผู้เที่ยว ยังเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาโสเภณีเด็ก
6. แนวทางแก้ไข
6.1 หน่วยงานภาครัฐบาลและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ควรประสานและสนับสนุนการดำเนินงานซึ่งกันและกันในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโสเภณีอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
6.2 ขอความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และภาคธุรกิจ ให้สนับสนุนสั่งซื้อผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า และสั่งจ้างแรงงานจากกลุ่มสตรีที่เดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม และเยาวสตรีกลุ่มเสี่ยง ในโครงการสร้างชีวิตใหม่ให้สตรีชนบทอย่างเพียงพอและต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น ตลอดจนให้มีการประชาสัมพันธ์การฝึกอาชีพดังกล่าวให้ทราบโดยทั่วกัน
6.3 รณรงค์ค่านิยมที่ถูกต้อง และเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 ให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเกี่ยวกับบทลงโทษ เช่น การลงโทษหรือถอนอำนาจปกครอง พ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่มีส่วนรู้เห็นให้ผู้อยู่ในปกครองค้าประเวณี ให้แก่ประชาชนทุกกลุ่ม รวมทั้งบทลงโทษผู้เป็นธุระจัดหา และชายผู้เที่ยวโสเภณีเด็ก โดยการจัดสัมมนาการฝึกอบรมและการประชาสัมพันธ์รูปแบบต่าง ๆ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 6 พฤษภาคม 2540--