ทำเนียบรัฐบาล--16 มิ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการแบ่งส่วนราชการในสภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ ตามที่ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้มีความเห็นร่วมกันเพื่อจะได้ถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ถือหลักว่าถ้าหากเรื่องใดยังมีความเห็นของส่วนราชการแตกต่างกันอยู่จะพยายามจัดให้มีการหารือเพื่อให้ได้ข้อยุติให้มากที่สุด ก่อนที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ดังนี้
1. แนวทางปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2540 วันที่ 30 ธันวาคม 2540 และวันที่ 3 กุมภาพันธ์2541 ในวิธีการพิจารณาการจัดตั้งหรือขยายส่วนราชการของส่วนราชการต่าง ๆ
1.1 ส่วนราชการต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ให้ขอความเห็นสำนักงาน ก.พ. สำนักงบประมาณ และคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ (กงช.) (เฉพาะกรณีที่มีค่าใช้จ่ายสำหรับด้านบุคคลภาครัฐเพิ่มขึ้น)
1.2 ส่วนราชการต่าง ๆ ที่มีคณะกรรมการบริหารงานบุคคลต่างหาก เช่น ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการตำรวจ เป็นต้น ให้ขอความเห็นสำนักงบประมาณ และ กงช. (เฉพาะกรณีที่มีค่าใช้จ่ายสำหรับด้านบุคคลภาครัฐเพิ่มขึ้น) สำหรับการดำเนินการของกระทรวงกลาโหม แม้ว่าจะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบข้าราชการกลาโหม แต่ก็ต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเช่นเดียวกับส่วนราชการต่าง ๆ ขณะนี้ประเทศกำลังประสบสภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจจำเป็นต้องดำเนินการตามมาตรการทางการเงินและการคลังโดยเคร่งครัด ดังนั้น เมื่อกระทรวงกลาโหมได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวขอให้ขอความเห็นจาก กงช. และสำนักงบประมาณไปพร้อมกัน เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย หากความเห็นยังไม่มาเมื่อได้เสนอเรื่องมายังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแล้ว สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะได้ดำเนินการขอความเห็นอีกทางหนึ่ง โดยกำหนดระยะเวลาเพื่อมิให้เกิดความล่าช้า
1.3 หน่วยงานของรัฐที่เป็นส่วนราชการอิสระ เช่น มหาวิทยาลัยสุรนารี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นต้น ให้ขอความเห็นสำนักงบประมาณ และ กงช. (เฉพาะกรณีที่มีค่าใช้จ่ายสำหรับด้านบุคคลภาครัฐเพิ่มขึ้น)
1.4 ส่วนราชการที่เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และส่วนราชการที่ต้องดำเนินการตามข้อตกลง IMF ให้ขอความเห็นสำนักงาน ก.พ. เฉพาะส่วนราชการที่อยู่ในความควบคุมดูแลของสำนักงาน ก.พ. สำนักงบประมาณ และ กงช. (เฉพาะกรณีที่มีค่าใช้จ่ายสำหรับด้านบุคคลภาครัฐเพิ่มขึ้น)
2. การปฏิรูปตามกฎหมายและระเบียบอื่น ๆ เป็นแนวทางปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี รวม 3 มติ ที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว หากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรขอความเห็นเพิ่มเติมตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพ.ศ. 2531 ก็สามารถทำได้ เช่น ขอให้กระทรวงการคลังพิจารณาเสนอความเห็นการแบ่งส่วนราชการของส่วนราชการอิสระตามข้อ 1.3 หรือขอให้กระทรวงการคลังพิจารณาเสนอความเห็นในการจัดตั้งหน่วยงานระดับกรม เป็นต้น อีกทั้งหากมีกฎหมายอื่นที่ให้ถือปฏิบัติก็จะต้องปฏิบัติไปตามนั้น อีกทางหนึ่งด้วย เช่น การขอแบ่งส่วนราชการภายในกรมที่ต้องยกร่างพระราชกฤษฎีกา สำนักงาน ก.พ. และสำนักงบประมาณจำเป็นต้องร่วมกันพิจารณา เพื่อให้ได้ข้อยุติตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ด้วย หรือแนวทางมติของฝ่ายบริหารอื่น เช่น การจัดตั้งกรมต้องขอความเห็นคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการด้วย เป็นต้น ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้ดูแลในเรื่องนี้ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 16 มิถุนายน 2541--
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการแบ่งส่วนราชการในสภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ ตามที่ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้มีความเห็นร่วมกันเพื่อจะได้ถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ถือหลักว่าถ้าหากเรื่องใดยังมีความเห็นของส่วนราชการแตกต่างกันอยู่จะพยายามจัดให้มีการหารือเพื่อให้ได้ข้อยุติให้มากที่สุด ก่อนที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ดังนี้
1. แนวทางปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2540 วันที่ 30 ธันวาคม 2540 และวันที่ 3 กุมภาพันธ์2541 ในวิธีการพิจารณาการจัดตั้งหรือขยายส่วนราชการของส่วนราชการต่าง ๆ
1.1 ส่วนราชการต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ให้ขอความเห็นสำนักงาน ก.พ. สำนักงบประมาณ และคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ (กงช.) (เฉพาะกรณีที่มีค่าใช้จ่ายสำหรับด้านบุคคลภาครัฐเพิ่มขึ้น)
1.2 ส่วนราชการต่าง ๆ ที่มีคณะกรรมการบริหารงานบุคคลต่างหาก เช่น ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการตำรวจ เป็นต้น ให้ขอความเห็นสำนักงบประมาณ และ กงช. (เฉพาะกรณีที่มีค่าใช้จ่ายสำหรับด้านบุคคลภาครัฐเพิ่มขึ้น) สำหรับการดำเนินการของกระทรวงกลาโหม แม้ว่าจะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบข้าราชการกลาโหม แต่ก็ต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเช่นเดียวกับส่วนราชการต่าง ๆ ขณะนี้ประเทศกำลังประสบสภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจจำเป็นต้องดำเนินการตามมาตรการทางการเงินและการคลังโดยเคร่งครัด ดังนั้น เมื่อกระทรวงกลาโหมได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวขอให้ขอความเห็นจาก กงช. และสำนักงบประมาณไปพร้อมกัน เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย หากความเห็นยังไม่มาเมื่อได้เสนอเรื่องมายังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแล้ว สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะได้ดำเนินการขอความเห็นอีกทางหนึ่ง โดยกำหนดระยะเวลาเพื่อมิให้เกิดความล่าช้า
1.3 หน่วยงานของรัฐที่เป็นส่วนราชการอิสระ เช่น มหาวิทยาลัยสุรนารี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นต้น ให้ขอความเห็นสำนักงบประมาณ และ กงช. (เฉพาะกรณีที่มีค่าใช้จ่ายสำหรับด้านบุคคลภาครัฐเพิ่มขึ้น)
1.4 ส่วนราชการที่เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และส่วนราชการที่ต้องดำเนินการตามข้อตกลง IMF ให้ขอความเห็นสำนักงาน ก.พ. เฉพาะส่วนราชการที่อยู่ในความควบคุมดูแลของสำนักงาน ก.พ. สำนักงบประมาณ และ กงช. (เฉพาะกรณีที่มีค่าใช้จ่ายสำหรับด้านบุคคลภาครัฐเพิ่มขึ้น)
2. การปฏิรูปตามกฎหมายและระเบียบอื่น ๆ เป็นแนวทางปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี รวม 3 มติ ที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว หากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรขอความเห็นเพิ่มเติมตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพ.ศ. 2531 ก็สามารถทำได้ เช่น ขอให้กระทรวงการคลังพิจารณาเสนอความเห็นการแบ่งส่วนราชการของส่วนราชการอิสระตามข้อ 1.3 หรือขอให้กระทรวงการคลังพิจารณาเสนอความเห็นในการจัดตั้งหน่วยงานระดับกรม เป็นต้น อีกทั้งหากมีกฎหมายอื่นที่ให้ถือปฏิบัติก็จะต้องปฏิบัติไปตามนั้น อีกทางหนึ่งด้วย เช่น การขอแบ่งส่วนราชการภายในกรมที่ต้องยกร่างพระราชกฤษฎีกา สำนักงาน ก.พ. และสำนักงบประมาณจำเป็นต้องร่วมกันพิจารณา เพื่อให้ได้ข้อยุติตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ด้วย หรือแนวทางมติของฝ่ายบริหารอื่น เช่น การจัดตั้งกรมต้องขอความเห็นคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการด้วย เป็นต้น ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้ดูแลในเรื่องนี้ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 16 มิถุนายน 2541--