คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์ จังหวัดพังงาตามที่ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่ประธานอำนวยการประสานการช่วยเหลือผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์ จังหวัดพังงา เสนอดังนี้ สรุปผลการดำเนินงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์ในจังหวัดพังงา ตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2547 — 3 มกราคม 2548 ดังนี้
การจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์ จังหวัดพังงา
1.1 นายกรัฐมนตรีมีบัญชาให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) เป็นผู้ดูแลและสั่งการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากคลื่นยักษ์ในท้องที่จังหวัดพังงา
1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายโภคิน พลกุล) มีบัญชาให้รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายอนุชา โมกขะเวส) เข้าสนับสนุนการปฏิบัติงานของจังหวัดในพื้นที่จังหวัดพังงา โดยมีรองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (นายชุมพร พลรักษ์) เป็นผู้ช่วย
1.3 นายอนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์ จังหวัดพังงา และทำหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ฯ นายมานะ จรุงเกียรติขจร ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานปกครอง อำเภอเมืองพังงา เป็นกรรมการและเลขานุการ และมีหัวหน้าส่วนราชการจากส่วนกลางและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดพังงา จำนวน 17 คน เป็นกรรมการ พร้อมจัดตั้งศูนย์ฯ ณ ที่ว่าการอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา โดยมีศูนย์บางเนียงเป็นศูนย์ส่วนหน้าในการปฏิบัติการค้นหาและบริหารสั่งใช้เครื่องจักรกล
การช่วยเหลือผู้รอดชีวิต สูญหายและเก็บศพผู้เสียชีวิต
พื้นที่เสียหายส่วนใหญ่อยู่ใน 3 อำเภอ คือ คุระบุรี ตะกั่วป่าและท้ายเหมือง
(1) พื้นที่อำเภอคุระบุรี การช่วยเหลือฯ มีนายอำเภอคุระบุรี เป็นผู้รับผิดชอบหลัก ร่วมกับ นายสำราญ รักชาติ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(2) พื้นที่อำเภอท้ายเหมืองมีนายอำเภอท้ายเหมือง เป็นผู้รับผิดชอบหลัก ร่วมกับกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 8
(3) พื้นที่อำเภอตะกั่วป่า แบ่งพื้นที่ปฏิบัติการเป็น 5 เขต (Zone) แต่ละพื้นที่มีศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้าและผู้รับผิดชอบหลัก ดังนี้
ศูนย์ปฏิบัติการที่ 1 จากเขตตำบลเกาะคอเขาและบ้านน้ำเค็ม หมู่ที่ 2 ตำบลบางม่วงถึงวัดบางม่วง นายสมศักดิ์ เนติรังษีวัชรา ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 5 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
ศูนย์ปฏิบัติการที่ 2 จากวัดราษฎรนิมิตบุตร (วัดปากม่วง) ถึงคลองปากวีป พล.ต. ชิต พรหมเดช ผู้บังคับการทหารบกจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
ศูนย์ปฏิบัติการที่ 3 จากคลองปากวีปถึงวัดพนัสนิคม พ.อ. เดชา กิ่งวงศา รองผู้บังคับการทหารบกจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
ศูนย์ปฏิบัติการที่ 4 จากวัดพนัสนิคมถึงโรงแรมเขาหลักซีวิว นายจิต ผสมพงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
ศูนย์ปฏิบัติการที่ 5 จากโรงแรมเขาหลักซีวิว รวมถึงเขตอำเภอท้ายเหมือง พล.ต.ต. ธวัช บุญเฟื่อง รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
2.2 ประสานงานกับกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง อาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยและมูลนิธิต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น เยอรมัน ไต้หวัน สวีเดน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ฯลฯ ร่วมในการค้นหาผู้รอดชีวิต และเก็บศพผู้เสียชีวิตในพื้นที่ทั้ง 5 โซน โดยมีการนำเฮลิคอปเตอร์ เรือรบ รถขุดขนาดใหญ่ รถไฟฟ้าเคลื่อนที่ อุปกรณ์เครื่องมือและนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยค้นหาผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิต ทำให้การค้นหาผู้เสียชีวิตรวดเร็วขึ้น
2.3 ติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหว ผ่านเว็บไซต์ www.usgs.gov และกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมการแจ้งเตือนภัยประชาชนตามริมฝั่งทะเล หากเกิดผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหวตามมา (After Shock)
2.4 จำนวนผู้เสียชีวิตในจังหวัดพังงา จำนวน 4,004 คน เป็นคนไทย 1,795 คน และต่างประเทศ 2,209 คน และจำนวนผู้บาดเจ็บ 5,597 คน เป็นคนไทย 4,344 คน และต่างประเทศ 1,253 คน ผู้สูญหาย จำนวน 2,665 คน เป็นคนไทย 2,308 คน และต่างประเทศ 357 คน (ข้อมูลจากจังหวัดพังงา ณ วันที่ 2 มกราคม 2548 เวลา 19.30 น.)
3. การตรวจสอบ พิสูจน์ศพและเก็บศพไว้รอญาติ
3.1 สาธารณสุขจังหวัดพังงา และโรงพยาบาลในเขตพื้นที่ เป็นผู้รับผิดชอบร่วมกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ กระทรวงยุติธรรม และอาสาสมัครแพทย์และพยาบาลจากโรงพยาบาล ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3.2 กระทรวงพลังงานได้จัดส่งตู้คอนเทนเนอร์เย็นขนาดใหญ่ และกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และภาคธุรกิจเอกชนจัดส่งน้ำแข็งแห้ง พร้อมจัดหาถังโฟมใส่น้ำแข็งแห้งมาใช้ในการเก็บศพ
4. การรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บและการป้องกันโรคระบาด
4.1 สาธารณสุขจังหวัดพังงาและผู้อำนวยการโรงพยาบาลในพังงาเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
4.2 อาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยและมูลนิธิต่างๆ มาช่วยในการดูแลและรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บในโรงพยาบาล
4.3 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้นำขยะติดเชื้อจากวัดย่านยาวและวัดบางม่วงไปกำจัดโดยเตาเผาขยะในความดูแลของเทศบาลภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
5. การให้ความสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยเบื้องต้น
5.1 ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพังงาและพัฒนาสังคมจังหวัดพังงา เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
5.2 ประสานกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการรับบริจาคสิ่งของต่างๆ จากมูลนิธิ ภาคธุรกิจเอกชนและประชาชนทั่วไป ซึ่งได้รับของบริจาคเป็นจำนวนมาก
6. การให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวและส่งกลับ
6.1 ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพังงา พัฒนาสังคมจังหวัดพังงา และนายอำเภอทุกแห่ง เป็นผู้รับผิดชอบหลัก ร่วมกับหัวหน้าอุทยานแห่งชาติในพื้นที่ ลำเลียงนักท่องเที่ยวเดินทางออกจากอุทยานแห่งชาติหมดแล้ว
6.2 ประสานงานกระทรวงการต่างประเทศและอาสาสมัครทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในการให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวและส่งกลับภูมิลำเนา
7. การฟื้นฟูระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้า โทรศัพท์ ประปา ซ่อมแซม และสร้างถนน
7.1 หัวหน้าส่วนราชการและนายอำเภอในพื้นที่เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
7.2 ประสานงานอาสาสมัครเครือข่ายวิทยุสมัครเล่น เช่น เครือข่ายศูนย์พญาอินทรีในการติดตั้งเครือข่ายการติดต่อสื่อสารวิทยุสมัครเล่นให้ครอบครุมพื้นที่ในจังหวัดพังงา
7.3 ประสานงานบริษัท ทศท.คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท TT&T ในการติดตั้งโทรศัพท์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อใช้ติดต่อในประเทศและทางไกลระหว่างประเทศให้ประชาชนใช้ฟรี ณ ที่ว่าการอำเภอในพื้นที่และศาลากลางจังหวัดพังงา
7.4 ประสานกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแจกจ่ายน้ำสะอาดให้กับประชาชน เป่าล้างบ่อบาดาล เจาะน้ำบาดาลและจัดทำระบบประปาเคลื่อนที่ในพื้นที่ที่มีประชาชนผู้ประสบภัยอาศัยอยู่
8. การสำรวจเพื่อให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นและการช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัยและการประกอบอาชีพของผู้ประสบภัย
8.1 เกษตรและสหกรณ์จังหวัดพังงาเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
8.2 ประสานกระทรวงแรงงาน เตรียมการช่วยเหลือผู้ว่างงานจากการประสบภัยฯ
8.3 ประสานงานกับกองทัพบก กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสร้างที่พักชั่วคราวและซ่อมแซมสาธารณูปโภคต่าง ๆ โดยมีพื้นที่ดำเนินการและเป้าหมายดังนี้
(1) บริเวณหน่วยขุดลอกคลองชลประทานใกล้องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) บางม่วง เป้าหมาย 1,000 หน่วย โดยดำเนินการแล้ว จำนวน 350 หน่วย
(2) บริเวณ อบต.บางม่วงเป้าหมาย 52 หน่วย โดยดำเนินการแล้ว จำนวน 25 หน่วย
(3) บริเวณน้ำตกบ่อหิน บ้านบางสัก เป้าหมาย 52 หน่วย โดยดำเนินการแล้ว จำนวน 28 หน่วย
(4) บริเวณหลังโรงเรียนปากวีป เป้าหมาย 100 หน่วย โดยดำเนินการแล้ว จำนวน 5 หน่วย
(5) บริเวณหลังวัดบางเนียง เป้าหมาย 52 หน่วย โดยดำเนินการแล้ว จำนวน 34 หน่วย
9. การสำรวจและประเมินผลกระทบความเสียหายด้านทรัพยากรธรรมชาติ
9.1 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประสานกับกองทัพอากาศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (มหาชน) ในการนำข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูง มาใช้ในการวางแผนสำหรับใช้ในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายและสืบค้นช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยมีบริษัท ESRI (Thailand) จำกัด ให้การสนับสนุนฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ (GIS) และการประมวลผลข้อมูลในการวางแผนและผลิตแผนที่สำหรับใช้ในการปฏิบัติงาน
9.2 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ประสานงานกับสถาบันการศึกษา เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ฯลฯ ร่วมสำรวจ ประเมินผลความเสียหายและหาแนวทางการฟื้นฟูด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวบริเวณพื้นที่ตามแนวชายฝั่งทะเลอันดามัน
9.3 ผลการสำรวจเบื้องต้น
- ชายหาดและท้องทะเลทั่วไป มีเศษขยะ วัสดุและสิ่งก่อสร้างเป็นจำนวนมาก แต่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ได้มีการจัดเก็บเศษขยะและทำความสะอาดต่างๆ ในเบื้องต้นแล้ว
- ปะการังส่วนใหญ่มีความเสียหายไม่มากนัก ยกเว้นบางพื้นที่ที่มีปะการังน้ำตื้น เสียหายประมาณ 5 — 10% สำหรับปะการังน้ำลึกอาจได้รับความเสียหายจากเศษวัสดุก่อสร้างและต้นไม้ที่ถูกคลื่นพัดและจมอยู่ในทะเล
- ป่าชายเลนที่สมบูรณ์ตลอดจนพื้นที่ป่าชายเลนที่สมบูรณ์ ได้รับผลกระทบและความเสียหายไม่มากนัก แต่มีเศษขยะตกค้างในป่าชายเลนเป็นจำนวนมาก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 มกราคม 2548--จบ--
การจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์ จังหวัดพังงา
1.1 นายกรัฐมนตรีมีบัญชาให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) เป็นผู้ดูแลและสั่งการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากคลื่นยักษ์ในท้องที่จังหวัดพังงา
1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายโภคิน พลกุล) มีบัญชาให้รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายอนุชา โมกขะเวส) เข้าสนับสนุนการปฏิบัติงานของจังหวัดในพื้นที่จังหวัดพังงา โดยมีรองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (นายชุมพร พลรักษ์) เป็นผู้ช่วย
1.3 นายอนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์ จังหวัดพังงา และทำหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ฯ นายมานะ จรุงเกียรติขจร ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานปกครอง อำเภอเมืองพังงา เป็นกรรมการและเลขานุการ และมีหัวหน้าส่วนราชการจากส่วนกลางและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดพังงา จำนวน 17 คน เป็นกรรมการ พร้อมจัดตั้งศูนย์ฯ ณ ที่ว่าการอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา โดยมีศูนย์บางเนียงเป็นศูนย์ส่วนหน้าในการปฏิบัติการค้นหาและบริหารสั่งใช้เครื่องจักรกล
การช่วยเหลือผู้รอดชีวิต สูญหายและเก็บศพผู้เสียชีวิต
พื้นที่เสียหายส่วนใหญ่อยู่ใน 3 อำเภอ คือ คุระบุรี ตะกั่วป่าและท้ายเหมือง
(1) พื้นที่อำเภอคุระบุรี การช่วยเหลือฯ มีนายอำเภอคุระบุรี เป็นผู้รับผิดชอบหลัก ร่วมกับ นายสำราญ รักชาติ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(2) พื้นที่อำเภอท้ายเหมืองมีนายอำเภอท้ายเหมือง เป็นผู้รับผิดชอบหลัก ร่วมกับกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 8
(3) พื้นที่อำเภอตะกั่วป่า แบ่งพื้นที่ปฏิบัติการเป็น 5 เขต (Zone) แต่ละพื้นที่มีศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้าและผู้รับผิดชอบหลัก ดังนี้
ศูนย์ปฏิบัติการที่ 1 จากเขตตำบลเกาะคอเขาและบ้านน้ำเค็ม หมู่ที่ 2 ตำบลบางม่วงถึงวัดบางม่วง นายสมศักดิ์ เนติรังษีวัชรา ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 5 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
ศูนย์ปฏิบัติการที่ 2 จากวัดราษฎรนิมิตบุตร (วัดปากม่วง) ถึงคลองปากวีป พล.ต. ชิต พรหมเดช ผู้บังคับการทหารบกจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
ศูนย์ปฏิบัติการที่ 3 จากคลองปากวีปถึงวัดพนัสนิคม พ.อ. เดชา กิ่งวงศา รองผู้บังคับการทหารบกจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
ศูนย์ปฏิบัติการที่ 4 จากวัดพนัสนิคมถึงโรงแรมเขาหลักซีวิว นายจิต ผสมพงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
ศูนย์ปฏิบัติการที่ 5 จากโรงแรมเขาหลักซีวิว รวมถึงเขตอำเภอท้ายเหมือง พล.ต.ต. ธวัช บุญเฟื่อง รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
2.2 ประสานงานกับกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง อาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยและมูลนิธิต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น เยอรมัน ไต้หวัน สวีเดน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ฯลฯ ร่วมในการค้นหาผู้รอดชีวิต และเก็บศพผู้เสียชีวิตในพื้นที่ทั้ง 5 โซน โดยมีการนำเฮลิคอปเตอร์ เรือรบ รถขุดขนาดใหญ่ รถไฟฟ้าเคลื่อนที่ อุปกรณ์เครื่องมือและนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยค้นหาผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิต ทำให้การค้นหาผู้เสียชีวิตรวดเร็วขึ้น
2.3 ติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหว ผ่านเว็บไซต์ www.usgs.gov และกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมการแจ้งเตือนภัยประชาชนตามริมฝั่งทะเล หากเกิดผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหวตามมา (After Shock)
2.4 จำนวนผู้เสียชีวิตในจังหวัดพังงา จำนวน 4,004 คน เป็นคนไทย 1,795 คน และต่างประเทศ 2,209 คน และจำนวนผู้บาดเจ็บ 5,597 คน เป็นคนไทย 4,344 คน และต่างประเทศ 1,253 คน ผู้สูญหาย จำนวน 2,665 คน เป็นคนไทย 2,308 คน และต่างประเทศ 357 คน (ข้อมูลจากจังหวัดพังงา ณ วันที่ 2 มกราคม 2548 เวลา 19.30 น.)
3. การตรวจสอบ พิสูจน์ศพและเก็บศพไว้รอญาติ
3.1 สาธารณสุขจังหวัดพังงา และโรงพยาบาลในเขตพื้นที่ เป็นผู้รับผิดชอบร่วมกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ กระทรวงยุติธรรม และอาสาสมัครแพทย์และพยาบาลจากโรงพยาบาล ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3.2 กระทรวงพลังงานได้จัดส่งตู้คอนเทนเนอร์เย็นขนาดใหญ่ และกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และภาคธุรกิจเอกชนจัดส่งน้ำแข็งแห้ง พร้อมจัดหาถังโฟมใส่น้ำแข็งแห้งมาใช้ในการเก็บศพ
4. การรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บและการป้องกันโรคระบาด
4.1 สาธารณสุขจังหวัดพังงาและผู้อำนวยการโรงพยาบาลในพังงาเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
4.2 อาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยและมูลนิธิต่างๆ มาช่วยในการดูแลและรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บในโรงพยาบาล
4.3 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้นำขยะติดเชื้อจากวัดย่านยาวและวัดบางม่วงไปกำจัดโดยเตาเผาขยะในความดูแลของเทศบาลภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
5. การให้ความสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยเบื้องต้น
5.1 ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพังงาและพัฒนาสังคมจังหวัดพังงา เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
5.2 ประสานกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการรับบริจาคสิ่งของต่างๆ จากมูลนิธิ ภาคธุรกิจเอกชนและประชาชนทั่วไป ซึ่งได้รับของบริจาคเป็นจำนวนมาก
6. การให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวและส่งกลับ
6.1 ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพังงา พัฒนาสังคมจังหวัดพังงา และนายอำเภอทุกแห่ง เป็นผู้รับผิดชอบหลัก ร่วมกับหัวหน้าอุทยานแห่งชาติในพื้นที่ ลำเลียงนักท่องเที่ยวเดินทางออกจากอุทยานแห่งชาติหมดแล้ว
6.2 ประสานงานกระทรวงการต่างประเทศและอาสาสมัครทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในการให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวและส่งกลับภูมิลำเนา
7. การฟื้นฟูระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้า โทรศัพท์ ประปา ซ่อมแซม และสร้างถนน
7.1 หัวหน้าส่วนราชการและนายอำเภอในพื้นที่เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
7.2 ประสานงานอาสาสมัครเครือข่ายวิทยุสมัครเล่น เช่น เครือข่ายศูนย์พญาอินทรีในการติดตั้งเครือข่ายการติดต่อสื่อสารวิทยุสมัครเล่นให้ครอบครุมพื้นที่ในจังหวัดพังงา
7.3 ประสานงานบริษัท ทศท.คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท TT&T ในการติดตั้งโทรศัพท์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อใช้ติดต่อในประเทศและทางไกลระหว่างประเทศให้ประชาชนใช้ฟรี ณ ที่ว่าการอำเภอในพื้นที่และศาลากลางจังหวัดพังงา
7.4 ประสานกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแจกจ่ายน้ำสะอาดให้กับประชาชน เป่าล้างบ่อบาดาล เจาะน้ำบาดาลและจัดทำระบบประปาเคลื่อนที่ในพื้นที่ที่มีประชาชนผู้ประสบภัยอาศัยอยู่
8. การสำรวจเพื่อให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นและการช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัยและการประกอบอาชีพของผู้ประสบภัย
8.1 เกษตรและสหกรณ์จังหวัดพังงาเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
8.2 ประสานกระทรวงแรงงาน เตรียมการช่วยเหลือผู้ว่างงานจากการประสบภัยฯ
8.3 ประสานงานกับกองทัพบก กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสร้างที่พักชั่วคราวและซ่อมแซมสาธารณูปโภคต่าง ๆ โดยมีพื้นที่ดำเนินการและเป้าหมายดังนี้
(1) บริเวณหน่วยขุดลอกคลองชลประทานใกล้องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) บางม่วง เป้าหมาย 1,000 หน่วย โดยดำเนินการแล้ว จำนวน 350 หน่วย
(2) บริเวณ อบต.บางม่วงเป้าหมาย 52 หน่วย โดยดำเนินการแล้ว จำนวน 25 หน่วย
(3) บริเวณน้ำตกบ่อหิน บ้านบางสัก เป้าหมาย 52 หน่วย โดยดำเนินการแล้ว จำนวน 28 หน่วย
(4) บริเวณหลังโรงเรียนปากวีป เป้าหมาย 100 หน่วย โดยดำเนินการแล้ว จำนวน 5 หน่วย
(5) บริเวณหลังวัดบางเนียง เป้าหมาย 52 หน่วย โดยดำเนินการแล้ว จำนวน 34 หน่วย
9. การสำรวจและประเมินผลกระทบความเสียหายด้านทรัพยากรธรรมชาติ
9.1 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประสานกับกองทัพอากาศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (มหาชน) ในการนำข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูง มาใช้ในการวางแผนสำหรับใช้ในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายและสืบค้นช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยมีบริษัท ESRI (Thailand) จำกัด ให้การสนับสนุนฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ (GIS) และการประมวลผลข้อมูลในการวางแผนและผลิตแผนที่สำหรับใช้ในการปฏิบัติงาน
9.2 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ประสานงานกับสถาบันการศึกษา เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ฯลฯ ร่วมสำรวจ ประเมินผลความเสียหายและหาแนวทางการฟื้นฟูด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวบริเวณพื้นที่ตามแนวชายฝั่งทะเลอันดามัน
9.3 ผลการสำรวจเบื้องต้น
- ชายหาดและท้องทะเลทั่วไป มีเศษขยะ วัสดุและสิ่งก่อสร้างเป็นจำนวนมาก แต่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ได้มีการจัดเก็บเศษขยะและทำความสะอาดต่างๆ ในเบื้องต้นแล้ว
- ปะการังส่วนใหญ่มีความเสียหายไม่มากนัก ยกเว้นบางพื้นที่ที่มีปะการังน้ำตื้น เสียหายประมาณ 5 — 10% สำหรับปะการังน้ำลึกอาจได้รับความเสียหายจากเศษวัสดุก่อสร้างและต้นไม้ที่ถูกคลื่นพัดและจมอยู่ในทะเล
- ป่าชายเลนที่สมบูรณ์ตลอดจนพื้นที่ป่าชายเลนที่สมบูรณ์ ได้รับผลกระทบและความเสียหายไม่มากนัก แต่มีเศษขยะตกค้างในป่าชายเลนเป็นจำนวนมาก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 มกราคม 2548--จบ--