ทำเนียบรัฐบาล--31 พ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นขอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ให้คณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุม เจรจากำหนดปริมาณโควต้ากับสหรัฐอเมริกาในการนำเข้าสินค้าสิ่งทอจากไทย รายการ 352/652 ภายใต้ข้อตกลงสิ่งทอขององค์การการค้าโลก (WTO) และในกรณีมีการเรียกเจรจากำหนดปริมาณ โควต้านำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกาหรือผู้นำเข้าอื่น ๆ ภายใต้ข้อตกลงสิ่งทอ WTO ในครั้งต่อ ๆ ไป ให้คณะผู้แทนไทยสามารถเข้าร่วมเจรจากับประเทศผู้นำเข้านั้น ๆ รวมทั้งให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทย (กระทรวงพาณิชย์ ฯ) มีอำนาจลงนามย่อในบันทึกความเข้าใจหรือความตกลงกับประเทศผู้นำเข้าที่ เรียกเจรจาในกรณีที่สามารถตกลงกันได้ และผลการเจรจานั้นเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยมากที่สุด ทั้ง นี้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติเมื่อ 13 กรกฎาคม 2536 เห็นชอบให้คณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการ เจรจาต่ออายุข้อตกลงสิ่งทอกับประเทศนอร์เวย์สหรัฐอเมริกาและแคนาดาโดยให้อธิบดีหรือรองอธิบดี กรมการค้าต่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะและมีอำนาจลงนามในบันทึกความเข้าใจหรือบันทึกความตกลงกับ ประเทศดังกล่าวในกรณีที่สามารถตกลงกันได้ และผลการเจรจานั้นเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยมากที่ สุด สืบเนื่องจากข้อตกลงสิ่งทอขององค์การการค้าโลก (WTO) มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 เป็นต้นไป เป็นผลให้ข้อตกลงสิ่งทอสองฝ่ายที่ประเทศไทยทำข้อตกลงสิ่งทอกับ 18 ประเทศ ได้ แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (15 ประเทศ) แคนาดา และนอร์เวย์ สิ้นสุดลง และปรับเข้าสู่ข้อ ตกลงสิ่งทอ WTO โดยอัตโนมัติ และตามข้อตกลงสิ่งทอ WTO รายการและปริมาณโควต้าที่ประเทศไทย ถูกควบคุมภายใต้ข้อตกลงสิ่งทอสองฝ่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2537 และยังคงถูกควบคุมต่อไป ภายใต้ ข้อตกลงสิ่งทอ WTO อีก 10 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 - 31 ธันวาคม 2547 หรืออาจถูกยกเลิก การควบคุมก่อนตามขั้นตอนการปลดปล่อยสิ่งทอให้เสรีของข้อตกลง ฯ ซึ่งประเทศผู้นำเข้าสามารถเรียก เจรจาเพื่อควบคุมปริมาณโควต้ารายการใหม่เพิ่มขึ้นได้ภายใต้มาตรา6 ของข้อตกลงฯ คือ ประเทศผู้นำ เข้าสามารถเรียกเจรจากำหนดปริมาณนำเข้ารายการหนึ่งรายการใดจากประเทศผู้ส่งออกได้ ถ้าหาก สินค้าสิ่งทอนั้นก่อให้เกิดผลกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงต่อตลาดผู้นำเข้านั้นในการนี้ กระทรวงพาณิชย์ ได้รายงานว่า
1. สหรัฐอเมริกาได้เรียกเจรจาเพื่อควบคุมปริมาณโควต้าสินค้าสิ่งทอนอกโควต้าจากไทย รายการ 352/652 ชุดชั้นในทำด้วยผ้าฝ้ายและใยประดิษฐ์ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2538 ตามมาตรา 6 ของข้อตกลงสิ่งทอ WTO โดยอ้างว่าการนำเข้าสินค้าสิ่งทอของไทยรายการดังกล่าว ก่อให้เกิดผลกระทบ กระเทือนต่อตลาดสหรัฐ ฯ อย่างรุนแรง คือ ในปี 2537 มีการนำเข้าสหรัฐ ฯ ถึง 1,586,005 โหล เพิ่มขึ้นจากปี 2536 ร้อยละ 19.87 และเพิ่มขึ้นจากปี 2535 ถึงร้อยละ 99.19
2. ตามขั้นตอนการเจรจา ทั้งสองฝ่ายจะต้องมีการเจรจาภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ ประเทศไทยได้รับการเรียกเจรจาจากฝ่ายสหรัฐ ฯ และเมื่อสิ้นสุด 60 วันแล้ว หากทั้งสองฝ่ายไม่ สามารถตกลงกันได้สหรัฐฯ สามารถควบคุมปริมาณโควต้าจากไทยได้ภายใน 30 วันนับต่อจาก 60 วันที่ สิ้นสุดลง ในปริมาณไม่ต่ำกว่าการนำเข้าหรือส่งออกในช่วง 12 เดือนแรกของ 14 เดือน ก่อนวันเรียก เจรจา ขณะเดียวกันฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง สามารถแจ้งให้คณะกรรมการตรวจสอบ และกำกับดูแลสิ่งทอ (Textile Monitoring Boby : TMB) พิจารณาทบทวนและตัดสินได้
3.ปริมาณโควต้าที่สหรัฐฯ จะควบคุมถ้าหากทั้งสองฝ่ายตกลงกันไม่ได้ในปี 2538 คือปริมาณ 1,586,005 โห
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 พฤษภาคม 2538--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นขอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ให้คณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุม เจรจากำหนดปริมาณโควต้ากับสหรัฐอเมริกาในการนำเข้าสินค้าสิ่งทอจากไทย รายการ 352/652 ภายใต้ข้อตกลงสิ่งทอขององค์การการค้าโลก (WTO) และในกรณีมีการเรียกเจรจากำหนดปริมาณ โควต้านำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกาหรือผู้นำเข้าอื่น ๆ ภายใต้ข้อตกลงสิ่งทอ WTO ในครั้งต่อ ๆ ไป ให้คณะผู้แทนไทยสามารถเข้าร่วมเจรจากับประเทศผู้นำเข้านั้น ๆ รวมทั้งให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทย (กระทรวงพาณิชย์ ฯ) มีอำนาจลงนามย่อในบันทึกความเข้าใจหรือความตกลงกับประเทศผู้นำเข้าที่ เรียกเจรจาในกรณีที่สามารถตกลงกันได้ และผลการเจรจานั้นเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยมากที่สุด ทั้ง นี้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติเมื่อ 13 กรกฎาคม 2536 เห็นชอบให้คณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการ เจรจาต่ออายุข้อตกลงสิ่งทอกับประเทศนอร์เวย์สหรัฐอเมริกาและแคนาดาโดยให้อธิบดีหรือรองอธิบดี กรมการค้าต่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะและมีอำนาจลงนามในบันทึกความเข้าใจหรือบันทึกความตกลงกับ ประเทศดังกล่าวในกรณีที่สามารถตกลงกันได้ และผลการเจรจานั้นเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยมากที่ สุด สืบเนื่องจากข้อตกลงสิ่งทอขององค์การการค้าโลก (WTO) มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 เป็นต้นไป เป็นผลให้ข้อตกลงสิ่งทอสองฝ่ายที่ประเทศไทยทำข้อตกลงสิ่งทอกับ 18 ประเทศ ได้ แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (15 ประเทศ) แคนาดา และนอร์เวย์ สิ้นสุดลง และปรับเข้าสู่ข้อ ตกลงสิ่งทอ WTO โดยอัตโนมัติ และตามข้อตกลงสิ่งทอ WTO รายการและปริมาณโควต้าที่ประเทศไทย ถูกควบคุมภายใต้ข้อตกลงสิ่งทอสองฝ่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2537 และยังคงถูกควบคุมต่อไป ภายใต้ ข้อตกลงสิ่งทอ WTO อีก 10 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 - 31 ธันวาคม 2547 หรืออาจถูกยกเลิก การควบคุมก่อนตามขั้นตอนการปลดปล่อยสิ่งทอให้เสรีของข้อตกลง ฯ ซึ่งประเทศผู้นำเข้าสามารถเรียก เจรจาเพื่อควบคุมปริมาณโควต้ารายการใหม่เพิ่มขึ้นได้ภายใต้มาตรา6 ของข้อตกลงฯ คือ ประเทศผู้นำ เข้าสามารถเรียกเจรจากำหนดปริมาณนำเข้ารายการหนึ่งรายการใดจากประเทศผู้ส่งออกได้ ถ้าหาก สินค้าสิ่งทอนั้นก่อให้เกิดผลกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงต่อตลาดผู้นำเข้านั้นในการนี้ กระทรวงพาณิชย์ ได้รายงานว่า
1. สหรัฐอเมริกาได้เรียกเจรจาเพื่อควบคุมปริมาณโควต้าสินค้าสิ่งทอนอกโควต้าจากไทย รายการ 352/652 ชุดชั้นในทำด้วยผ้าฝ้ายและใยประดิษฐ์ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2538 ตามมาตรา 6 ของข้อตกลงสิ่งทอ WTO โดยอ้างว่าการนำเข้าสินค้าสิ่งทอของไทยรายการดังกล่าว ก่อให้เกิดผลกระทบ กระเทือนต่อตลาดสหรัฐ ฯ อย่างรุนแรง คือ ในปี 2537 มีการนำเข้าสหรัฐ ฯ ถึง 1,586,005 โหล เพิ่มขึ้นจากปี 2536 ร้อยละ 19.87 และเพิ่มขึ้นจากปี 2535 ถึงร้อยละ 99.19
2. ตามขั้นตอนการเจรจา ทั้งสองฝ่ายจะต้องมีการเจรจาภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ ประเทศไทยได้รับการเรียกเจรจาจากฝ่ายสหรัฐ ฯ และเมื่อสิ้นสุด 60 วันแล้ว หากทั้งสองฝ่ายไม่ สามารถตกลงกันได้สหรัฐฯ สามารถควบคุมปริมาณโควต้าจากไทยได้ภายใน 30 วันนับต่อจาก 60 วันที่ สิ้นสุดลง ในปริมาณไม่ต่ำกว่าการนำเข้าหรือส่งออกในช่วง 12 เดือนแรกของ 14 เดือน ก่อนวันเรียก เจรจา ขณะเดียวกันฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง สามารถแจ้งให้คณะกรรมการตรวจสอบ และกำกับดูแลสิ่งทอ (Textile Monitoring Boby : TMB) พิจารณาทบทวนและตัดสินได้
3.ปริมาณโควต้าที่สหรัฐฯ จะควบคุมถ้าหากทั้งสองฝ่ายตกลงกันไม่ได้ในปี 2538 คือปริมาณ 1,586,005 โห
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 พฤษภาคม 2538--