ทำเนียบรัฐบาล--10 มิ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นายกร ทัพพะรังสี) ประธานคณะกรรมการเพื่อพิจารณาดำเนินการสนับสนุนอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์รายงานว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2540 ให้คณะกรรมการที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งหามาตรการสนับสนุนช่วยเหลืออุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์ในประเทศไทย นั้น คณะกรรมการฯ ได้มอบหมายให้สถาบันการเงินของรัฐ 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ไปพิจารณา และเมื่อวันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน 2540 คณะกรรมการฯ ได้รับรายงานความคืบหน้าของการหารือร่วมกัน สรุปได้ดังนี้
1. เนื่องจากอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์ เป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง การที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะเข้าร่วมถือหุ้นที่จะช่วยดึงดูดให้กิจการในอุตสาหกรรมนี้เริ่มต้นได้เร็วขึ้น และขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว การกำหนดหน่วยงานของรัฐให้เป็นตัวแทนในการเข้าร่วมลงทุน จะเป็นการให้ความมั่นใจแก่ผู้ลงทุนทั้งในและนอกประเทศ
2. หากกิจการประสบปัญหาจนถึงจุดที่จำเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือจากรัฐบาล การช่วยเหลือน่าจะทำได้ทั้งในรูปการร่วมลงทุนถือหุ้นและในรูปเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน แต่ทั้งนี้จะต้องมีกฎเกณฑ์ที่รัดกุม ดังนี้
- เป็นกิจการต้นทางที่ผลิตผลิตภัณฑ์ป้อนกิจกรรมปลายทางในอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์ทั้งในและนอกประเทศ
- เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบการผลิตยังจะมีอนาคต
- ยังเป็นกิจการที่มีความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์ มีความสามารถในการชำระหนี้ในรูปเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรนได้และมีผลตอบแทนต่อเงินลงทุนพอสมควร
- ต้องเป็นกิจการที่มีทีมผู้บริหารที่มีความเชี่ยวชาญครบทุกสาขาของการบริหารกิจการ
- ในการกอบกู้ฐานะของกิจการจะต้องไม่อาศัยการช่วยเหลือทางการเงินจากหน่วยงานของรัฐฝ่ายเดียวแต่ผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้จะต้องร่วมกันปรับโครงสร้างหนี้ให้บริษัทสามารถดำเนินการต่อไปได้ในสัดส่วนที่เหมาะสม
สำหรับข้อเสนอของกลุ่มอัลฟาเท็ค นั้น คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาแล้ว มอบให้สถาบันการเงินทั้งสามแห่งรับไปดำเนินการเพิ่มเติมตามหลักการที่เสนอข้างต้น เพื่อให้เกิดผลทางปฏิบัติในประเด็นดังต่อไปนี้
1. ร่วมกันหาแนวทางเจรจากับเจ้าหนี้รายใหญ่ทั้งในและต่างประเทศของบริษัทที่มีปัญหา เพื่อแปลงหนี้เป็นหุ้นและปรับโครงสร้างหนี้
2. พิจารณาผู้ที่พร้อมจะร่วมลงทุนรายใหม่
3. เมื่อผลการเจรจาสรุปได้แล้ว ถ้าเห็นว่ายังมีความจำเป็นที่รัฐจะต้องให้การสนับสนุนอะไรอีก ก็ให้นำเสนอต่อคณะกรรมการฯ พิจารณาต่อไปได้ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายไว้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 10 มิถุนายน 2540--
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นายกร ทัพพะรังสี) ประธานคณะกรรมการเพื่อพิจารณาดำเนินการสนับสนุนอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์รายงานว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2540 ให้คณะกรรมการที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งหามาตรการสนับสนุนช่วยเหลืออุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์ในประเทศไทย นั้น คณะกรรมการฯ ได้มอบหมายให้สถาบันการเงินของรัฐ 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ไปพิจารณา และเมื่อวันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน 2540 คณะกรรมการฯ ได้รับรายงานความคืบหน้าของการหารือร่วมกัน สรุปได้ดังนี้
1. เนื่องจากอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์ เป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง การที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะเข้าร่วมถือหุ้นที่จะช่วยดึงดูดให้กิจการในอุตสาหกรรมนี้เริ่มต้นได้เร็วขึ้น และขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว การกำหนดหน่วยงานของรัฐให้เป็นตัวแทนในการเข้าร่วมลงทุน จะเป็นการให้ความมั่นใจแก่ผู้ลงทุนทั้งในและนอกประเทศ
2. หากกิจการประสบปัญหาจนถึงจุดที่จำเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือจากรัฐบาล การช่วยเหลือน่าจะทำได้ทั้งในรูปการร่วมลงทุนถือหุ้นและในรูปเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน แต่ทั้งนี้จะต้องมีกฎเกณฑ์ที่รัดกุม ดังนี้
- เป็นกิจการต้นทางที่ผลิตผลิตภัณฑ์ป้อนกิจกรรมปลายทางในอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์ทั้งในและนอกประเทศ
- เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบการผลิตยังจะมีอนาคต
- ยังเป็นกิจการที่มีความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์ มีความสามารถในการชำระหนี้ในรูปเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรนได้และมีผลตอบแทนต่อเงินลงทุนพอสมควร
- ต้องเป็นกิจการที่มีทีมผู้บริหารที่มีความเชี่ยวชาญครบทุกสาขาของการบริหารกิจการ
- ในการกอบกู้ฐานะของกิจการจะต้องไม่อาศัยการช่วยเหลือทางการเงินจากหน่วยงานของรัฐฝ่ายเดียวแต่ผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้จะต้องร่วมกันปรับโครงสร้างหนี้ให้บริษัทสามารถดำเนินการต่อไปได้ในสัดส่วนที่เหมาะสม
สำหรับข้อเสนอของกลุ่มอัลฟาเท็ค นั้น คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาแล้ว มอบให้สถาบันการเงินทั้งสามแห่งรับไปดำเนินการเพิ่มเติมตามหลักการที่เสนอข้างต้น เพื่อให้เกิดผลทางปฏิบัติในประเด็นดังต่อไปนี้
1. ร่วมกันหาแนวทางเจรจากับเจ้าหนี้รายใหญ่ทั้งในและต่างประเทศของบริษัทที่มีปัญหา เพื่อแปลงหนี้เป็นหุ้นและปรับโครงสร้างหนี้
2. พิจารณาผู้ที่พร้อมจะร่วมลงทุนรายใหม่
3. เมื่อผลการเจรจาสรุปได้แล้ว ถ้าเห็นว่ายังมีความจำเป็นที่รัฐจะต้องให้การสนับสนุนอะไรอีก ก็ให้นำเสนอต่อคณะกรรมการฯ พิจารณาต่อไปได้ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายไว้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 10 มิถุนายน 2540--