แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงยุติธรรม
สภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรี
ล้มละลาย
ทำเนียบรัฐบาล--1 ก.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอที่ได้ผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งกระทรวงยุติธรรมได้พิจารณาเห็นชอบด้วยแล้ว และส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ยกเว้นผลบังคับของบทบัญญัติมาตรา 94(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ที่บัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ซึ่งยอมให้ลูกหนี้ก่อหนี้โดยรู้อยู่แล้วว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวมีสิทธิชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ให้แก่เจ้าหนี้หรือบุคคลภายนอกที่ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ลูกหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ ให้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย หากต่อมาการฟื้นฟูกิจการไม่เป็นผลสำเร็จและลูกหนี้ตกเป็นบุคคลล้มละลาย
2. กำหนดให้มีกระบวนพิจารณาว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และมาตรการในการดำเนินการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
3. ให้เจ้าหนี้ทุกรายของลูกหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามจำนวนและเวลาที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ แทนการบังคับชำระหนี้โดยการฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งหรือคดีล้มละลาย
4. กำหนดบทลงโทษทางอาญาในกรณีที่มีผู้กระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ตามที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
ทั้งนี้ เนื่องจากบทบัญญัติบางมาตราของพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ไม่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน โดยเฉพาะเมื่อลูกหนี้ที่เป็นนิติบุคคลประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราว อันควรได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากผู้ประสงค์จะให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ลูกหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้มีโอกาสได้ฟื้นฟูกิจการ แต่เนื่องจากมาตรา 94(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 บัญญัติให้เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ก่อหนี้ขึ้น โดยรู้อยู่แล้วว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย อันเป็นเหตุให้ไม่มีสถาบันทางการเงินหรือเอกชนรายใดยินยอมให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ลูกหนี้ที่ประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราว ลูกหนี้จึงต้องตกเป็นบุคคลล้มละลายทั้ง ๆ ที่กิจการของลูกหนี้อยู่ในสภาพที่จะฟื้นฟูได้หากได้รับความช่วยเหลือทางการเงิน สมควรที่จะมีบทบัญญัติคุ้มครองการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ลูกหนี้ที่ประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราว เพื่อให้ลูกหนี้มีโอกาสได้ฟื้นฟูกิจการได้ ซึ่งจะช่วยเจ้าหนี้ที่ไม่มีประกันมีโอกาสได้รับชำระหนี้อย่างเป็นธรรมด้วย อันจะเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจและการค้าของประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 1 กรกฎาคม 2540--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอที่ได้ผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งกระทรวงยุติธรรมได้พิจารณาเห็นชอบด้วยแล้ว และส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ยกเว้นผลบังคับของบทบัญญัติมาตรา 94(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ที่บัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ซึ่งยอมให้ลูกหนี้ก่อหนี้โดยรู้อยู่แล้วว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวมีสิทธิชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ให้แก่เจ้าหนี้หรือบุคคลภายนอกที่ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ลูกหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ ให้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย หากต่อมาการฟื้นฟูกิจการไม่เป็นผลสำเร็จและลูกหนี้ตกเป็นบุคคลล้มละลาย
2. กำหนดให้มีกระบวนพิจารณาว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และมาตรการในการดำเนินการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
3. ให้เจ้าหนี้ทุกรายของลูกหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามจำนวนและเวลาที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ แทนการบังคับชำระหนี้โดยการฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งหรือคดีล้มละลาย
4. กำหนดบทลงโทษทางอาญาในกรณีที่มีผู้กระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ตามที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
ทั้งนี้ เนื่องจากบทบัญญัติบางมาตราของพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ไม่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน โดยเฉพาะเมื่อลูกหนี้ที่เป็นนิติบุคคลประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราว อันควรได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากผู้ประสงค์จะให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ลูกหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้มีโอกาสได้ฟื้นฟูกิจการ แต่เนื่องจากมาตรา 94(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 บัญญัติให้เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ก่อหนี้ขึ้น โดยรู้อยู่แล้วว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย อันเป็นเหตุให้ไม่มีสถาบันทางการเงินหรือเอกชนรายใดยินยอมให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ลูกหนี้ที่ประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราว ลูกหนี้จึงต้องตกเป็นบุคคลล้มละลายทั้ง ๆ ที่กิจการของลูกหนี้อยู่ในสภาพที่จะฟื้นฟูได้หากได้รับความช่วยเหลือทางการเงิน สมควรที่จะมีบทบัญญัติคุ้มครองการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ลูกหนี้ที่ประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราว เพื่อให้ลูกหนี้มีโอกาสได้ฟื้นฟูกิจการได้ ซึ่งจะช่วยเจ้าหนี้ที่ไม่มีประกันมีโอกาสได้รับชำระหนี้อย่างเป็นธรรมด้วย อันจะเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจและการค้าของประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 1 กรกฎาคม 2540--