ทำเนียบรัฐบาล--7 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือข้าราชการที่เกษียณอายุราชการก่อนกำหนด พ.ศ. ....ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาโดยด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดคำนิยาม "ข้าราชการ" ให้หมายถึง เฉพาะข้าราชการ 7 ประเภทที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้เข้าโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิตข้าราชการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด และให้รวมถึงข้าราชการประเภทอื่นที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้เข้าโครงการฯ ในภายหลังด้วย
2. กำหนดให้ชัดเจนว่าในส่วนเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินให้เป็นไปตามร่างพระราชกฤษฎีกานี้ ส่วนวิธีปฏิบัติในการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการเบิกจ่าย
3. กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามสำหรับข้าราชการที่ลาออกจากราชการตามโครงการฯ
4. ผู้ที่ลาออกจากราชการตามโครงการฯ ให้ได้รับเงินต่าง ๆ ดังนี้
4.1 กรณีรับบำเหน็จ ให้ได้รับเงินช่วยเหลือเป็นเงินขวัญถุงในอัตราเจ็ดเท่าของเงินเดือนเดือนสุดท้าย โดยแบ่งจ่ายสองครั้ง ปีละครั้ง จำนวนเงินเท่า ๆ กัน
4.2 กรณีรับเบี้ยหวัดหรือบำนาญให้ได้รับเงินตาม 4.1 และเงินช่วยเหลือรายเดือนผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเรียกโดยย่อว่า "ช.ร.บ." โดยคำนวณจากอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการที่เหลือหารด้วยห้าสิบ ทั้งนี้ เงินช่วยเหลือรายเดือนต้องไม่สูงกว่าร้อยละยี่สิบของเงินเดือนเดือนสุดท้าย และเมื่อนำไปรวมกับเบี้ยหวัดหรือบำนาญหรือเงินเพิ่มอื่น ๆ แล้วจะต้องไม่สูงกว่าเงินเดือนเดือนสุดท้าย
5. ผู้มีสิทธิรับ ช.ร.บ. ให้ได้รับตั้งแต่วันที่ลาออกจากราชการเป็นต้นไป โดยให้เบิกจ่ายพร้อมกับเบี้ยหวัดหรือบำนาญ
6. ผู้มีสิทธิได้รับ ช.ร.บ. หากได้กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการการเมือง และเลิกรับบำนาญเพื่อนับเวลาราชการต่อเนื่อง ให้ระงับการจ่าย ช.ร.บ. ไว้ก่อน ตั้งแต่วันที่เข้ารับตำแหน่ง และเมื่อพ้นจากตำแหน่งดังกล่าวแล้ว ให้มีสิทธิได้รับ ช.ร.บ. ต่อไป เนื่องจากกรมบัญชีกลางเห็นว่า ผู้รับบำนาญซึ่งต่อมากลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการการเมือง มีทางเลือก 2 ทางคือ เลิกรับบำนาญเพื่อนับเวลาราชการต่อเนื่อง หรือรับบำนาญควบคู่ไปกับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการการเมือง ดังนั้น จึงเห็นว่าผู้ที่เลิกรับบำนาญเพื่อต่อเวลาราชการเท่านั้นที่ควรให้ระงับการจ่าย ช.ร.บ. ไว้ก่อน
7. กำหนดให้ผู้รับ ช.ร.บ. ที่เสียสิทธิรับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือเสียสิทธิรับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัดให้หมดสิทธิรับ ช.ร.บ. ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 กันยายน 2542--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือข้าราชการที่เกษียณอายุราชการก่อนกำหนด พ.ศ. ....ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาโดยด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดคำนิยาม "ข้าราชการ" ให้หมายถึง เฉพาะข้าราชการ 7 ประเภทที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้เข้าโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิตข้าราชการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด และให้รวมถึงข้าราชการประเภทอื่นที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้เข้าโครงการฯ ในภายหลังด้วย
2. กำหนดให้ชัดเจนว่าในส่วนเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินให้เป็นไปตามร่างพระราชกฤษฎีกานี้ ส่วนวิธีปฏิบัติในการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการเบิกจ่าย
3. กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามสำหรับข้าราชการที่ลาออกจากราชการตามโครงการฯ
4. ผู้ที่ลาออกจากราชการตามโครงการฯ ให้ได้รับเงินต่าง ๆ ดังนี้
4.1 กรณีรับบำเหน็จ ให้ได้รับเงินช่วยเหลือเป็นเงินขวัญถุงในอัตราเจ็ดเท่าของเงินเดือนเดือนสุดท้าย โดยแบ่งจ่ายสองครั้ง ปีละครั้ง จำนวนเงินเท่า ๆ กัน
4.2 กรณีรับเบี้ยหวัดหรือบำนาญให้ได้รับเงินตาม 4.1 และเงินช่วยเหลือรายเดือนผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเรียกโดยย่อว่า "ช.ร.บ." โดยคำนวณจากอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการที่เหลือหารด้วยห้าสิบ ทั้งนี้ เงินช่วยเหลือรายเดือนต้องไม่สูงกว่าร้อยละยี่สิบของเงินเดือนเดือนสุดท้าย และเมื่อนำไปรวมกับเบี้ยหวัดหรือบำนาญหรือเงินเพิ่มอื่น ๆ แล้วจะต้องไม่สูงกว่าเงินเดือนเดือนสุดท้าย
5. ผู้มีสิทธิรับ ช.ร.บ. ให้ได้รับตั้งแต่วันที่ลาออกจากราชการเป็นต้นไป โดยให้เบิกจ่ายพร้อมกับเบี้ยหวัดหรือบำนาญ
6. ผู้มีสิทธิได้รับ ช.ร.บ. หากได้กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการการเมือง และเลิกรับบำนาญเพื่อนับเวลาราชการต่อเนื่อง ให้ระงับการจ่าย ช.ร.บ. ไว้ก่อน ตั้งแต่วันที่เข้ารับตำแหน่ง และเมื่อพ้นจากตำแหน่งดังกล่าวแล้ว ให้มีสิทธิได้รับ ช.ร.บ. ต่อไป เนื่องจากกรมบัญชีกลางเห็นว่า ผู้รับบำนาญซึ่งต่อมากลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการการเมือง มีทางเลือก 2 ทางคือ เลิกรับบำนาญเพื่อนับเวลาราชการต่อเนื่อง หรือรับบำนาญควบคู่ไปกับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการการเมือง ดังนั้น จึงเห็นว่าผู้ที่เลิกรับบำนาญเพื่อต่อเวลาราชการเท่านั้นที่ควรให้ระงับการจ่าย ช.ร.บ. ไว้ก่อน
7. กำหนดให้ผู้รับ ช.ร.บ. ที่เสียสิทธิรับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือเสียสิทธิรับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัดให้หมดสิทธิรับ ช.ร.บ. ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 กันยายน 2542--