ทำเนียบรัฐบาล--21 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจเห็นชอบให้กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมส่งเสริมการส่งออก สามารถพิจารณาเปลี่ยนแปลงขอบเขตของประเทศที่เป็นตลาดใหม่ ได้ตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีในแต่ละครั้ง เพื่อให้การขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2542 เห็นชอบให้กำหนดกลุ่มตลาดใหม่ที่จะผลักดัน ตามโครงการผลักดันการส่งออกเพื่อเพิ่มสัดส่วนการส่งออกไปตลาดใหม่ ของกระทรวงพาณิชย์ โดยรัฐบาลจะให้การสนับสนุนผู้ส่งออก โดยดำเนินการใน 3 มาตรการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ มาตรการด้านการเงิน มาตรการด้านภาษี และมาตรการด้านการส่งเสริมการส่งออก ซึ่งเดิมได้กำหนดไว้ 7 ตลาด ได้แก่ ประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศในตะวันออกกลาง ประเทศในทวีปแอฟริกา ประเทศในลาตินอเมริกา ประเทศในยุโรปตะวันออก (ยกเว้นออสเตรีย) ประเทศในกลุ่มเอเชียใต้ และประเทศจีน รวมทั้งสิ้น 127 ประเทศ เนื่องจากมีผู้ส่งออกเสนอขอให้เพิ่มเติมประเทศที่เป็นตลาดใหม่ นอกเหนือจากที่กำหนดไว้เดิม อาทิ ประเทศในหมู่เกาะคาริบเบียน ตรินิแดดและโตเบโก เป็นต้น
สำหรับความคืบหน้าในการดำเนินโครงการผลักดันการส่งออกเพื่อเพิ่มสัดส่วนการส่งออกไปตลาดใหม่ มีความคืบหน้าไป ดังนี้
1. มาตรการด้านการเงิน
ตามที่กระทรวงพาณิชย์ได้จัดสรรเงินให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) จำนวน 150 ล้านบาท เพื่อชดเชยภาระดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่ผู้ส่งออกในอัตราร้อยละ 5 ในระยะ 5 ปีนั้น ขณะนี้ มีผู้แสดงความจำนงกับ ธสน.จำนวน 46 ราย ซึ่ง ธสน.ได้อนุมัติสินเชื่อให้แล้วเป็นเงิน 369.9 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 8 ต่อปี และจะชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 5 คืนให้เมื่อมีการส่งออกไปตลาดใหม่ และได้ตรวจสอบแล้วว่ามีการส่งออกจริง
2. มาตรการด้านภาษี
กำหนดให้ผู้ส่งออกสามารถนำค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมขยายตลาดในตลาดใหม่มาหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีได้ 2 เท่า ซึ่งกระทรวงการคลังเห็นชอบในหลักการแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดเพื่อออกเป็นพระราชกฤษฎีกาให้มีการลดหย่อนภาษีดังกล่าวต่อไป
3. มาตรการด้านการส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ให้ความช่วยเหลือผู้ส่งออกในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ อาทิ การเดินทางไปเจาะตลาดต่างประเทศ การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่ไม่ซ้ำซ้อนกับกิจกรรมของกรมส่งเสริมการส่งออก และการเชิญผู้นำเยือนประเทศไทยทั้งนี้ได้ให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ ได้แก่ ค่าที่พัก ค่าขนส่งตัวอย่างสินค้า ค่าจ้างล่าม ค่าเดินทางภายในท้องถิ่น ค่าเช่าพื้นที่ในงานแสดงสินค้า โดยได้จัดสรรเงิน จำนวน 120 ล้านบาท ในการดำเนินงาน ซึ่งขณะนี้มีผู้แสดงความจำนงขอรับความช่วยเหลือ จำนวน 132 ราย ผ่านการอนุมัติแล้ว จำนวน 40 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 7,699,133 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 20 กันยายน 2542--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจเห็นชอบให้กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมส่งเสริมการส่งออก สามารถพิจารณาเปลี่ยนแปลงขอบเขตของประเทศที่เป็นตลาดใหม่ ได้ตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีในแต่ละครั้ง เพื่อให้การขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2542 เห็นชอบให้กำหนดกลุ่มตลาดใหม่ที่จะผลักดัน ตามโครงการผลักดันการส่งออกเพื่อเพิ่มสัดส่วนการส่งออกไปตลาดใหม่ ของกระทรวงพาณิชย์ โดยรัฐบาลจะให้การสนับสนุนผู้ส่งออก โดยดำเนินการใน 3 มาตรการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ มาตรการด้านการเงิน มาตรการด้านภาษี และมาตรการด้านการส่งเสริมการส่งออก ซึ่งเดิมได้กำหนดไว้ 7 ตลาด ได้แก่ ประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศในตะวันออกกลาง ประเทศในทวีปแอฟริกา ประเทศในลาตินอเมริกา ประเทศในยุโรปตะวันออก (ยกเว้นออสเตรีย) ประเทศในกลุ่มเอเชียใต้ และประเทศจีน รวมทั้งสิ้น 127 ประเทศ เนื่องจากมีผู้ส่งออกเสนอขอให้เพิ่มเติมประเทศที่เป็นตลาดใหม่ นอกเหนือจากที่กำหนดไว้เดิม อาทิ ประเทศในหมู่เกาะคาริบเบียน ตรินิแดดและโตเบโก เป็นต้น
สำหรับความคืบหน้าในการดำเนินโครงการผลักดันการส่งออกเพื่อเพิ่มสัดส่วนการส่งออกไปตลาดใหม่ มีความคืบหน้าไป ดังนี้
1. มาตรการด้านการเงิน
ตามที่กระทรวงพาณิชย์ได้จัดสรรเงินให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) จำนวน 150 ล้านบาท เพื่อชดเชยภาระดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่ผู้ส่งออกในอัตราร้อยละ 5 ในระยะ 5 ปีนั้น ขณะนี้ มีผู้แสดงความจำนงกับ ธสน.จำนวน 46 ราย ซึ่ง ธสน.ได้อนุมัติสินเชื่อให้แล้วเป็นเงิน 369.9 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 8 ต่อปี และจะชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 5 คืนให้เมื่อมีการส่งออกไปตลาดใหม่ และได้ตรวจสอบแล้วว่ามีการส่งออกจริง
2. มาตรการด้านภาษี
กำหนดให้ผู้ส่งออกสามารถนำค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมขยายตลาดในตลาดใหม่มาหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีได้ 2 เท่า ซึ่งกระทรวงการคลังเห็นชอบในหลักการแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดเพื่อออกเป็นพระราชกฤษฎีกาให้มีการลดหย่อนภาษีดังกล่าวต่อไป
3. มาตรการด้านการส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ให้ความช่วยเหลือผู้ส่งออกในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ อาทิ การเดินทางไปเจาะตลาดต่างประเทศ การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่ไม่ซ้ำซ้อนกับกิจกรรมของกรมส่งเสริมการส่งออก และการเชิญผู้นำเยือนประเทศไทยทั้งนี้ได้ให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ ได้แก่ ค่าที่พัก ค่าขนส่งตัวอย่างสินค้า ค่าจ้างล่าม ค่าเดินทางภายในท้องถิ่น ค่าเช่าพื้นที่ในงานแสดงสินค้า โดยได้จัดสรรเงิน จำนวน 120 ล้านบาท ในการดำเนินงาน ซึ่งขณะนี้มีผู้แสดงความจำนงขอรับความช่วยเหลือ จำนวน 132 ราย ผ่านการอนุมัติแล้ว จำนวน 40 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 7,699,133 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 20 กันยายน 2542--