ทำเนียบรัฐบาล--10 ส.ค.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2541 ของส่วนราชการและรัฐวิสหกิจ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2540 - 31 กรกฎาคม 2541 สรุปได้ดังนี้
1. ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ จนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2541 สำนักงบประมาณได้อนุมัติเงินประจำงวดแล้ว จำนวน 720,810.8 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 86.84 ของวงเงินงบประมาณ 830,000 ล้านบาท โดยส่วนราชการต่าง ๆ เบิกจ่ายเงินงบประมาณแล้วจำนวน 504,750.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 60.81 ของวงเงินงบประมาณ 830,000 ล้านบาท (รายละเอียดตามตารางที่แนบ)
2. เป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายเงินของปีงบประมาณ พ.ศ. 2541 คาดว่าจะเร่งรัดการเบิกจ่ายให้อยู่ในระดับร้อยละ 82 ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย หรือประมาณ 680,600 ล้านบาท
3. เพื่อให้การเบิกจ่ายเงินงบประมาณเป็นไปอย่างรวดเร็วและสอดคล้องกับนโยบายการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินของรัฐบาลที่มุ่งเน้นจะเพิ่มรายจ่ายของภาครัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว อันจะช่วยแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงินของประเทศได้ในระดับหนึ่ง กรมบัญชีกลางได้ออกมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ประจำปี พ.ศ. 2541 ดังนี้
3.1 ให้ส่วนราชการต่าง ๆ วางฎีกาเบิกจ่ายเงินได้ตลอดทั้งเดือน โดยจะมีการพิจารณาบริหารรายจ่ายให้อยู่ในเป้าหมายด้านการคลังที่ตกลงกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
3.2 สั่งการให้สำนักบริหารการเบิกจ่ายเงิน และสำนักงานคลังจังหวัดทั่วประเทศเร่งตรวจและอนุมัติฎีกาให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามระเบียบฯ คือ 3 วันทำการ โดยเคร่งครัด
3.3 ได้เชิญประชุมส่วนราชการจำนวน 9 แห่งที่มีวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนสูง แต่มีอัตราการเบิกจ่ายต่ำ เช่นกรมชลประทาน กรมทางหลวง กรมโยธาธิการ สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท เป็นต้น เพื่อขอความร่วมมือในการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินและรวบรวมปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ สำหรับกำหนดแนวทางแก้ไขต่อไป
3.4 ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2541 เพื่อขอผ่อนปรนหลักเกณฑ์การจ่ายเงินล่วงหน้า โดยให้ส่วนราชการสามารถจ่ายเงินล่วงหน้าให้กับผู้รับจ้างได้ร้อยละสิบห้าของราคาซื้อหรือราคาจ้าง แม้มิได้มีการกำหนดไว้เป็นเงื่อนไขในเอกสารสอบราคาหรือประกวดราคาก็ตาม โดยให้มีผลบังคับใช้เฉพาะในปีงบประมาณ พ.ศ. 2541 และ 2542 สำหรับโครงการใหม่ที่ยังมิได้ประมูลทั้งนี้ จะช่วยให้ส่วนราชการบางแห่ง ซึ่งได้ดำเนินการสอบราคาหรือประกวดราคาไปแล้ว และไม่ได้กำหนดอัตราค่าพัสดุหรือค่าจ้างที่จะจ่ายล่วงหน้าไว้ในเอกสารสอบราคาหรือประกวดราคา สามารถจ่ายเงินล่วงหน้าให้กับผู้รับเหมาได้ อันจะช่วยให้ผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้างมีสภาพคล่องทางการเงินมากขึ้น และสามารถดำเนินงานได้ตามปกติ ซึ่งจะเป็นการช่วยเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณในทางอ้อม
3.5 ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2541 เพื่อขอให้มีการกระจายอำนาจการอนุมัติการขยายระยะเวลาสัญญาก่อสร้างจากเดิมกำหนดให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติ เป็นให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เนื่องจากในทางปฏิบัติ ส่วนราชการบางแห่งต้องประสบกับปัญหาความล่าช้า ในการขออนุมัติการขยายระยะเวลาสัญญาก่อสร้าง เนื่องจากต้องผ่านขั้นตอนการเสนองานหลายขั้นตอนกว่าจะถึงรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ดังนั้น หากให้มีการกระจายอำนาจดังกล่าวข้างต้น ก็จะช่วยลดระยะเวลาและขั้นตอนในการขออนุมัติ และช่วยให้ผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้างได้รับเงินค่าปรับคืนเร็วกว่าเดิม ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงินให้กับผู้ประกอบการได้ในระดับหนึ่ง และช่วยให้มีการส่งมอบงานเร็วยิ่งขึ้น ส่งผลให้การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการเป็นไปอย่างรวดเร็ว
3.6 ขอความร่วมมือจากส่วนราชการต่าง ๆ ที่มีหนี้ค้างชำระค่าสาธารณูปโภคจำนวนมาก เร่งชำระหนี้ดังกล่าวภายในสิ้นปีงบประมาณ และในกรณีที่เงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรไม่เพียงพอ ก็จะได้พิจารณาหาแนวทางเพื่อขอให้สำนักงบประมาณโอนเงินงบประมาณในหมวดรายจ่ายอื่นมาให้
3.7 จะขอความร่วมมือจากส่วนราชการต่าง ๆ ให้เร่งวางฎีกาเบิกจ่ายเงินจากคลังภายในวันที่ 18 กันยายน 2541 ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถตรวจและอนุมัติฎีกาได้ทันภายในสิ้นปีงบประมาณ และลดปริมาณฎีกาเหลื่อมจ่ายให้น้อยลง อันจะส่งผลช่วยเพิ่มอัตราการเบิกจ่ายเงินของปีงบประมาณ พ.ศ. 2541
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 สิงหาคม 2541--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2541 ของส่วนราชการและรัฐวิสหกิจ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2540 - 31 กรกฎาคม 2541 สรุปได้ดังนี้
1. ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ จนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2541 สำนักงบประมาณได้อนุมัติเงินประจำงวดแล้ว จำนวน 720,810.8 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 86.84 ของวงเงินงบประมาณ 830,000 ล้านบาท โดยส่วนราชการต่าง ๆ เบิกจ่ายเงินงบประมาณแล้วจำนวน 504,750.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 60.81 ของวงเงินงบประมาณ 830,000 ล้านบาท (รายละเอียดตามตารางที่แนบ)
2. เป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายเงินของปีงบประมาณ พ.ศ. 2541 คาดว่าจะเร่งรัดการเบิกจ่ายให้อยู่ในระดับร้อยละ 82 ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย หรือประมาณ 680,600 ล้านบาท
3. เพื่อให้การเบิกจ่ายเงินงบประมาณเป็นไปอย่างรวดเร็วและสอดคล้องกับนโยบายการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินของรัฐบาลที่มุ่งเน้นจะเพิ่มรายจ่ายของภาครัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว อันจะช่วยแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงินของประเทศได้ในระดับหนึ่ง กรมบัญชีกลางได้ออกมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ประจำปี พ.ศ. 2541 ดังนี้
3.1 ให้ส่วนราชการต่าง ๆ วางฎีกาเบิกจ่ายเงินได้ตลอดทั้งเดือน โดยจะมีการพิจารณาบริหารรายจ่ายให้อยู่ในเป้าหมายด้านการคลังที่ตกลงกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
3.2 สั่งการให้สำนักบริหารการเบิกจ่ายเงิน และสำนักงานคลังจังหวัดทั่วประเทศเร่งตรวจและอนุมัติฎีกาให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามระเบียบฯ คือ 3 วันทำการ โดยเคร่งครัด
3.3 ได้เชิญประชุมส่วนราชการจำนวน 9 แห่งที่มีวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนสูง แต่มีอัตราการเบิกจ่ายต่ำ เช่นกรมชลประทาน กรมทางหลวง กรมโยธาธิการ สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท เป็นต้น เพื่อขอความร่วมมือในการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินและรวบรวมปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ สำหรับกำหนดแนวทางแก้ไขต่อไป
3.4 ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2541 เพื่อขอผ่อนปรนหลักเกณฑ์การจ่ายเงินล่วงหน้า โดยให้ส่วนราชการสามารถจ่ายเงินล่วงหน้าให้กับผู้รับจ้างได้ร้อยละสิบห้าของราคาซื้อหรือราคาจ้าง แม้มิได้มีการกำหนดไว้เป็นเงื่อนไขในเอกสารสอบราคาหรือประกวดราคาก็ตาม โดยให้มีผลบังคับใช้เฉพาะในปีงบประมาณ พ.ศ. 2541 และ 2542 สำหรับโครงการใหม่ที่ยังมิได้ประมูลทั้งนี้ จะช่วยให้ส่วนราชการบางแห่ง ซึ่งได้ดำเนินการสอบราคาหรือประกวดราคาไปแล้ว และไม่ได้กำหนดอัตราค่าพัสดุหรือค่าจ้างที่จะจ่ายล่วงหน้าไว้ในเอกสารสอบราคาหรือประกวดราคา สามารถจ่ายเงินล่วงหน้าให้กับผู้รับเหมาได้ อันจะช่วยให้ผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้างมีสภาพคล่องทางการเงินมากขึ้น และสามารถดำเนินงานได้ตามปกติ ซึ่งจะเป็นการช่วยเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณในทางอ้อม
3.5 ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2541 เพื่อขอให้มีการกระจายอำนาจการอนุมัติการขยายระยะเวลาสัญญาก่อสร้างจากเดิมกำหนดให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติ เป็นให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เนื่องจากในทางปฏิบัติ ส่วนราชการบางแห่งต้องประสบกับปัญหาความล่าช้า ในการขออนุมัติการขยายระยะเวลาสัญญาก่อสร้าง เนื่องจากต้องผ่านขั้นตอนการเสนองานหลายขั้นตอนกว่าจะถึงรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ดังนั้น หากให้มีการกระจายอำนาจดังกล่าวข้างต้น ก็จะช่วยลดระยะเวลาและขั้นตอนในการขออนุมัติ และช่วยให้ผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้างได้รับเงินค่าปรับคืนเร็วกว่าเดิม ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงินให้กับผู้ประกอบการได้ในระดับหนึ่ง และช่วยให้มีการส่งมอบงานเร็วยิ่งขึ้น ส่งผลให้การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการเป็นไปอย่างรวดเร็ว
3.6 ขอความร่วมมือจากส่วนราชการต่าง ๆ ที่มีหนี้ค้างชำระค่าสาธารณูปโภคจำนวนมาก เร่งชำระหนี้ดังกล่าวภายในสิ้นปีงบประมาณ และในกรณีที่เงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรไม่เพียงพอ ก็จะได้พิจารณาหาแนวทางเพื่อขอให้สำนักงบประมาณโอนเงินงบประมาณในหมวดรายจ่ายอื่นมาให้
3.7 จะขอความร่วมมือจากส่วนราชการต่าง ๆ ให้เร่งวางฎีกาเบิกจ่ายเงินจากคลังภายในวันที่ 18 กันยายน 2541 ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถตรวจและอนุมัติฎีกาได้ทันภายในสิ้นปีงบประมาณ และลดปริมาณฎีกาเหลื่อมจ่ายให้น้อยลง อันจะส่งผลช่วยเพิ่มอัตราการเบิกจ่ายเงินของปีงบประมาณ พ.ศ. 2541
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 สิงหาคม 2541--