ทำเนียบรัฐบาล--14 ก.ค.--บิสนิวส์
คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจให้ความเห็นชอบมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนที่เพิ่มเติมจากการพิจารณาครั้งที่แล้ว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำมาตรการดังกล่าวไปดำเนินการ แล้วรายงานความก้าวหน้าต่อคณะกรรมการ-กลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจเป็นประจำทุกสัปดาห์ ซึ่งมาตรการดังกล่าวมี 5 มาตรการ ดังนี้
1. มาตรการส่งออกและรายได้บริการ
1.1 ค่าเงินบาทที่อ่อนลงช่วยส่งเสริมการส่งออกอยู่แล้ว แต่ต้องมีมาตรการสนับสนุน คือ
- เจรจาการค้าเพื่อขยายตลาดสินค้าไทยให้เพิ่มมากขึ้น
- เร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีนำเข้าวัตถุดิบ
- ตรึงราคาบริการพื้นฐาน
- ปรับปรุงระบบศุลกากร
1.2 ให้ความสำคัญแก่โครงการพื้นฐานที่ส่งเสริมสนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
หน่วยงานที่รับผิดชอบ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงคมนาคม
1.3 เร่งรัดการจัดงาน Amazing Thailand ให้เร็วขึ้นจากกำหนดเดิมปี 2541 - 2542 เป็นเริ่มดำเนินการในปี 2540 หน่วยงานที่รับผิดชอบ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และการบินไทย
1.4 รณรงค์และการลดการท่องเที่ยวต่างประเทศของคนไทย หน่วยงานที่รับผิดชอบ การท่องเที่ยวแห่ง-ประเทศไทย
1.5 ภาครัฐประหยัดค่าใช้จ่ายเดินทางไปต่างประเทศที่ไม่จำเป็น หน่วยงานที่รับผิดชอบ กระทรวง ทบวงกรม และรัฐวิสาหกิจ
2. มาตรการค่าแรงและการจ้างงาน
2.1 ระมัดระวังการปรับค่าจ้างแรงงานไม่ให้เพิ่มขึ้นสูงเกินไป ซึ่งในส่วนของการปรับเงินเดือนข้าราชการในปีงบประมาณ 2541 ให้เลื่อนชะลอไปแล้ว (ในปี 2527 ไม่มีการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ โดยให้เลื่อนการปรับขึ้นเพียงเล็กน้อยในต้นปี 2528)
2.2 จัดหางานใหม่แก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง
2.3 สนับสนุนการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน
หน่วยงานที่รับผิดชอบ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และกระทรวงอุตสาหกรรม 3. มาตรการสร้างสภาพคล่องของระบบการเงินในประเทศ
3.1 เร่งระดมการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการรณรงค์ดึงดูดการลงทุน โดยรัฐบาลและคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
3.2 เพิ่มบทบาทเอกชนและเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติร่วมลงทุนกับรัฐวิสาหกิจมากขึ้น หน่วยงานที่รับผิดชอบ คณะกรรมการกำกับนโยบายการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในรัฐวิสาหกิจ
3.3 เปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติร่วมลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และสถาบันการเงินได้เพิ่มขึ้นหน่วยงานที่รับผิดชอบ กระทรวงการคลัง
3.4 เร่งรัดการควบกิจการและสร้างความเข้มแข็งของสถาบันการเงิน และปรับปรุงหนี้เสียให้เห็นผล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับระบบการเงิน หน่วยงานที่รับผิดชอบ ธนาคารแห่งประเทศไทย
4. มาตรการบรรเทาผลกระทบภาระหนี้ต่างประเทศของภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจ
4.1 ให้ความช่วยเหลือทางการเงิน อัตราดอกเบี้ยพิเศษแก่ธุรกิจที่ประสบภาวะขาดทุนจากการปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยน โดยเป็นการปล่อยกู้ร่วมกับธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อให้ภาคธุรกิจที่สำคัญสามารถปรับตัวและดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ดังนี้
- ธุรกิจส่งออก
- ธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
- ธุรกิจที่ได้รับสัมปทานหรือโครงการของรัฐ
- ธุรกิจที่กู้ยืมเงินระยะยาวเพื่อลงทุนในเครื่องจักร
หน่วยงานที่รับผิดชอบ ธนาคารแห่งประเทศไทย
4.2 ให้การช่วยเหลือด้านภาษี
- ผ่อนปรนการหักค่าลดหย่อนภาษีให้แก่บริษัท/กิจการที่ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน
- พิจารณาผ่อนผันขยายเวลาหรือวิธีการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อลดภาระการขาดทุน และสร้างสภาพคล่องในกระแสเงินสดของธุรกิจ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ กระทรวงการคลัง
5. มาตรการรักษาวินัยการคลังและการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ
5.1 เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณและการลงทุน เช่น ตรวจสอบราคาการประมูลและการก่อสร้างอย่างเคร่งครัด
5.2 เร่งรัดการดำเนินโครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายโดยเร็ว โดยเฉพาะโครงการที่มีความสามารถสร้างรายได้เงินตราต่างประเทศ เพื่อให้รัฐวิสาหกิจมีฐานะทางการเงินดีขึ้น ซึ่งจะมีผลในการลดการกู้เงินต่างประเทศในอนาคตลงได้
5.3 นำมาตรการด้านการค้าต่างตอบแทนมาประกอบการพิจารณาหาแหล่งเงินทุนการดำเนินโครงการ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง และรัฐวิสาหกิจ
5.4 ทบทวนแผนการลงทุนในโครงการที่พึ่งพาเงินกู้ต่างประเทศ และมีการนำเข้าสินค้าทุนในอัตราสูง
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 14 กรกฎาคม 2540--
คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจให้ความเห็นชอบมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนที่เพิ่มเติมจากการพิจารณาครั้งที่แล้ว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำมาตรการดังกล่าวไปดำเนินการ แล้วรายงานความก้าวหน้าต่อคณะกรรมการ-กลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจเป็นประจำทุกสัปดาห์ ซึ่งมาตรการดังกล่าวมี 5 มาตรการ ดังนี้
1. มาตรการส่งออกและรายได้บริการ
1.1 ค่าเงินบาทที่อ่อนลงช่วยส่งเสริมการส่งออกอยู่แล้ว แต่ต้องมีมาตรการสนับสนุน คือ
- เจรจาการค้าเพื่อขยายตลาดสินค้าไทยให้เพิ่มมากขึ้น
- เร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีนำเข้าวัตถุดิบ
- ตรึงราคาบริการพื้นฐาน
- ปรับปรุงระบบศุลกากร
1.2 ให้ความสำคัญแก่โครงการพื้นฐานที่ส่งเสริมสนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
หน่วยงานที่รับผิดชอบ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงคมนาคม
1.3 เร่งรัดการจัดงาน Amazing Thailand ให้เร็วขึ้นจากกำหนดเดิมปี 2541 - 2542 เป็นเริ่มดำเนินการในปี 2540 หน่วยงานที่รับผิดชอบ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และการบินไทย
1.4 รณรงค์และการลดการท่องเที่ยวต่างประเทศของคนไทย หน่วยงานที่รับผิดชอบ การท่องเที่ยวแห่ง-ประเทศไทย
1.5 ภาครัฐประหยัดค่าใช้จ่ายเดินทางไปต่างประเทศที่ไม่จำเป็น หน่วยงานที่รับผิดชอบ กระทรวง ทบวงกรม และรัฐวิสาหกิจ
2. มาตรการค่าแรงและการจ้างงาน
2.1 ระมัดระวังการปรับค่าจ้างแรงงานไม่ให้เพิ่มขึ้นสูงเกินไป ซึ่งในส่วนของการปรับเงินเดือนข้าราชการในปีงบประมาณ 2541 ให้เลื่อนชะลอไปแล้ว (ในปี 2527 ไม่มีการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ โดยให้เลื่อนการปรับขึ้นเพียงเล็กน้อยในต้นปี 2528)
2.2 จัดหางานใหม่แก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง
2.3 สนับสนุนการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน
หน่วยงานที่รับผิดชอบ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และกระทรวงอุตสาหกรรม 3. มาตรการสร้างสภาพคล่องของระบบการเงินในประเทศ
3.1 เร่งระดมการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการรณรงค์ดึงดูดการลงทุน โดยรัฐบาลและคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
3.2 เพิ่มบทบาทเอกชนและเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติร่วมลงทุนกับรัฐวิสาหกิจมากขึ้น หน่วยงานที่รับผิดชอบ คณะกรรมการกำกับนโยบายการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในรัฐวิสาหกิจ
3.3 เปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติร่วมลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และสถาบันการเงินได้เพิ่มขึ้นหน่วยงานที่รับผิดชอบ กระทรวงการคลัง
3.4 เร่งรัดการควบกิจการและสร้างความเข้มแข็งของสถาบันการเงิน และปรับปรุงหนี้เสียให้เห็นผล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับระบบการเงิน หน่วยงานที่รับผิดชอบ ธนาคารแห่งประเทศไทย
4. มาตรการบรรเทาผลกระทบภาระหนี้ต่างประเทศของภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจ
4.1 ให้ความช่วยเหลือทางการเงิน อัตราดอกเบี้ยพิเศษแก่ธุรกิจที่ประสบภาวะขาดทุนจากการปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยน โดยเป็นการปล่อยกู้ร่วมกับธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อให้ภาคธุรกิจที่สำคัญสามารถปรับตัวและดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ดังนี้
- ธุรกิจส่งออก
- ธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
- ธุรกิจที่ได้รับสัมปทานหรือโครงการของรัฐ
- ธุรกิจที่กู้ยืมเงินระยะยาวเพื่อลงทุนในเครื่องจักร
หน่วยงานที่รับผิดชอบ ธนาคารแห่งประเทศไทย
4.2 ให้การช่วยเหลือด้านภาษี
- ผ่อนปรนการหักค่าลดหย่อนภาษีให้แก่บริษัท/กิจการที่ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน
- พิจารณาผ่อนผันขยายเวลาหรือวิธีการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อลดภาระการขาดทุน และสร้างสภาพคล่องในกระแสเงินสดของธุรกิจ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ กระทรวงการคลัง
5. มาตรการรักษาวินัยการคลังและการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ
5.1 เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณและการลงทุน เช่น ตรวจสอบราคาการประมูลและการก่อสร้างอย่างเคร่งครัด
5.2 เร่งรัดการดำเนินโครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายโดยเร็ว โดยเฉพาะโครงการที่มีความสามารถสร้างรายได้เงินตราต่างประเทศ เพื่อให้รัฐวิสาหกิจมีฐานะทางการเงินดีขึ้น ซึ่งจะมีผลในการลดการกู้เงินต่างประเทศในอนาคตลงได้
5.3 นำมาตรการด้านการค้าต่างตอบแทนมาประกอบการพิจารณาหาแหล่งเงินทุนการดำเนินโครงการ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง และรัฐวิสาหกิจ
5.4 ทบทวนแผนการลงทุนในโครงการที่พึ่งพาเงินกู้ต่างประเทศ และมีการนำเข้าสินค้าทุนในอัตราสูง
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 14 กรกฎาคม 2540--