ทำเนียบรัฐบาล--30 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์รายงานสถานภาพสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ของไทย สรุปได้ดังนี้
1. ปัญหา GSP ของไทย
ในปัจจุบันไทยกำลังประสบปัญหาการถูกตัดสิทธิ GSP ของประเทศผู้ให้สิทธิ ทำให้สินค้าของไทยที่นำเข้าประเทศผู้ให้สิทธิ จะต้องเสียภาษีในอัตราปกติ ทั้งนี้ เพราะว่าระบบ GSP สำคัญทั้ง 3 ระบบ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การตัดสิทธิ GSP ในลักษณะการตัดสิทธิทั้งประเทศ (Country Graduation) หรือรายกลุ่มสินค้า (Sectors Graduation) หรือรายสินค้า (Products Graduation)ของแต่ละประเทศ อย่างไรก็ดี สำหรับสถานภาพในการถูกตัดสิทธิ GSP ของไทย ยังไม่เข้าข่ายถูกตัดสิทธิทั้งประเทศ แต่อยู่ในข่ายถูกตัดสิทธิเป็นรายกลุ่มสินค้า ระบบ GSP ที่ประสบปัญหา มีดังนี้
- สหภาพยุโรป ถูกตัดสิทธิ GSP 9 กลุ่มสินค้า แยกเป็นสินค้าเกษตร 3 กลุ่มสินค้า และสินค้าอุตสาหกรรม 6 กลุ่มสินค้า
- สหรัฐอเมริกา ถูกสมาพันธ์แรงงานและสมาคมอุตสาหกรรมสหรัฐฯ (AFL - CIO) ฟ้องร้องให้ตัดสิทธิ GSP ไทยเนื่องจากกล่าวหาว่าไทยมีการละเมิดสิทธิแรงงานไทย
2. ระบบ GSP ที่สำคัญ
ระบบ GSP ที่สำคัญต่อการส่งออกของไทยในปัจจุบันมีอยู่ 3 ระบบ คือ สหภาพยุโรป (15 ประเทศ) สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 GSP สหภาพยุโรป
2.1.1 การตัดสิทธิ GSP สินค้าไทยของสหภาพยุโรป
1) สหภาพยุโรปเริ่มให้สิทธิ GSP ตั้งแต่ปี 2514 ปัจจุบันอยู่ในโครงการที่ 3 โดยแบ่งออกเป็น 2 โครงการ คือ โครงการสำหรับสินค้าอุตสาหกรรม เริ่ม 1 มกราคม 2538 - 31 ธันวาคม 2541 โครงการสำหรับสินค้าเกษตร เริ่ม 1 กรกฎาคม 2539 -30 มิถุนายน 2542 และในโครงการที่ 3 นี้ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการตัดสิทธิไว้ 2 กรณี คือ Country Graduation และ Sectors/Country Graduation
2) ภายใต้มาตรการ Sectors/Country Graduation ไทยถูกตัดสิทธิ GSP รวม 9 กลุ่ม แบ่งเป็นสินค้าเกษตร 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสินค้าประมง กลุ่มสินค้าพืชผักผลไม้ และกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารปรุงแต่ง และสินค้าอุตสาหกรรม 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสินค้าพลาสติกและยาง กลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ที่ทำจากหนัง กลุ่มสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูป กลุ่มสินค้ารองเท้าและดอกไม้ประดิษฐ์ กลุ่มสินค้าเครื่องประดับ กลุ่มสินค้าเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ด
3) ขั้นตอนในการตัดสิทธิ GSP (ตัดส่วนต่างระหว่างอัตราภาษีปกติกับอัตราภาษี GSP หรือ GSP magin)
สหภาพยุโรปได้กำหนดขั้นตอนในการตัดสิทธิ GSP ออกเป็น 2 ช่วง ทั้งสินค้าเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรม ดังนี้
สินค้าอุตสาหกรรม
1. ช่วงที่ 1 ตัดสิทธิ GSP ครึ่งหนึ่งหรือ 50% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2540
2. ช่วงที่ 2 ตัดสิทธิ GSP ทั้งหมด หรือ 100% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2541 เป็นต้นไป
สินค้าเกษตร
1. ช่วงที่ 1 ตัดสิทธิ GSP ครึ่งหนึ่ง หรือ 50% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2540 - 31 ธันวาคม 2541
2. ช่วงที่ 2 ตัดสิทธิ GSP ทั้งหมด หรือ 100% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2541 เป็นต้นไป
2.1.2 การต่ออายุโครงการ GSP ใหม่
สหภาพยุโรปได้ตกลงที่จะต่ออายุโครงการ GSP ใหม่ โดยคณะกรรมาธิการยุโรปได้ให้ความเห็นชอบร่างโครงการ GSP ใหม่แล้ว และขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการ GSP (GSP Working Groups) โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1) โครงการ GSP ใหม่ กำหนดระยะเวลา 3 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 - วันที่ 31 ธันวาคม 2544)
2) รวมโครงการในส่วนของสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมเป็นโครงการเดียว
3) ยังคงมาตรการตัดสิทธิ GSP ที่กำหนดตั้งแต่ปี 2539 นั้นไว้ แต่กำหนดเลื่อนการทบทวนการตัดสิทธิ GSP ออกไปเป็นปลายปี 2542
2.1.3 การดำเนินการของภาครัฐ
โดยที่สหภาพยุโรปกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาต่ออายุโครงการใหม่ ประกอบกับสินค้าเกษตรของไทยทั้ง 3 กลุ่มสินค้าใกล้ถึงกำหนดเวลาที่จะถูกตัดสิทธิ GSP 100% กระทรวงพาณิชย์ตระหนักดีกว่า การถูกตัดสิทธิ GSP ของกลุ่มสินค้าเกษตรดังกล่าวนอกจากส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกโดยตรงของไทยแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังกลุ่มเกษตรกร รวมทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ ด้วย และในยามเศรษฐกิจวิกฤตินี้การส่งออกจำเป็นต้องพึ่งพาภาคการเกษตรเป็นสำคัญ ดังนั้น กระทรวงพาณิชย์จึงได้ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ กำหนดแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหา ดังนี้
1) เนื่องจากการให้ GSP นั้น เป็นการให้ฝ่ายเดียว และไม่สามารถขอเปิดการเจรจาต่อรองใด ๆ กับประเทศผู้ให้สิทธิได้ จึงเห็นว่าน่าจะดำเนินการในลักษณะโน้มน้าวในทุกระดับชั้นของสหภาพยุโรปเข้าใจถึงสถานภาพปัจจุบันของไทยที่กำลังประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจวิกฤติ และให้ทราบถึงความจำเป็นของไทยที่ต้องพึ่งพา GSP ในการส่งออกสินค้าเกษตรทั้ง 3 กลุ่ม โดยได้กำหนดท่าทีและประเด็นในการโน้มน้าว ดังนี้
- ขอให้สหภาพยุโรปคงการตัดสิทธิ GSP สินค้าเกษตร 3 กลุ่มไว้ที่ 50% ต่อไปจนสิ้นสุดโครงการคือปี 2544
- ขอให้สหภาพยุโรปใช้ตัวเลข GNP percapita ปีล่าสุด (ปี 1998) ในการคำนวณตัดสิทธิ GSP ซึ่งสหภาพ-ยุโรปกำหนดจะทำการทบทวนในปลายปี 2542 (1999)
2) ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ ได้สั่งการให้สำนักงานพาณิชย์ต่างประเทศประจำประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ประสานกับสถานเอกอัครราชทูตไทยในสหภาพยุโรป ดำเนินการโน้มน้าวอย่างต่อเนื่อง
3) สถานะล่าสุดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้รับทราบว่าได้มีการดำเนินการโน้มน้าวประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทุกประเทศแล้ว
4) สำหรับในประเทศไทย กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการโน้มน้าวผ่านหัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน
2.2 GSP สหรัฐอเมริกา
1) สหรัฐอเมริกาให้ GSP ตั้งแต่ปี 2519 เป็นต้นมา ปัจจุบันอยู่ในโครงการที่ 5 ซึ่งเริ่มวันที่ 1 กรกฎาคม 2541 -วันที่ 30 มิถุนายน 2542
2) การให้สิทธิ GSP สหรัฐอเมริกาให้ทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม ประมาณ 4,500 รายการ ได้เน้นหนักสินค้าอุตสาหกรรม โดยยกเว้นภาษีนำเข้าให้กับสินค้าทุกรายการ
3) การตัดสิทธิ GSP สหรัฐอเมริกา มีการตัดสิทธิรายประเทศ และรายสินค้าเช่นเดียวกับระบบอื่น ๆ
4) การตัดสิทธิ GSP รายประเทศ สหรัฐอเมริกาจะพิจารณาจากเงื่อนไข ดังนี้ รายได้ประชาชาติต่อหัวกำหนดไว้8,600 เหรียญสหรัฐฯ ความสามารถในการแข่งขัน การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การเปิดตลาดให้กับสินค้าและบริการ และการให้ความคุ้มครองสิทธิแรงงาน
5) การตัดสิทธิรายสินค้า ใช้กฎว่าด้วยความจำเป็นในการแข่งขัน (Competitive Need Limits : CNL) โดยกำหนดไว้ว่าสินค้าใดของประเทศใดที่มีมูลค่านำเข้าสหรัฐฯ ในปีปฏิทินที่ผ่านมาเกินระดับใดระดับหนึ่งดังต่อไปนี้ ก็จะถูกตัดสิทธิ คือเกินมูลค่าขั้นสูงที่สหรัฐฯ กำหนด (ปี 2541 มูลค่าขั้นสูง = 85 ล้าน US$) หรือ ส่วนแบ่งตลาดตั้งแต่ 50% ขึ้นไป อย่างไรก็ดี สินค้าที่ถูกระงับสิทธิอาจจะได้รับคืนสิทธิก็ได้
2.3 GSP ญี่ปุ่น
1) ญี่ปุ่นให้สิทธิ GSP ตั้งแต่ปี 2514 เป็นต้นมา ปัจจุบันอยู่ในโครงการที่ 3 ซึ่งเริ่มวันที่ 1 เมษายน 2534 -วันที่ 31 มีนาคม 2544
2) การให้สิทธิ GSP ให้ทั้งสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม โดยการลดหย่อน หรือยกเว้นภาษี
3) จำกัดการให้สิทธิ GSP โดยการกำหนดเพดาน/โควตา GSP สินค้าอุตสาหกรรมบางกลุ่ม สินค้าแบบ global quota โดยบริหารโควตาแบบใครมาก่อนได้ก่อน สินค้าจะถูกระงับสิทธิเมื่อเพดาน/โควตาเต็ม และจะได้คืนสิทธิโดยอัตโนมัติเมื่อขึ้นปี GSP ใหม่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 พฤศจิกายน 2541--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์รายงานสถานภาพสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ของไทย สรุปได้ดังนี้
1. ปัญหา GSP ของไทย
ในปัจจุบันไทยกำลังประสบปัญหาการถูกตัดสิทธิ GSP ของประเทศผู้ให้สิทธิ ทำให้สินค้าของไทยที่นำเข้าประเทศผู้ให้สิทธิ จะต้องเสียภาษีในอัตราปกติ ทั้งนี้ เพราะว่าระบบ GSP สำคัญทั้ง 3 ระบบ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การตัดสิทธิ GSP ในลักษณะการตัดสิทธิทั้งประเทศ (Country Graduation) หรือรายกลุ่มสินค้า (Sectors Graduation) หรือรายสินค้า (Products Graduation)ของแต่ละประเทศ อย่างไรก็ดี สำหรับสถานภาพในการถูกตัดสิทธิ GSP ของไทย ยังไม่เข้าข่ายถูกตัดสิทธิทั้งประเทศ แต่อยู่ในข่ายถูกตัดสิทธิเป็นรายกลุ่มสินค้า ระบบ GSP ที่ประสบปัญหา มีดังนี้
- สหภาพยุโรป ถูกตัดสิทธิ GSP 9 กลุ่มสินค้า แยกเป็นสินค้าเกษตร 3 กลุ่มสินค้า และสินค้าอุตสาหกรรม 6 กลุ่มสินค้า
- สหรัฐอเมริกา ถูกสมาพันธ์แรงงานและสมาคมอุตสาหกรรมสหรัฐฯ (AFL - CIO) ฟ้องร้องให้ตัดสิทธิ GSP ไทยเนื่องจากกล่าวหาว่าไทยมีการละเมิดสิทธิแรงงานไทย
2. ระบบ GSP ที่สำคัญ
ระบบ GSP ที่สำคัญต่อการส่งออกของไทยในปัจจุบันมีอยู่ 3 ระบบ คือ สหภาพยุโรป (15 ประเทศ) สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 GSP สหภาพยุโรป
2.1.1 การตัดสิทธิ GSP สินค้าไทยของสหภาพยุโรป
1) สหภาพยุโรปเริ่มให้สิทธิ GSP ตั้งแต่ปี 2514 ปัจจุบันอยู่ในโครงการที่ 3 โดยแบ่งออกเป็น 2 โครงการ คือ โครงการสำหรับสินค้าอุตสาหกรรม เริ่ม 1 มกราคม 2538 - 31 ธันวาคม 2541 โครงการสำหรับสินค้าเกษตร เริ่ม 1 กรกฎาคม 2539 -30 มิถุนายน 2542 และในโครงการที่ 3 นี้ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการตัดสิทธิไว้ 2 กรณี คือ Country Graduation และ Sectors/Country Graduation
2) ภายใต้มาตรการ Sectors/Country Graduation ไทยถูกตัดสิทธิ GSP รวม 9 กลุ่ม แบ่งเป็นสินค้าเกษตร 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสินค้าประมง กลุ่มสินค้าพืชผักผลไม้ และกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารปรุงแต่ง และสินค้าอุตสาหกรรม 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสินค้าพลาสติกและยาง กลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ที่ทำจากหนัง กลุ่มสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูป กลุ่มสินค้ารองเท้าและดอกไม้ประดิษฐ์ กลุ่มสินค้าเครื่องประดับ กลุ่มสินค้าเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ด
3) ขั้นตอนในการตัดสิทธิ GSP (ตัดส่วนต่างระหว่างอัตราภาษีปกติกับอัตราภาษี GSP หรือ GSP magin)
สหภาพยุโรปได้กำหนดขั้นตอนในการตัดสิทธิ GSP ออกเป็น 2 ช่วง ทั้งสินค้าเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรม ดังนี้
สินค้าอุตสาหกรรม
1. ช่วงที่ 1 ตัดสิทธิ GSP ครึ่งหนึ่งหรือ 50% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2540
2. ช่วงที่ 2 ตัดสิทธิ GSP ทั้งหมด หรือ 100% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2541 เป็นต้นไป
สินค้าเกษตร
1. ช่วงที่ 1 ตัดสิทธิ GSP ครึ่งหนึ่ง หรือ 50% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2540 - 31 ธันวาคม 2541
2. ช่วงที่ 2 ตัดสิทธิ GSP ทั้งหมด หรือ 100% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2541 เป็นต้นไป
2.1.2 การต่ออายุโครงการ GSP ใหม่
สหภาพยุโรปได้ตกลงที่จะต่ออายุโครงการ GSP ใหม่ โดยคณะกรรมาธิการยุโรปได้ให้ความเห็นชอบร่างโครงการ GSP ใหม่แล้ว และขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการ GSP (GSP Working Groups) โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1) โครงการ GSP ใหม่ กำหนดระยะเวลา 3 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 - วันที่ 31 ธันวาคม 2544)
2) รวมโครงการในส่วนของสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมเป็นโครงการเดียว
3) ยังคงมาตรการตัดสิทธิ GSP ที่กำหนดตั้งแต่ปี 2539 นั้นไว้ แต่กำหนดเลื่อนการทบทวนการตัดสิทธิ GSP ออกไปเป็นปลายปี 2542
2.1.3 การดำเนินการของภาครัฐ
โดยที่สหภาพยุโรปกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาต่ออายุโครงการใหม่ ประกอบกับสินค้าเกษตรของไทยทั้ง 3 กลุ่มสินค้าใกล้ถึงกำหนดเวลาที่จะถูกตัดสิทธิ GSP 100% กระทรวงพาณิชย์ตระหนักดีกว่า การถูกตัดสิทธิ GSP ของกลุ่มสินค้าเกษตรดังกล่าวนอกจากส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกโดยตรงของไทยแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังกลุ่มเกษตรกร รวมทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ ด้วย และในยามเศรษฐกิจวิกฤตินี้การส่งออกจำเป็นต้องพึ่งพาภาคการเกษตรเป็นสำคัญ ดังนั้น กระทรวงพาณิชย์จึงได้ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ กำหนดแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหา ดังนี้
1) เนื่องจากการให้ GSP นั้น เป็นการให้ฝ่ายเดียว และไม่สามารถขอเปิดการเจรจาต่อรองใด ๆ กับประเทศผู้ให้สิทธิได้ จึงเห็นว่าน่าจะดำเนินการในลักษณะโน้มน้าวในทุกระดับชั้นของสหภาพยุโรปเข้าใจถึงสถานภาพปัจจุบันของไทยที่กำลังประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจวิกฤติ และให้ทราบถึงความจำเป็นของไทยที่ต้องพึ่งพา GSP ในการส่งออกสินค้าเกษตรทั้ง 3 กลุ่ม โดยได้กำหนดท่าทีและประเด็นในการโน้มน้าว ดังนี้
- ขอให้สหภาพยุโรปคงการตัดสิทธิ GSP สินค้าเกษตร 3 กลุ่มไว้ที่ 50% ต่อไปจนสิ้นสุดโครงการคือปี 2544
- ขอให้สหภาพยุโรปใช้ตัวเลข GNP percapita ปีล่าสุด (ปี 1998) ในการคำนวณตัดสิทธิ GSP ซึ่งสหภาพ-ยุโรปกำหนดจะทำการทบทวนในปลายปี 2542 (1999)
2) ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ ได้สั่งการให้สำนักงานพาณิชย์ต่างประเทศประจำประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ประสานกับสถานเอกอัครราชทูตไทยในสหภาพยุโรป ดำเนินการโน้มน้าวอย่างต่อเนื่อง
3) สถานะล่าสุดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้รับทราบว่าได้มีการดำเนินการโน้มน้าวประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทุกประเทศแล้ว
4) สำหรับในประเทศไทย กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการโน้มน้าวผ่านหัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน
2.2 GSP สหรัฐอเมริกา
1) สหรัฐอเมริกาให้ GSP ตั้งแต่ปี 2519 เป็นต้นมา ปัจจุบันอยู่ในโครงการที่ 5 ซึ่งเริ่มวันที่ 1 กรกฎาคม 2541 -วันที่ 30 มิถุนายน 2542
2) การให้สิทธิ GSP สหรัฐอเมริกาให้ทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม ประมาณ 4,500 รายการ ได้เน้นหนักสินค้าอุตสาหกรรม โดยยกเว้นภาษีนำเข้าให้กับสินค้าทุกรายการ
3) การตัดสิทธิ GSP สหรัฐอเมริกา มีการตัดสิทธิรายประเทศ และรายสินค้าเช่นเดียวกับระบบอื่น ๆ
4) การตัดสิทธิ GSP รายประเทศ สหรัฐอเมริกาจะพิจารณาจากเงื่อนไข ดังนี้ รายได้ประชาชาติต่อหัวกำหนดไว้8,600 เหรียญสหรัฐฯ ความสามารถในการแข่งขัน การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การเปิดตลาดให้กับสินค้าและบริการ และการให้ความคุ้มครองสิทธิแรงงาน
5) การตัดสิทธิรายสินค้า ใช้กฎว่าด้วยความจำเป็นในการแข่งขัน (Competitive Need Limits : CNL) โดยกำหนดไว้ว่าสินค้าใดของประเทศใดที่มีมูลค่านำเข้าสหรัฐฯ ในปีปฏิทินที่ผ่านมาเกินระดับใดระดับหนึ่งดังต่อไปนี้ ก็จะถูกตัดสิทธิ คือเกินมูลค่าขั้นสูงที่สหรัฐฯ กำหนด (ปี 2541 มูลค่าขั้นสูง = 85 ล้าน US$) หรือ ส่วนแบ่งตลาดตั้งแต่ 50% ขึ้นไป อย่างไรก็ดี สินค้าที่ถูกระงับสิทธิอาจจะได้รับคืนสิทธิก็ได้
2.3 GSP ญี่ปุ่น
1) ญี่ปุ่นให้สิทธิ GSP ตั้งแต่ปี 2514 เป็นต้นมา ปัจจุบันอยู่ในโครงการที่ 3 ซึ่งเริ่มวันที่ 1 เมษายน 2534 -วันที่ 31 มีนาคม 2544
2) การให้สิทธิ GSP ให้ทั้งสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม โดยการลดหย่อน หรือยกเว้นภาษี
3) จำกัดการให้สิทธิ GSP โดยการกำหนดเพดาน/โควตา GSP สินค้าอุตสาหกรรมบางกลุ่ม สินค้าแบบ global quota โดยบริหารโควตาแบบใครมาก่อนได้ก่อน สินค้าจะถูกระงับสิทธิเมื่อเพดาน/โควตาเต็ม และจะได้คืนสิทธิโดยอัตโนมัติเมื่อขึ้นปี GSP ใหม่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 พฤศจิกายน 2541--