ทำเนียบรัฐบาล--19 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบแผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) โดยมีสาระสำคัญดังนี้ ปรัชญาของการพัฒนา คือ "พัฒนาคุณภาพชีวิต ผลิตเพื่อการแข่งขันสัมพันธ์กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม" วัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาการเกษตรคือ เพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันสินค้าเกษตรตลาดโลก โดยการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต ปรับปรุงคุณภาพผลผลิตให้ได้มาตรฐานตรงความต้องการของตลาด เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การพัฒนาจะต้องยั่งยืนไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กรให้เข้มแข็ง ยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิตให้สูงขึ้น และให้คุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีเป้าหมายเพื่อการเพิ่มรายได้แก่เกษตรกร การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของภาคเกษตรให้มีความมั่นคง และสามารถสนับสนุนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจส่วนรวมได้ โดยได้กำหนดเป้าหมายการขยายตัวไว้ร้อยละ 2.90 ต่อปี และยุทธศาสตร์ในการพัฒนา มี 3 ด้าน คือ ด้านความสามารถในการแข่งขัน ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนายั่งยืน ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กรเกษตร
2. เห็นชอบด้านแนวทางดำเนินการของรัฐในมาตรการสนับสนุน 14 เรื่อง คือ
ด้านความสามารถในการแข่งขัน 1) การกำหนดอัตราดอกเบี้นเงินกู้ที่เหมาะสม 2) การจัดตั้งธนาคารสหกรณ์ 3) การจูงใจภาครัฐและเอกชนในการวิจัยและพัฒนา 4) การพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร 5) การพัฒนาตลาดกลางสินค้าเกษตร 6) การขยายการประกันสินค้า 7) กำหนดมาตรฐาน และปรับปรุงสินค้าเกษตร
ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนายั่งยืน 8) พระราชบัญญัติป่าชุมชน (ผลักดันให้มีการประกาศใช้โดยเร็ว) 9) การพัฒนาโครงสร้างการจัดการลุ่มน้ำ 10) การจัดการทรัพยากรชายฝั่งและทรัพยากรประมง 11) การกำหนดเขตเศรษฐกิจสินค้าเกษตร
ด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กรเกษตรกร 12) การแก้ไขปัญหาแรงงานขาดแคลน และการคุ้มครองแรงงานภาคเกษตร 13) การสร้างเครือข่ายถ่าทอดเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้าน 14) การแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร
3. เห็นชอบในหลักการของแผนการลงทุนภาครัฐซึ่งประกอบด้วยจำนวน 16 แผนงาน 63 โครงการ โดยให้ใช้เป็นแผนปฏิบัติการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับข้อสังเกตของกระทรวงพาณิชย์ไปพิจารณาด้วย เกี่ยวกับมาตรการสนับสนุน ข้อ 6 "มาตรการที่รัฐต้องดำเนินการ" โดยเสนอให้มีการจัดตั้งหน่วยงานกลางเพื่อรับผิดชอบกำหนดมาตรฐานสินค้า ควรกำหนดให้ชัดเจนเฉพาะเกษตรกรหรือรวมถึงผลิตภัณฑ์ด้วย และควรคำนึงถึงสำนักงานมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิม ได้กำหนดขอบเขตครอบคลุมแล้วหรือไม่ด้วย มิฉะนั้นอาจเกิดปัญหาตั้งหน่วยงานขึ้นมาทำหน้าที่ซ้ำซ้อนได้และกระทรวงพาณิชย์มีข้อมูลด้านกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ รวมทั้งศึกษาข้อมูลการตลาดส่งออกสินค้าเกษตร ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้โดยไม่ต้องเริ่มดำเนินการใหม่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 19 พฤศจิกายน 2539--
คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบแผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) โดยมีสาระสำคัญดังนี้ ปรัชญาของการพัฒนา คือ "พัฒนาคุณภาพชีวิต ผลิตเพื่อการแข่งขันสัมพันธ์กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม" วัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาการเกษตรคือ เพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันสินค้าเกษตรตลาดโลก โดยการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต ปรับปรุงคุณภาพผลผลิตให้ได้มาตรฐานตรงความต้องการของตลาด เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การพัฒนาจะต้องยั่งยืนไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กรให้เข้มแข็ง ยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิตให้สูงขึ้น และให้คุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีเป้าหมายเพื่อการเพิ่มรายได้แก่เกษตรกร การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของภาคเกษตรให้มีความมั่นคง และสามารถสนับสนุนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจส่วนรวมได้ โดยได้กำหนดเป้าหมายการขยายตัวไว้ร้อยละ 2.90 ต่อปี และยุทธศาสตร์ในการพัฒนา มี 3 ด้าน คือ ด้านความสามารถในการแข่งขัน ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนายั่งยืน ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กรเกษตร
2. เห็นชอบด้านแนวทางดำเนินการของรัฐในมาตรการสนับสนุน 14 เรื่อง คือ
ด้านความสามารถในการแข่งขัน 1) การกำหนดอัตราดอกเบี้นเงินกู้ที่เหมาะสม 2) การจัดตั้งธนาคารสหกรณ์ 3) การจูงใจภาครัฐและเอกชนในการวิจัยและพัฒนา 4) การพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร 5) การพัฒนาตลาดกลางสินค้าเกษตร 6) การขยายการประกันสินค้า 7) กำหนดมาตรฐาน และปรับปรุงสินค้าเกษตร
ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนายั่งยืน 8) พระราชบัญญัติป่าชุมชน (ผลักดันให้มีการประกาศใช้โดยเร็ว) 9) การพัฒนาโครงสร้างการจัดการลุ่มน้ำ 10) การจัดการทรัพยากรชายฝั่งและทรัพยากรประมง 11) การกำหนดเขตเศรษฐกิจสินค้าเกษตร
ด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กรเกษตรกร 12) การแก้ไขปัญหาแรงงานขาดแคลน และการคุ้มครองแรงงานภาคเกษตร 13) การสร้างเครือข่ายถ่าทอดเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้าน 14) การแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร
3. เห็นชอบในหลักการของแผนการลงทุนภาครัฐซึ่งประกอบด้วยจำนวน 16 แผนงาน 63 โครงการ โดยให้ใช้เป็นแผนปฏิบัติการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับข้อสังเกตของกระทรวงพาณิชย์ไปพิจารณาด้วย เกี่ยวกับมาตรการสนับสนุน ข้อ 6 "มาตรการที่รัฐต้องดำเนินการ" โดยเสนอให้มีการจัดตั้งหน่วยงานกลางเพื่อรับผิดชอบกำหนดมาตรฐานสินค้า ควรกำหนดให้ชัดเจนเฉพาะเกษตรกรหรือรวมถึงผลิตภัณฑ์ด้วย และควรคำนึงถึงสำนักงานมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิม ได้กำหนดขอบเขตครอบคลุมแล้วหรือไม่ด้วย มิฉะนั้นอาจเกิดปัญหาตั้งหน่วยงานขึ้นมาทำหน้าที่ซ้ำซ้อนได้และกระทรวงพาณิชย์มีข้อมูลด้านกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ รวมทั้งศึกษาข้อมูลการตลาดส่งออกสินค้าเกษตร ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้โดยไม่ต้องเริ่มดำเนินการใหม่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 19 พฤศจิกายน 2539--