ทำเนียบรัฐบาล--2 ก.พ.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจได้พิจารณาข้อตกลงในการลงทุนประกอบรถยนต์ของบริษัท
เจนเนอรัล มอเตอร์ จำกัด ตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเสนอ และมีมติมอบหมายให้กระทรวงอุต-
สาหกรรมไปหารือกับกระทรวงการคลัง เพื่อปฏิบัติตามนโยบายดังต่อไปนี้
1. การยกเลิกการบังคับใช้ชิ้นส่วนในประเทศ (Local Content) เพื่อให้เป็นไปตามคำมั่นที่ทางฝ่าย
ไทยได้ยืนยันกับฝ่ายบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ จำกัด (GM) ไปแล้วเห็นควรแจ้งให้กระทรวงอุตสาหกรรมเร่งดำเนิน
การออกประกาศยกเลิกการบังคับใช้สิ้นส่วนในประเทศ (Local Content) สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลภายในเดือน
กรกฎาคม 2541
2. โครงสร้างภาษี เห็นควรแจ้งให้กระทรวงการคลัง และกระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาปรับอัตราภาษี
ชิ้นส่วนสำหรับผู้ประกอบรถยนต์ CKD, อัตราอะไหล่ และวัตถุดิบให้เหมาะสม เมื่อมีการยกเลิกการบังคับใช้ชิ้นส่วนใน
ประเทศ
ปัจจุบันการประกอบรถยนต์ในประเทศมีการจัดเก็บอากรขาเข้าแตกต่างกันระหว่างชิ้นส่วนที่ผู้ประกอบรถยนต์
นำเข้ามาประกอบเป็นรถยนต์ และใช้ชิ้นส่วนในประเทศได้ตามที่กำหนด (CKD), ชิ้นส่วนที่นำเข้ามาเป็นอะไหล่, วัตถุดิบ
ที่นำเข้าเข้ามาผลิตเป็นชิ้นส่วนรถยนต์ และรถยนต์สำเร็จรูป (CBU) ดังนี้
รถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถบรรทุกเล็ก
CKD 20% 20%
อะไหล่ 42% 42%
วัตถุดิบ 5% - 42% 5% - 42%
- ชิ้นส่วนพลาสติค 35% 35%
- เหล็กทุบขึ้นรูป 35% 35%
- ชิ้นส่วนย่อยสำเร็จรูป 42% 42%
CBU 80% 60%
ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัท General Motors ได้พิจารณาที่จะเลือกลงทุนในประเทศไทย หรือประเทศฟิลิปปินส์
และได้เสนอข้อต่อรองกับฝ่ายไทยในเรื่องของการบังคับใช้ชิ้นส่วนในประเทศ(Local Content),การลดภาษีศุลกากร
ของชิ้นส่วนและการจัดตั้งสถาบันฝึกอบรม GM University ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2538 และ 13 มีนาคม 2539
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายศิววงศ์ จังคศิริ ได้มีหนังสือยืนยันกับบริษัทฯ ว่าฝ่ายไทยจะยกเลิกการบังคับใช้ชิ้นส่วน
ในประเทศ (Local Content) ภายในเดือนกรกฎาคม 2541 รวมทั้งรัฐบาลไทยจะจัดสรรเงินจำนวนไม่น้อยกว่า 15
ล้านเหรียญเพื่อใช้ในการจัดตั้ง GM University ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดที่จะตกลงกันในภายหลัง โดยคณะกรรมการ
ส่งเสริมการลงทุนได้พิจารณาโครงการของบริษัทฯ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2539 ซึ่งมีกำลังผลิต 100,000 คัน/ปี จะใช้
เงินลงทุน 16,000 ล้านบาท เดิมคาดว่าจะเปิดดำเนินการประมาณเดือนกรกฎาคม 2541
สำหรับในส่วนของบริษัทฯ ได้ก่อสร้างโรงงานใกล้แล้วเสร็จ มีการนำเข้าเครื่องจักรแล้วเป็นมูลค่าประมาณ
500 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มทดลองผลิตประมาณเดือนมกราคม 2542 จะผลิตจริงประมาณเดือนกรกฎาคม 2542 โดยจะ
มีกำลังผลิตประมาณ 40,000 - 50,000 คัน/ปี แต่ในส่วนของฝ่ายไทยยังไม่ได้มีการดำเนินการยกเลิกการบังคับใช้ชิ้น
ส่วนในประเทศ(Local Content) ตามที่ได้ตกลงกันไว้ และในส่วนของสถาบันฝึกอบรม GM University ปัจจุบัน
กระทรวงอุตสาหกรรมไม่สามารถจัดหางบประมาณตามที่ตกลงไว้แต่เดิมคือ ไม่น้อยกว่า 15 ล้านเหรียญได้ แต่กระทรวงฯ
จะใช้หน่วยงานฝึกอบรมของกระทรวงฯ ที่มีอยู่แล้ว เช่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สถาบันเพิ่มผลผลิต เพื่อเป็นแหล่งฝึก
อบรมแรงงานป้อนให้กับบริษัท GM แทน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2541--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจได้พิจารณาข้อตกลงในการลงทุนประกอบรถยนต์ของบริษัท
เจนเนอรัล มอเตอร์ จำกัด ตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเสนอ และมีมติมอบหมายให้กระทรวงอุต-
สาหกรรมไปหารือกับกระทรวงการคลัง เพื่อปฏิบัติตามนโยบายดังต่อไปนี้
1. การยกเลิกการบังคับใช้ชิ้นส่วนในประเทศ (Local Content) เพื่อให้เป็นไปตามคำมั่นที่ทางฝ่าย
ไทยได้ยืนยันกับฝ่ายบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ จำกัด (GM) ไปแล้วเห็นควรแจ้งให้กระทรวงอุตสาหกรรมเร่งดำเนิน
การออกประกาศยกเลิกการบังคับใช้สิ้นส่วนในประเทศ (Local Content) สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลภายในเดือน
กรกฎาคม 2541
2. โครงสร้างภาษี เห็นควรแจ้งให้กระทรวงการคลัง และกระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาปรับอัตราภาษี
ชิ้นส่วนสำหรับผู้ประกอบรถยนต์ CKD, อัตราอะไหล่ และวัตถุดิบให้เหมาะสม เมื่อมีการยกเลิกการบังคับใช้ชิ้นส่วนใน
ประเทศ
ปัจจุบันการประกอบรถยนต์ในประเทศมีการจัดเก็บอากรขาเข้าแตกต่างกันระหว่างชิ้นส่วนที่ผู้ประกอบรถยนต์
นำเข้ามาประกอบเป็นรถยนต์ และใช้ชิ้นส่วนในประเทศได้ตามที่กำหนด (CKD), ชิ้นส่วนที่นำเข้ามาเป็นอะไหล่, วัตถุดิบ
ที่นำเข้าเข้ามาผลิตเป็นชิ้นส่วนรถยนต์ และรถยนต์สำเร็จรูป (CBU) ดังนี้
รถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถบรรทุกเล็ก
CKD 20% 20%
อะไหล่ 42% 42%
วัตถุดิบ 5% - 42% 5% - 42%
- ชิ้นส่วนพลาสติค 35% 35%
- เหล็กทุบขึ้นรูป 35% 35%
- ชิ้นส่วนย่อยสำเร็จรูป 42% 42%
CBU 80% 60%
ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัท General Motors ได้พิจารณาที่จะเลือกลงทุนในประเทศไทย หรือประเทศฟิลิปปินส์
และได้เสนอข้อต่อรองกับฝ่ายไทยในเรื่องของการบังคับใช้ชิ้นส่วนในประเทศ(Local Content),การลดภาษีศุลกากร
ของชิ้นส่วนและการจัดตั้งสถาบันฝึกอบรม GM University ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2538 และ 13 มีนาคม 2539
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายศิววงศ์ จังคศิริ ได้มีหนังสือยืนยันกับบริษัทฯ ว่าฝ่ายไทยจะยกเลิกการบังคับใช้ชิ้นส่วน
ในประเทศ (Local Content) ภายในเดือนกรกฎาคม 2541 รวมทั้งรัฐบาลไทยจะจัดสรรเงินจำนวนไม่น้อยกว่า 15
ล้านเหรียญเพื่อใช้ในการจัดตั้ง GM University ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดที่จะตกลงกันในภายหลัง โดยคณะกรรมการ
ส่งเสริมการลงทุนได้พิจารณาโครงการของบริษัทฯ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2539 ซึ่งมีกำลังผลิต 100,000 คัน/ปี จะใช้
เงินลงทุน 16,000 ล้านบาท เดิมคาดว่าจะเปิดดำเนินการประมาณเดือนกรกฎาคม 2541
สำหรับในส่วนของบริษัทฯ ได้ก่อสร้างโรงงานใกล้แล้วเสร็จ มีการนำเข้าเครื่องจักรแล้วเป็นมูลค่าประมาณ
500 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มทดลองผลิตประมาณเดือนมกราคม 2542 จะผลิตจริงประมาณเดือนกรกฎาคม 2542 โดยจะ
มีกำลังผลิตประมาณ 40,000 - 50,000 คัน/ปี แต่ในส่วนของฝ่ายไทยยังไม่ได้มีการดำเนินการยกเลิกการบังคับใช้ชิ้น
ส่วนในประเทศ(Local Content) ตามที่ได้ตกลงกันไว้ และในส่วนของสถาบันฝึกอบรม GM University ปัจจุบัน
กระทรวงอุตสาหกรรมไม่สามารถจัดหางบประมาณตามที่ตกลงไว้แต่เดิมคือ ไม่น้อยกว่า 15 ล้านเหรียญได้ แต่กระทรวงฯ
จะใช้หน่วยงานฝึกอบรมของกระทรวงฯ ที่มีอยู่แล้ว เช่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สถาบันเพิ่มผลผลิต เพื่อเป็นแหล่งฝึก
อบรมแรงงานป้อนให้กับบริษัท GM แทน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2541--