ทำเนียบรัฐบาล--26 ต.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานผลการดำเนินการเรื่องสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี/GSP) ซึ่งเป็นมาตรการดำเนินงานเพื่อช่วยลดผลกระทบต่อเกษตรกรและชาวประมงจากการถูกตัด GSP สินค้าเกษตรทั้ง 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มสินค้าประมง กลุ่มพืชผักผลไม้ และกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารปรุงแต่ง สรุปได้ดังนี้
1. มาตรการลดผลกระทบต่อเกษตรกรและชาวประมง
1.1 มาตรการดำเนินงานระยะสั้น
1) การสนับสนุนเงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรจำนวน 200 ล้านบาท สำหรับใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนให้โรงงานสับปะรดกระป๋องกู้ผ่านองค์การคลังสินค้า เพื่อรับซื้อสับปะรดจากเกษตรกรตามราคาเป้าหมายนำ และรับจำนำผลิตภัณฑ์สับปะรดในราคารับจำนำร้อยละ 70 ของราคาส่งออกโดยเฉลี่ย โดยมีระยะเวลากู้ยืมเงินตั้งแต่มิถุนายน - ตุลาคม 2542
2) การสนับสนุนเงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรจำนวน 1,000 ล้านบาท ให้ห้องเย็นและผู้ส่งออกยืมเป็นเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยเพื่อรับซื้อกุ้งจากเกษตรกรจำนวน 5,000 ตัน ตามราคาเป้าหมายนำ ภายใต้โครงการเก็บสต๊อคกุ้งกุลาดำเข้าห้องเย็นปี 2541/2542 โดยมีระยะเวลาโครงการตั้งแต่ธันวาคม 2541 - กันยายน 2542
3) การสนับสนุนเงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรจำนวน 470 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นเงินจ่ายขาด420 ล้านบาท สำหรับให้สหกรณ์ประมง/กลุ่มเกษตรกรทำการประมง และองค์การสะพานปลา เพื่อชดเชยการขาดทุนจากการลดราคาน้ำมันให้แก่ชาวประมง และอีก 50 ล้านบาท ให้องค์การสะพานปลากู้ยืมใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการซื้อน้ำมันมาจำหน่าย ภายใต้โครงการช่วยเหลือราคาน้ำมันชาวประมงขนาดเล็ก โดยมีระยะเวลาโครงการตั้งแต่สิงหาคม 2539 - 15 สิงหาคม 2541 และขยายเวลาจนถึง 15 สิงหาคม 2542 และ ณ ปัจจุบันขยายไปจนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม 2543
1.2 มาตรการระยะปานกลางและระยะยาว
เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิตและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐานสากล ตลอดจนการผลิตสินค้ามูลค่าเพิ่มที่หลากหลายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันการส่งออกและลดผลกระทบจากการถูกตัดสิทธิ GSP ได้อย่างถาวรในระยะยาว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีมาตรการที่สำคัญและดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมในแต่ละกลุ่มสินค้า ดังนี้
1) กลุ่มสินค้าประมง
(1) การจัดตั้งกองทุนพัฒนาการประมง ขณะนี้ได้จัดทำร่างระเบียบระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยกองทุนพัฒนาการประมงเรียบร้อยแล้ว และกำลังปรับปรุงรายละเอียดโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป
(2) การจัดตั้งกองทุนวิจัยและพัฒนากุ้ง กรมประมงได้จัดทำร่างระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการใช้จ่ายเงินโครงการจัดตั้งกองทุนวิจัยและพัฒนากุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้งเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาให้ความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ก่อนที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะได้ลงนามในประกาศต่อไป
(3) การจัดระบบน้ำเพื่อการเลี้ยงกุ้ง ได้มีโครงการจัดสร้างระบบชลประทานน้ำเค็ม 5 แห่ง ขณะนี้ดำเนินการแล้วเสร็จ 2 แห่ง คือ ที่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา และที่อ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี ส่วนอีก 3 แห่ง กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง
(4) การกำหนดเขตพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้ง (Zoning) ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ
(5) การจัดทำความตกลงว่าด้วยความเท่าเทียมกันด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Equivalent Agreement : EA) ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป ในสินค้าประมง ปศุสัตว์ และพืช เพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งออกสินค้าเกษตรไปสหภาพยุโรป ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ
(6) การดำเนินมาตรการสนับสนุนการผลิตสินค้าประมงให้ได้คุณภาพมาตรฐานตามระบบควบคุมคุณภาพณ จุดวิกฤติ (HACCP) ตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรป
2) กลุ่มสินค้าพืชผักและผลไม้
มีการจัดตั้งศูนย์ผลักดันสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกเมื่อเดือนพฤษภาคม 2541 (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2541) เพื่อประสานการดำเนินงานแบบครบวงจรตั้งแต่การผลิตจนถึงการตลาด อันเป็นการเพิ่มขีดความสามารถการส่งออกสินค้าเกษตรไทย โดยในระยะเริ่มแรกได้เริ่มผลักดันการส่งออกทุเรียน ลำไย กล้วยไม้ และยางพาราก่อน และจะขยายการส่งออกไปยังพืชเศรษฐกิจอื่นที่สำคัญต่อไป ซึ่งที่ผ่านมามีผลการดำเนินงาน ดังนี้
(1) ได้จัดทำมาตรฐานทุเรียน ลำไย กล้วยไม้ เพื่อการส่งออก
(2) การเผยแพร่ความรู้ด้านมาตรฐานและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตแก่เกษตรกรตามระบบ GAP(Good Agricultural Practice)
(3) การจดทะเบียนรับรองสวนเพื่อการส่งออกและการจดทะเบียนผู้ส่งออก
(4) การจัดสร้างโรงรมควันลำไยที่ได้มาตรฐานตามระบบ GMP และ HACCP จำนวน 5 โรง
(5) การจัดทำเขตผลิตกล้วยไม้ปลอดเพลี้ยไฟในการส่งออกกล้วยไม้ไปสหภาพยุโรป
(6) การประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรไทยในต่างประเทศ และดำเนินการแก้ไขปัญหากรณีการนำเข้าที่เกิดขึ้นของประเทศคู่ค้า
3) กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารปรุงแต่ง (เน้นสับปะรดปรุงแต่ง)
(1) การจัดทำแผนพัฒนาสับปะรดปี 2542 - 2546 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2542 อนุมัติในหลักการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการตามแผนฯ ในวงเงิน 402 ล้านบาท
(2) ให้มีการจัดตั้งสำนักงานพัฒนาสับปะรดแห่งประเทศไทยเพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสับปะรดอย่างเป็นระบบ ครบวงจร ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานตามแผนฯ ซึ่งรวมถึงกิจกรรมการวิจัยพันธุ์ การจัดทำระบบ GAP ในไร่สับปะรด และการใช้ระบบ HACCP ในโรงงานผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐานสากล
1.3 โครงการเงินกู้ ADB/OECF เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร
มีการกำหนดโครงการต่าง ๆ ภายใต้แผนงานจัดสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ สำหรับสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพในการส่งออกและทดแทนการนำเข้า โดยมีโครงการพัฒนาสินค้าเกษตรส่งออกสำคัญที่ไทยถูกตัดสิทธิ GSP รวมอยู่ด้วยหลายโครงการ เช่น1) โครงการพัฒนาการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ 2) โครงการพัฒนาการผลิตกล้วยไม้ และ 3) โครงการพัฒนาการผลิตสับปะรดโรงงาน ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียดโครงการ
2. การดำเนินมาตรการตรวจสอบสินค้านำเข้าจากสหภาพยุโรปที่อาจมีอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค และมีผลกระทบต่อพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
2.1 การตรวจสอบสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตรได้ทำการตรวจสอบโรคแมลงศัตรูพืชในพืชผักผลไม้ที่นำเข้าทุก shipment อยู่แล้วภายใต้พระราชบัญญัติกักพืช 2507 ซึ่งส่วนใหญ่ไม่พบโรคและศัตรูพืชติดมากับผลผลิตและหากพบบ้างก็ทำการกำจัดได้
2.2 การตรวจสอบสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ได้ทำการกักกันและตรวจสอบโรคสัตว์ในสัตว์มีชีวิตที่นำเข้าทุกตัวและสุ่มตรวจเนื้อสัตว์นำเข้า รวมทั้งอาหารสัตว์ที่นำเข้า ตลอดจนมีมาตรการห้ามนำเข้าสัตว์มีชีวิตและผลิตภัณฑ์สัตว์จากประเทศที่มีความเสี่ยงการระบาดของโรคสัตว์
2.3 การตรวจปุ๋ยนำเข้า กรมวิชาการเกษตรและกรมศุลกากรจะร่วมกันชักตัวอย่างปุ๋ยที่นำเข้าเพื่อตรวจวิเคราะห์หากตรงตามที่ขอขึ้นทะเบียน กรมศุลกากรจะปล่อย หากไม่ตรงตามที่ขอขึ้นทะเบียน กรมศุลกากรจะดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้นำเข้าทันที
2.4 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎระเบียบต่าง ๆ เกี่ยวกับการกักกันพืชและสัตว์ที่นำเข้าเป็นระยะ ๆ เพื่อให้ทันกับสถานการณ์และสอดคล้องกัน รวมทั้งไม่ขัดต่อความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชภายใต้ WTO และจะดำเนินมาตรการตรวจสอบสินค้านำเข้าให้เข้มงวดมากขึ้นภายใต้กฎระเบียบที่มีอยู่
2.5 การตรวจสอบอาหารที่นำเข้า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อให้มีอำนาจในการตรวจสอบสินค้าอาหารนำเข้าตามพระราชบัญญัติอาหารและยาด้วยแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 25 ตุลาคม 2542--
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานผลการดำเนินการเรื่องสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี/GSP) ซึ่งเป็นมาตรการดำเนินงานเพื่อช่วยลดผลกระทบต่อเกษตรกรและชาวประมงจากการถูกตัด GSP สินค้าเกษตรทั้ง 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มสินค้าประมง กลุ่มพืชผักผลไม้ และกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารปรุงแต่ง สรุปได้ดังนี้
1. มาตรการลดผลกระทบต่อเกษตรกรและชาวประมง
1.1 มาตรการดำเนินงานระยะสั้น
1) การสนับสนุนเงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรจำนวน 200 ล้านบาท สำหรับใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนให้โรงงานสับปะรดกระป๋องกู้ผ่านองค์การคลังสินค้า เพื่อรับซื้อสับปะรดจากเกษตรกรตามราคาเป้าหมายนำ และรับจำนำผลิตภัณฑ์สับปะรดในราคารับจำนำร้อยละ 70 ของราคาส่งออกโดยเฉลี่ย โดยมีระยะเวลากู้ยืมเงินตั้งแต่มิถุนายน - ตุลาคม 2542
2) การสนับสนุนเงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรจำนวน 1,000 ล้านบาท ให้ห้องเย็นและผู้ส่งออกยืมเป็นเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยเพื่อรับซื้อกุ้งจากเกษตรกรจำนวน 5,000 ตัน ตามราคาเป้าหมายนำ ภายใต้โครงการเก็บสต๊อคกุ้งกุลาดำเข้าห้องเย็นปี 2541/2542 โดยมีระยะเวลาโครงการตั้งแต่ธันวาคม 2541 - กันยายน 2542
3) การสนับสนุนเงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรจำนวน 470 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นเงินจ่ายขาด420 ล้านบาท สำหรับให้สหกรณ์ประมง/กลุ่มเกษตรกรทำการประมง และองค์การสะพานปลา เพื่อชดเชยการขาดทุนจากการลดราคาน้ำมันให้แก่ชาวประมง และอีก 50 ล้านบาท ให้องค์การสะพานปลากู้ยืมใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการซื้อน้ำมันมาจำหน่าย ภายใต้โครงการช่วยเหลือราคาน้ำมันชาวประมงขนาดเล็ก โดยมีระยะเวลาโครงการตั้งแต่สิงหาคม 2539 - 15 สิงหาคม 2541 และขยายเวลาจนถึง 15 สิงหาคม 2542 และ ณ ปัจจุบันขยายไปจนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม 2543
1.2 มาตรการระยะปานกลางและระยะยาว
เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิตและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐานสากล ตลอดจนการผลิตสินค้ามูลค่าเพิ่มที่หลากหลายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันการส่งออกและลดผลกระทบจากการถูกตัดสิทธิ GSP ได้อย่างถาวรในระยะยาว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีมาตรการที่สำคัญและดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมในแต่ละกลุ่มสินค้า ดังนี้
1) กลุ่มสินค้าประมง
(1) การจัดตั้งกองทุนพัฒนาการประมง ขณะนี้ได้จัดทำร่างระเบียบระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยกองทุนพัฒนาการประมงเรียบร้อยแล้ว และกำลังปรับปรุงรายละเอียดโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป
(2) การจัดตั้งกองทุนวิจัยและพัฒนากุ้ง กรมประมงได้จัดทำร่างระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการใช้จ่ายเงินโครงการจัดตั้งกองทุนวิจัยและพัฒนากุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้งเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาให้ความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ก่อนที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะได้ลงนามในประกาศต่อไป
(3) การจัดระบบน้ำเพื่อการเลี้ยงกุ้ง ได้มีโครงการจัดสร้างระบบชลประทานน้ำเค็ม 5 แห่ง ขณะนี้ดำเนินการแล้วเสร็จ 2 แห่ง คือ ที่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา และที่อ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี ส่วนอีก 3 แห่ง กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง
(4) การกำหนดเขตพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้ง (Zoning) ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ
(5) การจัดทำความตกลงว่าด้วยความเท่าเทียมกันด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Equivalent Agreement : EA) ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป ในสินค้าประมง ปศุสัตว์ และพืช เพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งออกสินค้าเกษตรไปสหภาพยุโรป ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ
(6) การดำเนินมาตรการสนับสนุนการผลิตสินค้าประมงให้ได้คุณภาพมาตรฐานตามระบบควบคุมคุณภาพณ จุดวิกฤติ (HACCP) ตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรป
2) กลุ่มสินค้าพืชผักและผลไม้
มีการจัดตั้งศูนย์ผลักดันสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกเมื่อเดือนพฤษภาคม 2541 (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2541) เพื่อประสานการดำเนินงานแบบครบวงจรตั้งแต่การผลิตจนถึงการตลาด อันเป็นการเพิ่มขีดความสามารถการส่งออกสินค้าเกษตรไทย โดยในระยะเริ่มแรกได้เริ่มผลักดันการส่งออกทุเรียน ลำไย กล้วยไม้ และยางพาราก่อน และจะขยายการส่งออกไปยังพืชเศรษฐกิจอื่นที่สำคัญต่อไป ซึ่งที่ผ่านมามีผลการดำเนินงาน ดังนี้
(1) ได้จัดทำมาตรฐานทุเรียน ลำไย กล้วยไม้ เพื่อการส่งออก
(2) การเผยแพร่ความรู้ด้านมาตรฐานและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตแก่เกษตรกรตามระบบ GAP(Good Agricultural Practice)
(3) การจดทะเบียนรับรองสวนเพื่อการส่งออกและการจดทะเบียนผู้ส่งออก
(4) การจัดสร้างโรงรมควันลำไยที่ได้มาตรฐานตามระบบ GMP และ HACCP จำนวน 5 โรง
(5) การจัดทำเขตผลิตกล้วยไม้ปลอดเพลี้ยไฟในการส่งออกกล้วยไม้ไปสหภาพยุโรป
(6) การประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรไทยในต่างประเทศ และดำเนินการแก้ไขปัญหากรณีการนำเข้าที่เกิดขึ้นของประเทศคู่ค้า
3) กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารปรุงแต่ง (เน้นสับปะรดปรุงแต่ง)
(1) การจัดทำแผนพัฒนาสับปะรดปี 2542 - 2546 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2542 อนุมัติในหลักการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการตามแผนฯ ในวงเงิน 402 ล้านบาท
(2) ให้มีการจัดตั้งสำนักงานพัฒนาสับปะรดแห่งประเทศไทยเพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสับปะรดอย่างเป็นระบบ ครบวงจร ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานตามแผนฯ ซึ่งรวมถึงกิจกรรมการวิจัยพันธุ์ การจัดทำระบบ GAP ในไร่สับปะรด และการใช้ระบบ HACCP ในโรงงานผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐานสากล
1.3 โครงการเงินกู้ ADB/OECF เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร
มีการกำหนดโครงการต่าง ๆ ภายใต้แผนงานจัดสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ สำหรับสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพในการส่งออกและทดแทนการนำเข้า โดยมีโครงการพัฒนาสินค้าเกษตรส่งออกสำคัญที่ไทยถูกตัดสิทธิ GSP รวมอยู่ด้วยหลายโครงการ เช่น1) โครงการพัฒนาการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ 2) โครงการพัฒนาการผลิตกล้วยไม้ และ 3) โครงการพัฒนาการผลิตสับปะรดโรงงาน ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียดโครงการ
2. การดำเนินมาตรการตรวจสอบสินค้านำเข้าจากสหภาพยุโรปที่อาจมีอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค และมีผลกระทบต่อพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
2.1 การตรวจสอบสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตรได้ทำการตรวจสอบโรคแมลงศัตรูพืชในพืชผักผลไม้ที่นำเข้าทุก shipment อยู่แล้วภายใต้พระราชบัญญัติกักพืช 2507 ซึ่งส่วนใหญ่ไม่พบโรคและศัตรูพืชติดมากับผลผลิตและหากพบบ้างก็ทำการกำจัดได้
2.2 การตรวจสอบสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ได้ทำการกักกันและตรวจสอบโรคสัตว์ในสัตว์มีชีวิตที่นำเข้าทุกตัวและสุ่มตรวจเนื้อสัตว์นำเข้า รวมทั้งอาหารสัตว์ที่นำเข้า ตลอดจนมีมาตรการห้ามนำเข้าสัตว์มีชีวิตและผลิตภัณฑ์สัตว์จากประเทศที่มีความเสี่ยงการระบาดของโรคสัตว์
2.3 การตรวจปุ๋ยนำเข้า กรมวิชาการเกษตรและกรมศุลกากรจะร่วมกันชักตัวอย่างปุ๋ยที่นำเข้าเพื่อตรวจวิเคราะห์หากตรงตามที่ขอขึ้นทะเบียน กรมศุลกากรจะปล่อย หากไม่ตรงตามที่ขอขึ้นทะเบียน กรมศุลกากรจะดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้นำเข้าทันที
2.4 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎระเบียบต่าง ๆ เกี่ยวกับการกักกันพืชและสัตว์ที่นำเข้าเป็นระยะ ๆ เพื่อให้ทันกับสถานการณ์และสอดคล้องกัน รวมทั้งไม่ขัดต่อความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชภายใต้ WTO และจะดำเนินมาตรการตรวจสอบสินค้านำเข้าให้เข้มงวดมากขึ้นภายใต้กฎระเบียบที่มีอยู่
2.5 การตรวจสอบอาหารที่นำเข้า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อให้มีอำนาจในการตรวจสอบสินค้าอาหารนำเข้าตามพระราชบัญญัติอาหารและยาด้วยแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 25 ตุลาคม 2542--