เรื่อง รายงานการส่งออก-นำเข้าสินค้าระหว่างไทย-จีน (1 ต.ค.46-28 ก.พ.48) ไทย-อินเดีย
(1 ก.ย.-47-28 ก.พ.48) และไทย-ออสเตรเลีย (1 ม.ค.48-28 ก.พ.48)
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์รายงานการส่งออก-นำเข้าสินค้าภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทย-จีน (1 ต.ค.46-28 ก.พ.48) ไทย-อินเดีย (1 ก.ย.47-28 ก.พ.48) และไทย-ออสเตรเลีย (1 ม.ค.48-28 ก.พ.48) สรุปได้ดังนี้
1. การออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า
กระทรวงพาณิชย์ได้ออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าสำหรับการส่งสินค้าออกไปยังประเทศที่มีข้อตกลงฯ ดังกล่าว ดังนี้
1.1 ระหว่างไทย-จีน
สำหรับการส่งออกสินค้าพิกัดฯ 01-08 ตั้งแต่ 1 ต.ค.46-28 ก.พ.48 จำนวน 19,129 ฉบับ ปริมาณ 4,015,119 ตัน มูลค่า 18,985.69 ล้านบาท สินค้าที่ขอหนังสือรับรองฯ มากที่สุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังชนิดเป็นชิ้น รองลงมาคือ ลำไยสด และทุเรียนสด
1.2 ระหว่างไทย-อินเดีย
สำหรับการส่งออกสินค้าตามข้อตกลงฯ จำนวน 82 รายการ ตั้งแต่ 1 ก.ย.47-28 ก.พ.48 จำนวน 597 ฉบับ มูลค่า 1,515.79 ล้านบาท สินค้าที่ขอหนังสือรับรองฯ มากที่สุด ได้แก่ โพลิคาร์บอเนต รองลงมาคือ หลอดภาพแคโทดเรย์ของเครื่องรับโทรทัศน์สี และเครื่องรับโทรทัศน์สี
1.3 ระหว่างไทย-ออสเตรเลีย
สำหรับการส่งออกสินค้าตามข้อตกลงฯ จำนวน 5,505 รายการ ตั้งแต่ 1 ม.ค.-28 ก.พ.48 จำนวน 1,666 ฉบับ มูลค่า 4,716.6 ล้านบาท สินค้าที่ขอหนังสือรับรองฯ มากที่สุด ได้แก่ ยานยนต์สำหรับขนส่งของ รองลงมาคือ รถยนต์และยานยนต์อื่น ๆ ที่ออกแบบสำหรับขนส่งบุคคลเป็นหลัก และปลาที่ปรุงแต่งหรือทำไว้ไม่ให้เสีย
2. การส่งออก-นำเข้าตามข้อมูลสถิติของกรมศุลกากร
2.1 ระหว่างไทย-จีน
ตั้งแต่ 1 ต.ค.46-31 ม.ค.48 ไทยส่งออกสินค้าพิกัดฯ 01-08 ปริมาณ 3,681,736 ตัน มูลค่า 17,105.33 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 45 และ 27 ตามลำดับ สินค้าส่งออกที่มีมูลค่ามากที่สุดได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังชนิดเป็นชิ้น รองลงมาคือ ลำไยแห้งและลำไยสด ในขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าพิกัด 01-08 ปริมาณ 400,930 ตัน มูลค่า 8,643.15 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 56 และ 41 ตามลำดับ สินค้านำเข้าที่มีมูลค่ามากที่สุดได้แก่ แอปเปิ้ลสด รองลงมาคือ ปลาแช่แข็ง แพร์และควินส์สด โดยตั้งแต่ ต.ค.46-ม.ค.48 ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ากับจีน จำนวน 8,462.18 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนได้ดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15
2.2 ระหว่างไทย-อินเดีย
ตั้งแต่ 1 ก.ย.47-31 ม.ค.48 ไทยส่งออกสินค้าตามข้อตกลงฯ จำนวน 82 รายการ มูลค่า 3,424.81 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 121 สินค้าส่งออกที่มีมูลค่ามากที่สุด ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์สี รองลงมาคือ โพลิคาร์บอเนต และส่วนประกอบของเครื่องยนต์ ในขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าตามข้อตกลงฯ จำนวน 82 รายการ มูลค่า 844.87 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 39 สินค้านำเข้าที่มีมูลค่ามากที่สุด ได้แก่ กระปุกเกียร์ รองลงมาคือ อะลูมิเนียมออกไซด์นอกจากคอรันดัมประดิษฐ์ และหลอดภาพแคโทดเรย์ของเครื่องรับโทรทัศน์สี โดยตั้งแต่ ก.ย.47- ม.ค.48 ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ากับอินเดีย จำนวน 2,579.94 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนได้ดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1,458
2.3 ระหว่างไทย-ออสเตรเลีย
ตั้งแต่ 1-31 ม.ค. 48 ไทยส่งออกสินค้าตามข้อตกลงฯ จำนวน 5,505 รายการ มูลค่า 7,481.26 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 18 สินค้าส่งออกที่มีมูลค่ามากที่สุด ได้แก่ รถบรรทุกชนิดแวนและชนิดปิกอัพ รองลงมาคือ เครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่างหรือติดผนัง และปลาทูน่า ในขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าตามข้อตกลงฯ จำนวน 5,505 รายการ มูลค่า 10,812.52 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 89 สินค้านำเข้าที่มีมูลค่ามากที่สุด ได้แก่ ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป รองลงมาคือ น้ำมันปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส
โดยในเดือน ม.ค.48 ไทยขาดดุลการค้ากับออสเตรเลีย จำนวน 3,331.26 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนซึ่งได้ดุลการค้า 620.66 ล้านบาท ขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 637 เพราะได้มีการนำเข้าทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูปเป็นมูลค่า 5,502.98 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 51 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดเนื่องจากราคาทองคำลดลงและใกล้เทศกาลตรุษจีน จึงมีการซื้อเข้าเก็บเพื่อเก็งกำไร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 เมษายน 2548--จบ--
(1 ก.ย.-47-28 ก.พ.48) และไทย-ออสเตรเลีย (1 ม.ค.48-28 ก.พ.48)
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์รายงานการส่งออก-นำเข้าสินค้าภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทย-จีน (1 ต.ค.46-28 ก.พ.48) ไทย-อินเดีย (1 ก.ย.47-28 ก.พ.48) และไทย-ออสเตรเลีย (1 ม.ค.48-28 ก.พ.48) สรุปได้ดังนี้
1. การออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า
กระทรวงพาณิชย์ได้ออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าสำหรับการส่งสินค้าออกไปยังประเทศที่มีข้อตกลงฯ ดังกล่าว ดังนี้
1.1 ระหว่างไทย-จีน
สำหรับการส่งออกสินค้าพิกัดฯ 01-08 ตั้งแต่ 1 ต.ค.46-28 ก.พ.48 จำนวน 19,129 ฉบับ ปริมาณ 4,015,119 ตัน มูลค่า 18,985.69 ล้านบาท สินค้าที่ขอหนังสือรับรองฯ มากที่สุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังชนิดเป็นชิ้น รองลงมาคือ ลำไยสด และทุเรียนสด
1.2 ระหว่างไทย-อินเดีย
สำหรับการส่งออกสินค้าตามข้อตกลงฯ จำนวน 82 รายการ ตั้งแต่ 1 ก.ย.47-28 ก.พ.48 จำนวน 597 ฉบับ มูลค่า 1,515.79 ล้านบาท สินค้าที่ขอหนังสือรับรองฯ มากที่สุด ได้แก่ โพลิคาร์บอเนต รองลงมาคือ หลอดภาพแคโทดเรย์ของเครื่องรับโทรทัศน์สี และเครื่องรับโทรทัศน์สี
1.3 ระหว่างไทย-ออสเตรเลีย
สำหรับการส่งออกสินค้าตามข้อตกลงฯ จำนวน 5,505 รายการ ตั้งแต่ 1 ม.ค.-28 ก.พ.48 จำนวน 1,666 ฉบับ มูลค่า 4,716.6 ล้านบาท สินค้าที่ขอหนังสือรับรองฯ มากที่สุด ได้แก่ ยานยนต์สำหรับขนส่งของ รองลงมาคือ รถยนต์และยานยนต์อื่น ๆ ที่ออกแบบสำหรับขนส่งบุคคลเป็นหลัก และปลาที่ปรุงแต่งหรือทำไว้ไม่ให้เสีย
2. การส่งออก-นำเข้าตามข้อมูลสถิติของกรมศุลกากร
2.1 ระหว่างไทย-จีน
ตั้งแต่ 1 ต.ค.46-31 ม.ค.48 ไทยส่งออกสินค้าพิกัดฯ 01-08 ปริมาณ 3,681,736 ตัน มูลค่า 17,105.33 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 45 และ 27 ตามลำดับ สินค้าส่งออกที่มีมูลค่ามากที่สุดได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังชนิดเป็นชิ้น รองลงมาคือ ลำไยแห้งและลำไยสด ในขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าพิกัด 01-08 ปริมาณ 400,930 ตัน มูลค่า 8,643.15 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 56 และ 41 ตามลำดับ สินค้านำเข้าที่มีมูลค่ามากที่สุดได้แก่ แอปเปิ้ลสด รองลงมาคือ ปลาแช่แข็ง แพร์และควินส์สด โดยตั้งแต่ ต.ค.46-ม.ค.48 ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ากับจีน จำนวน 8,462.18 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนได้ดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15
2.2 ระหว่างไทย-อินเดีย
ตั้งแต่ 1 ก.ย.47-31 ม.ค.48 ไทยส่งออกสินค้าตามข้อตกลงฯ จำนวน 82 รายการ มูลค่า 3,424.81 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 121 สินค้าส่งออกที่มีมูลค่ามากที่สุด ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์สี รองลงมาคือ โพลิคาร์บอเนต และส่วนประกอบของเครื่องยนต์ ในขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าตามข้อตกลงฯ จำนวน 82 รายการ มูลค่า 844.87 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 39 สินค้านำเข้าที่มีมูลค่ามากที่สุด ได้แก่ กระปุกเกียร์ รองลงมาคือ อะลูมิเนียมออกไซด์นอกจากคอรันดัมประดิษฐ์ และหลอดภาพแคโทดเรย์ของเครื่องรับโทรทัศน์สี โดยตั้งแต่ ก.ย.47- ม.ค.48 ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ากับอินเดีย จำนวน 2,579.94 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนได้ดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1,458
2.3 ระหว่างไทย-ออสเตรเลีย
ตั้งแต่ 1-31 ม.ค. 48 ไทยส่งออกสินค้าตามข้อตกลงฯ จำนวน 5,505 รายการ มูลค่า 7,481.26 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 18 สินค้าส่งออกที่มีมูลค่ามากที่สุด ได้แก่ รถบรรทุกชนิดแวนและชนิดปิกอัพ รองลงมาคือ เครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่างหรือติดผนัง และปลาทูน่า ในขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าตามข้อตกลงฯ จำนวน 5,505 รายการ มูลค่า 10,812.52 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 89 สินค้านำเข้าที่มีมูลค่ามากที่สุด ได้แก่ ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป รองลงมาคือ น้ำมันปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส
โดยในเดือน ม.ค.48 ไทยขาดดุลการค้ากับออสเตรเลีย จำนวน 3,331.26 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนซึ่งได้ดุลการค้า 620.66 ล้านบาท ขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 637 เพราะได้มีการนำเข้าทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูปเป็นมูลค่า 5,502.98 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 51 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดเนื่องจากราคาทองคำลดลงและใกล้เทศกาลตรุษจีน จึงมีการซื้อเข้าเก็บเพื่อเก็งกำไร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 เมษายน 2548--จบ--