ทำเนียบรัฐบาล--30 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติการว่าจ้างเอกชนมาดำเนินโครงการทางด่วนสายบางนา-บางพลี- บางปะกง ในลักษณะจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) รวม 4 ข้อ ดังนี้
1.ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ว่าจ้าง BBCD Joint Venture เป็นผู้รับจ้าง ดำเนินโครงการทางด่วนสายบางนา-บางพลี-บางปะกง ในลักษณะจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) ในวงเงิน 25,196,442,000 บาท ซึ่งรวมภาษีมูลค่าเพิ่มและค่าใช้จ่ายด้านการเงินแล้ว โดยก่อสร้าง เป็นทางด่วนยกระดับ 6 ช่องจราจร แบบ Segmental Box Girder เพื่อรองรับปริมาณการจราจรที่ จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต เนื่องมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภาคตะวันออก มีความยาว 55 กิโลเมตร สูง 14.500 เมาตร จากระดับดินเดิม (ยกเว้นบริเวณที่ตัดกับทางแยกต่างระดับหรือ สะพานลอดตามแผนงานของกรมทางหลวง ซึ่งจะมีความสูง 17.500 เมตร จากระดับเดิม) มีจุดเริ่มต้น ที่ กม. 0+500 ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 (ตอนบางนา-บางปะกง) ไปทิศตะวันออก ข้าม แม่น้ำบางปะกง และสิ้นสุดโครงการที่ กม. 55+350 อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีทาง ขึ้น-ลงทางด่วนทั้งหมด 11 แห่ง และสามารถต่อเชื่อมกับโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการท่าอากาศ ยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2 (หนองงูเห่า) และโครงการอื่น ๆ ได้ และการก่อสร้างแบ่งออกเป็น 8 ส่วนงาน โดยส่วนแรก (กม. 0+500 ถึง กม. 9+000 จะแล้วเสร็จและเปิดใช้งานได้ภายใน 20 เดือน นับจากวันเริ่มงาน และการก่อสร้างทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายใน42เดือน นับจากวันเริ่มงาน โดยระหว่างก่อสร้างการทางพิเศษแห่งประเทศไทย จะกำกับดูแลมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางหลวงแผ่น ดินหมายเลข 34 (ตอนบางนา-บางปะกง) ตลอดจนให้มีแผนการจัดการจราจรระหว่างก่อสร้างเพื่อมิ ให้เกิดอุปสรรคแก่การสัญจรไปมาของยวดยานบนทางหลวงดังกล่าว
2. อนุมัติวงเงินตามรายการเผื่อเลือก จำนวน 2,291,931,000 บาท ในกรณีที่กรมทาง หลวงประสงค์จะให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเพิ่มระดับความสูงของทางด่วนเป็น 17.500 เมตร จากระดับดินเดิมตลอดสาย และก่อสร้างทางแยกต่างระดับอีก 3 แห่ง ตามเงื่อนไขที่การทางพิเศษ แห่งประเทศไทยได้ตกลงกับ BBCD Joint Venture
3. ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ส่งร่างสัญญาจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) ที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และ BBCD Joint Venture ได้ร่วมกันพิจารณายกร่างขึ้น ตามข้อ ตกลงและผลการเจรจาให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณา และให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยลงนาม ในสัญญาดังกล่าวหลังจากที่สำนักงานอัยการสูงสุดให้ความเห็นชอบแล้ว
4. ให้กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมกันพิจารณาเพื่อกำหนดแผนและวิธีระดมเงินให้สอดคล้อง กับหลักการของโครงการนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรี
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีมีข้อสังเกตเพิ่มเติม ดังนี้
1. เนื่องจากการก่อสร้างทางด่วนยกระดับสายบางนา-บางพลี-บางปะกง ของการทาง พิเศษแห่งประเทศไทยจะต้องก่อสร้างโดยใช้เขตทางหลวงสายบางนา-บางปะกง (ทางหลวงหมายเลข 34) ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างเช่นในกรณี ของโครงการดอนเมืองโทลล์เวย์ และโครงการถนน/ทางรถไฟยกระดับของบริษัทโฮปเวลล์ (ประเทศ ไทย) จำกัด ซึ่งปัจจุบันปรากฏว่ามีความไม่สอดคล้องกันด้านรูปแบบกายภาพ เนื่องจากขาดการประสาน ในรายละเอียดระหว่างหย่วยงานทั้งสองในขั้นก่อนเซ็นสัญญาดังนั้นจึงเห็นควรให้การทางพิเศษแห่ง ประเทศไทยและกรมทางหลวงเจรจาตกลงกันเพื่อให้ได้ข้อยุติในรายละเอียดที่ชัดเจนเสียก่อน ก่อนที่ จะลงนามในสัญญาว่าจ้างบริษัทเอกชนต่อไป
2.ควรกำหนดนโยบายของการลงทุนโครงการทางด่วนในเขตเมืองสายนี้ ให้มีรายได้จาก ค่าผ่านทางตลอดอายุโครงการประมาณ25ปี เพียงพอที่จะจ่ายคืนเงินลงทุนและดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจาก โครงการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 พฤศจิกายน 2537--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติการว่าจ้างเอกชนมาดำเนินโครงการทางด่วนสายบางนา-บางพลี- บางปะกง ในลักษณะจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) รวม 4 ข้อ ดังนี้
1.ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ว่าจ้าง BBCD Joint Venture เป็นผู้รับจ้าง ดำเนินโครงการทางด่วนสายบางนา-บางพลี-บางปะกง ในลักษณะจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) ในวงเงิน 25,196,442,000 บาท ซึ่งรวมภาษีมูลค่าเพิ่มและค่าใช้จ่ายด้านการเงินแล้ว โดยก่อสร้าง เป็นทางด่วนยกระดับ 6 ช่องจราจร แบบ Segmental Box Girder เพื่อรองรับปริมาณการจราจรที่ จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต เนื่องมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภาคตะวันออก มีความยาว 55 กิโลเมตร สูง 14.500 เมาตร จากระดับดินเดิม (ยกเว้นบริเวณที่ตัดกับทางแยกต่างระดับหรือ สะพานลอดตามแผนงานของกรมทางหลวง ซึ่งจะมีความสูง 17.500 เมตร จากระดับเดิม) มีจุดเริ่มต้น ที่ กม. 0+500 ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 (ตอนบางนา-บางปะกง) ไปทิศตะวันออก ข้าม แม่น้ำบางปะกง และสิ้นสุดโครงการที่ กม. 55+350 อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีทาง ขึ้น-ลงทางด่วนทั้งหมด 11 แห่ง และสามารถต่อเชื่อมกับโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการท่าอากาศ ยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2 (หนองงูเห่า) และโครงการอื่น ๆ ได้ และการก่อสร้างแบ่งออกเป็น 8 ส่วนงาน โดยส่วนแรก (กม. 0+500 ถึง กม. 9+000 จะแล้วเสร็จและเปิดใช้งานได้ภายใน 20 เดือน นับจากวันเริ่มงาน และการก่อสร้างทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายใน42เดือน นับจากวันเริ่มงาน โดยระหว่างก่อสร้างการทางพิเศษแห่งประเทศไทย จะกำกับดูแลมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางหลวงแผ่น ดินหมายเลข 34 (ตอนบางนา-บางปะกง) ตลอดจนให้มีแผนการจัดการจราจรระหว่างก่อสร้างเพื่อมิ ให้เกิดอุปสรรคแก่การสัญจรไปมาของยวดยานบนทางหลวงดังกล่าว
2. อนุมัติวงเงินตามรายการเผื่อเลือก จำนวน 2,291,931,000 บาท ในกรณีที่กรมทาง หลวงประสงค์จะให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเพิ่มระดับความสูงของทางด่วนเป็น 17.500 เมตร จากระดับดินเดิมตลอดสาย และก่อสร้างทางแยกต่างระดับอีก 3 แห่ง ตามเงื่อนไขที่การทางพิเศษ แห่งประเทศไทยได้ตกลงกับ BBCD Joint Venture
3. ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ส่งร่างสัญญาจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) ที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และ BBCD Joint Venture ได้ร่วมกันพิจารณายกร่างขึ้น ตามข้อ ตกลงและผลการเจรจาให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณา และให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยลงนาม ในสัญญาดังกล่าวหลังจากที่สำนักงานอัยการสูงสุดให้ความเห็นชอบแล้ว
4. ให้กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมกันพิจารณาเพื่อกำหนดแผนและวิธีระดมเงินให้สอดคล้อง กับหลักการของโครงการนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรี
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีมีข้อสังเกตเพิ่มเติม ดังนี้
1. เนื่องจากการก่อสร้างทางด่วนยกระดับสายบางนา-บางพลี-บางปะกง ของการทาง พิเศษแห่งประเทศไทยจะต้องก่อสร้างโดยใช้เขตทางหลวงสายบางนา-บางปะกง (ทางหลวงหมายเลข 34) ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างเช่นในกรณี ของโครงการดอนเมืองโทลล์เวย์ และโครงการถนน/ทางรถไฟยกระดับของบริษัทโฮปเวลล์ (ประเทศ ไทย) จำกัด ซึ่งปัจจุบันปรากฏว่ามีความไม่สอดคล้องกันด้านรูปแบบกายภาพ เนื่องจากขาดการประสาน ในรายละเอียดระหว่างหย่วยงานทั้งสองในขั้นก่อนเซ็นสัญญาดังนั้นจึงเห็นควรให้การทางพิเศษแห่ง ประเทศไทยและกรมทางหลวงเจรจาตกลงกันเพื่อให้ได้ข้อยุติในรายละเอียดที่ชัดเจนเสียก่อน ก่อนที่ จะลงนามในสัญญาว่าจ้างบริษัทเอกชนต่อไป
2.ควรกำหนดนโยบายของการลงทุนโครงการทางด่วนในเขตเมืองสายนี้ ให้มีรายได้จาก ค่าผ่านทางตลอดอายุโครงการประมาณ25ปี เพียงพอที่จะจ่ายคืนเงินลงทุนและดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจาก โครงการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 พฤศจิกายน 2537--