ทำเนียบรัฐบาล--9 ธ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการลดการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาวิตต์โพธิวิหค) เสนอว่า เนื่องจากประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปจากต่างประเทศกว่าร้อยละ 90 ของความต้องการใช้ในประเทศ โดยในปี 2541 คาดว่ามูลค่านำเข้าจะอยู่ในระดับ 200,000 ล้านบาท จึงเห็นว่าหากได้มีการพิจารณาหามาตรการที่จะช่วยชะลอการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศลงได้บ้าง ก็จะช่วยแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ ได้ประชุมหารือกับกลุ่มโรงกลั่นน้ำมันและผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ รวม 7 ราย คือ บริษัท ไทยออยส์ จำกัด บริษัทเอสโซ่(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด บริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด และบริษัทคาลเท็กซ์ (ไทย) จำกัด รวมทั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) และ ปตท. เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2540 และมีความเห็นร่วมกันว่าควรมีการปรับปรุงแก้ไขกฎเกณฑ์ของรัฐในเรื่องการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นการชั่วคราว โดยให้มีการลดปริมาณการสำรองน้ำมันลง ซึ่งจะช่วยให้สามารถนำน้ำมันที่เก็บสำรองไว้ในประเทศบางส่วนออกมาจำหน่ายทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้1. แนวทางการดำเนินการ
1.1 ลดอัตราการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงจากปัจจุบันซึ่งกำหนดไว้โดยประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 4(พ.ศ. 2539) ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2539 ดังนี้
น้ำมันที่ผลิตในประเทศ น้ำมันที่นำเข้าชนิดน้ำมัน อัตราเดิม อัตราใหม่ อัตราเดิม อัตราใหม่1. เบนซินทุกชนิด2. ก๊าดและ เจ.พี. 13. ดีเซล4. เตา5. น้ำมันดิบ 55555 33333 1010555 66333
ทั้งนี้ เป็นการลดการสำรองน้ำมันเพียงชั่วคราว และถ้ามีเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้นทำให้เสี่ยงภัยต่อการขาดแคลนน้ำมันรัฐบาลจะปรับอัตราการสำรองเพิ่มขึ้นทันที
1.2 ยกเว้นการสำรองน้ำมันดิบในส่วนที่โรงกลั่นน้ำมันจัดหามาเพื่อใช้ในการกลั่นเพื่อส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปซึ่งปัจจุบันอยู่ในระดับ 11% ของปริมาณการกลั่นทั้งหมด
2. การลดการสำรองน้ำมันดังกล่าวจะทำให้
2.1 ช่วยลดการนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป เป็นมูลค่ารวมกันประมาณ 9,437 ล้านบาท ทำให้ประหยัดเงินสำรองระหว่างประเทศได้ 236 ล้านเหรียญสหรัฐ
2.2 ช่วยลดต้นทุนการจำหน่ายน้ำมันซึ่งจะนำไปสู่การลดราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน ก๊าด ดีเซล และเตาได้ในระดับ 4 - 6 สตางค์/ลิตร
2.3 ช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินและลดต้นทุนการสำรองน้ำมันของโรงกลั่นน้ำมันและผู้ค้าน้ำมัน ซึ่งได้รับผลกระทบค่อนข้างมากจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา และภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวเนื่องจากมีเงินกู้ต่างประเทศมาก ทั้งนี้ เพื่อให้อุตสาหกรรมน้ำมันซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของการพัฒนาประเทศสามารถปรับตัวจากภาวะการขาดสภาพคล่อง ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจเกิดการฟื้นฟูขึ้นได้
2.4 ช่วยเพิ่มสภาพคล่องของระบบการเงินของประเทศ ประมาณ 11,064 ล้านบาท โดยโรงกลั่นน้ำมันและผู้ค้าน้ำมันตกลงที่จะไม่นำเงินดังกล่าวไปชำระคืนหนี้สินในต่างประเทศ
คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีมติอนุมัติหลักการ ดังนี้
1. อนุมัติให้กระทรวงพาณิชย์รับไปดำเนินการแก้ไขประกาศกระทรวงพาณิชย์ลดอัตราการสำรองน้ำมันให้เป็นไปตามข้อ 1.1 และยกเว้นการสำรองน้ำมันดิบที่ใช้ในการกลั่นเพื่อส่งออกตามข้อ 1.2 และให้มีผลบังคับใช้ทันที
2. มอบหมายให้ สพช. และกรมทะเบียนการค้าติดตามภาวะการค้าน้ำมันในตลาดโลกอย่างใกล้ชิด หากมีเหตุการณ์ที่จะกระทบต่อการจัดหาน้ำมันเกิดขึ้น ให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งสั่งการและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในเรื่องพลังงาน แจ้งให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการปรับอัตราสำรองให้สูงขึ้นได้ตามความเหมาะสม
3. มอบหมายให้ สพช. กรมทะเบียนการค้า และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยรับไปดำเนินการร่วมกับผู้ค้าน้ำมัน ในการจัดทำแผนปฏิบัติการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับกรณีที่อาจเกิดภาวะไม่ปกติในการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 9 ธันวาคม 2540--
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการลดการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาวิตต์โพธิวิหค) เสนอว่า เนื่องจากประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปจากต่างประเทศกว่าร้อยละ 90 ของความต้องการใช้ในประเทศ โดยในปี 2541 คาดว่ามูลค่านำเข้าจะอยู่ในระดับ 200,000 ล้านบาท จึงเห็นว่าหากได้มีการพิจารณาหามาตรการที่จะช่วยชะลอการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศลงได้บ้าง ก็จะช่วยแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ ได้ประชุมหารือกับกลุ่มโรงกลั่นน้ำมันและผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ รวม 7 ราย คือ บริษัท ไทยออยส์ จำกัด บริษัทเอสโซ่(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด บริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด และบริษัทคาลเท็กซ์ (ไทย) จำกัด รวมทั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) และ ปตท. เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2540 และมีความเห็นร่วมกันว่าควรมีการปรับปรุงแก้ไขกฎเกณฑ์ของรัฐในเรื่องการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นการชั่วคราว โดยให้มีการลดปริมาณการสำรองน้ำมันลง ซึ่งจะช่วยให้สามารถนำน้ำมันที่เก็บสำรองไว้ในประเทศบางส่วนออกมาจำหน่ายทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้1. แนวทางการดำเนินการ
1.1 ลดอัตราการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงจากปัจจุบันซึ่งกำหนดไว้โดยประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 4(พ.ศ. 2539) ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2539 ดังนี้
น้ำมันที่ผลิตในประเทศ น้ำมันที่นำเข้าชนิดน้ำมัน อัตราเดิม อัตราใหม่ อัตราเดิม อัตราใหม่1. เบนซินทุกชนิด2. ก๊าดและ เจ.พี. 13. ดีเซล4. เตา5. น้ำมันดิบ 55555 33333 1010555 66333
ทั้งนี้ เป็นการลดการสำรองน้ำมันเพียงชั่วคราว และถ้ามีเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้นทำให้เสี่ยงภัยต่อการขาดแคลนน้ำมันรัฐบาลจะปรับอัตราการสำรองเพิ่มขึ้นทันที
1.2 ยกเว้นการสำรองน้ำมันดิบในส่วนที่โรงกลั่นน้ำมันจัดหามาเพื่อใช้ในการกลั่นเพื่อส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปซึ่งปัจจุบันอยู่ในระดับ 11% ของปริมาณการกลั่นทั้งหมด
2. การลดการสำรองน้ำมันดังกล่าวจะทำให้
2.1 ช่วยลดการนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป เป็นมูลค่ารวมกันประมาณ 9,437 ล้านบาท ทำให้ประหยัดเงินสำรองระหว่างประเทศได้ 236 ล้านเหรียญสหรัฐ
2.2 ช่วยลดต้นทุนการจำหน่ายน้ำมันซึ่งจะนำไปสู่การลดราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน ก๊าด ดีเซล และเตาได้ในระดับ 4 - 6 สตางค์/ลิตร
2.3 ช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินและลดต้นทุนการสำรองน้ำมันของโรงกลั่นน้ำมันและผู้ค้าน้ำมัน ซึ่งได้รับผลกระทบค่อนข้างมากจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา และภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวเนื่องจากมีเงินกู้ต่างประเทศมาก ทั้งนี้ เพื่อให้อุตสาหกรรมน้ำมันซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของการพัฒนาประเทศสามารถปรับตัวจากภาวะการขาดสภาพคล่อง ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจเกิดการฟื้นฟูขึ้นได้
2.4 ช่วยเพิ่มสภาพคล่องของระบบการเงินของประเทศ ประมาณ 11,064 ล้านบาท โดยโรงกลั่นน้ำมันและผู้ค้าน้ำมันตกลงที่จะไม่นำเงินดังกล่าวไปชำระคืนหนี้สินในต่างประเทศ
คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีมติอนุมัติหลักการ ดังนี้
1. อนุมัติให้กระทรวงพาณิชย์รับไปดำเนินการแก้ไขประกาศกระทรวงพาณิชย์ลดอัตราการสำรองน้ำมันให้เป็นไปตามข้อ 1.1 และยกเว้นการสำรองน้ำมันดิบที่ใช้ในการกลั่นเพื่อส่งออกตามข้อ 1.2 และให้มีผลบังคับใช้ทันที
2. มอบหมายให้ สพช. และกรมทะเบียนการค้าติดตามภาวะการค้าน้ำมันในตลาดโลกอย่างใกล้ชิด หากมีเหตุการณ์ที่จะกระทบต่อการจัดหาน้ำมันเกิดขึ้น ให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งสั่งการและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในเรื่องพลังงาน แจ้งให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการปรับอัตราสำรองให้สูงขึ้นได้ตามความเหมาะสม
3. มอบหมายให้ สพช. กรมทะเบียนการค้า และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยรับไปดำเนินการร่วมกับผู้ค้าน้ำมัน ในการจัดทำแผนปฏิบัติการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับกรณีที่อาจเกิดภาวะไม่ปกติในการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 9 ธันวาคม 2540--