คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานความก้าวหน้านโยบายรณรงค์ให้ใช้สินค้าไทย ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ติดตามและกำกับการดำเนินนโยบายรณรงค์ให้ใช้สินค้าไทย ซึ่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติยกร่างกรอบแนวคิดหลักในการรณรงค์ให้ใช้สินค้าไทย (รณรงค์นิยมไทย) และเป็นแกนกลางประสานดำเนินการระดมความคิดเห็น เพื่อประมวลวิเคราะห์จัดทำเป็นแผนหลักสู่การปฏิบัติต่อไป โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. สาระสำคัญของกรอบแนวคิด
1.1 สภาพปัจจุบันและแนวโน้ม ภาวะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่มลดลง โดยการนำเข้าขยายตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการเริ่มฟื้นตัวของเศรษฐกิจ น้ำมันที่มีราคาสูงขึ้นในตลาดโลก และสินค้าอุปโภคบริโภคนำเข้ามากขึ้น ส่วนการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะเดือนมกราคม 2544 มีการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยถึง1,751 ล้านบาท
1.2 จุดมุ่งหมาย เพื่อเป็นกลยุทธหนึ่งในการแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด โดยลดการนำเข้าสินค้าต่างประเทศ ควรบริโภคสินค้าและบริการของไทยแทน โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของคนไทย นับเป็นการขยายตลาดสินค้าภายในประเทศ ซึ่งช่วยเสริมสร้างให้เศรษฐกิจภายในมีความแข็งแกร่งและสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็งขึ้น ดังนั้น จึงเห็นควรกำหนดจุดมุ่งหมายหลักของการดำเนินงานเป็น 3 ประการ ได้แก่
1) การลดการนำเข้าสินค้านอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าฟุ่มเฟือยและสินค้าอุปโภคบริโภค
2) การประหยัดเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าสินค้าทั่วไป รวมทั้งสินค้าจำเป็น เช่น น้ำมัน หรือสินค้าทุน เป็นต้น
3) การเสริมสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจภายใน/เศรษฐกิจชุมชน
1.3 กรอบแนวคิดในการรณรงค์ "นิยมไทย" การดำเนินงานประกอบด้วย 3 แนวทางหลัก ได้แก่
1) การรณรงค์ปลูกฝังจิตสำนึกคนทั่วไป โดยวิธีรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องด้วยวิธีการและรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ส่งเสริมให้ผู้นำในสังคมเป็นแบบอย่างการบริโภคสร้างเสริมและปลูกฝังพฤติกรรมการนิยมบริโภคสินค้าและบริการของไทยในหมู่ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่วัยเด็กและวัยเยาวชน รวมทั้งงดใช้สินค้าฟุ่มเฟือยและลดความฟุ้งเฟ้อ
2) การส่งเสริมให้ภาครัฐทั้งส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจมีบทบาทนำในการประหยัดเงินตราต่างประเทศและลดการนำเข้า โดย
(1) ชะลอ-ลด-งดการใช้วัสดุ ครุภัณฑ์จากต่างประเทศ และหันมาใช้ของที่ผลิตได้ในประเทศแทน
(2) ชะลอ-ลด-งดการใช้บริการที่ปรึกษาต่างประเทศ และหันมาใช้ที่ปรึกษาไทยแทน เช่น บริษัทวิศวกรที่ปรึกษา/ที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการ/การเงิน
(3) ส่งเสริมให้มีการวิจัย (เชิงพาณิชย์) เพื่อพัฒนาสินค้าทดแทนการนำเข้า รวมถึงพัฒนารูปแบบสินค้าไทยให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและรสนิยมของผู้บริโภค
(4) ให้สินเชื่อหรือร่วมทุนผลิตสินค้าทดแทนการนำเข้าและผลิตภัณฑ์ไทยใหม่ ๆ
3) การเชื่อมโยงภาคการผลิต (ทั้งผลิต บรรจุหีบห่อ ตลาด และส่งเสริมการใช้) โดยการพัฒนาคุณภาพ/มาตรฐานสินค้าและบริการของไทย อีกทั้งการส่งเสริมสินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังต่อไปนี้
(1) ภาคเกษตร ส่งเสริมสินค้าที่เดิมตลาดเป็นของสินค้านอกหรือมีศักยภาพจะพัฒนาต่อไปเช่น สมุนไพร (เพื่อสุขภาพและความงาม) อาหารสุขภาพ ผลไม้ เครื่องดื่มพื้นบ้าน เป็นต้น
(2) ภาคอุตสาหกรรม ส่งเสริมให้ผลิต ออกแบบพัฒนา และรับรองมาตรฐานสินค้าที่มีความได้เปรียบและมีวัตถุดิบในประเทศมาก เช่น เครื่องประดับ อัญมณี เครื่องหนัง สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
(3) ภาคบริการ พัฒนาคุณภาพ มาตรฐานของบริการให้ทัดเทียมนานาประเทศ เช่น บริการที่ปรึกษา บริการการศึกษานานาชาติ รวมทั้งพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยวภายในประเทศ เช่น การเดินทางร้านอาหาร ของที่ระลึก ที่พักแรมในชุมชน เป็นต้น
2. แนวทางการดำเนินงานในระยะเฉพาะหน้า
เพื่อประสานการดำเนินงานตามนโยบายนิยมไทยที่มีการดำเนินงานโดยหน่วยงานต่าง ๆ ให้มีเอกภาพประหยัดทรัพยากร และเกิดพลังในการขับเคลื่อนสังคมไทยให้ตระหนักและเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นนิยมไทยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้วางแผนการดำเนินงานในระยะเฉพาะหน้า และได้ประมาณการค่าใช้จ่ายเบื้องต้น ดังนี้
แผนการดำเนินงาน
1) เสวนา หารือ ประชุมกับภาครัฐและเอกชน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการเพื่อจัดทำกรอบแนวทาง/มาตรการในรายละเอียด
2) ประสานและสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะจากภาคธุรกิจเอกชนและภาคประชาชน
3) ประสานการจัดทำแผนปฏิบัติการและกิจกรรมการดำเนินงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยแบ่งงาน-หน้าที่รับผิดชอบที่ชัดเจนเพื่อป้องกันความซ้ำซ้อน และใช้เป็นกรอบในการขอรับการสนับสนุนการดำเนินงานทั้งเงินและคน
4) ติดตามความก้าวหน้าตามเป้าหมายที่กำหนดในแต่ละห้วงเวลา และรายงานเป็นระยะ ๆ
5) ประชาสัมพันธ์ ในระหว่างการดำเนินงานในวงกว้างเพื่อสร้างความตื่นตัวต่อสาธารณชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 24 เม.ย.2544
-สส-
1. สาระสำคัญของกรอบแนวคิด
1.1 สภาพปัจจุบันและแนวโน้ม ภาวะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่มลดลง โดยการนำเข้าขยายตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการเริ่มฟื้นตัวของเศรษฐกิจ น้ำมันที่มีราคาสูงขึ้นในตลาดโลก และสินค้าอุปโภคบริโภคนำเข้ามากขึ้น ส่วนการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะเดือนมกราคม 2544 มีการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยถึง1,751 ล้านบาท
1.2 จุดมุ่งหมาย เพื่อเป็นกลยุทธหนึ่งในการแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด โดยลดการนำเข้าสินค้าต่างประเทศ ควรบริโภคสินค้าและบริการของไทยแทน โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของคนไทย นับเป็นการขยายตลาดสินค้าภายในประเทศ ซึ่งช่วยเสริมสร้างให้เศรษฐกิจภายในมีความแข็งแกร่งและสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็งขึ้น ดังนั้น จึงเห็นควรกำหนดจุดมุ่งหมายหลักของการดำเนินงานเป็น 3 ประการ ได้แก่
1) การลดการนำเข้าสินค้านอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าฟุ่มเฟือยและสินค้าอุปโภคบริโภค
2) การประหยัดเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าสินค้าทั่วไป รวมทั้งสินค้าจำเป็น เช่น น้ำมัน หรือสินค้าทุน เป็นต้น
3) การเสริมสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจภายใน/เศรษฐกิจชุมชน
1.3 กรอบแนวคิดในการรณรงค์ "นิยมไทย" การดำเนินงานประกอบด้วย 3 แนวทางหลัก ได้แก่
1) การรณรงค์ปลูกฝังจิตสำนึกคนทั่วไป โดยวิธีรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องด้วยวิธีการและรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ส่งเสริมให้ผู้นำในสังคมเป็นแบบอย่างการบริโภคสร้างเสริมและปลูกฝังพฤติกรรมการนิยมบริโภคสินค้าและบริการของไทยในหมู่ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่วัยเด็กและวัยเยาวชน รวมทั้งงดใช้สินค้าฟุ่มเฟือยและลดความฟุ้งเฟ้อ
2) การส่งเสริมให้ภาครัฐทั้งส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจมีบทบาทนำในการประหยัดเงินตราต่างประเทศและลดการนำเข้า โดย
(1) ชะลอ-ลด-งดการใช้วัสดุ ครุภัณฑ์จากต่างประเทศ และหันมาใช้ของที่ผลิตได้ในประเทศแทน
(2) ชะลอ-ลด-งดการใช้บริการที่ปรึกษาต่างประเทศ และหันมาใช้ที่ปรึกษาไทยแทน เช่น บริษัทวิศวกรที่ปรึกษา/ที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการ/การเงิน
(3) ส่งเสริมให้มีการวิจัย (เชิงพาณิชย์) เพื่อพัฒนาสินค้าทดแทนการนำเข้า รวมถึงพัฒนารูปแบบสินค้าไทยให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและรสนิยมของผู้บริโภค
(4) ให้สินเชื่อหรือร่วมทุนผลิตสินค้าทดแทนการนำเข้าและผลิตภัณฑ์ไทยใหม่ ๆ
3) การเชื่อมโยงภาคการผลิต (ทั้งผลิต บรรจุหีบห่อ ตลาด และส่งเสริมการใช้) โดยการพัฒนาคุณภาพ/มาตรฐานสินค้าและบริการของไทย อีกทั้งการส่งเสริมสินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังต่อไปนี้
(1) ภาคเกษตร ส่งเสริมสินค้าที่เดิมตลาดเป็นของสินค้านอกหรือมีศักยภาพจะพัฒนาต่อไปเช่น สมุนไพร (เพื่อสุขภาพและความงาม) อาหารสุขภาพ ผลไม้ เครื่องดื่มพื้นบ้าน เป็นต้น
(2) ภาคอุตสาหกรรม ส่งเสริมให้ผลิต ออกแบบพัฒนา และรับรองมาตรฐานสินค้าที่มีความได้เปรียบและมีวัตถุดิบในประเทศมาก เช่น เครื่องประดับ อัญมณี เครื่องหนัง สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
(3) ภาคบริการ พัฒนาคุณภาพ มาตรฐานของบริการให้ทัดเทียมนานาประเทศ เช่น บริการที่ปรึกษา บริการการศึกษานานาชาติ รวมทั้งพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยวภายในประเทศ เช่น การเดินทางร้านอาหาร ของที่ระลึก ที่พักแรมในชุมชน เป็นต้น
2. แนวทางการดำเนินงานในระยะเฉพาะหน้า
เพื่อประสานการดำเนินงานตามนโยบายนิยมไทยที่มีการดำเนินงานโดยหน่วยงานต่าง ๆ ให้มีเอกภาพประหยัดทรัพยากร และเกิดพลังในการขับเคลื่อนสังคมไทยให้ตระหนักและเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นนิยมไทยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้วางแผนการดำเนินงานในระยะเฉพาะหน้า และได้ประมาณการค่าใช้จ่ายเบื้องต้น ดังนี้
แผนการดำเนินงาน
1) เสวนา หารือ ประชุมกับภาครัฐและเอกชน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการเพื่อจัดทำกรอบแนวทาง/มาตรการในรายละเอียด
2) ประสานและสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะจากภาคธุรกิจเอกชนและภาคประชาชน
3) ประสานการจัดทำแผนปฏิบัติการและกิจกรรมการดำเนินงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยแบ่งงาน-หน้าที่รับผิดชอบที่ชัดเจนเพื่อป้องกันความซ้ำซ้อน และใช้เป็นกรอบในการขอรับการสนับสนุนการดำเนินงานทั้งเงินและคน
4) ติดตามความก้าวหน้าตามเป้าหมายที่กำหนดในแต่ละห้วงเวลา และรายงานเป็นระยะ ๆ
5) ประชาสัมพันธ์ ในระหว่างการดำเนินงานในวงกว้างเพื่อสร้างความตื่นตัวต่อสาธารณชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 24 เม.ย.2544
-สส-