ทำเนียบรัฐบาล--22 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานเด็ก พ.ศ. 2540 - 2544 ระยะครึ่งแผน (พ.ศ. 2540 - 2542) ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ สรุปสาระสำคัญดังนี้
1. ด้านการป้องกันปัญหาแรงงานเด็ก
1.1 การขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในระบบโรงเรียนเป็น 12 ปี ให้ทั่วถึง โดยใช้มาตรการเสริม
1.2 ส่งเสริมการจัดบริการการศึกษานอกระบบโรงเรียน ทั้งสายสามัญ สายอาชีพ และการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับกลุ่มเยาวชนผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาให้มีโอกาสเพิ่มพูนความรู้และวุฒิการศึกษา โดยยึดบุคคลในชุมชนเป็นหลักจัดบริการทั้งในชุมชนเมือง และชุมชนชนบท หรือในสถานประกอบการ
1.3 มีการปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับการใช้แรงงานให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย และเร่งรัดให้มีผลใช้บังคับโดยเร็ว
1.4 จัดทำโครงการติดตามเด็กกลุ่มเสี่ยง โดยการจัดตั้งและอบรมอาสาสมัครแรงงานประจำหมู่บ้านอบรมเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน ฝึกทักษะวิชาชีพและฝีมือ ให้การคุ้มครองด้านสวัสดิภาพเด็กและเยาวชนในครอบครัว ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ให้การสงเคราะห์คุ้มครองและพัฒนาเด็กในสถานสงเคราะห์สถานแรกรับ และสถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก และให้การสงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีในศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีฯลฯ เป็นต้น
1.5 จัดทำคู่มือแนวการสอนเรื่องแรงงานเด็ก เพื่อให้ครูได้ใช้สอนนักเรียนทั้งในและนอกระบบโรงเรียนและเตรียมการจัดประชุมสัมมนาผู้บริหารงานด้านการศึกษาและด้านแรงงาน เพื่อศึกษาร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องการคุ้มครองแรงงานบรรจุในหลักสูตรระดับ ป. 6
1.6 ให้ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน โดยประชาชนในหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือผู้เดือดร้อนและป้องกันปัญหาต่าง ๆ เป็นสื่อกลางประสานความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐและเอกชนสำรวจและจัดทำทะเบียนราษฎรผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อน
1.7 รณรงค์เผยแพร่ความรู้และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องแรงงานเด็ก ส่งเสริมสนับสนุนองค์กรเอกชนที่ดำเนินงานป้องกันปัญหาแรงงานเด็ก
2. ด้านการคุ้มครองและพัฒนาแรงงานเด็ก
2.1 ในปี 2542 คณะกรรมการโครงการตรวจสถานประกอบการได้มอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่นายจ้าง 42 ราย จำนวน 14 จังหวัด
2.2 นำมาตรการภาษีอากรมาลดหย่อนเพื่อสร้างแรงจูงใจนายจ้างที่ดูแลและพัฒนาการแรงงานเด็กทั้งด้านทักษะการทำงาน สุขภาพอนามัย จิตใจ นันทนาการ อารมณ์ สังคม และอื่น ๆ
2.3 สนับสนุนให้นายจ้างกู้ยืมเงินจากกองทุนเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อให้การฝึกอาชีพแก่แรงงานเด็ก
2.4 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ลูกจ้างในสถานประกอบการได้รับการศึกษาทั้งสายสามัญและสายอาชีพโดยสนับสนุนค่าบำรุงการศึกษารายละ 500 บาท/ปี
2.5 ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรเอกชน องค์กรชุมชนดูแลและพัฒนาแรงงานเด็ก รวมทั้งจัดทำโครงการพัฒนาเยาวชนสู่ชีวิตใหม่ในนิคมสร้างตนเอง
2.6 ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐจัดโครงการและบริการด้านพัฒนาการสำหรับแรงงานเด็กเพื่อพัฒนาจิตใจ อารมณ์ และสังคม ได้แก่ การปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์คุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็ก มีการส่งเสริมสุขภาพ การตรวจสุขภาพ การรักษาพยาบาล และการให้คำปรึกษาแนะนำด้านจิตใจ จัดกิจกรรมส่งเสริมให้นายจ้างปรับปรุงสภาพแวดล้อมและสถานที่ทำงานให้เหมาะสมและปลอดภัย ตรวจสถานประกอบการดูแลสุขภาพของผู้ประกอบการ และลูกจ้างทั่วไป
2.7 ส่งเสริมให้แรงงานเด็กมีการรวมกลุ่ม สร้างเครือข่ายและมีกิจกรรมที่สร้างสรรค์
2.8 แต่งตั้งบุคคลเป็นพนักงานตรวจแรงงานในพื้นที่จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ และจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจแรงงาน
2.9 ส่งเสริมสหภาพแรงงานให้สอดส่องดูแลการใช้แรงงานเด็ก
2.10 ขอความร่วมมือส่วนราชการต่าง ๆ สอดส่องดูแลให้สถานประกอบการหรือนายจ้างกับลูกจ้างดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานและประชาสัมพันธ์การให้ความคุ้มครองแรงงานเด็ก
2.11 ขอความร่วมมือสำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการปรับปรุงกฎหมาย และระเบียบการสอบสวนคดีกรณีเด็กเป็นผู้เสียหาย
2.12 ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบการสอบสวนคดีที่เด็กเป็นผู้เสียหาย
3. ด้านการพัฒนากลไกการกำกับและดำเนินนโยบายด้านแรงงานเด็ก
3.1 จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อให้มีผลในทางปฏิบัติ
3.2 คณะกรรมการคุ้มครองแรงงานเด็กกำหนดนโยบายด้านการคุ้มครองป้องกันและพัฒนาแรงงานเด็ก ตั้งเป้าหมายจัดประชุมปีละ 3 ครั้ง และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการคุ้มครองแรงงานเด็ก รวม 4 คณะ
3.3 สนับสนุนเงินอุดหนุนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานเด็กของหน่วยงานภาครัฐองค์กรเอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชนได้สนับสนุนเงินแก่มูลนิธิยุวพุทธพัฒนา จังหวัดอุบลราชธานี เพื่ออบรมอาสาสมัครเกี่ยวกับสิทธิเด็ก
3.4 ประสานกับจังหวัดในการสอดส่องดูแลการใช้แรงงานเด็กที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งการอพยพของแรงงานเด็กต่างชาติ
1) ให้องค์กรในระดับหมู่บ้านชี้แจงประชาสัมพันธ์เพื่อให้ทราบสิทธิประโยชน์ในการคุ้มครองที่ผู้ใช้แรงงานควรจะได้รับและสอดส่องดูแลการใช้แรงงานอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม
2) จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือแรงงานหญิงและเด็กทุกจังหวัด เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำ การป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงาน
3.5 ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือแรงงานหญิงและเด็กได้ดำเนินการจัดทำข้อมูลเอกสารเผยแพร่ความรู้ด้านวิชาการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 22 ส.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานเด็ก พ.ศ. 2540 - 2544 ระยะครึ่งแผน (พ.ศ. 2540 - 2542) ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ สรุปสาระสำคัญดังนี้
1. ด้านการป้องกันปัญหาแรงงานเด็ก
1.1 การขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในระบบโรงเรียนเป็น 12 ปี ให้ทั่วถึง โดยใช้มาตรการเสริม
1.2 ส่งเสริมการจัดบริการการศึกษานอกระบบโรงเรียน ทั้งสายสามัญ สายอาชีพ และการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับกลุ่มเยาวชนผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาให้มีโอกาสเพิ่มพูนความรู้และวุฒิการศึกษา โดยยึดบุคคลในชุมชนเป็นหลักจัดบริการทั้งในชุมชนเมือง และชุมชนชนบท หรือในสถานประกอบการ
1.3 มีการปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับการใช้แรงงานให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย และเร่งรัดให้มีผลใช้บังคับโดยเร็ว
1.4 จัดทำโครงการติดตามเด็กกลุ่มเสี่ยง โดยการจัดตั้งและอบรมอาสาสมัครแรงงานประจำหมู่บ้านอบรมเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน ฝึกทักษะวิชาชีพและฝีมือ ให้การคุ้มครองด้านสวัสดิภาพเด็กและเยาวชนในครอบครัว ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ให้การสงเคราะห์คุ้มครองและพัฒนาเด็กในสถานสงเคราะห์สถานแรกรับ และสถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก และให้การสงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีในศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีฯลฯ เป็นต้น
1.5 จัดทำคู่มือแนวการสอนเรื่องแรงงานเด็ก เพื่อให้ครูได้ใช้สอนนักเรียนทั้งในและนอกระบบโรงเรียนและเตรียมการจัดประชุมสัมมนาผู้บริหารงานด้านการศึกษาและด้านแรงงาน เพื่อศึกษาร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องการคุ้มครองแรงงานบรรจุในหลักสูตรระดับ ป. 6
1.6 ให้ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน โดยประชาชนในหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือผู้เดือดร้อนและป้องกันปัญหาต่าง ๆ เป็นสื่อกลางประสานความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐและเอกชนสำรวจและจัดทำทะเบียนราษฎรผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อน
1.7 รณรงค์เผยแพร่ความรู้และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องแรงงานเด็ก ส่งเสริมสนับสนุนองค์กรเอกชนที่ดำเนินงานป้องกันปัญหาแรงงานเด็ก
2. ด้านการคุ้มครองและพัฒนาแรงงานเด็ก
2.1 ในปี 2542 คณะกรรมการโครงการตรวจสถานประกอบการได้มอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่นายจ้าง 42 ราย จำนวน 14 จังหวัด
2.2 นำมาตรการภาษีอากรมาลดหย่อนเพื่อสร้างแรงจูงใจนายจ้างที่ดูแลและพัฒนาการแรงงานเด็กทั้งด้านทักษะการทำงาน สุขภาพอนามัย จิตใจ นันทนาการ อารมณ์ สังคม และอื่น ๆ
2.3 สนับสนุนให้นายจ้างกู้ยืมเงินจากกองทุนเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อให้การฝึกอาชีพแก่แรงงานเด็ก
2.4 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ลูกจ้างในสถานประกอบการได้รับการศึกษาทั้งสายสามัญและสายอาชีพโดยสนับสนุนค่าบำรุงการศึกษารายละ 500 บาท/ปี
2.5 ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรเอกชน องค์กรชุมชนดูแลและพัฒนาแรงงานเด็ก รวมทั้งจัดทำโครงการพัฒนาเยาวชนสู่ชีวิตใหม่ในนิคมสร้างตนเอง
2.6 ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐจัดโครงการและบริการด้านพัฒนาการสำหรับแรงงานเด็กเพื่อพัฒนาจิตใจ อารมณ์ และสังคม ได้แก่ การปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์คุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็ก มีการส่งเสริมสุขภาพ การตรวจสุขภาพ การรักษาพยาบาล และการให้คำปรึกษาแนะนำด้านจิตใจ จัดกิจกรรมส่งเสริมให้นายจ้างปรับปรุงสภาพแวดล้อมและสถานที่ทำงานให้เหมาะสมและปลอดภัย ตรวจสถานประกอบการดูแลสุขภาพของผู้ประกอบการ และลูกจ้างทั่วไป
2.7 ส่งเสริมให้แรงงานเด็กมีการรวมกลุ่ม สร้างเครือข่ายและมีกิจกรรมที่สร้างสรรค์
2.8 แต่งตั้งบุคคลเป็นพนักงานตรวจแรงงานในพื้นที่จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ และจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจแรงงาน
2.9 ส่งเสริมสหภาพแรงงานให้สอดส่องดูแลการใช้แรงงานเด็ก
2.10 ขอความร่วมมือส่วนราชการต่าง ๆ สอดส่องดูแลให้สถานประกอบการหรือนายจ้างกับลูกจ้างดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานและประชาสัมพันธ์การให้ความคุ้มครองแรงงานเด็ก
2.11 ขอความร่วมมือสำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการปรับปรุงกฎหมาย และระเบียบการสอบสวนคดีกรณีเด็กเป็นผู้เสียหาย
2.12 ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบการสอบสวนคดีที่เด็กเป็นผู้เสียหาย
3. ด้านการพัฒนากลไกการกำกับและดำเนินนโยบายด้านแรงงานเด็ก
3.1 จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อให้มีผลในทางปฏิบัติ
3.2 คณะกรรมการคุ้มครองแรงงานเด็กกำหนดนโยบายด้านการคุ้มครองป้องกันและพัฒนาแรงงานเด็ก ตั้งเป้าหมายจัดประชุมปีละ 3 ครั้ง และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการคุ้มครองแรงงานเด็ก รวม 4 คณะ
3.3 สนับสนุนเงินอุดหนุนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานเด็กของหน่วยงานภาครัฐองค์กรเอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชนได้สนับสนุนเงินแก่มูลนิธิยุวพุทธพัฒนา จังหวัดอุบลราชธานี เพื่ออบรมอาสาสมัครเกี่ยวกับสิทธิเด็ก
3.4 ประสานกับจังหวัดในการสอดส่องดูแลการใช้แรงงานเด็กที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งการอพยพของแรงงานเด็กต่างชาติ
1) ให้องค์กรในระดับหมู่บ้านชี้แจงประชาสัมพันธ์เพื่อให้ทราบสิทธิประโยชน์ในการคุ้มครองที่ผู้ใช้แรงงานควรจะได้รับและสอดส่องดูแลการใช้แรงงานอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม
2) จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือแรงงานหญิงและเด็กทุกจังหวัด เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำ การป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงาน
3.5 ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือแรงงานหญิงและเด็กได้ดำเนินการจัดทำข้อมูลเอกสารเผยแพร่ความรู้ด้านวิชาการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 22 ส.ค. 2543--
-สส-