ทำเนียบรัฐบาล--23 ม.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้เพื่อให้การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีระบบการบริหารจัดการที่ดีและมีความคล่องตัว รวมทั้งยกเลิกบทบัญญัติบางประการที่ไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้ธนาคารฯ สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่นได้ และเป็นประโยชน์กับผู้ใช้บริการของธนาคารฯ มากยิ่งขึ้น และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการธนาคารออมสิน โดยให้ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการคนหนึ่งที่รัฐมนตรีเห็นชอบเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการให้ชัดเจน
2. ให้คณะกรรมการธนาคารเป็นผู้มีอำนาจในการแต่งตั้ง ถอดถอน และกำหนดอัตราเงินเดือนของผู้อำนวยการ และรองผู้อำนวยการ ด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี เพื่อความคล่องตัว
3. ให้รัฐมนตรีคงเป็นผู้มีอำนาจในการแต่งตั้ง ถอดถอน ประธานกรรมการและกรรมการอื่น รวมทั้งกำหนดเงินบำเหน็จรางวัลของคณะกรรมการ
4. เพิ่มเติมอำนาจของผู้อำนวยการในการดำเนินการเกี่ยวกับพนักงาน และกำหนดวิธีปฏิบัติงาน เพื่อให้อำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการมีความชัดเจน และคล่องตัวในการบริหารงานมากขึ้น
5. เพิ่มเติมข้อความเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการในการกระทำกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหาร จัดการ และการบริหารบุคลากรของธนาคาร
6. ยกเลิกข้อความที่กำหนดให้การจ่ายคืนเงินฝาก หรือจ่ายดอกเบี้ยแก่หญิงมีสามีแล้ว เป็นการจ่ายคืนที่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้แก้ไขเรื่องความสามารถในการทำนิติกรรมของหญิงมีสามีแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องบัญญัติเป็นพิเศษเพื่อให้ธนาคารออมสินทำได้อีกต่อไป
7. จัดเรียงและแก้ไขข้อความเกี่ยวกับการจ่ายคืนเงินฝากแก่ทายาทเมื่อผู้ฝากตายให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรมยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 23 ม.ค. 2544--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้เพื่อให้การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีระบบการบริหารจัดการที่ดีและมีความคล่องตัว รวมทั้งยกเลิกบทบัญญัติบางประการที่ไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้ธนาคารฯ สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่นได้ และเป็นประโยชน์กับผู้ใช้บริการของธนาคารฯ มากยิ่งขึ้น และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการธนาคารออมสิน โดยให้ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการคนหนึ่งที่รัฐมนตรีเห็นชอบเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการให้ชัดเจน
2. ให้คณะกรรมการธนาคารเป็นผู้มีอำนาจในการแต่งตั้ง ถอดถอน และกำหนดอัตราเงินเดือนของผู้อำนวยการ และรองผู้อำนวยการ ด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี เพื่อความคล่องตัว
3. ให้รัฐมนตรีคงเป็นผู้มีอำนาจในการแต่งตั้ง ถอดถอน ประธานกรรมการและกรรมการอื่น รวมทั้งกำหนดเงินบำเหน็จรางวัลของคณะกรรมการ
4. เพิ่มเติมอำนาจของผู้อำนวยการในการดำเนินการเกี่ยวกับพนักงาน และกำหนดวิธีปฏิบัติงาน เพื่อให้อำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการมีความชัดเจน และคล่องตัวในการบริหารงานมากขึ้น
5. เพิ่มเติมข้อความเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการในการกระทำกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหาร จัดการ และการบริหารบุคลากรของธนาคาร
6. ยกเลิกข้อความที่กำหนดให้การจ่ายคืนเงินฝาก หรือจ่ายดอกเบี้ยแก่หญิงมีสามีแล้ว เป็นการจ่ายคืนที่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้แก้ไขเรื่องความสามารถในการทำนิติกรรมของหญิงมีสามีแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องบัญญัติเป็นพิเศษเพื่อให้ธนาคารออมสินทำได้อีกต่อไป
7. จัดเรียงและแก้ไขข้อความเกี่ยวกับการจ่ายคืนเงินฝากแก่ทายาทเมื่อผู้ฝากตายให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรมยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 23 ม.ค. 2544--
-สส-