รายงานกิจการ งบดุล และงบรายได้ค่าใช้จ่ายขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน สำหรับงวดหกเดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2543 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2544
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานกิจการ งบดุล และงบรายได้ค่าใช้จ่ายขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) สำหรับงวดหกเดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2543 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2544 ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบรับรองแล้ว
กระทรวงการคลังได้รายงานกิจการ งบดุล และงบรายได้ค่าใช้จ่ายขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2543 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2544 ดังนี้
1. งบดุลและงบรายได้ค่าใช้จ่าย
1.1 งบดุล ประกอบด้วยสินทรัพย์หมุนเวียนจำนวน 1,980.76 ล้านบาท อุปกรณ์สุทธิจำนวน 9.76ล้านบาท และสินทรัพย์อื่นจำนวน 4.35 ล้านบาท รวมเป็นสินทรัพย์ทั้งสิ้น จำนวน 1,994.86 ล้านบาท หนี้สินหมุนเวียนจำนวน 48.26 ล้านบาท หนี้สินอื่นจำนวน 1.34 ล้านบาท และส่วนของทุนจำนวน 1,945.27 ล้านบาท
ปรส. มีหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นภายหน้า เนื่องจากการถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมในคดีต่าง ๆ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2544 จำนวน 21 คดี ให้ ปรส. ร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายรวมประมาณ 697.12 ล้านบาท
1.2 งบรายได้ค่าใช้จ่าย ประกอบด้วยรายได้จำนวน 27.07 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายจำนวน 73.94 ล้านบาท ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้จำนวน 46.87 ล้านบาท
รายได้ของ ปรส. ส่วนใหญ่เกิดจากดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร จำนวน 25.78 ล้านบาท ส่วนรายได้ที่เหลือเป็นรายได้จากค่าธรรมเนียม จำนวน 1.27 ล้านบาท สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ของ ปรส. เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกรรมการและพนักงาน จำนวน 61.52 ล้านบาท ส่วนค่าใช้จ่ายที่เหลือเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคารสถานที่และอุปกรณ์จำนวน 21.28 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายดำเนินงาน 1.4 ล้านบาท
2. รายงานกิจการของ ปรส. ปรส. ได้ดำเนินกิจการต่าง ๆ แล้ว ดังนี้
2.1 การจำหน่ายสินทรัพย์และรับชำระหนี้ของสถาบันการเงิน 56 แห่ง โดย ปรส. จัดการสินทรัพย์ไปแล้วเป็นมูลค่ารวมประมาณ 747,693.34 ล้านบาท ได้มูลค่าคืนกลับมา 263,951.14 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35.30ของมูลค่าทางบัญชี โดยมูลค่าที่ได้จากการขายสินทรัพย์หลัก จำนวน 150,026.27 ล้านบาท สินทรัพย์รองจำนวน35,094.55 ล้านบาท และการรับชำระหนี้จำนวน 78,830.32 ล้านบาท
2.2 สถานะปัจจุบันของสถาบันการเงิน 56 บริษัท ณ วันที่ 11 มิถุนายน 2544 ได้เข้าสู่กระบวนการล้มละลายแล้วจำนวน 19 บริษัท เป็นบริษัทที่ ปรส. ขอให้ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนที่ ปรส. จะจัดสรรเงินคืนเจ้าหนี้เพื่อไม่ให้เจ้าหนี้บางรายที่ได้ฟ้องร้องและดำเนินการบังคับคดีได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนและก่อนเจ้าหนี้รายอื่น จำนวน6 บริษัท และเป็นบริษัทที่ ปรส. ได้จัดสรรคืนเจ้าหนี้แล้วตามแนวทางการชำระบัญชีที่ ปรส. กำหนดก่อนเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย จำนวน 13 บริษัท สำหรับสถาบันการเงินที่ยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย จำนวน 37 บริษัท ปรส. ได้จัดสรรคืนเงินเจ้าหนี้แล้วและจะทยอยนำเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย 7 บริษัท ปรส. จะเร่งกระบวนการจัดสรรคืนเจ้าหนี้ให้เร็วที่สุด ส่วน 30 บริษัทที่เหลือ คาดว่าจะเสร็จสิ้นประมาณกลางปี 2544 และสามารถนำสถาบันการเงินเข้าสู่กระบวนการล้มละลายได้เสร็จสิ้นประมาณเดือนตุลาคม 2544
2.3 ปรส. ได้พิจารณาคัดเลือกธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ให้ทำหน้าที่เรียกรับ ดูแล และจัดสรรผลประโยชน์ให้แก่เจ้าหนี้ของสถาบันการเงินภายใต้การกำกับดูแลของ ปรส. ที่เลือกรับผลตอบแทนตามสัญญาแบ่งปันผลประโยชน์ (Profit Sharing) และสัญญาแบ่งปันกระแสเงินสด (Cashflow Sharing) เพื่อให้เจ้าหนี้ของสถาบันการเงินภายใต้การดูแลของ ปรส. ได้รับการจัดสรรผลประโยชน์ในอนาคตอย่างต่อเนื่องแม้ในช่วงที่ ปรส. ปิดทำการไปแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ก.ย.44--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานกิจการ งบดุล และงบรายได้ค่าใช้จ่ายขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) สำหรับงวดหกเดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2543 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2544 ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบรับรองแล้ว
กระทรวงการคลังได้รายงานกิจการ งบดุล และงบรายได้ค่าใช้จ่ายขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2543 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2544 ดังนี้
1. งบดุลและงบรายได้ค่าใช้จ่าย
1.1 งบดุล ประกอบด้วยสินทรัพย์หมุนเวียนจำนวน 1,980.76 ล้านบาท อุปกรณ์สุทธิจำนวน 9.76ล้านบาท และสินทรัพย์อื่นจำนวน 4.35 ล้านบาท รวมเป็นสินทรัพย์ทั้งสิ้น จำนวน 1,994.86 ล้านบาท หนี้สินหมุนเวียนจำนวน 48.26 ล้านบาท หนี้สินอื่นจำนวน 1.34 ล้านบาท และส่วนของทุนจำนวน 1,945.27 ล้านบาท
ปรส. มีหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นภายหน้า เนื่องจากการถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมในคดีต่าง ๆ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2544 จำนวน 21 คดี ให้ ปรส. ร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายรวมประมาณ 697.12 ล้านบาท
1.2 งบรายได้ค่าใช้จ่าย ประกอบด้วยรายได้จำนวน 27.07 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายจำนวน 73.94 ล้านบาท ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้จำนวน 46.87 ล้านบาท
รายได้ของ ปรส. ส่วนใหญ่เกิดจากดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร จำนวน 25.78 ล้านบาท ส่วนรายได้ที่เหลือเป็นรายได้จากค่าธรรมเนียม จำนวน 1.27 ล้านบาท สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ของ ปรส. เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกรรมการและพนักงาน จำนวน 61.52 ล้านบาท ส่วนค่าใช้จ่ายที่เหลือเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคารสถานที่และอุปกรณ์จำนวน 21.28 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายดำเนินงาน 1.4 ล้านบาท
2. รายงานกิจการของ ปรส. ปรส. ได้ดำเนินกิจการต่าง ๆ แล้ว ดังนี้
2.1 การจำหน่ายสินทรัพย์และรับชำระหนี้ของสถาบันการเงิน 56 แห่ง โดย ปรส. จัดการสินทรัพย์ไปแล้วเป็นมูลค่ารวมประมาณ 747,693.34 ล้านบาท ได้มูลค่าคืนกลับมา 263,951.14 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35.30ของมูลค่าทางบัญชี โดยมูลค่าที่ได้จากการขายสินทรัพย์หลัก จำนวน 150,026.27 ล้านบาท สินทรัพย์รองจำนวน35,094.55 ล้านบาท และการรับชำระหนี้จำนวน 78,830.32 ล้านบาท
2.2 สถานะปัจจุบันของสถาบันการเงิน 56 บริษัท ณ วันที่ 11 มิถุนายน 2544 ได้เข้าสู่กระบวนการล้มละลายแล้วจำนวน 19 บริษัท เป็นบริษัทที่ ปรส. ขอให้ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนที่ ปรส. จะจัดสรรเงินคืนเจ้าหนี้เพื่อไม่ให้เจ้าหนี้บางรายที่ได้ฟ้องร้องและดำเนินการบังคับคดีได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนและก่อนเจ้าหนี้รายอื่น จำนวน6 บริษัท และเป็นบริษัทที่ ปรส. ได้จัดสรรคืนเจ้าหนี้แล้วตามแนวทางการชำระบัญชีที่ ปรส. กำหนดก่อนเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย จำนวน 13 บริษัท สำหรับสถาบันการเงินที่ยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย จำนวน 37 บริษัท ปรส. ได้จัดสรรคืนเงินเจ้าหนี้แล้วและจะทยอยนำเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย 7 บริษัท ปรส. จะเร่งกระบวนการจัดสรรคืนเจ้าหนี้ให้เร็วที่สุด ส่วน 30 บริษัทที่เหลือ คาดว่าจะเสร็จสิ้นประมาณกลางปี 2544 และสามารถนำสถาบันการเงินเข้าสู่กระบวนการล้มละลายได้เสร็จสิ้นประมาณเดือนตุลาคม 2544
2.3 ปรส. ได้พิจารณาคัดเลือกธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ให้ทำหน้าที่เรียกรับ ดูแล และจัดสรรผลประโยชน์ให้แก่เจ้าหนี้ของสถาบันการเงินภายใต้การกำกับดูแลของ ปรส. ที่เลือกรับผลตอบแทนตามสัญญาแบ่งปันผลประโยชน์ (Profit Sharing) และสัญญาแบ่งปันกระแสเงินสด (Cashflow Sharing) เพื่อให้เจ้าหนี้ของสถาบันการเงินภายใต้การดูแลของ ปรส. ได้รับการจัดสรรผลประโยชน์ในอนาคตอย่างต่อเนื่องแม้ในช่วงที่ ปรส. ปิดทำการไปแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ก.ย.44--
-สส-