คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ระหว่างวันที่ 24 - 28 กันยายน 2544 ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2544 เห็นชอบให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมดำเนินการให้แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองมารายงานตัวขึ้นทะเบียน และขออนุญาตทำงานกับทางราชการ สรุปได้ดังนี้
1. จำนวนแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียน 91,570 คน จำแนกเป็นกรุงเทพมหานคร 18,437 คน ภาคกลาง 18,304 คน ภาคตะวันออก 10,349 คน ภาคตะวันตก 6,872 คน ภาคเหนือ 11,637 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3,174 คน และภาคใต้ 22,797 คน
2. จำนวนสถานประกอบการ/นายจ้าง ที่นำแรงงานต่างด้าวมาขึ้นทะเบียน 18,391 ราย
3. สัญชาติของแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียน รวม 91,570 คน จำแนกเป็น พม่า 75,313 คน ลาว 8,671 คน กัมพูชา 7,586 คน
4. กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ขอชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการแยกประเภทรายได้ในการขึ้นทะเบียนที่เรียกเก็บได้ ดังนี้
4.1 รายรับที่เรียกเก็บจากแรงงานต่างด้าวต่อหัวเมื่อขึ้นทะเบียนในงวดแรก เป็นเงินรายละ 3,250 บาท จำแนกเป็น ค่าประกันสุขภาพ 1,200 บาท ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 900 บาท ค่าทำบัตร 150 บาท ค่าประกันการส่งกลับ 1,000 บาท
4.2 ในระหว่างวันที่ 24 - 28 กันยายน 2544 มีแรงงานต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนทั้งสิ้น 91,570 คน เป็นเงินที่เรียกเก็บได้ จำนวน 297,602,500 บาท (สองร้อยเก้าสิบเจ็ดล้านหกแสนสองพันห้าร้อยบาทถ้วน) จำแนกรายการได้ ดังนี้
1) ค่าประกันสุขภาพ (1,200 บาท x91,570 คน) = 109,884,000 บาท
2) ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต (900 บาท x91,570 คน) = 82,413,000 บาท
3) ค่าทำบัตร ( 150 บาท x91,570 คน) = 13,735,500 บาท
4) ค่าประกันการส่งกลับ ( 1,000 บาท x91,570 คน) = 91,570,000 บาท
4.3 การดำเนินการเกี่ยวกับรายรับตามข้อ 4.2 มีดังนี้
1) ค่าประกันสุขภาพตามข้อ 4.2 1) จะนำส่งกระทรวงสาธารณสุขทั้งหมด เพื่อนำไปใช้จ่ายให้แก่โรงพยาบาลซึ่งรับผิดชอบต่อไป
2) รายรับค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ตามข้อ 4.2 (2) เป็นรายได้แผ่นดินนำส่งกระทรวงการคลังครึ่งหนึ่ง จำนวน 41,206,500 บาท อีกครึ่งหนึ่ง จำนวน 41,206,500 บาท เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการในการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวของกระทรวงฯ
3) รายรับจากค่าทำบัตร ตามข้อ 4.2 (3) กระทรวงฯ จะนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการทำบัตรจริง สำหรับเงินคงเหลือจะโอนเข้าบัญชีเงินสำรองทั้งหมด
4) รายรับค่าประกันการส่งกลับ ตามข้อ 4.2 (4) ซึ่งมีข้อผูกพัน ต้องคืนเงินเมื่อแรงงานต่างด้าวได้เดินทางกลับประเทศโดยสมัครใจแล้ว และเมื่อสิ้นงวดบัญชี ให้โอนเงินเข้าบัญชีเงินสำรอง
4.4 การจัดเก็บเงินค่าธรรมเนียมจากแรงงานต่างด้าวในแต่ละวัน นำฝากกับธนาคารกรุงไทยไว้ก่อน และจะจัดส่งเงินค่าธรรมเนียมให้กระทรวงการคลังเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจการจดทะเบียนแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 ต.ค. 44--
-สส-
1. จำนวนแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียน 91,570 คน จำแนกเป็นกรุงเทพมหานคร 18,437 คน ภาคกลาง 18,304 คน ภาคตะวันออก 10,349 คน ภาคตะวันตก 6,872 คน ภาคเหนือ 11,637 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3,174 คน และภาคใต้ 22,797 คน
2. จำนวนสถานประกอบการ/นายจ้าง ที่นำแรงงานต่างด้าวมาขึ้นทะเบียน 18,391 ราย
3. สัญชาติของแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียน รวม 91,570 คน จำแนกเป็น พม่า 75,313 คน ลาว 8,671 คน กัมพูชา 7,586 คน
4. กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ขอชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการแยกประเภทรายได้ในการขึ้นทะเบียนที่เรียกเก็บได้ ดังนี้
4.1 รายรับที่เรียกเก็บจากแรงงานต่างด้าวต่อหัวเมื่อขึ้นทะเบียนในงวดแรก เป็นเงินรายละ 3,250 บาท จำแนกเป็น ค่าประกันสุขภาพ 1,200 บาท ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 900 บาท ค่าทำบัตร 150 บาท ค่าประกันการส่งกลับ 1,000 บาท
4.2 ในระหว่างวันที่ 24 - 28 กันยายน 2544 มีแรงงานต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนทั้งสิ้น 91,570 คน เป็นเงินที่เรียกเก็บได้ จำนวน 297,602,500 บาท (สองร้อยเก้าสิบเจ็ดล้านหกแสนสองพันห้าร้อยบาทถ้วน) จำแนกรายการได้ ดังนี้
1) ค่าประกันสุขภาพ (1,200 บาท x91,570 คน) = 109,884,000 บาท
2) ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต (900 บาท x91,570 คน) = 82,413,000 บาท
3) ค่าทำบัตร ( 150 บาท x91,570 คน) = 13,735,500 บาท
4) ค่าประกันการส่งกลับ ( 1,000 บาท x91,570 คน) = 91,570,000 บาท
4.3 การดำเนินการเกี่ยวกับรายรับตามข้อ 4.2 มีดังนี้
1) ค่าประกันสุขภาพตามข้อ 4.2 1) จะนำส่งกระทรวงสาธารณสุขทั้งหมด เพื่อนำไปใช้จ่ายให้แก่โรงพยาบาลซึ่งรับผิดชอบต่อไป
2) รายรับค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ตามข้อ 4.2 (2) เป็นรายได้แผ่นดินนำส่งกระทรวงการคลังครึ่งหนึ่ง จำนวน 41,206,500 บาท อีกครึ่งหนึ่ง จำนวน 41,206,500 บาท เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการในการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวของกระทรวงฯ
3) รายรับจากค่าทำบัตร ตามข้อ 4.2 (3) กระทรวงฯ จะนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการทำบัตรจริง สำหรับเงินคงเหลือจะโอนเข้าบัญชีเงินสำรองทั้งหมด
4) รายรับค่าประกันการส่งกลับ ตามข้อ 4.2 (4) ซึ่งมีข้อผูกพัน ต้องคืนเงินเมื่อแรงงานต่างด้าวได้เดินทางกลับประเทศโดยสมัครใจแล้ว และเมื่อสิ้นงวดบัญชี ให้โอนเงินเข้าบัญชีเงินสำรอง
4.4 การจัดเก็บเงินค่าธรรมเนียมจากแรงงานต่างด้าวในแต่ละวัน นำฝากกับธนาคารกรุงไทยไว้ก่อน และจะจัดส่งเงินค่าธรรมเนียมให้กระทรวงการคลังเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจการจดทะเบียนแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 ต.ค. 44--
-สส-