คณะรัฐมนตรีพิจารณาค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
ตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองโครงการเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเสนอ แล้วมีมติตามมติคณะกรรมการ
กลั่นกรองฯ สรุปได้ดังนี้
1. อนุมัติโครงการปรับปรุงและพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในอุทยาน
แห่งชาติ ของกรมป่าไม้ วงเงินลงทุน 217.72 ล้านบาท ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและเพิ่มคุณภาพ/มาตรการการบริการของที่พักแรมในอุทยาน
แห่งชาติทั้งทางบกและทางทะเลทั่วประเทศ จำนวน 54 แห่ง โดยปรับปรุงและพัฒนาที่พักแรม จัดหา/พัฒนาคุณภาพ
มาตรฐานสิ่งอำนวยความสะดวกและการบริการ และประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในอุทยานแห่งชาติ โดยมี
เป้าหมายเพื่อเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติจาก 11.9 ล้านคน/ปี เป็น 12.5 ล้านคน/ปี
1.2 ในระหว่างการดำเนินโครงการ จะก่อให้เกิดการสร้างงานประมาณ 2,500 คน/เดือน และระยะยาว
จะทำให้เกิดการสร้างงานด้านบริการท่องเที่ยวประมาณ 2,700 คน/เดือน รวมทั้งจะสร้างบุคลากรที่มีความพร้อมสำหรับบริการการ
ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างมีคุณภาพเพิ่มขึ้นจำนวนประมาณ 560 คน
1.3 การดำเนินงานโครงการจะใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 1 ปี (ตุลาคม 2544 - กันยายน 2545) วงเงินลงทุน
217.72 ล้านบาท ประกอบด้วย
หน่วย:ล้านบาท
กิจกรรม วงเงิน
1. ปรับปรุงที่พักแรมและพื้นที่กางเต้นท์ 182.82
2. จัดหาอุปกรณ์สำหรับบริการท่องเที่ยว (จักรยาน เรือแคนู อุปกรณ์ดำน้ำ) 10.6
3. ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ (สื่อสิ่งพิมพ์ นิทรรศการเคลื่อนที่ เครือข่ายข้อมูล Electronic) 12
4. การพัฒนาบุคลากร (ด้านบริการที่พักแรม นำเที่ยว ขายอาหาร - ของที่ระลึก) 4.8
5. ตรวจสอบ จัดทำรายละเอียดการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกและควบคุมการก่อสร้าง 5.5
6. การบริหารโครงการและติดตามประเมินผล 20
รวม 217.7
โดยมีแผนการเบิกจ่ายเป็นรายไตรมาส ดังนี้
ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 4
6.1 42.7 80.15 88.77
1.4 สำหรับการบริหารจัดการโครงการนั้น สำนักงานโครงการเงินกู้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (สสท.)
ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กรมป่าไม้ จะเป็นผู้ประสานการดำเนินการ และสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จะเป็นหน่วยกำกับการดำเนิน
การในอุทยานแห่งชาติ โดยใช้บุคลากรทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่ภายใต้แผนงาน National Program ด้านการท่องเที่ยว การท่องเที่ยว
แห่งประเทศไทย (ททท.) จะจัดตั้งคณะกรรมการกำกับการดำเนินการโครงการ เพื่อทำหน้าที่ติดตามการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามเป้า
หมายอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ให้สำนักงบประมาณเป็นผู้พิจารณาในรายละเอียด และให้กรมป่าไม้ จัดทำแผนปฏิบัติงาน
และรายละเอียดค่าใช้จ่ายเสนอขออนุมัติเงินจากสำนักงบประมาณภายใน 10 วันทำการ และให้กรมป่าไม้เร่งรัดการดำเนินงานและเบิกจ่าย
เงินภายใน 30 กันยายน 2545
2. ให้ความเห็นชอบกรอบแนวทางการจัดทำโครงการพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชน สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 โครงการพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างกระบวนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของชุมชน
และสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก โดยมีพื้นที่ชุมชนเป้าหมายจำนวน 8,434 แห่งทั่วประเทศ
2.2 การดำเนินโครงการจะจัดเวทีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชนและโครงการพัฒนา
เศรษฐกิจระดับชุมชนในทุกตำบล/อบต. เทศบาล ทั่วประเทศ รวมทั้งเขตในกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา โดยเน้นโครงการที่ก่อให้เกิด
การจ้างงานและเพิ่มรายได้ ส่งผลประโยชน์ต่อประชาชนในวงกว้าง เป็นโครงการที่มาจากเวทีพิจารณาร่วมระหว่างชุมชนและองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น (ไม่เป็นโครงการด้านก่อสร้างถนนและแหล่งน้ำ) และไม่ซ้ำซ้อนกับงบประมาณแหล่งอื่น
2.3 ขั้นตอนการอนุมัติโครงการสามารถจำแนกได้ 2 ระดับ ได้แก่
1) ระดับตำบล/เทศบาลเมือง
(1) ประชาคมตำบลร่วมกับสภาตำบล/อบต.เทศบาลตำบล เสนอแผนงาน/โครงการพัฒนา
เศรษฐกิจระดับชุมชน ให้คณะกรรมการพัฒนาอำเภอ (กพอ.) พิจารณากลั่นกรอง เพื่อเสนอคณะกรรมการพัฒนาจังหวัด (กพจ.) พิจารณา
อนุมัติโครงการ และคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจพิจารณาอนุมัติงบประมาณ
(2) ประชาคมเมืองร่วมกับเทศบาลเมือง/เทศบาลนคร/เมืองพัทยา เสนอแผนงาน/โครงการ
พัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชน ให้คณะกรรมการพัฒนาจังหวัด (กพจ.) พิจารณากลั่นกรองและอนุมัติโครงการ เพื่อเสนอคณะกรรมการกลั่นกรอง
โครงการเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจพิจารณาอนุมัติงบประมาณ
2) กรุงเทพมหานคร
(1) ประชาคมเมืองร่วมกับสำนักงานเขตในแต่ละเขต เสนอแผนงาน/โครงการพัฒนา
เศรษฐกิจระดับชุมชน ให้สำนักงานปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณากลั่นกรองและอนุมัติโครงการ เพื่อเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการ
เร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจพิจารณาอนุมัติงบประมาณ
2.4 การดำเนินโครงการพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชน จะก่อให้เกิดการจ้างงานและการเพิ่มรายได้ของ
ประชาชนในระดับชุมชนและท้องถิ่น รวมทั้งจะสามารถประสานงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กองทุน
หมู่บ้าน แผนหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และแผนอื่น ๆ ให้มีแนวทางการใช้งบประมาณที่สอดคล้องกับความต้องการของ
ชุมชนและท้องถิ่นอย่างมีแผนกิจกรรมรอบด้าน และเป็นการวางรากฐานระยะยาว เพื่อรองรับการกระจายอำนาจในการพัฒนาท้องถิ่นภายใต้
กรอบเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9
2.5 การดำเนินการจัดเตรียมโครงการจะใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 6 เดือน (พฤศจิกายน 2544 - เมษายน 2545)
โดยงบประมาณดำเนินการประกอบด้วย
1) การจัดเวทีกระบวนการมีส่วนร่วมในระดับชุมชน จะใช้จ่ายจากงบประมาณของเทศบาล/อบต.
แต่ละแห่ง
2) การจัดเวทีกระบวนการมีส่วนร่วมระดับจังหวัด จะใช้จ่ายจากโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้าง
ทางเศรษฐกิจ (SAL) จำนวน 20 ล้านบาท
3) งบประมาณสนับสนุนการบริหารและดำเนินการโครงการพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชน ใช้งบ
ค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฯ จำนวน 8,500 ล้านบาท โดยมีงบบริหารจัดการโครงการไม่เกินร้อยละ 1
2.6 สำหรับการบริหารจัดการโครงการนั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ และกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เป็นแกนกลางรับผิดชอบการดำเนินงานตามแผนงานด้านชุมชน และมีหน่วยงานสนับสนุน
ได้แก่ คณะทำงานประชารัฐ กรมส่งเสริมการเกษตร และมูลนิธิหมู่บ้าน เป็นหน่วยงานร่วมสนับสนุนงบประมาณบุคลากร และวิชาการ ในการ
ดำเนินงานตามแผนงานด้านชุมชนและจัดเวทีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับต่าง ๆ
3. รับทราบเรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่
3.1 กรอบแนวทางการจัดทำข้อเสนอแผนงาน (National Program) ด้านอุตสาหกรรม/SMEs กระทรวงอุตสาหกรรม
ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานการจัดเตรียมแผนงาน (National Program) ด้านอุตสาหกรรม/SMEs ได้กำหนดแนวทางในการจัดทำข้อเสนอโครงการ
4 แนวทาง ได้แก่ 1) การขยายโอกาสและเร่งรัดการส่งออก 2) การส่งเสริมและพัฒนาการเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ 3ฃ) การรักษา
สภาพการเรียนรู้และทักษะของแรงงานอุตสาหกรรม 4) การสร้างความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรม โดยการดำเนินการจะมี
แผนงานสนับสนุน 3 แผนงานหลัก 7 แผนงานย่อย โดยแนวทางการดำเนินการในระยะต่อไป กระทรวงอุตสาหกรรมจะแต่งตั้งคณะกรรมการแผน
งานด้านอุตสาหกรรมและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโครงการเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อทำหน้าที่จัดทำแผนงาน
โครงการเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และกลั่นกรองโครงการ รวมทั้งกำกับและติดตามโครงการที่ได้รับงบประมาณ โดยมีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
เป็นประธาน นายสถาพร กวิตานนท์ และ นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ เป็นที่ปรึกษา และมีผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
เป็นกรรมการและเลขานุการ
3.2 โครงการพัฒนาเกาะช้างและพื้นที่ใกล้เคียง สืบเนื่องจากคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการฟื้นฟูเศรษฐกิจ
ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
และประธานที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี (นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์) จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเกาะช้างให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ
ของภาคตะวันออก เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวและสร้างรายได้เงินตราต่างประเทศ โดยคณะทำงานพัฒนาและจัดเตรียมแผนงานโครงการ
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้ประสานงานกับจังหวัดตราด จ้ดทำโครงการพัฒนาหมู่เกาะช้างและพื้นที่บริเวณข้างเคียง ประกอบด้วย 35 โครงการย่อย
วงเงินลงทุน 307.850 ล้านบาท ประกอบกับกรมป่าไม้ได้เสนอโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง จังหวัดตราด
วงเงินลงทุน 71.775 ล้านบาท เพื่อขอใช้จ่ายจากค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐฏิจฯ ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองฯ พิจารณาแล้วมีมติ
มอบหมายให้คณะทำงานพัฒนาและจัดเตรียมแผนงานโครงการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจพิจารณารายละเอียดของโครงการ และรวมโครงการดังกล่าว
ให้เป็นโครงการเดียวกัน และนำเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ในการประชุมคราวต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 พ.ย. 44--
-สส-
ตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองโครงการเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเสนอ แล้วมีมติตามมติคณะกรรมการ
กลั่นกรองฯ สรุปได้ดังนี้
1. อนุมัติโครงการปรับปรุงและพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในอุทยาน
แห่งชาติ ของกรมป่าไม้ วงเงินลงทุน 217.72 ล้านบาท ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและเพิ่มคุณภาพ/มาตรการการบริการของที่พักแรมในอุทยาน
แห่งชาติทั้งทางบกและทางทะเลทั่วประเทศ จำนวน 54 แห่ง โดยปรับปรุงและพัฒนาที่พักแรม จัดหา/พัฒนาคุณภาพ
มาตรฐานสิ่งอำนวยความสะดวกและการบริการ และประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในอุทยานแห่งชาติ โดยมี
เป้าหมายเพื่อเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติจาก 11.9 ล้านคน/ปี เป็น 12.5 ล้านคน/ปี
1.2 ในระหว่างการดำเนินโครงการ จะก่อให้เกิดการสร้างงานประมาณ 2,500 คน/เดือน และระยะยาว
จะทำให้เกิดการสร้างงานด้านบริการท่องเที่ยวประมาณ 2,700 คน/เดือน รวมทั้งจะสร้างบุคลากรที่มีความพร้อมสำหรับบริการการ
ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างมีคุณภาพเพิ่มขึ้นจำนวนประมาณ 560 คน
1.3 การดำเนินงานโครงการจะใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 1 ปี (ตุลาคม 2544 - กันยายน 2545) วงเงินลงทุน
217.72 ล้านบาท ประกอบด้วย
หน่วย:ล้านบาท
กิจกรรม วงเงิน
1. ปรับปรุงที่พักแรมและพื้นที่กางเต้นท์ 182.82
2. จัดหาอุปกรณ์สำหรับบริการท่องเที่ยว (จักรยาน เรือแคนู อุปกรณ์ดำน้ำ) 10.6
3. ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ (สื่อสิ่งพิมพ์ นิทรรศการเคลื่อนที่ เครือข่ายข้อมูล Electronic) 12
4. การพัฒนาบุคลากร (ด้านบริการที่พักแรม นำเที่ยว ขายอาหาร - ของที่ระลึก) 4.8
5. ตรวจสอบ จัดทำรายละเอียดการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกและควบคุมการก่อสร้าง 5.5
6. การบริหารโครงการและติดตามประเมินผล 20
รวม 217.7
โดยมีแผนการเบิกจ่ายเป็นรายไตรมาส ดังนี้
ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 4
6.1 42.7 80.15 88.77
1.4 สำหรับการบริหารจัดการโครงการนั้น สำนักงานโครงการเงินกู้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (สสท.)
ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กรมป่าไม้ จะเป็นผู้ประสานการดำเนินการ และสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จะเป็นหน่วยกำกับการดำเนิน
การในอุทยานแห่งชาติ โดยใช้บุคลากรทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่ภายใต้แผนงาน National Program ด้านการท่องเที่ยว การท่องเที่ยว
แห่งประเทศไทย (ททท.) จะจัดตั้งคณะกรรมการกำกับการดำเนินการโครงการ เพื่อทำหน้าที่ติดตามการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามเป้า
หมายอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ให้สำนักงบประมาณเป็นผู้พิจารณาในรายละเอียด และให้กรมป่าไม้ จัดทำแผนปฏิบัติงาน
และรายละเอียดค่าใช้จ่ายเสนอขออนุมัติเงินจากสำนักงบประมาณภายใน 10 วันทำการ และให้กรมป่าไม้เร่งรัดการดำเนินงานและเบิกจ่าย
เงินภายใน 30 กันยายน 2545
2. ให้ความเห็นชอบกรอบแนวทางการจัดทำโครงการพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชน สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 โครงการพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างกระบวนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของชุมชน
และสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก โดยมีพื้นที่ชุมชนเป้าหมายจำนวน 8,434 แห่งทั่วประเทศ
2.2 การดำเนินโครงการจะจัดเวทีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชนและโครงการพัฒนา
เศรษฐกิจระดับชุมชนในทุกตำบล/อบต. เทศบาล ทั่วประเทศ รวมทั้งเขตในกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา โดยเน้นโครงการที่ก่อให้เกิด
การจ้างงานและเพิ่มรายได้ ส่งผลประโยชน์ต่อประชาชนในวงกว้าง เป็นโครงการที่มาจากเวทีพิจารณาร่วมระหว่างชุมชนและองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น (ไม่เป็นโครงการด้านก่อสร้างถนนและแหล่งน้ำ) และไม่ซ้ำซ้อนกับงบประมาณแหล่งอื่น
2.3 ขั้นตอนการอนุมัติโครงการสามารถจำแนกได้ 2 ระดับ ได้แก่
1) ระดับตำบล/เทศบาลเมือง
(1) ประชาคมตำบลร่วมกับสภาตำบล/อบต.เทศบาลตำบล เสนอแผนงาน/โครงการพัฒนา
เศรษฐกิจระดับชุมชน ให้คณะกรรมการพัฒนาอำเภอ (กพอ.) พิจารณากลั่นกรอง เพื่อเสนอคณะกรรมการพัฒนาจังหวัด (กพจ.) พิจารณา
อนุมัติโครงการ และคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจพิจารณาอนุมัติงบประมาณ
(2) ประชาคมเมืองร่วมกับเทศบาลเมือง/เทศบาลนคร/เมืองพัทยา เสนอแผนงาน/โครงการ
พัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชน ให้คณะกรรมการพัฒนาจังหวัด (กพจ.) พิจารณากลั่นกรองและอนุมัติโครงการ เพื่อเสนอคณะกรรมการกลั่นกรอง
โครงการเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจพิจารณาอนุมัติงบประมาณ
2) กรุงเทพมหานคร
(1) ประชาคมเมืองร่วมกับสำนักงานเขตในแต่ละเขต เสนอแผนงาน/โครงการพัฒนา
เศรษฐกิจระดับชุมชน ให้สำนักงานปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณากลั่นกรองและอนุมัติโครงการ เพื่อเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการ
เร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจพิจารณาอนุมัติงบประมาณ
2.4 การดำเนินโครงการพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชน จะก่อให้เกิดการจ้างงานและการเพิ่มรายได้ของ
ประชาชนในระดับชุมชนและท้องถิ่น รวมทั้งจะสามารถประสานงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กองทุน
หมู่บ้าน แผนหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และแผนอื่น ๆ ให้มีแนวทางการใช้งบประมาณที่สอดคล้องกับความต้องการของ
ชุมชนและท้องถิ่นอย่างมีแผนกิจกรรมรอบด้าน และเป็นการวางรากฐานระยะยาว เพื่อรองรับการกระจายอำนาจในการพัฒนาท้องถิ่นภายใต้
กรอบเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9
2.5 การดำเนินการจัดเตรียมโครงการจะใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 6 เดือน (พฤศจิกายน 2544 - เมษายน 2545)
โดยงบประมาณดำเนินการประกอบด้วย
1) การจัดเวทีกระบวนการมีส่วนร่วมในระดับชุมชน จะใช้จ่ายจากงบประมาณของเทศบาล/อบต.
แต่ละแห่ง
2) การจัดเวทีกระบวนการมีส่วนร่วมระดับจังหวัด จะใช้จ่ายจากโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้าง
ทางเศรษฐกิจ (SAL) จำนวน 20 ล้านบาท
3) งบประมาณสนับสนุนการบริหารและดำเนินการโครงการพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชน ใช้งบ
ค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฯ จำนวน 8,500 ล้านบาท โดยมีงบบริหารจัดการโครงการไม่เกินร้อยละ 1
2.6 สำหรับการบริหารจัดการโครงการนั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ และกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เป็นแกนกลางรับผิดชอบการดำเนินงานตามแผนงานด้านชุมชน และมีหน่วยงานสนับสนุน
ได้แก่ คณะทำงานประชารัฐ กรมส่งเสริมการเกษตร และมูลนิธิหมู่บ้าน เป็นหน่วยงานร่วมสนับสนุนงบประมาณบุคลากร และวิชาการ ในการ
ดำเนินงานตามแผนงานด้านชุมชนและจัดเวทีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับต่าง ๆ
3. รับทราบเรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่
3.1 กรอบแนวทางการจัดทำข้อเสนอแผนงาน (National Program) ด้านอุตสาหกรรม/SMEs กระทรวงอุตสาหกรรม
ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานการจัดเตรียมแผนงาน (National Program) ด้านอุตสาหกรรม/SMEs ได้กำหนดแนวทางในการจัดทำข้อเสนอโครงการ
4 แนวทาง ได้แก่ 1) การขยายโอกาสและเร่งรัดการส่งออก 2) การส่งเสริมและพัฒนาการเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ 3ฃ) การรักษา
สภาพการเรียนรู้และทักษะของแรงงานอุตสาหกรรม 4) การสร้างความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรม โดยการดำเนินการจะมี
แผนงานสนับสนุน 3 แผนงานหลัก 7 แผนงานย่อย โดยแนวทางการดำเนินการในระยะต่อไป กระทรวงอุตสาหกรรมจะแต่งตั้งคณะกรรมการแผน
งานด้านอุตสาหกรรมและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโครงการเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อทำหน้าที่จัดทำแผนงาน
โครงการเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และกลั่นกรองโครงการ รวมทั้งกำกับและติดตามโครงการที่ได้รับงบประมาณ โดยมีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
เป็นประธาน นายสถาพร กวิตานนท์ และ นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ เป็นที่ปรึกษา และมีผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
เป็นกรรมการและเลขานุการ
3.2 โครงการพัฒนาเกาะช้างและพื้นที่ใกล้เคียง สืบเนื่องจากคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการฟื้นฟูเศรษฐกิจ
ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
และประธานที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี (นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์) จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเกาะช้างให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ
ของภาคตะวันออก เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวและสร้างรายได้เงินตราต่างประเทศ โดยคณะทำงานพัฒนาและจัดเตรียมแผนงานโครงการ
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้ประสานงานกับจังหวัดตราด จ้ดทำโครงการพัฒนาหมู่เกาะช้างและพื้นที่บริเวณข้างเคียง ประกอบด้วย 35 โครงการย่อย
วงเงินลงทุน 307.850 ล้านบาท ประกอบกับกรมป่าไม้ได้เสนอโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง จังหวัดตราด
วงเงินลงทุน 71.775 ล้านบาท เพื่อขอใช้จ่ายจากค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐฏิจฯ ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองฯ พิจารณาแล้วมีมติ
มอบหมายให้คณะทำงานพัฒนาและจัดเตรียมแผนงานโครงการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจพิจารณารายละเอียดของโครงการ และรวมโครงการดังกล่าว
ให้เป็นโครงการเดียวกัน และนำเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ในการประชุมคราวต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 พ.ย. 44--
-สส-