คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. …. ที่ค้างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรชุดก่อน วาระที่ 1 ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ซึ่งคณะรัฐมนตรีชุดก่อนได้มีมติอนุมัติหลักการไว้แล้วประกอบกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎร เมื่อพ้นวันที่ 4 เมษายน 2544 ต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดลักษณะ ความสมบูรณ์ และผลบังคับของสัญญาอนุญาโตตุลาการ
2. กำหนดวิธีการตั้ง คุณสมบัติ การคัดค้าน การสิ้นสุดลง และความรับผิดของคณะอนุญาโตตุลาการ
3. กำหนดขอบอำนาจของคณะอนุญาโตตุลาการ
4. กำหนดวิธีพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ
5. การทำคำชี้ขาดและการสิ้นสุดกระบวนพิจารณา
6. กำหนดการคัดค้านคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
7. กำหนดการยอมรับและบังคับตามคำชี้ขาดและการอุทธรณ์
8. กำหนดค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย และค่าป่วยการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 3 เม.ย.2544
-สส-
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดลักษณะ ความสมบูรณ์ และผลบังคับของสัญญาอนุญาโตตุลาการ
2. กำหนดวิธีการตั้ง คุณสมบัติ การคัดค้าน การสิ้นสุดลง และความรับผิดของคณะอนุญาโตตุลาการ
3. กำหนดขอบอำนาจของคณะอนุญาโตตุลาการ
4. กำหนดวิธีพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ
5. การทำคำชี้ขาดและการสิ้นสุดกระบวนพิจารณา
6. กำหนดการคัดค้านคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
7. กำหนดการยอมรับและบังคับตามคำชี้ขาดและการอุทธรณ์
8. กำหนดค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย และค่าป่วยการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 3 เม.ย.2544
-สส-