ทำเนียบรัฐบาล--19 ธ.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการสร้างสรรค์พลังแผ่นดินให้เป็นไปตามแนวทางพัฒนาประเทศแบบองค์รวมที่มีคนเป็นศูนย์กลาง ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 - 9 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ สำหรับการใช้งบประมาณในช่วงปีงบประมาณ 2544 - 2546 เพื่อดำเนินการตามโครงการนี้ เนื่องจากเห็นว่าเป็นโครงการที่มีวงเงินค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง อีกทั้งเป็นโครงการที่เสนอขึ้นระหว่างปีงบประมาณโดยไม่ได้ผ่านการอนุมัติจากรัฐสภาก่อน ตามกระบวนการใช้จ่ายเงินงบประมาณ จึงสมควรพิจารณาความเหมาะสมอย่างแท้จริงในการขอใช้จ่ายเงินงบประมาณจำนวนมาก และควรปรับกลยุทธ์แนวทางการดำเนินงานโครงการสร้างสรรค์พลังแผ่นดินฯในลักษณะเสริมโครงการภายใต้มาตรการเสริมการพัฒนาชนบทและชุมชนในการพัฒนาขีดความสามารถของชุมชนทุกระดับให้เข้มแข็ง และสามารถปรับลดวงเงินของโครงการลงได้ เนื่องจากไม่มีความจำเป็นและเหมาะสมที่จะต้องใช้เงินจำนวนมากดังที่เสนอ ซึ่งสำนักงบประมาณจะได้พิจารณาจัดสรรเงินงบประมาณให้ตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานว่า ได้จัดทำโครงการสร้างสรรค์พลังแผ่นดินให้เป็นไปตามแนวทางพัฒนาประเทศแบบองค์รวมที่มีคนเป็นศูนย์กลาง ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 - 9โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
การจัดทำแผนพัฒนา ฉบับที่ 8 และ 9 ที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางในลักษณะองค์รวม นับเป็นจุดหักเหของกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาประเทศครั้งยิ่งใหญ่ ในระยะเวลาที่ผ่านมาประเทศได้บทเรียนที่สำคัญทางด้านการแปลงแผนไปสู่ภาคปฏิบัติ โดยสร้างความสามารถให้คนในสังคมได้ตระหนัก เข้าใจและเรียนรู้จากการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจสังคมยุคใหม่อย่างเป็นระบบ เป็นการจัดการทางสังคมในเชิงยุทธศาสตร์ สร้างสรรค์สังคมในทางบวก โดยมุ่งเน้นพลังทางปัญญาพลังจินตนาการในการสร้างความสุขให้กับสังคม มีการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม สร้างกระบวนการการเรียนรู้ใหม่ ๆ จากการเปลี่ยนแปลงในแนวทางที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางแบบองค์รวม ซึ่งรวมถึงการร่วมกันวิเคราะห์โอกาส ภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง รวมถึงจุดอ่อน จุดแข็งและกำหนดภารกิจ ยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ โครงการสร้างสรรค์พลังแผ่นดินฯ จึงเป็นการสร้างให้รู้เนื้อหาจากความรู้ทั่วทั้งโลกสร้างให้มีวิธีเรียนรู้ในเชิงร่วมคิด ร่วมทำอย่างมีเนื้อหาสาระ สร้างสรรค์ให้เกิดการเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากที่เป็นผู้ทำเองทั้งหมดเป็นการสร้างเครือข่ายและเป็นกัลยาณมิตรกับฝ่ายต่าง ๆ สร้างให้เป็นนิสัยเกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไปสู่องค์กรต่าง ๆ ทั่วประเทศ
ทั้งนี้ เพื่อสร้างกระบวนการให้สังคมรับรู้ เข้าใจ มีความรู้สึกเป็นเจ้าของและเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ไปสู่ภาคปฏิบัติ เพื่อสร้างวิทยากรกระบวนการเพื่อสนับสนุนการแปลงแผนพัฒนาฯฉบับที่ 9 ไปสู่การปฏิบัติ พัฒนากระบวนการ กลไกและเครือข่ายที่สำคัญฯ และพัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ในประชาคมระดับต่าง ๆ จนถึงประชาคมอาเซียน
สำหรับแนวทางดำเนินงาน มีแนวทางการเตรียมความพร้อมให้กับคน เพื่อพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถวิทยากรกระบวนการให้เป็นแกนสนับสนุนการแปลงแผนฯ ไปสู่ภาคปฏิบัติ จำนวน 1,000 คน (ปี 2544 - 2546) โดยเน้นการคัดเลือกผู้ที่จะเข้ารับการเพิ่มขีดความสามารถเพื่อที่บุคคลนั้น ๆ จะนำความรู้ไปสร้างเครือข่าย ขยายผลต่อเนื่องได้มากขึ้น สำหรับการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถให้กับสถาบันของภาครัฐและเอกชน เพื่อใช้ประสบการณ์จากการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถให้กับวิทยากรกระบวนการ ถ่ายทอด แลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อให้หน่วยฝึกอบรมที่มีอยู่ในปัจจุบันให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรเพื่อเป็นวิทยากรกระบวนการต่อไป และแนวทางการพัฒนาศักยภาพเอื้อให้เกิดการสร้างสรรค์พลังแผ่นดิน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 ธ.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการสร้างสรรค์พลังแผ่นดินให้เป็นไปตามแนวทางพัฒนาประเทศแบบองค์รวมที่มีคนเป็นศูนย์กลาง ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 - 9 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ สำหรับการใช้งบประมาณในช่วงปีงบประมาณ 2544 - 2546 เพื่อดำเนินการตามโครงการนี้ เนื่องจากเห็นว่าเป็นโครงการที่มีวงเงินค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง อีกทั้งเป็นโครงการที่เสนอขึ้นระหว่างปีงบประมาณโดยไม่ได้ผ่านการอนุมัติจากรัฐสภาก่อน ตามกระบวนการใช้จ่ายเงินงบประมาณ จึงสมควรพิจารณาความเหมาะสมอย่างแท้จริงในการขอใช้จ่ายเงินงบประมาณจำนวนมาก และควรปรับกลยุทธ์แนวทางการดำเนินงานโครงการสร้างสรรค์พลังแผ่นดินฯในลักษณะเสริมโครงการภายใต้มาตรการเสริมการพัฒนาชนบทและชุมชนในการพัฒนาขีดความสามารถของชุมชนทุกระดับให้เข้มแข็ง และสามารถปรับลดวงเงินของโครงการลงได้ เนื่องจากไม่มีความจำเป็นและเหมาะสมที่จะต้องใช้เงินจำนวนมากดังที่เสนอ ซึ่งสำนักงบประมาณจะได้พิจารณาจัดสรรเงินงบประมาณให้ตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานว่า ได้จัดทำโครงการสร้างสรรค์พลังแผ่นดินให้เป็นไปตามแนวทางพัฒนาประเทศแบบองค์รวมที่มีคนเป็นศูนย์กลาง ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 - 9โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
การจัดทำแผนพัฒนา ฉบับที่ 8 และ 9 ที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางในลักษณะองค์รวม นับเป็นจุดหักเหของกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาประเทศครั้งยิ่งใหญ่ ในระยะเวลาที่ผ่านมาประเทศได้บทเรียนที่สำคัญทางด้านการแปลงแผนไปสู่ภาคปฏิบัติ โดยสร้างความสามารถให้คนในสังคมได้ตระหนัก เข้าใจและเรียนรู้จากการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจสังคมยุคใหม่อย่างเป็นระบบ เป็นการจัดการทางสังคมในเชิงยุทธศาสตร์ สร้างสรรค์สังคมในทางบวก โดยมุ่งเน้นพลังทางปัญญาพลังจินตนาการในการสร้างความสุขให้กับสังคม มีการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม สร้างกระบวนการการเรียนรู้ใหม่ ๆ จากการเปลี่ยนแปลงในแนวทางที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางแบบองค์รวม ซึ่งรวมถึงการร่วมกันวิเคราะห์โอกาส ภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง รวมถึงจุดอ่อน จุดแข็งและกำหนดภารกิจ ยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ โครงการสร้างสรรค์พลังแผ่นดินฯ จึงเป็นการสร้างให้รู้เนื้อหาจากความรู้ทั่วทั้งโลกสร้างให้มีวิธีเรียนรู้ในเชิงร่วมคิด ร่วมทำอย่างมีเนื้อหาสาระ สร้างสรรค์ให้เกิดการเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากที่เป็นผู้ทำเองทั้งหมดเป็นการสร้างเครือข่ายและเป็นกัลยาณมิตรกับฝ่ายต่าง ๆ สร้างให้เป็นนิสัยเกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไปสู่องค์กรต่าง ๆ ทั่วประเทศ
ทั้งนี้ เพื่อสร้างกระบวนการให้สังคมรับรู้ เข้าใจ มีความรู้สึกเป็นเจ้าของและเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ไปสู่ภาคปฏิบัติ เพื่อสร้างวิทยากรกระบวนการเพื่อสนับสนุนการแปลงแผนพัฒนาฯฉบับที่ 9 ไปสู่การปฏิบัติ พัฒนากระบวนการ กลไกและเครือข่ายที่สำคัญฯ และพัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ในประชาคมระดับต่าง ๆ จนถึงประชาคมอาเซียน
สำหรับแนวทางดำเนินงาน มีแนวทางการเตรียมความพร้อมให้กับคน เพื่อพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถวิทยากรกระบวนการให้เป็นแกนสนับสนุนการแปลงแผนฯ ไปสู่ภาคปฏิบัติ จำนวน 1,000 คน (ปี 2544 - 2546) โดยเน้นการคัดเลือกผู้ที่จะเข้ารับการเพิ่มขีดความสามารถเพื่อที่บุคคลนั้น ๆ จะนำความรู้ไปสร้างเครือข่าย ขยายผลต่อเนื่องได้มากขึ้น สำหรับการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถให้กับสถาบันของภาครัฐและเอกชน เพื่อใช้ประสบการณ์จากการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถให้กับวิทยากรกระบวนการ ถ่ายทอด แลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อให้หน่วยฝึกอบรมที่มีอยู่ในปัจจุบันให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรเพื่อเป็นวิทยากรกระบวนการต่อไป และแนวทางการพัฒนาศักยภาพเอื้อให้เกิดการสร้างสรรค์พลังแผ่นดิน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 ธ.ค. 2543--
-สส-