ทำเนียบรัฐบาล--15 ก.พ.--รอยเตอร์
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินงานในเรื่องการจัดหาที่ดินเพื่อปลูกต้นยูคาลิปตัสในการผลิตเยื่อกระดาษส่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดยกลุ่มบริษัทเกษตรรุ่งเรืองพืชผล จำกัด ซึ่งเป็นผู้ลงทุนฝ่ายไทย มีความประสงค์จะขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเสื่อมโทรม เนื้อที่ประมาณ 2 - 2.5 แสนไร่ เพื่อรองรับโครงการปลูกป่าและตั้งโรงงานผลิตเยื่อกระดาษ โดยบริษัทฯ จะได้ทำการชี้แจงประชาสัมพันธ์เพื่อให้ราษฎรที่ครอบครองที่ดินอยู่ก่อนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ความยินยอมในการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ และบริษัทฯ จะรับเป็นภาระในกรณีที่ราษฎรร้องขอค่าชดเชยต่าง ๆ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังต้องการพื้นที่ของ ส.ป.ก. เนื้อที่ประมาณ 5 แสนไร่อีกด้วย ซึ่งคณะทำงานฯ ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินงานจัดหาพื้นที่รองรับโครงการไว้ ดังนี้
1. ให้มีการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนฯ ขึ้นมาอย่างเป็นทางการก่อนเป็นอันดับแรก
2. กรมป่าไม้จะตั้งคณะทำงานขึ้นมาชุดหนึ่ง โดยคณะทำงานประกอบด้วยผู้แทนกรมป่าไม้ และผู้แทนบริษัท ร่วมทุนเพื่อทำการสำรวจรังวัดแปลงปลูกป่าทุกแปลงลงในแผนที่ โดยให้สำรวจรายละเอียดเกี่ยวกับการครอบครองสิทธิ์ของราษฎรด้วย และราษฎรผู้ครอบครองจะต้องรับรองว่าจะไม่ใช้ประโยชน์ต่อไป ในกรณีที่ราษฎรร้องขอค่าชดเชยไม่ว่าจะประเภทใดก็ตาม ให้เป็นภาระของบริษัททั้งหมด
3. เมื่อได้จัดทำแผนที่ตาม 2. แล้วเสร็จ บริษัทร่วมทุนจะยื่นคำขออนุญาตใช้พื้นที่ (ตามขอบเขตในแผนที่) พร้อมรายละเอียดของโครงการต่อกรมป่าไม้ โดยจะต้องมีบันทึกหลักฐานที่แสดงว่าราษฎรที่ครอบครองที่ดินอยู่ก่อน ไม่ขัดข้องในการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าวแล้วแนบประกอบด้วย จากนั้นกรมป่าไม้จะได้ดำเนินการตามขั้นตอน เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโดยจะได้จัดทำสัญญาหรือกำหนดเงื่อนไขตามความเหมาะสมต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2543--
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินงานในเรื่องการจัดหาที่ดินเพื่อปลูกต้นยูคาลิปตัสในการผลิตเยื่อกระดาษส่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดยกลุ่มบริษัทเกษตรรุ่งเรืองพืชผล จำกัด ซึ่งเป็นผู้ลงทุนฝ่ายไทย มีความประสงค์จะขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเสื่อมโทรม เนื้อที่ประมาณ 2 - 2.5 แสนไร่ เพื่อรองรับโครงการปลูกป่าและตั้งโรงงานผลิตเยื่อกระดาษ โดยบริษัทฯ จะได้ทำการชี้แจงประชาสัมพันธ์เพื่อให้ราษฎรที่ครอบครองที่ดินอยู่ก่อนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ความยินยอมในการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ และบริษัทฯ จะรับเป็นภาระในกรณีที่ราษฎรร้องขอค่าชดเชยต่าง ๆ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังต้องการพื้นที่ของ ส.ป.ก. เนื้อที่ประมาณ 5 แสนไร่อีกด้วย ซึ่งคณะทำงานฯ ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินงานจัดหาพื้นที่รองรับโครงการไว้ ดังนี้
1. ให้มีการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนฯ ขึ้นมาอย่างเป็นทางการก่อนเป็นอันดับแรก
2. กรมป่าไม้จะตั้งคณะทำงานขึ้นมาชุดหนึ่ง โดยคณะทำงานประกอบด้วยผู้แทนกรมป่าไม้ และผู้แทนบริษัท ร่วมทุนเพื่อทำการสำรวจรังวัดแปลงปลูกป่าทุกแปลงลงในแผนที่ โดยให้สำรวจรายละเอียดเกี่ยวกับการครอบครองสิทธิ์ของราษฎรด้วย และราษฎรผู้ครอบครองจะต้องรับรองว่าจะไม่ใช้ประโยชน์ต่อไป ในกรณีที่ราษฎรร้องขอค่าชดเชยไม่ว่าจะประเภทใดก็ตาม ให้เป็นภาระของบริษัททั้งหมด
3. เมื่อได้จัดทำแผนที่ตาม 2. แล้วเสร็จ บริษัทร่วมทุนจะยื่นคำขออนุญาตใช้พื้นที่ (ตามขอบเขตในแผนที่) พร้อมรายละเอียดของโครงการต่อกรมป่าไม้ โดยจะต้องมีบันทึกหลักฐานที่แสดงว่าราษฎรที่ครอบครองที่ดินอยู่ก่อน ไม่ขัดข้องในการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าวแล้วแนบประกอบด้วย จากนั้นกรมป่าไม้จะได้ดำเนินการตามขั้นตอน เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโดยจะได้จัดทำสัญญาหรือกำหนดเงื่อนไขตามความเหมาะสมต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2543--