คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานการณ์เกี่ยวกับการลดอากรนำเข้ากากถั่วเหลืองประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
1. ข้อเท็จจริง
1.1 สินค้าอาหารสัตว์และน้ำมันพืช เป็นสินค้าควบคุม โดยใช้มาตรฐานทางกฎหมาย คือ กำหนดให้ผู้จำหน่ายปิดป้ายแสดงราคาจำหน่ายปลีก และใช้มาตรการบริหารโดยขอความร่วมมือผู้ประกอบการให้แจ้งการตั้งหรือปรับราคาจำหน่ายปลีก ล่วงหน้า 15 วันก่อนการเปลี่ยนแปลงราคาจำหน่าย โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้กำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
1.2 สินค้าเมล็ดถั่วเหลือง คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (7 ธ.ค.47) ได้อนุมัติการเปิดตลาดนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองปี 2548 ตามมติคณะกรรมการนโยบายถั่วเหลืองและพืชน้ำมันอื่น (รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับการบริหารราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน) ให้นำเข้าไม่จำกัดปริมาณและช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้าในโควต้า 0 % นอกโควตา 80 % กำหนดให้ผู้มีสิทธินำเข้าในโควตาต้องรับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองที่ผลิตในประเทศจากเกษตรกรทั้งหมดในราคาที่กำหนด โดยให้ทำสัญญารับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองภายในประเทศกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์
2. ผลจากการลดอากรนำเข้ากากถั่วเหลืองเหลือ 4 %
2.1 สินค้าอาหารสัตว์และน้ำมันถั่วเหลือง
2.1.1 กรณีที่กำหนดให้ปัจจัยอื่นที่มีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและราคาจำหน่ายคงที่ และให้ราคากากถั่วเหลืองลดลงในอัตราเดียวกันกับต้นทุนนำเข้ากากถั่วเหลืองที่ลดลง อันเนื่องมาจากอัตราอากรนำเข้ากากถั่วเหลืองลดลง 1% นั้น ส่งผลให้ต้นทุนและราคาอาหารสัตว์จะลดลง แต่ต้นทุนและราคาน้ำมันถั่วเหลืองจะสูงขึ้น ดังนี้
อาหารสัตว์ ต้นทุนการผลิตลดลง 0.06 -0.95 บาท/ถุง (30 กก.) หรือ
0.04 % - 0.20 %
ราคาจำหน่ายควรลดลง 1 บาท/ถุง (30 กก.) หรือ
0.07 % - 0.19 %
น้ำมันถั่วเหลือง ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น 0.50 บาท/ขวด 1 ลิตร หรือ 1.68 %
ราคาจำหน่ายควรสูงขึ้น 0.54 บาท/ขวด 1 ลิตร หรือ 1.44 %
2.1.2 กรณีกำหนดให้ปัจจัยอื่นเป็นไปตามข้อเท็จจริง โดยจากการติดตามราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ ณ เดือนมกราคม 2548 ปรากฏว่าราคาวัตถุดิบข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงขึ้น 1.30 % ปลายข้าวสูงขึ้น 2.22 % กากถั่วเหลืองทรงตัว ปลาป่นลดลง 1.99% เมล็ดถั่วเหลืองในประเทศและนำเข้าลดลง 0.17 % และ 0.88 % ผลการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและราคาจำหน่าย ณ เดือนมกราคม 2548 ปรากฏว่าต้นทุนและราคาอาหารสัตว์ และน้ำมันถั่วเหลืองควรลดลง ดังนี้
อาหารสัตว์ ต้นทุนการผลิตลดลง 1.06 - 7.94 บาท/ถุง (30 กก.) หรือ
0.03 % - 0.97 %
ราคาจำหน่ายควรลดลง 1 - 9 บาท/ถุง (30 กก.) หรือ
0.24 % - 1.44 %
น้ำมันถั่วเหลือง ต้นทุนการผลิตลดลง 0.51 บาท/ขวด 1 ลิตร หรือ 1.72 %
ราคาจำหน่ายควรลดลง 0.54 บาท/ขวด 1 ลิตร หรือ 1.44 %
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน จะแจ้งผู้ประกอบการดำเนินการปรับลดราคาจำหน่ายให้สอดคล้องตามผลกระทบดังกล่าว และจะได้ติดตามสถานการณ์การผลิต การจำหน่ายอย่างใกล้ชิด
อนึ่ง จากการติดตามสถานการณ์เดือนกุมภาพันธ์ 2548 ปรากฎว่าราคาขายปลีกน้ำมันถั่วเหลืองได้ลดลงสอดคล้องกับผลกระทบแล้ว แต่ราคาอาหารสัตว์สำเร็จรูปยังทรงตัวเท่ากับเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากยังคงจำหน่ายจากสต๊อคต้นทุนเดิมอยู่
2.2 สำหรับการรับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองภายในประเทศ อยู่ในความรับผิดชอบของคณะอนุกรรมการกำกับดูแล และติดตามการรับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองภายในประเทศ และการใช้เมล็ดถั่วเหลืองนำเข้า ซึ่งกรมการค้าภายในได้ประสานแจ้งไปยังเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการฯ เพื่อพิจารณาดำเนินการกำกับดูแลติดตามการรับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองภายในประเทศให้เป็นไปตามนัยมติคณะรัฐมนตรี (23 พ.ย.47) ในเรื่องการจัดซื้อผลผลิตถั่วเหลืองภายในประเทศต้องดำเนินการอย่างทั่วถึง ครอบคลุมทั้งเกษตรกรรายใหญ่และรายย่อยอย่างเคร่งครัดแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาร่างสัญญาการรับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองของคณะอนุกรรมการดังกล่าว
สถานการณ์เมล็ดถั่วเหลืองเดือนมกราคม 2548 ปรากฏว่า ราคาเมล็ดถั่วเหลืองที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเป็น กก.ละ 13.00 บาท (ขณะที่กำหนดให้ผู้มีสิทธินำเข้าต้องรับซื้อจากเกษตรกรในราคาไม่ต่ำกว่า กก.ละ 10.00 บาท) เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูถั่วเหลืองฤดูฝน ซึ่งส่วนใหญ่ผลผลิตปีนี้มีคุณภาพดี และถั่วเหลืองฤดูแล้งยังไม่ออกสู่ตลาด (จะเริ่มออกสู่ตลาดในช่วงเดือนมีนาคม 2548)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 มีนาคม 2548--จบ--
1. ข้อเท็จจริง
1.1 สินค้าอาหารสัตว์และน้ำมันพืช เป็นสินค้าควบคุม โดยใช้มาตรฐานทางกฎหมาย คือ กำหนดให้ผู้จำหน่ายปิดป้ายแสดงราคาจำหน่ายปลีก และใช้มาตรการบริหารโดยขอความร่วมมือผู้ประกอบการให้แจ้งการตั้งหรือปรับราคาจำหน่ายปลีก ล่วงหน้า 15 วันก่อนการเปลี่ยนแปลงราคาจำหน่าย โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้กำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
1.2 สินค้าเมล็ดถั่วเหลือง คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (7 ธ.ค.47) ได้อนุมัติการเปิดตลาดนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองปี 2548 ตามมติคณะกรรมการนโยบายถั่วเหลืองและพืชน้ำมันอื่น (รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับการบริหารราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน) ให้นำเข้าไม่จำกัดปริมาณและช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้าในโควต้า 0 % นอกโควตา 80 % กำหนดให้ผู้มีสิทธินำเข้าในโควตาต้องรับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองที่ผลิตในประเทศจากเกษตรกรทั้งหมดในราคาที่กำหนด โดยให้ทำสัญญารับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองภายในประเทศกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์
2. ผลจากการลดอากรนำเข้ากากถั่วเหลืองเหลือ 4 %
2.1 สินค้าอาหารสัตว์และน้ำมันถั่วเหลือง
2.1.1 กรณีที่กำหนดให้ปัจจัยอื่นที่มีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและราคาจำหน่ายคงที่ และให้ราคากากถั่วเหลืองลดลงในอัตราเดียวกันกับต้นทุนนำเข้ากากถั่วเหลืองที่ลดลง อันเนื่องมาจากอัตราอากรนำเข้ากากถั่วเหลืองลดลง 1% นั้น ส่งผลให้ต้นทุนและราคาอาหารสัตว์จะลดลง แต่ต้นทุนและราคาน้ำมันถั่วเหลืองจะสูงขึ้น ดังนี้
อาหารสัตว์ ต้นทุนการผลิตลดลง 0.06 -0.95 บาท/ถุง (30 กก.) หรือ
0.04 % - 0.20 %
ราคาจำหน่ายควรลดลง 1 บาท/ถุง (30 กก.) หรือ
0.07 % - 0.19 %
น้ำมันถั่วเหลือง ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น 0.50 บาท/ขวด 1 ลิตร หรือ 1.68 %
ราคาจำหน่ายควรสูงขึ้น 0.54 บาท/ขวด 1 ลิตร หรือ 1.44 %
2.1.2 กรณีกำหนดให้ปัจจัยอื่นเป็นไปตามข้อเท็จจริง โดยจากการติดตามราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ ณ เดือนมกราคม 2548 ปรากฏว่าราคาวัตถุดิบข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงขึ้น 1.30 % ปลายข้าวสูงขึ้น 2.22 % กากถั่วเหลืองทรงตัว ปลาป่นลดลง 1.99% เมล็ดถั่วเหลืองในประเทศและนำเข้าลดลง 0.17 % และ 0.88 % ผลการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและราคาจำหน่าย ณ เดือนมกราคม 2548 ปรากฏว่าต้นทุนและราคาอาหารสัตว์ และน้ำมันถั่วเหลืองควรลดลง ดังนี้
อาหารสัตว์ ต้นทุนการผลิตลดลง 1.06 - 7.94 บาท/ถุง (30 กก.) หรือ
0.03 % - 0.97 %
ราคาจำหน่ายควรลดลง 1 - 9 บาท/ถุง (30 กก.) หรือ
0.24 % - 1.44 %
น้ำมันถั่วเหลือง ต้นทุนการผลิตลดลง 0.51 บาท/ขวด 1 ลิตร หรือ 1.72 %
ราคาจำหน่ายควรลดลง 0.54 บาท/ขวด 1 ลิตร หรือ 1.44 %
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน จะแจ้งผู้ประกอบการดำเนินการปรับลดราคาจำหน่ายให้สอดคล้องตามผลกระทบดังกล่าว และจะได้ติดตามสถานการณ์การผลิต การจำหน่ายอย่างใกล้ชิด
อนึ่ง จากการติดตามสถานการณ์เดือนกุมภาพันธ์ 2548 ปรากฎว่าราคาขายปลีกน้ำมันถั่วเหลืองได้ลดลงสอดคล้องกับผลกระทบแล้ว แต่ราคาอาหารสัตว์สำเร็จรูปยังทรงตัวเท่ากับเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากยังคงจำหน่ายจากสต๊อคต้นทุนเดิมอยู่
2.2 สำหรับการรับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองภายในประเทศ อยู่ในความรับผิดชอบของคณะอนุกรรมการกำกับดูแล และติดตามการรับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองภายในประเทศ และการใช้เมล็ดถั่วเหลืองนำเข้า ซึ่งกรมการค้าภายในได้ประสานแจ้งไปยังเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการฯ เพื่อพิจารณาดำเนินการกำกับดูแลติดตามการรับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองภายในประเทศให้เป็นไปตามนัยมติคณะรัฐมนตรี (23 พ.ย.47) ในเรื่องการจัดซื้อผลผลิตถั่วเหลืองภายในประเทศต้องดำเนินการอย่างทั่วถึง ครอบคลุมทั้งเกษตรกรรายใหญ่และรายย่อยอย่างเคร่งครัดแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาร่างสัญญาการรับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองของคณะอนุกรรมการดังกล่าว
สถานการณ์เมล็ดถั่วเหลืองเดือนมกราคม 2548 ปรากฏว่า ราคาเมล็ดถั่วเหลืองที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเป็น กก.ละ 13.00 บาท (ขณะที่กำหนดให้ผู้มีสิทธินำเข้าต้องรับซื้อจากเกษตรกรในราคาไม่ต่ำกว่า กก.ละ 10.00 บาท) เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูถั่วเหลืองฤดูฝน ซึ่งส่วนใหญ่ผลผลิตปีนี้มีคุณภาพดี และถั่วเหลืองฤดูแล้งยังไม่ออกสู่ตลาด (จะเริ่มออกสู่ตลาดในช่วงเดือนมีนาคม 2548)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 มีนาคม 2548--จบ--