ทำเนียบรัฐบาล--26 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการจูงใจยุบเลิกตำแหน่งว่างมีเงิน ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี(นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) รองประธานกรรมการปฏิรูประบบราชการเสนอ ซึ่งมาตรการจูงใจยุบเลิกตำแหน่งว่างมีเงินดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การลดขนาดกำลังคนภาครัฐเป็นไปตามเป้าหมายมากขึ้น สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ในระยะยาว และยังเป็นการตอบแทนส่วนราชการที่สมัครใจเข้ามีส่วนร่วมในการปฏิรูประบบราชการตามนโยบายของรัฐบาล และเป็นมาตรการที่มีผลกับทุกระทรวง ทบวง กรม
ทั้งนี้ คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการได้พิจารณาแล้วเห็นว่า มาตรการจูงใจให้ส่วนราชการยุบเลิกตำแหน่งว่างมีเงินจะช่วยให้การลดขนาดกำลังคนภาครัฐตามแผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการเป็นไปตามเป้าหมายได้มากขึ้น สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านกำลังคนภาครัฐลงได้ในระยะยาว และยังเป็นการตอบแทนส่วนราชการที่สมัครใจเข้ามีส่วนร่วมในการปฎิรูประบบราชการตามนโยบายของรัฐบาล จึงมีมติเห็นชอบกับมาตรการจูงใจยุบเลิกตำแหน่งว่างมีเงินตามที่กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ. ได้ร่วมกันพิจารณาและเสนอ ดังนี้
1. มาตรการจูงใจที่กำหนดขึ้น ต้องไม่ทำให้รัฐรับภาระด้านงบประมาณรายจ่ายเพิ่มขึ้นในระยะยาว
2. มาตรการจูงใจที่กำหนดขึ้น ให้ใช้กับส่วนราชการที่ยุบเลิกตำแหน่งข้าราชการที่เป็นตำแหน่งว่างมีเงินด้วยความสมัครใจ
3. มาตรการจูงใจที่กำหนดขึ้น ต้องเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ โดยส่วนรวมตามภารกิจหลักภายใต้นโยบายและกรอบแผนปฏิบัติการของส่วนราชการ
4. ส่วนราชการที่ยุบเลิกตำแหน่งว่างมีเงินด้วยความสมัครใจตามมาตรการนี้ จะขอคืนตำแหน่งที่ยุบเลิกและขอตำแหน่งเพิ่มใหม่อีกไม่ได้
5. จำนวนเงินที่ส่วนราชการจะได้รับ ให้เท่ากับจำนวนที่รัฐจะต้องจ่ายเป็นเงินเดือนสำหรับตำแหน่งนั้นเป็นเวลา 5 ปี โดยให้ส่วนราชการจัดทำแผนการใช้เงินดังกล่าวเป็นเวลา 5 ปี เพื่อมิให้เป็นภาระกับงบประมาณรายจ่ายในปีแรกมากเกินไป และเมื่อส่วนราชการประสงค์จะใช้เงินในปีแรกเพียงบางส่วน สามารถนำจำนวนเงินส่วนที่เหลือไปขอตั้งงบประมาณในปีที่ 2 ถึงปีที่ 5 ได้ แต่หากภายใน 5 ปี ส่วนราชการใช้เงินดังกล่าวไม่หมดให้ถือเป็นสิ้นสุดโครงการ ไม่อาจนำเงินไปใช้ในปีต่อ ๆ ไปได้อีก
6. วิธีปฏิบัติในการใช้จ่ายเงิน ให้ส่วนราชการวางแผนการใช้จ่ายเงินว่าจะนำไปใช้ในเรื่องใด ในปีงบประมาณใด เป็นจำนวนเท่าใด โดย
6.1 ในปีแรกที่ยุบเลิกอัตราว่างมีเงินให้ขอตกลงกับสำนักงบประมาณขอโอนเงินที่ต้องใช้ในปีแรกจากหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำไปตั้งจ่ายในหมวดรายจ่ายอื่น (โครงการปฏิรูประบบราชการ) ตามแผนการใช้เงิน
6.2 ในปีที่ 2 ถึงปีที่ 5 ให้ส่วนราชการขอตั้งงบประมาณรายจ่ายในหมวดรายจ่ายอื่น (โครงการปฏิรูประบบราชการ) เท่ากับจำนวนที่ต้องใช้ตามแผนการใช้เงิน
6.3 การจัดสรรงบประมาณตามแผนการใช้จ่ายเงินของส่วนราชการต้องคำนึงถึงกำลังเงินของรัฐบาลเป็นปี ๆ ไป
7. แนวทางปฏิบัติตามมาตรการจูงใจ
7.1 ให้ส่วนราชการที่ประสงค์จะยุบเลิกตำแหน่งข้าราชการที่เป็นตำแหน่งว่างมีเงินโดยสมัครใจ จัดทำบัญชีตำแหน่งและอัตราเงินเดือนส่งให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลยุบเลิก
7.2 ให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลยุบเลิกตำแหน่งตามความประสงค์ของส่วนราชการ แล้วแจ้งการยุบเลิกตำแหน่งให้ส่วนราชการ สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และสำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการทราบ
7.3 ให้ส่วนราชการคำนวณจำนวนเงินและจัดทำแผนการใช้เงิน โดยกำหนดเป็นระยะเวลา 5 ปี
7.4 ในปีแรกให้ส่วนราชการทำความตกลงกับสำนักงบประมาณตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2525 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ขอโอนงบประมาณหมวดเงินเดือนของตำแหน่งที่ยุบเลิกตามที่คำนวณได้ไปเป็นหมวดรายจ่ายอื่น (โครงการปฏิรูประบบราชการ) ส่วนในปีที่ 2 ถึงปีที่ 5 ให้ขอตั้งงบประมาณในหมวดรายจ่ายอื่นตามจำนวนเงินที่คำนวณได้ในส่วนที่เหลือ โดยให้เป็นไปตามแผนการใช้เงินและตามกำลังเงินของประเทศ
7.5 ให้ส่วนราชการใช้ดุลพินิจในการใช้งบประมาณหมวดรายจ่ายอื่น (โครงการปฏิรูประบบราชการ)เพิ่มเติมประสิทธิภาพการทำงานได้ตามความจำเป็น ความเหมาะสม และประหยัด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 26 ก.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการจูงใจยุบเลิกตำแหน่งว่างมีเงิน ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี(นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) รองประธานกรรมการปฏิรูประบบราชการเสนอ ซึ่งมาตรการจูงใจยุบเลิกตำแหน่งว่างมีเงินดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การลดขนาดกำลังคนภาครัฐเป็นไปตามเป้าหมายมากขึ้น สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ในระยะยาว และยังเป็นการตอบแทนส่วนราชการที่สมัครใจเข้ามีส่วนร่วมในการปฏิรูประบบราชการตามนโยบายของรัฐบาล และเป็นมาตรการที่มีผลกับทุกระทรวง ทบวง กรม
ทั้งนี้ คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการได้พิจารณาแล้วเห็นว่า มาตรการจูงใจให้ส่วนราชการยุบเลิกตำแหน่งว่างมีเงินจะช่วยให้การลดขนาดกำลังคนภาครัฐตามแผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการเป็นไปตามเป้าหมายได้มากขึ้น สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านกำลังคนภาครัฐลงได้ในระยะยาว และยังเป็นการตอบแทนส่วนราชการที่สมัครใจเข้ามีส่วนร่วมในการปฎิรูประบบราชการตามนโยบายของรัฐบาล จึงมีมติเห็นชอบกับมาตรการจูงใจยุบเลิกตำแหน่งว่างมีเงินตามที่กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ. ได้ร่วมกันพิจารณาและเสนอ ดังนี้
1. มาตรการจูงใจที่กำหนดขึ้น ต้องไม่ทำให้รัฐรับภาระด้านงบประมาณรายจ่ายเพิ่มขึ้นในระยะยาว
2. มาตรการจูงใจที่กำหนดขึ้น ให้ใช้กับส่วนราชการที่ยุบเลิกตำแหน่งข้าราชการที่เป็นตำแหน่งว่างมีเงินด้วยความสมัครใจ
3. มาตรการจูงใจที่กำหนดขึ้น ต้องเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ โดยส่วนรวมตามภารกิจหลักภายใต้นโยบายและกรอบแผนปฏิบัติการของส่วนราชการ
4. ส่วนราชการที่ยุบเลิกตำแหน่งว่างมีเงินด้วยความสมัครใจตามมาตรการนี้ จะขอคืนตำแหน่งที่ยุบเลิกและขอตำแหน่งเพิ่มใหม่อีกไม่ได้
5. จำนวนเงินที่ส่วนราชการจะได้รับ ให้เท่ากับจำนวนที่รัฐจะต้องจ่ายเป็นเงินเดือนสำหรับตำแหน่งนั้นเป็นเวลา 5 ปี โดยให้ส่วนราชการจัดทำแผนการใช้เงินดังกล่าวเป็นเวลา 5 ปี เพื่อมิให้เป็นภาระกับงบประมาณรายจ่ายในปีแรกมากเกินไป และเมื่อส่วนราชการประสงค์จะใช้เงินในปีแรกเพียงบางส่วน สามารถนำจำนวนเงินส่วนที่เหลือไปขอตั้งงบประมาณในปีที่ 2 ถึงปีที่ 5 ได้ แต่หากภายใน 5 ปี ส่วนราชการใช้เงินดังกล่าวไม่หมดให้ถือเป็นสิ้นสุดโครงการ ไม่อาจนำเงินไปใช้ในปีต่อ ๆ ไปได้อีก
6. วิธีปฏิบัติในการใช้จ่ายเงิน ให้ส่วนราชการวางแผนการใช้จ่ายเงินว่าจะนำไปใช้ในเรื่องใด ในปีงบประมาณใด เป็นจำนวนเท่าใด โดย
6.1 ในปีแรกที่ยุบเลิกอัตราว่างมีเงินให้ขอตกลงกับสำนักงบประมาณขอโอนเงินที่ต้องใช้ในปีแรกจากหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำไปตั้งจ่ายในหมวดรายจ่ายอื่น (โครงการปฏิรูประบบราชการ) ตามแผนการใช้เงิน
6.2 ในปีที่ 2 ถึงปีที่ 5 ให้ส่วนราชการขอตั้งงบประมาณรายจ่ายในหมวดรายจ่ายอื่น (โครงการปฏิรูประบบราชการ) เท่ากับจำนวนที่ต้องใช้ตามแผนการใช้เงิน
6.3 การจัดสรรงบประมาณตามแผนการใช้จ่ายเงินของส่วนราชการต้องคำนึงถึงกำลังเงินของรัฐบาลเป็นปี ๆ ไป
7. แนวทางปฏิบัติตามมาตรการจูงใจ
7.1 ให้ส่วนราชการที่ประสงค์จะยุบเลิกตำแหน่งข้าราชการที่เป็นตำแหน่งว่างมีเงินโดยสมัครใจ จัดทำบัญชีตำแหน่งและอัตราเงินเดือนส่งให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลยุบเลิก
7.2 ให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลยุบเลิกตำแหน่งตามความประสงค์ของส่วนราชการ แล้วแจ้งการยุบเลิกตำแหน่งให้ส่วนราชการ สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และสำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการทราบ
7.3 ให้ส่วนราชการคำนวณจำนวนเงินและจัดทำแผนการใช้เงิน โดยกำหนดเป็นระยะเวลา 5 ปี
7.4 ในปีแรกให้ส่วนราชการทำความตกลงกับสำนักงบประมาณตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2525 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ขอโอนงบประมาณหมวดเงินเดือนของตำแหน่งที่ยุบเลิกตามที่คำนวณได้ไปเป็นหมวดรายจ่ายอื่น (โครงการปฏิรูประบบราชการ) ส่วนในปีที่ 2 ถึงปีที่ 5 ให้ขอตั้งงบประมาณในหมวดรายจ่ายอื่นตามจำนวนเงินที่คำนวณได้ในส่วนที่เหลือ โดยให้เป็นไปตามแผนการใช้เงินและตามกำลังเงินของประเทศ
7.5 ให้ส่วนราชการใช้ดุลพินิจในการใช้งบประมาณหมวดรายจ่ายอื่น (โครงการปฏิรูประบบราชการ)เพิ่มเติมประสิทธิภาพการทำงานได้ตามความจำเป็น ความเหมาะสม และประหยัด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 26 ก.ย. 2543--
-สส-