แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
กระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ
ภาวะเศรษฐกิจ
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2545 ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ ดังนี้
สำนักงบประมาณรายงานว่า กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงบประมาณ ได้ประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจของไทยในปี 2545 ประมาณการรายได้ และการกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ดังนี้
1. แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2545
ในปี 2545 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวประมาณร้อยละ 5.0 โดยการบริโภค และการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2544 อย่างไรก็ตามการใช้จ่ายภาครัฐยังคงจำเป็นต้องใช้นโยบายงบประมาณขาดดุล เพื่อสนับสนุนการขยายตัวและสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยการรักษาวินัยการคลัง
2. ประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
จากการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจในข้อ 1 คาดว่าในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 รัฐบาลจะสามารถจัดเก็บรายได้รวมจำนวน 903,550.0 ล้านบาท เมื่อหักการคืนภาษี และเงินจัดสรรให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการกันเงินเพื่อชดเชยภาษีสำหรับสินค้าส่งออกรวมจำนวน 80,550.0 ล้านบาท จะคงเหลือเป็นรายได้สุทธิจำนวน 823,000.0 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.7 ของผลิตภัณฑ์รวมภายในประเทศ เพิ่มขึ้นจากประมาณการรายได้สุทธิปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 จำนวน 18,000.0 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2
3. วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 จะยังคงให้ความสำคัญต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจใหสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง และเนื่องจากวงเงินงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 มีจำนวนเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ในขณะที่ขนาดของรายจ่ายลงทุนจะมีสัดส่วนลดลงเล็กน้อย แต่จำนวนงบประมาณลงทุนเพิ่มขึ้น ดังนั้น เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม และสามารถใช้เป็นเครื่องกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จึงกำหนดทิศทางการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 โดยให้ความสำคัญกับการดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลซึ่งจะมีผลต่อการกระตุ้นการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจให้พื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ การดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาความยากจน และสร้างรากฐานในการพัฒนาประเทศโดยยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง การกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ได้พิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
3.1 การคาดการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ซึ่งคาดว่าระบบเศรษฐกิจของประเทศมีอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจประมาณร้อยละ 5.0 และอัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 2.8
3.2 ประมาณการรายได้สุทธิจำนวน 823,000.0 ล้านบาท
3.3 ภาระผูกพันงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 มีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 68,596.3 ล้านบาท ภาระผูกพันงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 จำนวน 77,780.6 ล้านบาท ลดลงจำนวน 9,184.3 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 11.8
3.4 จำนวนการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 150,000.0 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.7ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ซึ่งมีมูลค่า 5,615 ล้านล้านบาท จำนวนการขาดดุลดังกล่าวเมื่อรวมการขาดดุลของรัฐวิสาหกิจประมาณร้อยละ 0.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศแล้ว จะเป็นการขาดดุลภาครัฐทั้งสิ้นประมาณร้อยละ3.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งจำนวนการกู้เงินเพื่อชดเชยการชาดดุล และการขาดดุลภาครัฐดังกล่าวจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อฐานะการคลังของประเทศในระยะยาว โดยการกู้เงินดังกล่าวจะไม่กระทบต่อการขยายตัวของสินเชื่อภาคเอกชน
อนึ่ง หากพิจารณาในแง่การขาดดุลเงินสดแล้ว จะเป็นประมาณร้อยละ 2.5 ของ GDP ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยยังไม่กระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจจากปัจจัยทางเศรษฐกิจและสถานะทางการเงินการคลังของประเทศดังกล่าวข้างต้น งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 เป็นงบประมาณขาดดุลโดยกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายจำนวน 973,000.0 ล้านบาท ประกอบด้วยโครงสร้างงบประมาณปีงบประมาณพ.ศ. 2545 ดังนี้
1) งบประมาณรายจ่าย จำนวน 973,000.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 จำนวน63,000.0 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 ประกอบด้วย(1) รายจ่ายลงทุน จำนวน 231,776.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 จำนวน11,578.5 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.8 ของวงเงินงบประมาณรวม เทียบกับร้อยละ24.2 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2544
(2) รายจ่ายประจำ จำนวน 716,245.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 73.6 ของวงเงินงบประมาณรวมเทียบกับร้อยละ 74.5 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2544
(3) รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 24,977.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2544จำนวน 12,842.0 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 105.8 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.6 ของวงเงินงบประมาณ เทียบกับร้อยละ 1.3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2544
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 20 มี.ค.2544
-สส-
สำนักงบประมาณรายงานว่า กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงบประมาณ ได้ประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจของไทยในปี 2545 ประมาณการรายได้ และการกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ดังนี้
1. แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2545
ในปี 2545 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวประมาณร้อยละ 5.0 โดยการบริโภค และการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2544 อย่างไรก็ตามการใช้จ่ายภาครัฐยังคงจำเป็นต้องใช้นโยบายงบประมาณขาดดุล เพื่อสนับสนุนการขยายตัวและสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยการรักษาวินัยการคลัง
2. ประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
จากการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจในข้อ 1 คาดว่าในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 รัฐบาลจะสามารถจัดเก็บรายได้รวมจำนวน 903,550.0 ล้านบาท เมื่อหักการคืนภาษี และเงินจัดสรรให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการกันเงินเพื่อชดเชยภาษีสำหรับสินค้าส่งออกรวมจำนวน 80,550.0 ล้านบาท จะคงเหลือเป็นรายได้สุทธิจำนวน 823,000.0 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.7 ของผลิตภัณฑ์รวมภายในประเทศ เพิ่มขึ้นจากประมาณการรายได้สุทธิปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 จำนวน 18,000.0 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2
3. วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 จะยังคงให้ความสำคัญต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจใหสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง และเนื่องจากวงเงินงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 มีจำนวนเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ในขณะที่ขนาดของรายจ่ายลงทุนจะมีสัดส่วนลดลงเล็กน้อย แต่จำนวนงบประมาณลงทุนเพิ่มขึ้น ดังนั้น เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม และสามารถใช้เป็นเครื่องกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จึงกำหนดทิศทางการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 โดยให้ความสำคัญกับการดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลซึ่งจะมีผลต่อการกระตุ้นการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจให้พื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ การดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาความยากจน และสร้างรากฐานในการพัฒนาประเทศโดยยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง การกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ได้พิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
3.1 การคาดการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ซึ่งคาดว่าระบบเศรษฐกิจของประเทศมีอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจประมาณร้อยละ 5.0 และอัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 2.8
3.2 ประมาณการรายได้สุทธิจำนวน 823,000.0 ล้านบาท
3.3 ภาระผูกพันงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 มีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 68,596.3 ล้านบาท ภาระผูกพันงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 จำนวน 77,780.6 ล้านบาท ลดลงจำนวน 9,184.3 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 11.8
3.4 จำนวนการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 150,000.0 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.7ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ซึ่งมีมูลค่า 5,615 ล้านล้านบาท จำนวนการขาดดุลดังกล่าวเมื่อรวมการขาดดุลของรัฐวิสาหกิจประมาณร้อยละ 0.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศแล้ว จะเป็นการขาดดุลภาครัฐทั้งสิ้นประมาณร้อยละ3.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งจำนวนการกู้เงินเพื่อชดเชยการชาดดุล และการขาดดุลภาครัฐดังกล่าวจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อฐานะการคลังของประเทศในระยะยาว โดยการกู้เงินดังกล่าวจะไม่กระทบต่อการขยายตัวของสินเชื่อภาคเอกชน
อนึ่ง หากพิจารณาในแง่การขาดดุลเงินสดแล้ว จะเป็นประมาณร้อยละ 2.5 ของ GDP ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยยังไม่กระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจจากปัจจัยทางเศรษฐกิจและสถานะทางการเงินการคลังของประเทศดังกล่าวข้างต้น งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 เป็นงบประมาณขาดดุลโดยกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายจำนวน 973,000.0 ล้านบาท ประกอบด้วยโครงสร้างงบประมาณปีงบประมาณพ.ศ. 2545 ดังนี้
1) งบประมาณรายจ่าย จำนวน 973,000.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 จำนวน63,000.0 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 ประกอบด้วย(1) รายจ่ายลงทุน จำนวน 231,776.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 จำนวน11,578.5 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.8 ของวงเงินงบประมาณรวม เทียบกับร้อยละ24.2 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2544
(2) รายจ่ายประจำ จำนวน 716,245.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 73.6 ของวงเงินงบประมาณรวมเทียบกับร้อยละ 74.5 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2544
(3) รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 24,977.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2544จำนวน 12,842.0 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 105.8 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.6 ของวงเงินงบประมาณ เทียบกับร้อยละ 1.3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2544
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 20 มี.ค.2544
-สส-