ทำเนียบรัฐบาล--11 เม.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกฎ ก.พ. ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ว่าด้วยกรณีที่อาจร้องทุกข์ การร้องทุกข์ และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ขอให้แก้ไขหรือแก้ความคับข้องใจ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้แก้ไขเพิ่มเติมตามมติที่ประชุมร่วมกันของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง คือ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงาน ก.พ. และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังอนุมัติเป็นหลักการว่าในกรณีที่ร่างกฎ ก.พ. ฉบับใดเป็นเรื่องใหม่หรือเป็นเรื่องที่สำคัญหรือเป็นเรื่องที่ ก.พ. มีข้อเสนอขอให้ส่ง หรือเป็นเรื่องที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา ก็ให้เป็นไปตามนั้น แต่ถ้าเป็นร่างกฎ ก.พ. ที่ไม่ใช่เรื่องสำคัญหรือเป็นการแก้ไขร่างกฎ ก.พ. เดิมในส่วนที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อยก็ไม่ต้องส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาอีก
ร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยกรณีที่อาจร้องทุกข์ การร้องทุกข์ และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ขอให้แก้ไขหรือแก้ความคับข้องใจ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กฎ ก.พ. นี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2. กำหนดเหตุที่ข้าราชการพลเรือนสามัญอาจร้องทุกข์ได้ กระบวนการและวิธีการในการร้องทุกข์ ระยะเวลาการร้องทุกข์ ผู้รับเรื่องการร้องทุกข์ การนับระยะเวลาการร้องทุกข์
3. วิธีการดำเนินการเมื่อมีการร้องทุกข์ต่อ อ.ก.พ. จังหวัด อ.ก.พ. กรม อ.ก.พ. กระทรวง หรือ ก.พ.การส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม การถอนเรื่องร้องทุกข์ การคัดค้านอนุกรรมการ รองประธานอนุกรรมการ หรือกรรมการผู้พิจารณาเพื่อร้องทุกข์
4. การส่งหนังสือให้แก่ผู้ที่เป็นเหตุให้เกิดความคับข้องใจทำคำชี้แจงและส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
5. การพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ การขอเอกสารและคำชี้แจง รวมทั้งคำแถลงของผู้ร้องทุกข์ ระยะเวลาการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์และการขยายเวลาพิจารณา
6. มติของ อ.ก.พ. จังหวัด อ.ก.พ. กรม อ.ก.พ. กระทรวง หรือ ก.พ. เกี่ยวกับการวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
7. ผู้มีอำนาจสั่งให้ปฏิบัติตามมติของ อ.ก.พ. จังหวัด อ.ก.พ. กรม อ.ก.พ. กระทรวง หรือ ก.พ. และการถึงที่สุดของคำสั่ง
8. การนับระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดตามกฎ ก.พ. นี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 11 เมษายน 2543--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกฎ ก.พ. ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ว่าด้วยกรณีที่อาจร้องทุกข์ การร้องทุกข์ และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ขอให้แก้ไขหรือแก้ความคับข้องใจ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้แก้ไขเพิ่มเติมตามมติที่ประชุมร่วมกันของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง คือ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงาน ก.พ. และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังอนุมัติเป็นหลักการว่าในกรณีที่ร่างกฎ ก.พ. ฉบับใดเป็นเรื่องใหม่หรือเป็นเรื่องที่สำคัญหรือเป็นเรื่องที่ ก.พ. มีข้อเสนอขอให้ส่ง หรือเป็นเรื่องที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา ก็ให้เป็นไปตามนั้น แต่ถ้าเป็นร่างกฎ ก.พ. ที่ไม่ใช่เรื่องสำคัญหรือเป็นการแก้ไขร่างกฎ ก.พ. เดิมในส่วนที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อยก็ไม่ต้องส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาอีก
ร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยกรณีที่อาจร้องทุกข์ การร้องทุกข์ และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ขอให้แก้ไขหรือแก้ความคับข้องใจ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กฎ ก.พ. นี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2. กำหนดเหตุที่ข้าราชการพลเรือนสามัญอาจร้องทุกข์ได้ กระบวนการและวิธีการในการร้องทุกข์ ระยะเวลาการร้องทุกข์ ผู้รับเรื่องการร้องทุกข์ การนับระยะเวลาการร้องทุกข์
3. วิธีการดำเนินการเมื่อมีการร้องทุกข์ต่อ อ.ก.พ. จังหวัด อ.ก.พ. กรม อ.ก.พ. กระทรวง หรือ ก.พ.การส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม การถอนเรื่องร้องทุกข์ การคัดค้านอนุกรรมการ รองประธานอนุกรรมการ หรือกรรมการผู้พิจารณาเพื่อร้องทุกข์
4. การส่งหนังสือให้แก่ผู้ที่เป็นเหตุให้เกิดความคับข้องใจทำคำชี้แจงและส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
5. การพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ การขอเอกสารและคำชี้แจง รวมทั้งคำแถลงของผู้ร้องทุกข์ ระยะเวลาการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์และการขยายเวลาพิจารณา
6. มติของ อ.ก.พ. จังหวัด อ.ก.พ. กรม อ.ก.พ. กระทรวง หรือ ก.พ. เกี่ยวกับการวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
7. ผู้มีอำนาจสั่งให้ปฏิบัติตามมติของ อ.ก.พ. จังหวัด อ.ก.พ. กรม อ.ก.พ. กระทรวง หรือ ก.พ. และการถึงที่สุดของคำสั่ง
8. การนับระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดตามกฎ ก.พ. นี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 11 เมษายน 2543--