ทำเนียบรัฐบาล--15 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ให้เปลี่ยนแปลงมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2539 คือการตั้งงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดสวัสดิการด้านรักษาพยาบาล สำหรับผู้นำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ให้ตั้งเป็นเงินทุนหมุนเวียน โดยให้สำนักงบประมาณสนับสนุนในอัตราไม่เกิน 1,500 บาท/ครอบครัว/ปี โดยแยกรายละเอียดของงบประมาณ ดังนี้
1. งบประมาณในการซื้อบัตรประกันสุขภาพ แทนผู้นำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจำนวน 500 บาท/บัตร ในงานรักษาพยาบาลผู้มีรายได้น้อยและผู้ที่สังคมควรช่วยเหลือเกื้อกูล หมวดเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป
2. สมทบค่าบัตรประกันสุขภาพ 1,000 บาท/บัตร จากเงินทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขภาพ
กระทรวงสาธารณสุขแจ้งว่า ผู้นำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินงานสาธารณสุขเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะด้านสาธารณสุขมูลฐาน ในการให้ความรู้และความสำคัญในการดูแลตนเองของประชาชน ดังนั้น เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของผู้นำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านพร้อมครอบครัวให้ได้รับหลักประกันสุขภาพ จึงเห็นสมควรจัดสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลโดยใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป
แต่การดำเนินการจัดสวัสดิการรักษาพยาบาลตามโครงการบัตรประกันสุขภาพ สำหรับกลุ่มผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา เป็นในลักษณะขอตั้งงบประมาณสนับสนุนการออกบัตรประกันสุขภาพ 500 บาท/ครอบครัว/ปี ในงานรักษาพยาบาลผู้มีรายได้น้อยและผู้ที่สังคมควรช่วยเหลือเกื้อกูลแล้วโอนเข้าบัญชีเงินทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขภาพ ซึ่งรัฐบาลสมทบเพิ่มอีก 500 บาท/บัตร รวมราคาบัตรเป็น 1,000 บาท โดยจะต้องสมทบบัตรประกันสุขภาพในส่วนของประชาชนทั่วไปก่อนงบประมาณที่เหลือจึงจะนำมาสมทบบัตรผู้นำชุมชนและ อสม. ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนี้ส่งผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายของสถานพยาบาลเป็นอย่างมาก มีผลให้การจัดบริการทางการแพทย์ไม่มีประสิทธิภาพและคุณภาพเท่าที่ควร
เพื่อให้กลุ่มผู้นำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านพร้อมครอบครัวได้เข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพได้มาตรฐานจากสถานพยาบาล อีกทั้งสถานพยาบาลสามารถจัดบริการทางการแพทย์ให้แก่ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยไม่ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายมากเกินไป
ทั้งนี้ ให้รับข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ เพื่อพิจารณาปรับปรุงการดำเนินงานเพื่อไม่ให้มีความซ้ำซ้อนก่อนดำเนินการต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 ส.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ให้เปลี่ยนแปลงมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2539 คือการตั้งงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดสวัสดิการด้านรักษาพยาบาล สำหรับผู้นำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ให้ตั้งเป็นเงินทุนหมุนเวียน โดยให้สำนักงบประมาณสนับสนุนในอัตราไม่เกิน 1,500 บาท/ครอบครัว/ปี โดยแยกรายละเอียดของงบประมาณ ดังนี้
1. งบประมาณในการซื้อบัตรประกันสุขภาพ แทนผู้นำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจำนวน 500 บาท/บัตร ในงานรักษาพยาบาลผู้มีรายได้น้อยและผู้ที่สังคมควรช่วยเหลือเกื้อกูล หมวดเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป
2. สมทบค่าบัตรประกันสุขภาพ 1,000 บาท/บัตร จากเงินทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขภาพ
กระทรวงสาธารณสุขแจ้งว่า ผู้นำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินงานสาธารณสุขเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะด้านสาธารณสุขมูลฐาน ในการให้ความรู้และความสำคัญในการดูแลตนเองของประชาชน ดังนั้น เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของผู้นำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านพร้อมครอบครัวให้ได้รับหลักประกันสุขภาพ จึงเห็นสมควรจัดสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลโดยใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป
แต่การดำเนินการจัดสวัสดิการรักษาพยาบาลตามโครงการบัตรประกันสุขภาพ สำหรับกลุ่มผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา เป็นในลักษณะขอตั้งงบประมาณสนับสนุนการออกบัตรประกันสุขภาพ 500 บาท/ครอบครัว/ปี ในงานรักษาพยาบาลผู้มีรายได้น้อยและผู้ที่สังคมควรช่วยเหลือเกื้อกูลแล้วโอนเข้าบัญชีเงินทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขภาพ ซึ่งรัฐบาลสมทบเพิ่มอีก 500 บาท/บัตร รวมราคาบัตรเป็น 1,000 บาท โดยจะต้องสมทบบัตรประกันสุขภาพในส่วนของประชาชนทั่วไปก่อนงบประมาณที่เหลือจึงจะนำมาสมทบบัตรผู้นำชุมชนและ อสม. ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนี้ส่งผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายของสถานพยาบาลเป็นอย่างมาก มีผลให้การจัดบริการทางการแพทย์ไม่มีประสิทธิภาพและคุณภาพเท่าที่ควร
เพื่อให้กลุ่มผู้นำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านพร้อมครอบครัวได้เข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพได้มาตรฐานจากสถานพยาบาล อีกทั้งสถานพยาบาลสามารถจัดบริการทางการแพทย์ให้แก่ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยไม่ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายมากเกินไป
ทั้งนี้ ให้รับข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ เพื่อพิจารณาปรับปรุงการดำเนินงานเพื่อไม่ให้มีความซ้ำซ้อนก่อนดำเนินการต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 ส.ค. 2543--
-สส-