ทำเนียบรัฐบาล--21 มี.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติแนวทางป้องกันน้ำท่วมจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งประกอบด้วยการแก้ไขปัญหาระยะสั้นและการแก้ไขปัญหาระยะยาว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานว่า
1. ตามที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2542 ให้จัดทำแนวทางป้องกันน้ำท่วม ฟื้นฟู บูรณะ และพัฒนาจังหวัดจันทบุรี โดยกำหนดเป็นแผนในภาพรวมเพื่อเป็นกรอบในการช่วยเหลือ ซึ่งจะมีทั้งแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อมอบหมายให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ นั้น สศช. ได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่และวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดอุทกภัยอย่างรุนแรงในครั้งนี้แล้วพบว่า เกิดจากสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ 1) ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำ ซึ่งเป็นลำน้ำที่มีระยะทางสั้นเพียง 70 - 90 กิโลเมตร มีความลาดชันสูง รวมทั้งอยู่ในบริเวณเขตอิทธิพลของร่องความกดอากาศต่ำของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้เป็นพื้นที่ที่มีประมาณฝนตกมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ และ 2) การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ มีการบุกรุกทำลายป่าซึ่งเปรียบเสมือนเป็นกันชนชะลอน้ำ และมีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานกีดขวางทางน้ำไหล ประสิทธิภาพการระบายน้ำจึงลดลงจากเดิมที่เคยสามารถระบายน้ำส่วนเกินลงสู่ทะเลได้ดีพอสมควรในลักษณะมาเร็วไปเร็ว ดังนั้น เมื่อเกิดสภาพฝนตกหนักผิดปกติต่อเนื่อง จึงเป็นเหตุให้มีน้ำท่วมขังสะสมเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดผลเสียหายด้านเศรษฐกิจและสังคมแก่พื้นที่จังหวัดจันทบุรีและพื้นที่บางส่วนของจังหวัดตราด ระยอง และพื้นที่ใกล้เคียง ประมาณการได้เป็นวงเงินไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท (ไม่รวมความเสียหายด้านพาณิชยกรรม) อย่างไรก็ตาม หน่วยงานภาครัฐทุกส่วนที่เกี่ยวข้องได้เข้าดำเนินการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าจนเข้าสู่ภาวะปกติอย่างรวดเร็ว
2. ในการจัดทำแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว สศช.ได้ประสานกับจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด เพื่อรวบรวมแผนงาน/โครงการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเบื้องต้นแล้ว พบว่า แผนงานของกรมชลประทาน/ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมาดไทย และหน่วยงานปกครองท้องถิ่น มีวงเงินรวมถึงกว่าหนึ่งหมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ดังนั้น เพื่อให้การแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นไปอย่างถาวรและยั่งยืน ควรดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยกำหนดแผนการดำเนินงานไว้เป็น 2 ระยะ คือ ระยะสั้น และระยะยาว สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 การแก้ไขปัญหาในระยะสั้น โดยให้ความสำคัญกับโครงการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันน้ำท่วมโดยตรง ได้แก่ การปรับปรุงระบบระบายน้ำ เช่น การขยายช่องระบายน้ำ การขุดลอกคลอง โดยเฉพาะในจุดที่มีปัญหาในการระบายน้ำ เพื่อช่วยเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลได้เร็วขึ้น รวมทั้งการให้มีพื้นที่สำหรับการพักน้ำเมื่อมีปริมาณน้ำส่วนเกินที่จะทำให้เกิดน้ำท่วม และโครงการที่ช่วยแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภาวะน้ำท่วม เช่น การซ่อมบำรุงสะพานที่ชำรุดจนไม่สามารถใช้การได้ สศช. ได้ประสานกับจังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันพิจารณากลั่นกรองโครงการแล้ว เห็นควรให้มีการดำเนินโครงการที่มีความจำเป็นในระยะสั้น รวมทั้งสิ้น 144 โครงการ วงเงินประมาณ 84.4 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี 140 โครงการ วงเงินประมาณ 79.88 ล้านบาท และจังหวัดตราด 4 โครงการ วงเงินประมาณ 4.52 ล้านบาท โดยให้หน่วยงานเจ้าของโครงการประสานในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป
ทั้งนี้ สำนักงบประมาณมีความเห็นว่า ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการขอทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณ โดยพิจารณาเจียดจ่ายงบประมาณจากรายการที่ดำเนินการแล้วมีเงินเหลือจ่าย หรือจากรายการที่หมดความจำเป็นแล้วไปดำเนินการ หากไม่เพียงพอก็เห็นควรให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป โดยมีข้อสังเกตว่า ความต้องการความช่วยเหลืออันเนื่องมาจากภัยพิบัติมีแนวโน้มที่จะมีปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ ในกรณีของจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราดก็เช่นกัน รัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติผ่านกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปแล้วรวมทั้งสิ้น 61,066,430 บาท ดังนั้น อย่างไรก็ตาม จังหวัดต่าง ๆ ที่มีอุทกภัยเกิดขึ้นเป็นประจำจึงควรจะได้ให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนปฏิบัติการของจังหวัดให้มากขึ้น เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการป้องกัน การบรรเทา และการฟื้นฟูบูรณะเมื่อเกิดภัยให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในทุกสถานการณ์ รวมทั้งการรณรงค์ให้องค์กรเอกชนและประชาชนทั่วไปได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือให้มากยิ่งขึ้น
2.2 แก้ไขปัญหาน้ำท่วมในระยะยาว เนื่องจากภาวะน้ำท่วมฉับพลันดังกล่าวได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องใน พื้นที่จังหวัดอื่น ๆ ทั่วประเทศ เห็นได้จากภาวะน้ำท่วมในหลายจังหวัดในช่วงที่ผ่านมา เช่น ในจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี เพชรบุรี ราชบุรี ตรัง ยะลา สงขลา เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมมากมาย และมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ หากแต่การแก้ไขปัญหาที่ผ่านมายังคงเป็นเพียงการแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าเพื่อบรรเทาอาการให้เบาบางลงเท่านั้น สำนักงานฯ จึงเห็นควรให้มีการศึกษาเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันน้ำท่วมและระบายน้ำที่ชัดเจนและเป็นระบบ ถูกต้องในเชิงวิศวกรรม สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่ ตลอดจนการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเหมาะสม โดยครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำของจังหวัดต่าง ๆ ที่ประสบปัญหาน้ำท่วม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาในระยะยาวและสามารถจัดสรรทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งในขั้นแรกอาจริเริ่มที่จังหวัดจันทบุรีและตราดก่อนเป็นลำดับแรก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 มีนาคม 2543--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติแนวทางป้องกันน้ำท่วมจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งประกอบด้วยการแก้ไขปัญหาระยะสั้นและการแก้ไขปัญหาระยะยาว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานว่า
1. ตามที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2542 ให้จัดทำแนวทางป้องกันน้ำท่วม ฟื้นฟู บูรณะ และพัฒนาจังหวัดจันทบุรี โดยกำหนดเป็นแผนในภาพรวมเพื่อเป็นกรอบในการช่วยเหลือ ซึ่งจะมีทั้งแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อมอบหมายให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ นั้น สศช. ได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่และวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดอุทกภัยอย่างรุนแรงในครั้งนี้แล้วพบว่า เกิดจากสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ 1) ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำ ซึ่งเป็นลำน้ำที่มีระยะทางสั้นเพียง 70 - 90 กิโลเมตร มีความลาดชันสูง รวมทั้งอยู่ในบริเวณเขตอิทธิพลของร่องความกดอากาศต่ำของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้เป็นพื้นที่ที่มีประมาณฝนตกมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ และ 2) การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ มีการบุกรุกทำลายป่าซึ่งเปรียบเสมือนเป็นกันชนชะลอน้ำ และมีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานกีดขวางทางน้ำไหล ประสิทธิภาพการระบายน้ำจึงลดลงจากเดิมที่เคยสามารถระบายน้ำส่วนเกินลงสู่ทะเลได้ดีพอสมควรในลักษณะมาเร็วไปเร็ว ดังนั้น เมื่อเกิดสภาพฝนตกหนักผิดปกติต่อเนื่อง จึงเป็นเหตุให้มีน้ำท่วมขังสะสมเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดผลเสียหายด้านเศรษฐกิจและสังคมแก่พื้นที่จังหวัดจันทบุรีและพื้นที่บางส่วนของจังหวัดตราด ระยอง และพื้นที่ใกล้เคียง ประมาณการได้เป็นวงเงินไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท (ไม่รวมความเสียหายด้านพาณิชยกรรม) อย่างไรก็ตาม หน่วยงานภาครัฐทุกส่วนที่เกี่ยวข้องได้เข้าดำเนินการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าจนเข้าสู่ภาวะปกติอย่างรวดเร็ว
2. ในการจัดทำแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว สศช.ได้ประสานกับจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด เพื่อรวบรวมแผนงาน/โครงการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเบื้องต้นแล้ว พบว่า แผนงานของกรมชลประทาน/ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมาดไทย และหน่วยงานปกครองท้องถิ่น มีวงเงินรวมถึงกว่าหนึ่งหมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ดังนั้น เพื่อให้การแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นไปอย่างถาวรและยั่งยืน ควรดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยกำหนดแผนการดำเนินงานไว้เป็น 2 ระยะ คือ ระยะสั้น และระยะยาว สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 การแก้ไขปัญหาในระยะสั้น โดยให้ความสำคัญกับโครงการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันน้ำท่วมโดยตรง ได้แก่ การปรับปรุงระบบระบายน้ำ เช่น การขยายช่องระบายน้ำ การขุดลอกคลอง โดยเฉพาะในจุดที่มีปัญหาในการระบายน้ำ เพื่อช่วยเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลได้เร็วขึ้น รวมทั้งการให้มีพื้นที่สำหรับการพักน้ำเมื่อมีปริมาณน้ำส่วนเกินที่จะทำให้เกิดน้ำท่วม และโครงการที่ช่วยแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภาวะน้ำท่วม เช่น การซ่อมบำรุงสะพานที่ชำรุดจนไม่สามารถใช้การได้ สศช. ได้ประสานกับจังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันพิจารณากลั่นกรองโครงการแล้ว เห็นควรให้มีการดำเนินโครงการที่มีความจำเป็นในระยะสั้น รวมทั้งสิ้น 144 โครงการ วงเงินประมาณ 84.4 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี 140 โครงการ วงเงินประมาณ 79.88 ล้านบาท และจังหวัดตราด 4 โครงการ วงเงินประมาณ 4.52 ล้านบาท โดยให้หน่วยงานเจ้าของโครงการประสานในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป
ทั้งนี้ สำนักงบประมาณมีความเห็นว่า ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการขอทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณ โดยพิจารณาเจียดจ่ายงบประมาณจากรายการที่ดำเนินการแล้วมีเงินเหลือจ่าย หรือจากรายการที่หมดความจำเป็นแล้วไปดำเนินการ หากไม่เพียงพอก็เห็นควรให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป โดยมีข้อสังเกตว่า ความต้องการความช่วยเหลืออันเนื่องมาจากภัยพิบัติมีแนวโน้มที่จะมีปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ ในกรณีของจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราดก็เช่นกัน รัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติผ่านกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปแล้วรวมทั้งสิ้น 61,066,430 บาท ดังนั้น อย่างไรก็ตาม จังหวัดต่าง ๆ ที่มีอุทกภัยเกิดขึ้นเป็นประจำจึงควรจะได้ให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนปฏิบัติการของจังหวัดให้มากขึ้น เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการป้องกัน การบรรเทา และการฟื้นฟูบูรณะเมื่อเกิดภัยให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในทุกสถานการณ์ รวมทั้งการรณรงค์ให้องค์กรเอกชนและประชาชนทั่วไปได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือให้มากยิ่งขึ้น
2.2 แก้ไขปัญหาน้ำท่วมในระยะยาว เนื่องจากภาวะน้ำท่วมฉับพลันดังกล่าวได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องใน พื้นที่จังหวัดอื่น ๆ ทั่วประเทศ เห็นได้จากภาวะน้ำท่วมในหลายจังหวัดในช่วงที่ผ่านมา เช่น ในจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี เพชรบุรี ราชบุรี ตรัง ยะลา สงขลา เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมมากมาย และมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ หากแต่การแก้ไขปัญหาที่ผ่านมายังคงเป็นเพียงการแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าเพื่อบรรเทาอาการให้เบาบางลงเท่านั้น สำนักงานฯ จึงเห็นควรให้มีการศึกษาเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันน้ำท่วมและระบายน้ำที่ชัดเจนและเป็นระบบ ถูกต้องในเชิงวิศวกรรม สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่ ตลอดจนการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเหมาะสม โดยครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำของจังหวัดต่าง ๆ ที่ประสบปัญหาน้ำท่วม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาในระยะยาวและสามารถจัดสรรทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งในขั้นแรกอาจริเริ่มที่จังหวัดจันทบุรีและตราดก่อนเป็นลำดับแรก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 มีนาคม 2543--