แท็ก
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
มาตรการช่วยเหลือ
คณะรัฐมนตรี
น้ำมันดีเซล
เกษตรกร
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานผลการประเมินผลมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดีเซลที่สูงขึ้น ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. เกษตรกรแสดงความจำนงขอรับความช่วยเหลือและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เห็นชอบให้เข้าร่วมมาตรการ จำนวน 3,734,081 ครัวเรือน หรือคิดเป็นร้อยละ 66.68 ของเป้าหมาย (5.6 ล้านครัวเรือน) โดยเกษตรกรดังกล่าวเป็นสมาชิกของสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. จำกัด (สกต.) สหกรณ์ภาคเกษตรและกลุ่มเกษตรกรคิดเป็นร้อยละ 82.12 13.58 และ 4.30 ของเกษตรกรทั้งหมดตามลำดับ และในการพิจารณาคัดเลือกเกษตรกรที่จะให้เข้าร่วมมาตรการค่อนข้างล่าช้ากว่าช่วงเวลาที่กำหนดไว้ เนื่องจากสถาบัน/องค์กรเกษตรกร ไม่เคยจัดทำฐานข้อมูลรายชื่อเกษตรกรมาก่อน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ในบางพื้นที่ไม่เข้าใจในรายละเอียดของโครงการ และขาดการประสานงานและการติดตามผล
1. การชดเชยค่าน้ำมัน มีเกษตรกรมาขอรับการชดเชยค่าน้ำมันดีเซลรวมทั้งสิ้น 58,252 ครัวเรือน หรือร้อยละ 1.56 ของเกษตรกรที่ ธ.ก.ส. เห็นชอบ (3.734 ล้านครัวเรือน) ปริมาณน้ำมันที่ชดเชย 2,168,304 ลิตร จำนวนเงินชดเชย 6,504,918 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.86 ของวงเงินเป้าหมาย (756 ล้านบาท) และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของ ธ.ก.ส. จำนวน 3,098,979 บาท คิดเป็นร้อยละ 24.9 ของวงเงินเป้าหมาย (12.6 ล้านบาท)
2. ปัจจัยหรือสาเหตุที่เกษตรกรมาแสดงความจำนงขอรับความช่วยเหลือต่ำกว่าเป้าหมาย และสัดส่วนของเกษตรกรที่มาขอรับเงินชดเชยค่อนข้างน้อยมาก เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เข้าใจวิธีการดำเนินมาตรการที่ชัดเจน ระยะเวลาของมาตรการเป็นช่วงสั้น ๆ เพียง 3 เดือน และในช่วงดังกล่าวเกษตรกรมีความจำเป็นในการใช้น้ำมันน้อยกว่าช่วงอื่น ๆ ในรอบปี
3. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินมาตรการ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,603,897.36 บาท หรือประมาณร้อยละ 1.25 ของวงเงินโครงการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ที่ได้อนุมัติไว้ (768.6 ล้านบาท)
4. ข้อคิดเห็นของเกษตรกร เกษตรกรและผู้แทนสถาบัน/องค์กรเกษตรกรที่เข้าร่วมมาตรการมีความพึงพอใจ และเห็นว่าควรดำเนินมาตรการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน หรือช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ และควรให้มีการดำเนินมาตรการในช่วงต่อ ๆ ไป
5. ความเห็นของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เพื่อให้การดำเนินงานมาตรการดังกล่าวมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น ควรพิจารณาปรับปรุงแก้ไข ดังต่อไปนี้.-
6.1 จัดประชุมชี้แจงวิธีการดำเนินงานให้หน่วยงานในระดับพื้นที่ และสั่งการให้เจ้าหน้าที่ประสานงาน คอยให้คำแนะนำแก่สถาบัน/องค์กรเกษตรกรอย่างใกล้ชิด
6.2 มีระบบการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานมาตรการ โดยให้หน่วยงานที่กำกับดูแลสถาบัน/องค์กรเกษตรกร รายงานความก้าวหน้าจากส่วนภูมิภาคมาสู่ส่วนกลางทุกระยะ
6.3 จัดให้มีการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางและทั่วถึง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 ส.ค.44--
-สส-
1. เกษตรกรแสดงความจำนงขอรับความช่วยเหลือและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เห็นชอบให้เข้าร่วมมาตรการ จำนวน 3,734,081 ครัวเรือน หรือคิดเป็นร้อยละ 66.68 ของเป้าหมาย (5.6 ล้านครัวเรือน) โดยเกษตรกรดังกล่าวเป็นสมาชิกของสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. จำกัด (สกต.) สหกรณ์ภาคเกษตรและกลุ่มเกษตรกรคิดเป็นร้อยละ 82.12 13.58 และ 4.30 ของเกษตรกรทั้งหมดตามลำดับ และในการพิจารณาคัดเลือกเกษตรกรที่จะให้เข้าร่วมมาตรการค่อนข้างล่าช้ากว่าช่วงเวลาที่กำหนดไว้ เนื่องจากสถาบัน/องค์กรเกษตรกร ไม่เคยจัดทำฐานข้อมูลรายชื่อเกษตรกรมาก่อน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ในบางพื้นที่ไม่เข้าใจในรายละเอียดของโครงการ และขาดการประสานงานและการติดตามผล
1. การชดเชยค่าน้ำมัน มีเกษตรกรมาขอรับการชดเชยค่าน้ำมันดีเซลรวมทั้งสิ้น 58,252 ครัวเรือน หรือร้อยละ 1.56 ของเกษตรกรที่ ธ.ก.ส. เห็นชอบ (3.734 ล้านครัวเรือน) ปริมาณน้ำมันที่ชดเชย 2,168,304 ลิตร จำนวนเงินชดเชย 6,504,918 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.86 ของวงเงินเป้าหมาย (756 ล้านบาท) และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของ ธ.ก.ส. จำนวน 3,098,979 บาท คิดเป็นร้อยละ 24.9 ของวงเงินเป้าหมาย (12.6 ล้านบาท)
2. ปัจจัยหรือสาเหตุที่เกษตรกรมาแสดงความจำนงขอรับความช่วยเหลือต่ำกว่าเป้าหมาย และสัดส่วนของเกษตรกรที่มาขอรับเงินชดเชยค่อนข้างน้อยมาก เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เข้าใจวิธีการดำเนินมาตรการที่ชัดเจน ระยะเวลาของมาตรการเป็นช่วงสั้น ๆ เพียง 3 เดือน และในช่วงดังกล่าวเกษตรกรมีความจำเป็นในการใช้น้ำมันน้อยกว่าช่วงอื่น ๆ ในรอบปี
3. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินมาตรการ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,603,897.36 บาท หรือประมาณร้อยละ 1.25 ของวงเงินโครงการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ที่ได้อนุมัติไว้ (768.6 ล้านบาท)
4. ข้อคิดเห็นของเกษตรกร เกษตรกรและผู้แทนสถาบัน/องค์กรเกษตรกรที่เข้าร่วมมาตรการมีความพึงพอใจ และเห็นว่าควรดำเนินมาตรการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน หรือช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ และควรให้มีการดำเนินมาตรการในช่วงต่อ ๆ ไป
5. ความเห็นของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เพื่อให้การดำเนินงานมาตรการดังกล่าวมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น ควรพิจารณาปรับปรุงแก้ไข ดังต่อไปนี้.-
6.1 จัดประชุมชี้แจงวิธีการดำเนินงานให้หน่วยงานในระดับพื้นที่ และสั่งการให้เจ้าหน้าที่ประสานงาน คอยให้คำแนะนำแก่สถาบัน/องค์กรเกษตรกรอย่างใกล้ชิด
6.2 มีระบบการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานมาตรการ โดยให้หน่วยงานที่กำกับดูแลสถาบัน/องค์กรเกษตรกร รายงานความก้าวหน้าจากส่วนภูมิภาคมาสู่ส่วนกลางทุกระยะ
6.3 จัดให้มีการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางและทั่วถึง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 ส.ค.44--
-สส-