ทำเนียบรัฐบาล--26 ก.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานผลการประชุมหารือด้านการขยายตลาดสินค้าเกษตร โดยกระบวนการสหกรณ์กับประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 20 - 22 มิถุนายน 2543 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การหารือกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ของญี่ปุ่น (Mr. Hideaki Kumazawa) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แสดงความขอบคุณต่อรัฐบาลญี่ปุ่นที่ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศไทยทั้งในด้านวิชาการและการสนับสนุนความช่วยเหลือผ่าน JICA และเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรผ่าน JBIC รวมทั้งการอำนวยความสะดวกในด้านการนำเข้าสินค้าเกษตร เช่น สับปะรด โดยคาดว่าทางญี่ปุ่นจะให้ประเทศไทยส่งออกมังคุดได้ทันในปีหน้า ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ ญี่ปุ่นให้ความสำคัญในเรื่องบทบาทอันหลากหลายของภาคการเกษตร และประสงค์ให้ภาคการเกษตรของประเทศอื่นมีความเข้าใจถึงความสำคัญของภาคการเกษตรที่มีต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ยืนยันว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยก็มีความเห็นเช่นเดียวกับทางญี่ปุ่นว่า การเกษตรที่ยั่งยืนนั้นจะมีผลต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชนบท และการรักษาวัฒนธรรมและสังคมในชนบทเช่นเดียวกัน และหากเชื่อมโยงไปเกี่ยวข้องกับมาตรการทางด้านการค้าระหว่างประเทศจะต้องให้มีความโปร่งใส และเป็นธรรมต่อประเทศพัฒนา
2. การหารือกับประธานสหภาพสหกรณ์การเกษตรกลาง และผู้อำนวยการสหพันธ์สหกรณ์การเกษตรแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เสดงความขอบคุณแก่ประธานสหภาพสหกรณ์การเกษตรกลางที่ได้ให้ความช่วยเหลือแก่สหกรณ์ของประเทศไทยมาเกือบ 20 ปี รวมทั้งผู้อำนวยการ สหพันธ์สหกรณ์การเกษตรแห่งชาติ (Mr. Takashi Hori) ที่ได้ช่วยเหลือให้สหกรณ์ของไทยส่งสินค้าการเกษตรที่สำคัญ เช่น กล้วยหอม สับปะรด หอมหัวใหญ่ มายังตลาดญี่ปุ่นได้ด้วยดี ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แนะนำให้ทั้ง Zen Chu และ Zen Noh ชักชวนสมาชิกของหกรณ์ญี่ปุ่น นำเข้าวัตถุดิบทางการเกษตรจากสหกรณ์ไทยมากขึ้น และแนะนำให้สหกรณ์ญี่ปุ่นมาร่วมลงทุนในประเทศไทย โดยทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เชิญให้ประธานของ Zen Chu และผู้อำนวยการของ Zen Noh นำคณะเจ้าหน้าที่เดินทางมาศึกษาดูงานด้านสหกรณ์ของไทย โดยเฉพาะขณะนี้ได้มีความร่วมมือกับกรมวิชาการเกษตรในด้านการทำการเกษตรแบบถูกต้อง (GAP) ที่จะสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยทางอาหาร และยืนยันในนโยบายเกี่ยวกับการห้ามการผลิตเชิงการค้าของสินค้า GMOs
3. การหารือกับผู้นำเข้าสินค้าเกษตรของญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำเข้าสินค้าประเภทสับปะรด ทางผู้บริโภคญี่ปุ่นนั้นให้ความสำคัญกับคุณภาพและภาพลักษณ์ของสินค้ามาก โดยเฉพาะทางด้านความปลอดภัยจากการบริโภค ซึ่งในเรื่องดังกล่าวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ชี้แจงว่า ขณะนี้เป็นนโยบายหลักของรัฐบาลที่รณรงค์ให้สหกรณ์ดำเนินการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ และลดการใช้สารเคมี โดยเฉพาะการควบคุมคุณภาพตั้งแต่ในฟาร์ม โดยได้เชิญให้คณะผู้แทนภาคเอกชนและสหกรณ์ของญี่ปุ่นเดินทางมาศึกษาดูงานด้านระบบการผลิตของสหกรณ์ในสัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคมนี้
แนวทางที่จะดำเนินการในระยะต่อไป ยุทธศาสตร์ของการขยายตลาดญี่ปุ่นนั้น จะต้องเน้นที่พฤติกรรมผู้บริโภค และความสัมพันธ์ของผู้นำเข้า โดยเฉพาะสหภาพสหกรณ์การเกษตรกลาง และสหพันธ์สหกรณ์การเกษตรแห่งชาติของญี่ปุ่น ทั้งนี้ ควรเน้นยุทธศาสตร์ด้านการผลิตและการตลาดใน 3 ลักษณะ คือ
1. ต้องผลิตสินค้าที่ประชากรญี่ปุ่นต้องการ หากไทยไม่สามารถผลิตข้าวญี่ปุ่นได้ ควรเน้นการผลิตและการส่งออกข้าวที่เป็นวัตถุดิบในตลาดอุตสาหกรรมอาหาร เช่น สาเก และขนม เป็นต้น
2. ต้องพยายามที่จะแบ่งตลาดผลไม้ที่ประเทศในกลุ่มอาเซียนครองตลาดอยู่ เช่น มะม่วง สับปะรดกล้วยไม้ตัดดอก โดยการพัฒนาด้านคุณภาพและสร้างความมั่นใจในด้านความปลอดภัยด้านอาหาร และสินค้าประเภทปลอด GMOs ซึ่งทางญี่ปุ่นได้กำหนดที่จะบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการปิดฉลากในต้นปี 2544 นี้
3. ต้องสร้างตลาดสินค้าใหม่ โดยการเชิญผู้นำสินค้าเกษตรและสมาชิกสหกรณ์ญี่ปุ่นมาศึกษาดูงานการผลิต แปรรูปในประเทศไทย ทั้งนี้ หากสามารถชักจูงให้ทำการร่วมทุนกับผู้ผลิตและสหกรณ์ของไทยได้ จะเป็นการสร้างโอกาสให้สามารถเปิดตลาดญี่ปุ่นได้มากขึ้น สินค้าใหม่เหล่านี้ได้แก่ มักคุด ส้มโอ พืชผักสมุนไพรของประเทศไทยและสินค้าปลอดสารพิษ และสินค้าปราศจากการตัดต่อพันธุกรรม (GMOs)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 25 ก.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานผลการประชุมหารือด้านการขยายตลาดสินค้าเกษตร โดยกระบวนการสหกรณ์กับประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 20 - 22 มิถุนายน 2543 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การหารือกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ของญี่ปุ่น (Mr. Hideaki Kumazawa) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แสดงความขอบคุณต่อรัฐบาลญี่ปุ่นที่ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศไทยทั้งในด้านวิชาการและการสนับสนุนความช่วยเหลือผ่าน JICA และเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรผ่าน JBIC รวมทั้งการอำนวยความสะดวกในด้านการนำเข้าสินค้าเกษตร เช่น สับปะรด โดยคาดว่าทางญี่ปุ่นจะให้ประเทศไทยส่งออกมังคุดได้ทันในปีหน้า ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ ญี่ปุ่นให้ความสำคัญในเรื่องบทบาทอันหลากหลายของภาคการเกษตร และประสงค์ให้ภาคการเกษตรของประเทศอื่นมีความเข้าใจถึงความสำคัญของภาคการเกษตรที่มีต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ยืนยันว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยก็มีความเห็นเช่นเดียวกับทางญี่ปุ่นว่า การเกษตรที่ยั่งยืนนั้นจะมีผลต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชนบท และการรักษาวัฒนธรรมและสังคมในชนบทเช่นเดียวกัน และหากเชื่อมโยงไปเกี่ยวข้องกับมาตรการทางด้านการค้าระหว่างประเทศจะต้องให้มีความโปร่งใส และเป็นธรรมต่อประเทศพัฒนา
2. การหารือกับประธานสหภาพสหกรณ์การเกษตรกลาง และผู้อำนวยการสหพันธ์สหกรณ์การเกษตรแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เสดงความขอบคุณแก่ประธานสหภาพสหกรณ์การเกษตรกลางที่ได้ให้ความช่วยเหลือแก่สหกรณ์ของประเทศไทยมาเกือบ 20 ปี รวมทั้งผู้อำนวยการ สหพันธ์สหกรณ์การเกษตรแห่งชาติ (Mr. Takashi Hori) ที่ได้ช่วยเหลือให้สหกรณ์ของไทยส่งสินค้าการเกษตรที่สำคัญ เช่น กล้วยหอม สับปะรด หอมหัวใหญ่ มายังตลาดญี่ปุ่นได้ด้วยดี ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แนะนำให้ทั้ง Zen Chu และ Zen Noh ชักชวนสมาชิกของหกรณ์ญี่ปุ่น นำเข้าวัตถุดิบทางการเกษตรจากสหกรณ์ไทยมากขึ้น และแนะนำให้สหกรณ์ญี่ปุ่นมาร่วมลงทุนในประเทศไทย โดยทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เชิญให้ประธานของ Zen Chu และผู้อำนวยการของ Zen Noh นำคณะเจ้าหน้าที่เดินทางมาศึกษาดูงานด้านสหกรณ์ของไทย โดยเฉพาะขณะนี้ได้มีความร่วมมือกับกรมวิชาการเกษตรในด้านการทำการเกษตรแบบถูกต้อง (GAP) ที่จะสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยทางอาหาร และยืนยันในนโยบายเกี่ยวกับการห้ามการผลิตเชิงการค้าของสินค้า GMOs
3. การหารือกับผู้นำเข้าสินค้าเกษตรของญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำเข้าสินค้าประเภทสับปะรด ทางผู้บริโภคญี่ปุ่นนั้นให้ความสำคัญกับคุณภาพและภาพลักษณ์ของสินค้ามาก โดยเฉพาะทางด้านความปลอดภัยจากการบริโภค ซึ่งในเรื่องดังกล่าวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ชี้แจงว่า ขณะนี้เป็นนโยบายหลักของรัฐบาลที่รณรงค์ให้สหกรณ์ดำเนินการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ และลดการใช้สารเคมี โดยเฉพาะการควบคุมคุณภาพตั้งแต่ในฟาร์ม โดยได้เชิญให้คณะผู้แทนภาคเอกชนและสหกรณ์ของญี่ปุ่นเดินทางมาศึกษาดูงานด้านระบบการผลิตของสหกรณ์ในสัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคมนี้
แนวทางที่จะดำเนินการในระยะต่อไป ยุทธศาสตร์ของการขยายตลาดญี่ปุ่นนั้น จะต้องเน้นที่พฤติกรรมผู้บริโภค และความสัมพันธ์ของผู้นำเข้า โดยเฉพาะสหภาพสหกรณ์การเกษตรกลาง และสหพันธ์สหกรณ์การเกษตรแห่งชาติของญี่ปุ่น ทั้งนี้ ควรเน้นยุทธศาสตร์ด้านการผลิตและการตลาดใน 3 ลักษณะ คือ
1. ต้องผลิตสินค้าที่ประชากรญี่ปุ่นต้องการ หากไทยไม่สามารถผลิตข้าวญี่ปุ่นได้ ควรเน้นการผลิตและการส่งออกข้าวที่เป็นวัตถุดิบในตลาดอุตสาหกรรมอาหาร เช่น สาเก และขนม เป็นต้น
2. ต้องพยายามที่จะแบ่งตลาดผลไม้ที่ประเทศในกลุ่มอาเซียนครองตลาดอยู่ เช่น มะม่วง สับปะรดกล้วยไม้ตัดดอก โดยการพัฒนาด้านคุณภาพและสร้างความมั่นใจในด้านความปลอดภัยด้านอาหาร และสินค้าประเภทปลอด GMOs ซึ่งทางญี่ปุ่นได้กำหนดที่จะบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการปิดฉลากในต้นปี 2544 นี้
3. ต้องสร้างตลาดสินค้าใหม่ โดยการเชิญผู้นำสินค้าเกษตรและสมาชิกสหกรณ์ญี่ปุ่นมาศึกษาดูงานการผลิต แปรรูปในประเทศไทย ทั้งนี้ หากสามารถชักจูงให้ทำการร่วมทุนกับผู้ผลิตและสหกรณ์ของไทยได้ จะเป็นการสร้างโอกาสให้สามารถเปิดตลาดญี่ปุ่นได้มากขึ้น สินค้าใหม่เหล่านี้ได้แก่ มักคุด ส้มโอ พืชผักสมุนไพรของประเทศไทยและสินค้าปลอดสารพิษ และสินค้าปราศจากการตัดต่อพันธุกรรม (GMOs)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 25 ก.ค. 2543--
-สส-