คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการสาระสำคัญของแนวทางรูปแบบการลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ โดยให้รับความเห็นเพิ่มเติมของกระทรวงมหาดไทย สำนักงาน ก.พ. สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการด้วย และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการตามมติของคณะกรรมการศึกษาแนวทางรูปแบบการลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
สำหรับแนวทางรูปแบบการลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล คณะกรรมการศึกษาแนวทางและรูปแบบการลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงานได้ศึกษาผลสรุปของคณะทำงานพิจารณาแนวทางรูปแบบการลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาลเกี่ยวกับมาตรการต่าง ๆ จำนวน 5 คณะ ได้มีมติการประชุมในลักษณะองค์รวมที่เป็นระบบและครบวงจรทั้งกระบวนการยุติธรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว สรุปได้ดังนี้
1. มาตรการปรับ
เห็นชอบให้มีการใช้มาตรการเปรียบเทียบปรับอย่างจริงจัง และพิจารณาแก้ไขกฎหมายให้ความผิดบางประเภทที่มีโทษจำคุกเปลี่ยนเป็นโทษปรับ และควรให้มีองค์กรที่คอยควบคุมและวินิจฉัยชี้ขาดที่สามารถรับฟังเป็นข้อยุติก่อนขึ้นสู่ศาล โดยเห็นสมควรให้กระทรวงยุติธรรมตั้งคณะกรรมการขึ้นมาศึกษาต่อไป
2. การระงับข้อพิพาททั้งในและนอกศาล
2.1 เห็นสมควรให้มีหน่วยงานประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทในชุมชน และให้การดำเนินการดังกล่าวยึดหลักแนวทางการดำเนินงานตามมติคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ เกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการแก้ไขปัญหาสังคมไทย ด้วยการร่วมมือกับทุกส่วนราชการ สมาคมธุรกิจ องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันวิชาการ องค์กรประชาชน ตามหลักระดมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
2.2 ให้กระทรวงยุติธรรมไปศึกษากรณีปัญหาเรื่องกฎหมายซึ่งมิได้บัญญัติให้ยอมความกันได้บางประเภทที่ไม่กระทบต่อความสงบสุขของสังคม โดยแก้ไขให้เป็นความผิดอันยอมความได้ เพื่อให้สามารถนำเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยหรือประนอมข้อพิพาทได้
2.3 ให้คดีบางประเภทที่มีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ควรนำการไกล่เกลี่ยหรือประนอมข้อพิพาทมารองรับ เพื่อให้คดีสามารถยุติได้โดยเร็ว
2.4 ให้กระทรวงยุติธรรมรับไปศึกษาและดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการตามรูปแบบคณะกรรมการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ การออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ แก้ไขพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ มาตรา 5 ให้สอดคล้องเมื่อเปิดศาลปกครองตลอดจนการปรับปรุงข้อกฎหมายอื่น ๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
2.5 เรื่องเกี่ยวกับการให้ความรู้แก่ประชาชนในด้านกฎหมายเบื้องต้นและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เห็นควรให้บรรจุสอดแทรกในทุกหลักสูตรของทุกส่วนราชการต่าง ๆ ที่มีการอบรมประชาชน โดยให้กระทรวงยุติธรรมเป็นหน่วยงานกลางในการกำหนดหลักสูตรและประสานงาน
3. มาตรการความผิดอันยอมความได้
ให้กระทรวงยุติธรรมไปศึกษากรณีปัญหาเรื่องกฎหมายซึ่งมิได้บัญญัติให้ยอมความกันได้บางประเภทที่ไม่กระทบความสงบสุขของสังคม โดยแก้ไขให้เป็นความผิดอันยอมความได้ เพื่อให้สามารถนำกระบวนการไกล่เกลี่ยหรือประนอมข้อพิพาทมาใช้ได้
4. มาตรการต่อรองคำรับสารภาพ
เห็นควรให้สำนักงานอัยการสูงสุดไปทำการศึกษาแนวทางและวิธีการที่เหมาะสม รัดกุมของการใช้มาตรการต่อรองคำรับสารภาพ พร้อมทั้งให้ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดของประชาชนว่ายอมรับให้ดำเนินการหรือไม่ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
5. มาตรการชะลอการฟ้อง
เห็นควรให้สำนักงานอัยการสูงสุดไปทำการศึกษาแนวทางและวิธีการที่เหมาะสมรัดกุมของการใช้มาตรการชะลอการฟ้อง พร้อมทั้งให้ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดของประชาชนว่ายอมรับให้ดำเนินการหรือไม่ ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
6. การคุมประพฤติ
6.1 เห็นควรให้กรมคุมประพฤติเป็นหน่วยงานหลักเกี่ยวกับการคุมความประพฤติชั้นการชะลอการฟ้องกรณีมาตรการชะลอการฟ้องชั้นก่อนพิจารณาคดีของศาลได้ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดของประชาชนยอมรับให้ดำเนินการได้ (ประชาพิจารณ์)
6.2 เห็นควรให้กรมคุมประพฤติ เป็นหน่วยงานหลักเกี่ยวกับการคุมความประพฤติชั้นพิจารณาคดีและหลังการพิจารณาคดีของศาลทั้งผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ใหญ่
6.3 เห็นควรให้กรมคุมประพฤติ เป็นหน่วยงานหลักเกี่ยวกับการคุมประพฤติผู้ที่ได้รับการพักการลงโทษ และลดวันต้องโทษ
6.4 เห็นควรให้กรมคุมประพฤติ เป็นหน่วยงานหลักเกี่ยวกับการสงเคราะห์ผู้กระทำผิดภายหลังพ้นจากการคุมประพฤติ หรือผู้กระทำผิดหลังปล่อยจากกรมราชทัณฑ์ (AFTERCARE)
6.5 เห็นสมควรขยายโอกาสการรอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษตามมาตรา 56 ในฐานความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกสูงกว่าสองปี เพื่อจะได้ไม่ต้องนำผู้กระทำผิดคดีเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือไม่มีสันดานเป็นอาชญากร กระทำความผิดและความประมาทพลั้งเผลอหรือมีความจำเป็นอย่างแสนสาหัสไปคุมขังปะปนกับพวกคดีอุกฉกรรจ์ในเรือนจำอันจะนำไปสู่การเรียนรู้พฤติกรรมการกระทำความผิดและกระทำความผิดซ้ำ โดยให้กระทรวงยุติธรรมรับไปศึกษาและดำเนินการ
7. การดำเนินการตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2534
เห็นสมควรให้กรมคุมประพฤติดำเนินการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตามพระราช-บัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2534 โดยให้ทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในลักษณะพหุภาคี พร้อมให้สำนักงบประมาณพิจารณาสนับสนุนเงินงบประมาณเป็นกรณีพิเศษ นอกจากกรอบวงเงินงบประมาณที่ได้รับตามปกติของกรมคุมประพฤติ และให้กรมคุมประพฤติร่วมกับสำนักงาน ก.พ. และคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ (คปร.) พิจารณากรอบอัตรากำลังของศูนย์ฯ ที่เหมาะสมและสนับสนุนต่อไป
8. มาตรการเพื่อความปลอดภัย
มาตรการเพื่อความปลอดภัยเป็นมาตรการที่เป็นประโยชน์ต่อการลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล แต่ที่ไม่ได้รับการยอมรับส่วนหนึ่ง เนื่องจากข้อมูลเบื้องต้นของผู้กระทำความผิดและพฤติการณ์การกระทำความผิดไม่ครบทั้งกระบวนการ ตั้งแต่ชั้นพนักงานตำรวจ อัยการ ศาลคุมประพฤติ และราชทัณฑ์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกำหนดเงื่อนไขเพื่อการลงโทษของไทย ดังนั้น เพื่อเป็นการนำมาตรการเพื่อความปลอดภัยมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเชื่อมโยงทั้งระบบ จึงเห็นสมควรให้กระทรวงยุติธรรมรับไปศึกษาในกรณีดังกล่าว
9. มาตรการพักการลงโทษ
9.1 ให้กรมราชทัณฑ์พัฒนาระบบการพักการลงโทษ หรือการปล่อยนักโทษออกไปสู่นอกเรือนจำก่อนครบกำหนดโทษภายใต้เงื่อนไขคุมประพฤติให้เพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยต้องสร้างระบบการกลั่นกรองที่มีประสิทธิภาพ สร้างความมั่นใจให้แก่สังคมได้
9.2 ให้กรมราชทัณฑ์ทำประชาสัมพันธ์ภารกิจและกระบวนการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในระหว่างการต้องโทษจำคุกอยู่ในเรือนจำให้สังคมได้ทราบอย่างต่อเนื่อง จนเกิดความมั่นใจและมีการยอมรับการคืนกลับสู่สังคมของผู้พ้นโทษ จะต้องสร้างความมั่นใจแก่สังคมว่ากรมราชทัณฑ์ได้มีการแก้ไขคนผิดให้กับตนเป็นคนดีไม่เป็นภัยอันตรายแก่สังคมภายหลังพ้นโทษ พร้อมให้มีการจัดเก็บประวัติข้อมูลผู้ต้องขังเฉพาะรายให้เป็นระบบและติดตามได้
9.3 ให้สำนักงาน ก.พ. ร่วมกับกรมราชทัณฑ์วิเคราะห์ถึงเหตุผลและความจำเป็นเกี่ยวกับกรอบอัตรากำลังด้านวิชาชีพเฉพาะที่จำเป็นต่อการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในระหว่างต้องโทษ เช่น นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยาเนื่องจากท้ายสุดกรมราชทัณฑ์ต้องส่งมอบผู้ต้องโทษคืนสู่สังคมและพิจารณาให้การสนับสนุนอัตรากำลังตามความจำเป็นต่อไป
9.4 ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการตามมาตรา 241 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กรณีให้การสอบสวนหรือการพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรมนั้น ควรเร่งดำเนินการตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ เพราะจะสามารถลดจำนวนผู้ต้องขังในเรือนจำ อันเนื่องมาจากสภาพแออัดไม่มีสถานที่แยกคุมขังผู้ต้องขังระหว่างคดีออกจากผู้ต้องขังคดีเด็ดขาด ไม่สามารถแยกผู้กระทำผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ออกจากคดีอุกฉกรรจ์ได้ ทำให้ต้องขังรวมกัน เกิดการเลียนแบบพฤติกรรมการกระทำความผิด เกิดสภาพความกดดันทางจิตใจที่มีผลต่อการพัฒนาจิตใจผู้ต้องขังเมื่อพ้นโทษแล้ว และอาจนำไปสู่การกระทำผิดซ้ำ
9.5 ให้กรมราชทัณฑ์ร่วมกับกรมประชาสงเคราะห์ศึกษาแนวทางหรือมาตรการเพิ่มสวัสดิการ และการให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้พ้นโทษ ซึ่งถือว่าเป็นประชาชน รวมทั้งครอบครัว โดยถือว่าเป็นเป้าหมายสำคัญเนื่องจากเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการกระทำผิด มีแผนงานการติดตามดูแลบุคคลดังกล่าวอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของการเริ่มต้นชีวิตใหม่ โดยกรมราชทัณฑ์เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งในกรณีนี้แม้มีมติของคณะกรรมการฯ ไปแล้วในคณะทำงานฯ เกี่ยวกับการคุมประพฤติ แต่เนื่องจากเพิ่งเป็นมติออกไป กระทรวงยุติธรรมยังไม่ได้เป็นเจ้าของเรื่องโดยตรง ดังนั้นขณะที่ยังไม่มีความพร้อมก็ให้กรมราชทัณฑ์ดำเนินการศึกษาไปก่อน
10. มาตรการเกี่ยวกับเด็ก เยาวชนและครอบครัว
10.1 ให้กระทรวงยุติธรรมปรับปรุงแผนพิทักษ์คุ้มครองเด็ก เยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2540 -2549 โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการปรับปรุงแผน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่21 กรกฎาคม 2541 พร้อมให้ยึดหลักการตามมติคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการแก้ไขปัญหาสังคมไทยด้วยการร่วมมือกับทุกส่วนราชการ สมาคมธุรกิจ องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันวิชาการ และองค์กรประชาชน ตามหลักการระดมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเข้ามาพิจารณาด้วย
10.2 ให้ศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นศาลชำนัญพิเศษ เนื่องจากกระบวนการพิจารณาคดีคุณสมบัติของตุลาการ มีความเหมาะสมแตกต่างจากผู้พิพากษาทั่วไป
10.3 ให้รัฐสนับสนุนการเปิดศาลเยาวชนหรือแผนกคดีเยาวชน และสถานแรกรับให้ครบทุกจังหวัดและให้มีสถานฝึกและอบรมเด็ก เยาวชน และครอบครัวทุกภาค อย่างน้อยภาคละ 2 แห่ง เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างจากผู้ใหญ่กระทำความผิด เพื่อหลีกเลี่ยงการนำผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและฝากขังไว้ในเรือนจำ เพราะจะก่อให้เกิดผลลบในเรื่องการลอกเลียนแบบพฤติกรรมอาชญากรจากผู้ร้ายโดยสันดาน หากยังไม่สามารถทำได้ สมควรเร่งรัดการพิจารณาคดีในศาลผู้ใหญ่ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว หรือจัดหาสถานที่ไว้สำหรับฝากเด็กที่กระทำผิดโดยไม่ต้องฝากขังในเรือนจำ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 ก.ค.44--
-สส-
สำหรับแนวทางรูปแบบการลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล คณะกรรมการศึกษาแนวทางและรูปแบบการลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงานได้ศึกษาผลสรุปของคณะทำงานพิจารณาแนวทางรูปแบบการลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาลเกี่ยวกับมาตรการต่าง ๆ จำนวน 5 คณะ ได้มีมติการประชุมในลักษณะองค์รวมที่เป็นระบบและครบวงจรทั้งกระบวนการยุติธรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว สรุปได้ดังนี้
1. มาตรการปรับ
เห็นชอบให้มีการใช้มาตรการเปรียบเทียบปรับอย่างจริงจัง และพิจารณาแก้ไขกฎหมายให้ความผิดบางประเภทที่มีโทษจำคุกเปลี่ยนเป็นโทษปรับ และควรให้มีองค์กรที่คอยควบคุมและวินิจฉัยชี้ขาดที่สามารถรับฟังเป็นข้อยุติก่อนขึ้นสู่ศาล โดยเห็นสมควรให้กระทรวงยุติธรรมตั้งคณะกรรมการขึ้นมาศึกษาต่อไป
2. การระงับข้อพิพาททั้งในและนอกศาล
2.1 เห็นสมควรให้มีหน่วยงานประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทในชุมชน และให้การดำเนินการดังกล่าวยึดหลักแนวทางการดำเนินงานตามมติคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ เกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการแก้ไขปัญหาสังคมไทย ด้วยการร่วมมือกับทุกส่วนราชการ สมาคมธุรกิจ องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันวิชาการ องค์กรประชาชน ตามหลักระดมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
2.2 ให้กระทรวงยุติธรรมไปศึกษากรณีปัญหาเรื่องกฎหมายซึ่งมิได้บัญญัติให้ยอมความกันได้บางประเภทที่ไม่กระทบต่อความสงบสุขของสังคม โดยแก้ไขให้เป็นความผิดอันยอมความได้ เพื่อให้สามารถนำเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยหรือประนอมข้อพิพาทได้
2.3 ให้คดีบางประเภทที่มีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ควรนำการไกล่เกลี่ยหรือประนอมข้อพิพาทมารองรับ เพื่อให้คดีสามารถยุติได้โดยเร็ว
2.4 ให้กระทรวงยุติธรรมรับไปศึกษาและดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการตามรูปแบบคณะกรรมการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ การออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ แก้ไขพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ มาตรา 5 ให้สอดคล้องเมื่อเปิดศาลปกครองตลอดจนการปรับปรุงข้อกฎหมายอื่น ๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
2.5 เรื่องเกี่ยวกับการให้ความรู้แก่ประชาชนในด้านกฎหมายเบื้องต้นและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เห็นควรให้บรรจุสอดแทรกในทุกหลักสูตรของทุกส่วนราชการต่าง ๆ ที่มีการอบรมประชาชน โดยให้กระทรวงยุติธรรมเป็นหน่วยงานกลางในการกำหนดหลักสูตรและประสานงาน
3. มาตรการความผิดอันยอมความได้
ให้กระทรวงยุติธรรมไปศึกษากรณีปัญหาเรื่องกฎหมายซึ่งมิได้บัญญัติให้ยอมความกันได้บางประเภทที่ไม่กระทบความสงบสุขของสังคม โดยแก้ไขให้เป็นความผิดอันยอมความได้ เพื่อให้สามารถนำกระบวนการไกล่เกลี่ยหรือประนอมข้อพิพาทมาใช้ได้
4. มาตรการต่อรองคำรับสารภาพ
เห็นควรให้สำนักงานอัยการสูงสุดไปทำการศึกษาแนวทางและวิธีการที่เหมาะสม รัดกุมของการใช้มาตรการต่อรองคำรับสารภาพ พร้อมทั้งให้ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดของประชาชนว่ายอมรับให้ดำเนินการหรือไม่ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
5. มาตรการชะลอการฟ้อง
เห็นควรให้สำนักงานอัยการสูงสุดไปทำการศึกษาแนวทางและวิธีการที่เหมาะสมรัดกุมของการใช้มาตรการชะลอการฟ้อง พร้อมทั้งให้ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดของประชาชนว่ายอมรับให้ดำเนินการหรือไม่ ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
6. การคุมประพฤติ
6.1 เห็นควรให้กรมคุมประพฤติเป็นหน่วยงานหลักเกี่ยวกับการคุมความประพฤติชั้นการชะลอการฟ้องกรณีมาตรการชะลอการฟ้องชั้นก่อนพิจารณาคดีของศาลได้ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดของประชาชนยอมรับให้ดำเนินการได้ (ประชาพิจารณ์)
6.2 เห็นควรให้กรมคุมประพฤติ เป็นหน่วยงานหลักเกี่ยวกับการคุมความประพฤติชั้นพิจารณาคดีและหลังการพิจารณาคดีของศาลทั้งผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ใหญ่
6.3 เห็นควรให้กรมคุมประพฤติ เป็นหน่วยงานหลักเกี่ยวกับการคุมประพฤติผู้ที่ได้รับการพักการลงโทษ และลดวันต้องโทษ
6.4 เห็นควรให้กรมคุมประพฤติ เป็นหน่วยงานหลักเกี่ยวกับการสงเคราะห์ผู้กระทำผิดภายหลังพ้นจากการคุมประพฤติ หรือผู้กระทำผิดหลังปล่อยจากกรมราชทัณฑ์ (AFTERCARE)
6.5 เห็นสมควรขยายโอกาสการรอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษตามมาตรา 56 ในฐานความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกสูงกว่าสองปี เพื่อจะได้ไม่ต้องนำผู้กระทำผิดคดีเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือไม่มีสันดานเป็นอาชญากร กระทำความผิดและความประมาทพลั้งเผลอหรือมีความจำเป็นอย่างแสนสาหัสไปคุมขังปะปนกับพวกคดีอุกฉกรรจ์ในเรือนจำอันจะนำไปสู่การเรียนรู้พฤติกรรมการกระทำความผิดและกระทำความผิดซ้ำ โดยให้กระทรวงยุติธรรมรับไปศึกษาและดำเนินการ
7. การดำเนินการตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2534
เห็นสมควรให้กรมคุมประพฤติดำเนินการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตามพระราช-บัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2534 โดยให้ทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในลักษณะพหุภาคี พร้อมให้สำนักงบประมาณพิจารณาสนับสนุนเงินงบประมาณเป็นกรณีพิเศษ นอกจากกรอบวงเงินงบประมาณที่ได้รับตามปกติของกรมคุมประพฤติ และให้กรมคุมประพฤติร่วมกับสำนักงาน ก.พ. และคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ (คปร.) พิจารณากรอบอัตรากำลังของศูนย์ฯ ที่เหมาะสมและสนับสนุนต่อไป
8. มาตรการเพื่อความปลอดภัย
มาตรการเพื่อความปลอดภัยเป็นมาตรการที่เป็นประโยชน์ต่อการลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล แต่ที่ไม่ได้รับการยอมรับส่วนหนึ่ง เนื่องจากข้อมูลเบื้องต้นของผู้กระทำความผิดและพฤติการณ์การกระทำความผิดไม่ครบทั้งกระบวนการ ตั้งแต่ชั้นพนักงานตำรวจ อัยการ ศาลคุมประพฤติ และราชทัณฑ์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกำหนดเงื่อนไขเพื่อการลงโทษของไทย ดังนั้น เพื่อเป็นการนำมาตรการเพื่อความปลอดภัยมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเชื่อมโยงทั้งระบบ จึงเห็นสมควรให้กระทรวงยุติธรรมรับไปศึกษาในกรณีดังกล่าว
9. มาตรการพักการลงโทษ
9.1 ให้กรมราชทัณฑ์พัฒนาระบบการพักการลงโทษ หรือการปล่อยนักโทษออกไปสู่นอกเรือนจำก่อนครบกำหนดโทษภายใต้เงื่อนไขคุมประพฤติให้เพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยต้องสร้างระบบการกลั่นกรองที่มีประสิทธิภาพ สร้างความมั่นใจให้แก่สังคมได้
9.2 ให้กรมราชทัณฑ์ทำประชาสัมพันธ์ภารกิจและกระบวนการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในระหว่างการต้องโทษจำคุกอยู่ในเรือนจำให้สังคมได้ทราบอย่างต่อเนื่อง จนเกิดความมั่นใจและมีการยอมรับการคืนกลับสู่สังคมของผู้พ้นโทษ จะต้องสร้างความมั่นใจแก่สังคมว่ากรมราชทัณฑ์ได้มีการแก้ไขคนผิดให้กับตนเป็นคนดีไม่เป็นภัยอันตรายแก่สังคมภายหลังพ้นโทษ พร้อมให้มีการจัดเก็บประวัติข้อมูลผู้ต้องขังเฉพาะรายให้เป็นระบบและติดตามได้
9.3 ให้สำนักงาน ก.พ. ร่วมกับกรมราชทัณฑ์วิเคราะห์ถึงเหตุผลและความจำเป็นเกี่ยวกับกรอบอัตรากำลังด้านวิชาชีพเฉพาะที่จำเป็นต่อการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในระหว่างต้องโทษ เช่น นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยาเนื่องจากท้ายสุดกรมราชทัณฑ์ต้องส่งมอบผู้ต้องโทษคืนสู่สังคมและพิจารณาให้การสนับสนุนอัตรากำลังตามความจำเป็นต่อไป
9.4 ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการตามมาตรา 241 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กรณีให้การสอบสวนหรือการพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรมนั้น ควรเร่งดำเนินการตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ เพราะจะสามารถลดจำนวนผู้ต้องขังในเรือนจำ อันเนื่องมาจากสภาพแออัดไม่มีสถานที่แยกคุมขังผู้ต้องขังระหว่างคดีออกจากผู้ต้องขังคดีเด็ดขาด ไม่สามารถแยกผู้กระทำผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ออกจากคดีอุกฉกรรจ์ได้ ทำให้ต้องขังรวมกัน เกิดการเลียนแบบพฤติกรรมการกระทำความผิด เกิดสภาพความกดดันทางจิตใจที่มีผลต่อการพัฒนาจิตใจผู้ต้องขังเมื่อพ้นโทษแล้ว และอาจนำไปสู่การกระทำผิดซ้ำ
9.5 ให้กรมราชทัณฑ์ร่วมกับกรมประชาสงเคราะห์ศึกษาแนวทางหรือมาตรการเพิ่มสวัสดิการ และการให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้พ้นโทษ ซึ่งถือว่าเป็นประชาชน รวมทั้งครอบครัว โดยถือว่าเป็นเป้าหมายสำคัญเนื่องจากเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการกระทำผิด มีแผนงานการติดตามดูแลบุคคลดังกล่าวอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของการเริ่มต้นชีวิตใหม่ โดยกรมราชทัณฑ์เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งในกรณีนี้แม้มีมติของคณะกรรมการฯ ไปแล้วในคณะทำงานฯ เกี่ยวกับการคุมประพฤติ แต่เนื่องจากเพิ่งเป็นมติออกไป กระทรวงยุติธรรมยังไม่ได้เป็นเจ้าของเรื่องโดยตรง ดังนั้นขณะที่ยังไม่มีความพร้อมก็ให้กรมราชทัณฑ์ดำเนินการศึกษาไปก่อน
10. มาตรการเกี่ยวกับเด็ก เยาวชนและครอบครัว
10.1 ให้กระทรวงยุติธรรมปรับปรุงแผนพิทักษ์คุ้มครองเด็ก เยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2540 -2549 โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการปรับปรุงแผน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่21 กรกฎาคม 2541 พร้อมให้ยึดหลักการตามมติคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการแก้ไขปัญหาสังคมไทยด้วยการร่วมมือกับทุกส่วนราชการ สมาคมธุรกิจ องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันวิชาการ และองค์กรประชาชน ตามหลักการระดมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเข้ามาพิจารณาด้วย
10.2 ให้ศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นศาลชำนัญพิเศษ เนื่องจากกระบวนการพิจารณาคดีคุณสมบัติของตุลาการ มีความเหมาะสมแตกต่างจากผู้พิพากษาทั่วไป
10.3 ให้รัฐสนับสนุนการเปิดศาลเยาวชนหรือแผนกคดีเยาวชน และสถานแรกรับให้ครบทุกจังหวัดและให้มีสถานฝึกและอบรมเด็ก เยาวชน และครอบครัวทุกภาค อย่างน้อยภาคละ 2 แห่ง เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างจากผู้ใหญ่กระทำความผิด เพื่อหลีกเลี่ยงการนำผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและฝากขังไว้ในเรือนจำ เพราะจะก่อให้เกิดผลลบในเรื่องการลอกเลียนแบบพฤติกรรมอาชญากรจากผู้ร้ายโดยสันดาน หากยังไม่สามารถทำได้ สมควรเร่งรัดการพิจารณาคดีในศาลผู้ใหญ่ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว หรือจัดหาสถานที่ไว้สำหรับฝากเด็กที่กระทำผิดโดยไม่ต้องฝากขังในเรือนจำ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 ก.ค.44--
-สส-