คณะรัฐมนตรีพิจารณาการส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนเอกชน ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. อนุมัติให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีโรงเรือนในอัตราต่ำสุดให้แก่สถานศึกษาเอกชนทุกระดับ
2. อนุมัติในหลักการว่าหากดอกผลจากกองทุนสงเคราะห์ครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนไม่เพียงพอสำหรับจ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลสำหรับครูโรงเรียนเอกชนในระยะนี้ขอให้รัฐจัดสรรเงินงบประมาณเพิ่มเติมให้เป็นรายปี โดยคาดว่าดอกผลจะเพียงพอเมื่อพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนมีผลบังคับใช้
3. อนุมัติในหลักการให้การอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวนักเรียนโรงเรียนเอกชนเพื่อเพิ่มเงินเดือนครูเอกชนในอัตราเดียวกับเงินเดือนข้าราชการครู ตั้งแต่ 1 เมษายน 2547 ถึง 30 กันยายน 2548 เป็นเงินประมาณเดือนละ 73.10 ล้านบาท สำหรับนักเรียนประมาณ 1.93 ล้านคน ซึ่งจะจ่ายจริงตามจำนวนนักเรียน
ทั้งนี้ให้กระทรวงศึกษาธิการขอตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป
กระทรวงศึกษาธิการ รายงานว่า ปัจจุบันโรงเรียนเอกชนได้เข้ามีบทบาทและเป็นกำลังสำคัญยิ่งในการจัดการศึกษา โดยมีส่วนร่วมรับผิดชอบประมาณร้อยละ 15 ของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนทั้งประเทศ และมีความหลากหลายทั้งในเชิงคุณภาพ ขนาด และการให้บริการ ประกอบกับกระทรวงศึกษาธิการถือเป็นนโยบายที่จะต้องเร่งรัด ยกระดับมาตรฐานโรงเรียนเอกชน โดยจะร่วมมือกับสมาคมสมาพันธ์การศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ซึ่งมีโรงเรียนเอกชนส่วนใหญ่จากทั่วประเทศเป็นสมาชิก กำหนดมาตรฐานการศึกษา (Benchmark) ของโรงเรียนเอกชนแต่ละระดับ แต่ละประเภทให้ชัดเป็นรูปธรรม สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินคุณภาพโรงเรียนได้ พร้อมทั้งจะกำกับดูแลให้โรงเรียนเอกชนพัฒนาคุณภาพไปสู่มาตรฐานดังกล่าว หากโรงเรียนใดยังไม่สามารถจัดการศึกษาถึงมาตรฐานที่กำหนดจะต้องมีแนวทางที่ชัดเจนในการพัฒนาโรงเรียน รวมทั้งจะเร่งรัดให้โรงเรียนเอกชนได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา และเสนอผลการประเมินต่อสาธารณชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 เมษายน 2548--จบ--
1. อนุมัติให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีโรงเรือนในอัตราต่ำสุดให้แก่สถานศึกษาเอกชนทุกระดับ
2. อนุมัติในหลักการว่าหากดอกผลจากกองทุนสงเคราะห์ครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนไม่เพียงพอสำหรับจ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลสำหรับครูโรงเรียนเอกชนในระยะนี้ขอให้รัฐจัดสรรเงินงบประมาณเพิ่มเติมให้เป็นรายปี โดยคาดว่าดอกผลจะเพียงพอเมื่อพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนมีผลบังคับใช้
3. อนุมัติในหลักการให้การอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวนักเรียนโรงเรียนเอกชนเพื่อเพิ่มเงินเดือนครูเอกชนในอัตราเดียวกับเงินเดือนข้าราชการครู ตั้งแต่ 1 เมษายน 2547 ถึง 30 กันยายน 2548 เป็นเงินประมาณเดือนละ 73.10 ล้านบาท สำหรับนักเรียนประมาณ 1.93 ล้านคน ซึ่งจะจ่ายจริงตามจำนวนนักเรียน
ทั้งนี้ให้กระทรวงศึกษาธิการขอตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป
กระทรวงศึกษาธิการ รายงานว่า ปัจจุบันโรงเรียนเอกชนได้เข้ามีบทบาทและเป็นกำลังสำคัญยิ่งในการจัดการศึกษา โดยมีส่วนร่วมรับผิดชอบประมาณร้อยละ 15 ของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนทั้งประเทศ และมีความหลากหลายทั้งในเชิงคุณภาพ ขนาด และการให้บริการ ประกอบกับกระทรวงศึกษาธิการถือเป็นนโยบายที่จะต้องเร่งรัด ยกระดับมาตรฐานโรงเรียนเอกชน โดยจะร่วมมือกับสมาคมสมาพันธ์การศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ซึ่งมีโรงเรียนเอกชนส่วนใหญ่จากทั่วประเทศเป็นสมาชิก กำหนดมาตรฐานการศึกษา (Benchmark) ของโรงเรียนเอกชนแต่ละระดับ แต่ละประเภทให้ชัดเป็นรูปธรรม สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินคุณภาพโรงเรียนได้ พร้อมทั้งจะกำกับดูแลให้โรงเรียนเอกชนพัฒนาคุณภาพไปสู่มาตรฐานดังกล่าว หากโรงเรียนใดยังไม่สามารถจัดการศึกษาถึงมาตรฐานที่กำหนดจะต้องมีแนวทางที่ชัดเจนในการพัฒนาโรงเรียน รวมทั้งจะเร่งรัดให้โรงเรียนเอกชนได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา และเสนอผลการประเมินต่อสาธารณชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 เมษายน 2548--จบ--